ที่สุดนะลูก
หนังสือ ส่งลูกไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
ผู้เขียน หทัยภรณ์ กสิกิจนำชัย
เสียงอ่านโดย ณาฏาฌาร์ เกสรดอกจาน
เสียงธรรม ส่งลูกไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า(ที่สุดนะลูก)
ในห้อง 'ประวัติและนิทานธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ณาฏาฌาร์, 17 กันยายน 2013.
-
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
อนุโมทนาสาธุ
-
เรื่องนี้เศร้ามาก เคยอ่านเอกสาร อ่านไปร้องไห้ไป ห้ามไม่อยู่คะ
-
สาธุ ขอบคุณมากๆ เลยครับ
-
อาจารย์หมอเต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี สรุปถึงเรื่องนี้ไว้ได้ดีมาก
ส่งลูกไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
ผู้เขียน: หทัยภรณ์ กสิกิจนำชัย
ปี: ๒๕๕๒
กำลังคิดจะเพิ่มส่วนข้อมูลเกี่ยวกับ สื่อการสอน ในเว็บไซด์ MS-PCARE เครือข่าย Palliative Care ในโรงเรียนแพทย์ เกี่ยวกับ หนังสือ ที่เกี่ยวข้องกับคนไข้ระยะสุดท้าย
ก็คิดถึงหนังสือเล่มข้างบนนี้
กำลังคิดจะเข้าร่วม กิจกรรม : แลกเปลี่ยนความรู้ผ่าน "หนังสือ" แทนความรักแด่ครอบครัว
ก็คิดถึงหนังสือเล่มข้างบนนี้
ผมได้หนังสือเล่มนี้จากคุณหวาน..วีรมลล์ จันทรดี นักสังคมสงเคราะห์โรงพยาบาลจุฬาฯ ที่ร่วมทำงานในเครือข่ายฯ ตั้งแต่ตอนปลายปีที่แล้ว
ตอนเห็นชื่อหนังสือครั้งแรก ความจริงรู้สึกไม่ค่อยถูกใจเท่าไร ในใจคิดว่า เอาอีกแล้ว.. ตั้งชื่อเกาะกระแส เอา พระพุทธเจ้า มาเป็นจุดขาย เหมือนหนังสือหลายๆเล่มที่ขายดีหรือเป็นชนวนขัดแย้งในอดีต อีกแล้ว
แต่พอเปิดอ่าน แล้วก็วางไม่ลง อ่านรวดเดียวจบ แบบเลยเวลานอนแล้ว ก็ต้องขออ่านให้จบ
หนังสือเล่มนี้ เป็นเรื่องที่ คุณแม่ ซึ่งก็คือ ผู้เขียน เขียนถึงลูกชายคนโต น้องโย่ง..วีรภัทร์ อัครดำรงเวช ซึ่งป่วยเป็นมะเร็งในทรวงอกระยะสุดท้าย ตลอดช่วงเวลาไม่ถึงปี ตั้งแต่รู้ว่าเป็นมะเร็ง จนกระทั่งน้องเขาจากไปในอ้อมกอดของตนเอง เมื่อปลายเดือน กรกฎาคม ๒๕๕๒ ในวัยเพียง ๒๒ ปี
คุณแม่ซึ่งเป็นผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่ง ไม่ใช่นักเขียนอะไร แต่สามารถสื่อสารความรู้สึกของความเป็น แม่ ได้อย่างตรงไปตรงมา ไม่จำเป็นต้องมีภาษาที่สละสลวยอันใดเลย ได้บรรยายถึงการดูแลลูกชายคนนี้ตลอดช่วงที่เจ็บหนัก มีหลายๆเรื่องตั้งแต่การดูแลอาการต่างๆไปจนกระทั่งสิ่งที่เป็นประเด็นหลักของหนังสือ คือ การเตรียมตัวทางปัญญาหรือจิตวิญญาณ ตามแก่นของพุทธศาสนา
ผมคงต้องย้ำกว่า เป็นแก่นของพระพุทธศาสนาจริงๆ ไม่ใช่เปลือกอย่างที่กำลังเป็นกระแสมาแรงเหลือเกินในขณะนี้
อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ ความคิด ความรู้สึกของคุณแม่เองตลอดเวลาที่ดูแลลูกคนนี้อย่างดีที่สุด..เป็นครั้งสุดท้าย ผมขออนุญาตนำข้อความในหนังสือเล่นนี้ตอนเกือบจะท้ายๆของเล่ม มาลงให้อ่านกันนะครับ
เป็นช่วงที่ผมอ่านแล้วสะดุด แล้วน้ำตาไหลพรากเลยทีเดียว
ฉันไม่กล้าอธิษฐานว่า ขอให้เราได้เกิดมาเป็นแม่ลูกกันใหม่ แม้ตอนลูกมีชีวิตอยู่ เราสองคนแม่ลูกก็ไม่กล้าที่จะเอ่ยประโยคนี้ออกมาเพื่อแลกเปลี่ยน หรือเป็นการแสดงความรักต่อกัน เพราะฉันเชื่อและบอกกับลูกว่า
"ความผูกพันพ่อแม่ลูก น่าจะยุติโดยภพชาติ ดวงจิตของลูกจะได้ไม่ต้องมากังวลหรือผูกติดกับครอบครัว แม่ต้องการให้ลูกจากไปสู่สุขคติได้อย่างวางใจอันเป็นที่สุดนะลูก"
ความรักของแม่ที่บริสุทธิ์ ไม่มีเงื่อนไข ไม่ได้คิดถึงตนเองก่อน แต่คิดถึงสิ่งดีที่ดีสุดสำหรับลูกอันเป็นที่รัก
ขอให้ดวงวิญญาณของน้องโย่งได้ไปสู่สุขคติตามความปรารถนาของคุณแม่
ขอคารวะ ความเป็นแม่ของคุณหทัยภรณ์ กสิกิจนำชัย
เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ สามารถนำมาใช้เป็นหนังสืออ่านนอกเวลา ในการเรียนการสอนการดูแลคนไข้ระยะสุดท้าย โดยเฉพาะในประเด็น
บทบาทของครอบครัวในการดูแลคนไข้
การดูแลด้านจิตวิญญาณหรือปัญญา
ความเศร้าโศกและเสียใจ
ข้อควรระวัง: ไม่ควรอ่านหนังสือเล่มนี้ในที่สาธารณะ
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี -
ส่วนตัวแล้ว อ่านเรื่องนี้กี่ครั้งก็ตาม ร้องไห้ทุกครั้ง น้ำตาไหลเกือบจะตลอดเรื่อง ต้องเตรียมทิชชูไว้ใกล้ตัว อยากให้ลองฟังกัน
-
บางตอนที่ทำให้ร้องไห้
“หม่าม้าครับ ผมทำให้หม่าม้าลำบาก ขอโทษครับ”
แม่ไม่กล้าที่จะร้องไห้ จึงแสร้างทำเป็นเรื่องตลก เพื่อให้ลูกคลายกังวล แต่ในความตลกนั้นมีความจริงบางอย่างซ่อนอยู่
“ลำบากอะไรกันลูก ดูซิหม่าม้าทำได้ หม่าม้ามีความสุข สัจธรรมที่เค้าพูดกันว่า แม่คนเดียวเลี้ยงลูกหลายคนได้ แต่ลูกคนเดียวเลี้ยงแม่คนเดียวไม่ได้ ตอนอาม่าป่วย หม่าม้าจ้างคนมาดูแล ให้คนงานอาบน้ำ ป้อนข้าว ให้คนงานทำทุกอย่างแทนที่จะทำเอง บางครั้งก็ปล่อยให้อาม่าอยู่กับคนงาน แต่พอถึงคราวลูกป่วยบ้าง คนงานขอทำ
หม่าม้าไม่ยอมให้ทำ หม่าม้ามีความสุข ที่จะทำให้หนูเอง เหมือนลูกเมื่อตอนเล็กๆ ความรักเหมือนกันแต่ต่างกันมากเลย”
หลังกินข้าวเสร็จ จึงเริ่มคุยกับลูกว่า “ยาอะไรเอ่ยรักษาได้ทุกโรค”
“ธรรมะโอสถ”
“ไม่ใช่ นั่นเป็นเพียงยารักษาใจ ที่รักษาได้หายขาดทุกโรคเลยไม่เจ็บปวดอีกแล้ว”
“อ๋อ ........ความตาย”
ยามที่พูดแม้จะเหมือนพูดเล่นแต่หัวใจของแม่ แสนเจ็บปวดและกลัวมากว่า ลูกจะรับได้มากน้อยแค่ไหน
ลูกเชื่อไหม “คนเราเกิดตายไม่รู้กี่ชาติ ร่างกายผุพัง แต่มีอย่างเดียวที่ไม่แก่ไม่ตาย จนกว่าจะหมดกิเลส”
“จิตวิญญาณใช่ไหม”
“ใช่ลูกจิตวิญญาณไม่มีวันตาย ร่างกายเราเปรียบเสมือนบ้านหลังหนึ่ง วันหนึ่งมันก็ต้องผุพัง เราก็ต้องหาบ้านอยู่ใหม่”
“กลัวไหมลูก”
ที่ถามลูกบ่อยๆ เพราะต้องการให้ทำใจให้คุ้นชินกับความตายเป็นเรื่องปกติ วางใจ เมื่อเวลานั้นมาถึง -
-
ขอบคุณในน้ำใจอันงดงาม
-
ด้วยความยินดีในกุศลที่ได้ทั้งผู้อ่านและผู้ฟังอย่างยิ่งค่ะ และหนังสือเล่มใหม่กำลังจะอ่านเสร็จเร็วๆนี้ค่ะ