หลวงพ่อสด แยกกายมาจากต้นธาตุต้นธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย belives, 29 ตุลาคม 2010.

  1. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    การที่เราฝึกให้เป็นธรรมกาย เพราะธรรมกายมีญาณทัสสนะที่ละเอียดสามารถรู้เห็นในส่วนของวิปัสสนาญาณได้อย่างละเอียดชัดเจน โดยเฉพาะการพิจารณาในอริยสัจ 4 เราต้องเห็นกระบวนการของ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ให้ได้จึงจะเข้าใจแจ่มแจ้ง เพราะการพิจารณาในอริยสัจทั้ง 4 เป็นทางพ้นทุกข์หมดกิเลสได้ ทำสังโยชน์อาสวะที่หมักดองในขันธสันดานให้หมดไปจากใจเราได้ ต้องเห็นอริยสัจทั้ง 4 เห็นกระบวนการทำงานของทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค จึงจะเข้าใจแจ่มแจ้ง แล้วพิจารณาดับละลายกิเลสเป็นขั้นๆ เข้าไป เช่น


    ละสังโยชน์กิเลส (กิเลสซึ่งหน่วงเหนี่ยวสัตว์ไว้ในภพ) ได้ ๓ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวตนหรือของตน , วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในคุณพระรัตนตรัยในทางดำเนินให้ถึงนิพพาน , สีลัพพตปรามาส จึงเข้าสู่อริยภาวะเป็นพระโสดา


    พระสกทาคามี ละสังโยชน์ได้เหมือนพระโสดาบัน แต่มีคุณธรรมเพิ่มขึ้น ทำราคะ โทสะ และโมหะให้เบาบางลง


    พระอนาคามี ละกิเลสเพิ่มขึ้นอีก ๒ อย่าง คือ กามราคะ ความกำหนัดในกามคุณ และปฏิฆะ ความหงุดหงิดรำคาญใจ



    พระอรหันต์ ละสังโยชน์เพิ่มขึ้นอีก ๕ อย่าง คือ รูปราคะ ความติดสุขในรูปฌาน ,อรูปราคะ ความติดสุขในอรูปฌาน , มานะ ความทะนงตัว , อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ,อวิชชา ความเขลา ความไม่รู้ตามเป็นจริง



    อยู่แต่ว่าเราทำวิชชา 3 แล้วดับละลายกิเลสได้แค่ไหนนั่นเอง แต่ถ้ายังไม่ถึงขั้นดับกิเลสเป็นอริยบุคคล เพราะวาสนาบารมียังหย่อนอยู่ การเดินวิชชา 3 เข้าไปพิจารณาอริยสัจทั้ง 4 จนเกิดวิปัสสนาญาณ 10 ได้ก็ถือว่าได้เข้าสู่กระแสพระนิพพานขั้นโคตรภูบุคคล คือกึ่งโลยะกึ่งโลกุตตระ เพราะได้เคยสัมผัสกระแสนิพพานชิมลองได้บ้าง แต่ยังคาบลูกคาบดอกอยู่ ยังไม่ถึงกระแสอริยบุคคลอย่างแท้จริง อยู่แต่ว่าหมั่นเพียรสะสางธาตุธรรมเนืองๆ ก็พอเป็นนิสัยปัจจัยให้ใกล้ต่อมรรคผลนิพพานเข้าแล้ว ดังนั้นผู้ที่ฝึก ธรรมกาย จนสามารถพิจารณาวิชชา 3 ยกจิตสู่ภูมิวิปัสสนาเห็นการเกิดดับของ รูปนามตามความเป็นจริง แต่ยังมีบารมีไม่เต็มส่วนก็ถือว่าได้เข้าสู่กระแสโคตรภูบุคคล อยู่แต่ว่าจะรักษาและปฏิบัติสืบต่อเนืองแค่ไหนอย่างไร



    เมื่อเราผ่านหลักสูตรวิชชา 3 ได้เคยสัมผัสวิปัสสนาญาณมาแล้ว แต่เป็นเพียงโคตรภูบุคคล เราก็สามารถตรวจสอบอาสวกิเลสที่หมักดองอยู่ในใจของเรา ซึ่งควรตรวจสอบเนืองๆ มีวิธีย่อๆ ดังนี้... <!--MsgFile=44-->

     
  2. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972

    <!--MsgIDBody=45-->**** วิธีทดลองจิตว่าอาสวะจะสิ้นเพียงไหน ****


    บทนี้เป็นบทสอบสวนตัวเอง ว่ายังมีกิเลสอยู่หรือไม่ คำว่า “อาสวะ” แปลว่า กิเลส คือ กิเลสที่ใจ การสอบสวนหรือการตรวจสอบให้สอบสวนที่ใจ


    กามคุณ ๕ คือความยินดีในกาม ได้แก่ การยินดีใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส หมายความว่า เรายินดีในรูปร่างของสตรี เรายินดีในเสียงที่ไพเราะ เช่นเสียงของนักร้อง เรายินดีในกลิ่น เช่น กลิ่นน้ำหอม เรายินดีในรส ได้แก่ รสแห่งกาม เรายินดีในการได้สัมผัสกาย ได้ลูบไล้กาย ได้กอดจูบ ลูบคลำ รวมเรียกว่ากามคุณ ๕ เรายินดีหรือไม่ นี่คือเรื่องกามคุณของมนุษย์ กามคุณในทิพย์นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง คือในทิพย์เขาก็มีกามคุณ แต่เบาบางกว่ามนุษย์ อย่างที่เขาพูดว่านางฟ้า นางสวรรค์ ถามว่าเรายินดีหรือไม่


    เรื่องของอยากมี อยากเป็น ยังมีความอยากอยู่หรือไม่ ถ้าเขาให้เราเป็น เทวดา อินทร์ พรหม บรมกษัตริย์ ให้เป็นนายกรัฐมนตรี อยากหรือไม่อยากคราวนี้มาถึงอยากมีบ้าง คือ อยากรวย อยากมีสมบัติมาก ๆ อยากมีลาภ อยากมียศศักดิ์ อยากให้เขายกย่องสรรเสริญ อยากมีความสุขสารพัด นี่คือเรื่องของ “ภวตัณหา”


    คราวนี้มาถึงเรื่อง “วิภวตัณหา” บ้าง ได้แก่ ความอยากให้สิ่งที่เราชอบเราพอใจ คงสภาพอยู่ ไม่ให้เสื่อมสลาย พัสดุกามก็คือทุกชนิดที่เป็นวัตถุส่งเสริมให้กิเลสกามคงสภาพอยู่ เช่น สาวงามของเรา อย่าให้เธอต้องแก่เฒ่าเลย เพื่อสภาพแห่งกามจะได้ไม่เสื่อมคลาย น้ำหอมยี่ห้อที่เราได้กลิ่นแล้วส่งเสริมให้กามกิเลสคงมั่น ขอให้น้ำหอมยี่ห้อนี้อย่าได้หมดไปจากตลาดเลย สรีระของคุณเธอจงเต่งตึงอย่าเหยี่่วย่นได้ไหม ยาสมุนไพรขนานที่กินแล้วส่งเสริมสมรรถภาพทางเพศ ตัวอย่างที่กล่าวนี้ เป็นพัสดุกามทั้งนั้น โจทย์เขาถามว่าเราอยากให้สิ่งเหล่านี้คงสภาพอยู่ไหม?


    คำตอบอยู่ที่ใจเรา หากเรายังยินดีอยู่ ตำราเขาบอกว่ายังมี “รส” คำว่ารสเป็นความรู้ทางวิชชาธรรมกาย หมายถึง เราติดใจรส เราอร่อยในรส เรายังยินดีในรส แปลว่า กิเลสหรืออาสวะยังไม่สิ้น หากเราไม่ยินดีในรส แปลว่า “จืด” แต่นี่แสดงว่า รสยังไม่จืดคือรสยังโอชาอยู่ เมื่อรสยังมีอยู่ชาติเกิดตามทันที ชาติสนับสนุนทันที


    คำว่า “ชาติ” หรือ “ชาต” แปลว่า เกิด คือการการเวียนว่าย หลวงพ่อท่านพูดว่า ยังมีรสมีชาติ คือถ้ารสไม่จืด ชาติก็ตามมาเพราะรสกับชาติเกี่ยวข้องกัน เมื่อมีรสก็ต้องมีชาติเสมอไป




    >>> ปัญหาอยู่ที่ว่า เราจะตรวจสอบใจของเราอย่างไร?


    o วิธีสอบท่านให้ทำ ๓ สถาน คือ ขณะที่ใจหมกมุ่น ๑ ขณะที่สภาพใจสงบ ๑ และขณะที่ใจอยู่กับกายธรรม ๑ หากใจของเราให้คำตอบตรงกันใน ๓ วาระจึงจะฟังได้


    แม้ใจของเราจะตอบอย่างไร อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะเราหลอกตัวเองมาแล้ว ท่านให้เดินวิชาตรวจสอบเสียก่อน ดังนี้


    ////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////



    แนวเดินวิชา

    ลำดับแรก


    เดินวิชาถอยหลังจากกายธรรมย้อนมาหากายมนุษย์ หยุดกลางดวงธรรมของกายมนุษย์ เพื่อดูทุกข์และสมุทัย ให้ดูที่ทุกข์และสมุทัยนั้น ว่าดวงตัณหาขุ่นมัวหรือจางหายไป หากจางหาย แปลว่า ตัณหาเบาบางลงแล้ว หากยังขุ่นมัวพึงทราบเถิดว่า ตัณหายังมีบริบูรณ์ เมื่อตัณหามีขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ อุปาทาน ภพ ชาติ ตามแนวการเดินวิชาว่าด้วยปฏิจจสมุปบาทนั้น


    ลำดับสอง

    การเดินวิชาบทนี้ เมื่อเห็นดวงตัณหา พึงส่งใจนิ่งลงไปที่ดวงตัณหาให้เห็น ดวงเห็น จำ คิด รู้ ของตัณหานั้น เมื่อเห็นแล้วนึกรวมเห็น จำ คิด รู้ ให้เป็นหนึ่ง แล้วเราก็นิ่งลงไปกลางดวงนั้น เราก็เห็นว่า ดวงตัณหาซ้อนในเห็น จำ คิด รู้ และในเห็น จำ คิด รู้ นั้นมีอายตนะ ๑๒ เมื่อมีอายตนะ ๑๒ ย่อมมี “ผัสสะ” ตัวผัสสะยังอำนวยการให้มีการรับส่งของอายตนะ นั่นคือ ตัณหาเกิดขึ้นได้เสมอ หากมีอะไรมากระทบอายตนะ


    อย่าลืมเดินวิชา เรามุ่งภาคปฏิบัติ ว่าเราปฏิบัติได้หรือไม่ หากเรามุ่งอ่านตำราได้แต่จำได้ พูดได้เท่านั้น แต่ทำไม่ได้ แล้วจะเกิดประโยชน์อะไรกัน ดังนั้นขอให้มุ่งปฏิบัติทุกเรื่อง ดูบทบัญญัติทุกเรื่อง อ่านคำอธิบายเสร็จแล้วเดินวิชาทันทีอย่าอ่านเพื่อรู้ ขอให้อ่านเพื่อปฏิบัติ วิชาธรรมกายของเราจะสูญต่อเมื่อเราอ่านเพื่อรู้ หากรูปการเป็นอย่างนี้ วิชาธรรมกายจะสูญในเร็ววัน ต่อไป เราจะพบแต่คนท่องวิชาได้ แต่หาคนทำวิชาเป็นไม่ได้ <!--MsgFile=45-->

     
  3. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    **** กิเลสตระกูลต่าง ๆ ที่อยู่ในใจสัตว์โลก มีดังนี้ ****




    อาสวะ คือ กิเลสที่หมักดองใจ

    - กามาสวะ เครื่องหมักดองสันดานสัตว์ เป็นเหตุให้อยากได้กามหนึ่ง
    - ภาวสวะ เครื่องหมักดองสันดานสัตว์ เป็นเหตุให้อยากมีอยากเป็นหนึ่ง
    - อวิชชาสวะ เครื่องหมักดองสันดานสัตว์ เป็นเหตุให้มืด ทำให้โง่เขลาหนึ่ง


    อนุสัย คือ กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน

    - กามราคานุสัย คือความยินดีในกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส ธรรมารมณ์
    - ปฏิมานุสัย คือความไม่พอใจแล้วผูกใจเจ็บจนถึงขั้นจองเวร
    - อวิชชานุสัย คือความมืด ความบอด ความโง่เขลา การไม่เห็นธรรม การไม่รู้ธรรม


    สัญโญชน์ แปลว่า เครื่องร้อยรัดสัตว์ให้ข้องอยู่ในวัฎสงสาร

    - กามราคสัญโญชน์ มีอารมณ์ยินดีในกามคุณ
    - ปฏิฆสัญโญชน์ ไม่ชอบอารมณ์ใด ๆ โดยไม่มีเหตุผล
    - อวิชชาสัญโญชน์ ไม่รู้ธรรม ไม่เห็นธรรม


    นิวรณ์ แปลว่า เครื่องสกัดกั้นความดี

    - กามฉันทนิวรณ์ ความยินดีในอารมณ์กามคุณ
    - พยาปาทนิวรณ์ ความไม่พอใจในอารมณ์ต่าง ๆ
    - อวิชชานิวรณ์ ความไม่รู้สัจธรรม


    โยคะ แปลว่า เครื่องประกอบสัตว์ให้ติดภพภูมิ

    - กามโยคะ ความยินดีในกามคุณ
    - ภาวโยคะ ความยินดีในภพภูมิต่าง ๆ
    - อวิชชาโยคะ ความยินดีในความรู้ที่ไม่ตรงความจริง


    โอฆะ แปลว่า ห้วงน้ำทำให้สัตว์จมอยู่ในสังสารวัฎ

    - กามโมฆะ ความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ
    - ภโวฆะ ความยินดีในภพภูมิ
    - ทิฏโฐฆะ ความยินดีในความเห็นผิด
    - อวิชโชฆะ ความยินดีในความรู้ที่ไม่จริง


    คันถะ แปลว่า เครื่องผูกสัตว์ไม่ให้หลุดไปจากโลก

    อุปาทาน แปลว่า ยึดมั่นถือมั่น

    กิเลส แปลว่า เครื่องเศร้าหมอง​



    กองทัพกิเลสชุดใหญ่หรือเรียกว่า ปิฎกธาตุปิฎกธรรมของฝ่ายอกุศลที่เข้ามาสวมซ้อนในใจและกายของเราทุกกาย มีดังนี้

    อภิชญา พยายาท มิจฉาทิฎฐิ​

    โลภะ โทสะ โมหะ ​

    ราคะ โทสะ โมหะ​

    กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย​

    สักกายทิฎฐิ สีลัพพตปรามาส วิจิกิจฉา​

    กามราคะ พยาบาท รูปราคะ อรูปราคะ​

    มานะ อุทธัจจะ อวิชชา​



    สังโยชน์ คือ กิเลสเครื่องผูกรัดใจสัตว์มี ๑๐ อย่าง

    ๑. สักกายทิฎฐิ ความเห็นผิดเป็นเหตุให้ถือตัวตน​

    ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจในปฏิปทา​

    ๓. สีลัพพตปรามาส ความถือศีลพรตนอกธรรม​

    ๔. กามราคะ ความติดในกิเลสตาม​

    ๕. ปฏิฆะ ความหงุดหงิด​

    ๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรม​

    ๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม​

    ๘. มานะ ความสำคัญตนเป็นนั่นเป็นนี่​

    ๙. อุทธัจจะ ความคิดพล่าน​

    ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง​




    จะเห็นว่า กิเลสเหล่านี้ มีอวิชชากำกับอยู่ท้าย เหมือนกับเรื่องอาสวะและเหมือนกับเรื่องอนุสัยนั้น แต่ละชื่อของกิเลส มีความหมายคล้ายกัน สรุปแล้วก็เรื่อง กามคุณ เรื่องอารมณ์ความไม่พอใจ เรื่องอวิชชา​


    กิเลสแต่ละตัวทำหน้าที่ไม่เหมือนกัน รวมทั้งอวิชชาที่กำกับกิเลสตัวนั้นก็ทำหน้าที่ไม่เหมือนกันด้วย ทั้งสัญโญชน์ นิวรณ์ โยคะ โอฆะ มีอวิชชากำกับไว้ทั้งนั้น​


    ดูไปแล้วคล้ายสุนัขไล่เนื้อ อวิชชาคือหัวฝูง พอหัวฝูงเห่าให้สัญญาณ ลูกฝูงจะออกไล่สัตว์ทันที ตัวหนึ่งปัสสาวะ สัตว์ใดเข้าแนวเขตปัสสาวะจะตาฟาง ตัวหนึ่งกัดที่เอ็นขา เพื่อให้สัตว์เดินไม่ได้ ตัวหนึ่งขึ้นขี่หลังเพื่อให้สัตว์เกิดกังวลใจ ตัวหนึ่งกัดที่ตา ตัวหนึ่งกัดที่ท้อง สุดท้ายสัตว์เก้งกวางล้มลง แล้วมันก็ช่วยกันรุมจนถึงแก่ความตาย แล้วก็ช่วยกันกินเนื้อกินไส้


    ไม่ผิดอะไรกับมนุษย์ กิเลสร้อยแปดรุมจิตใจเรา เพราะมันอยู่ที่ใจของเราอยู่แล้ว โบราณเขาพูดว่า กิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปด ก็คือกิเลสมากมายและตัณหาก็มีรูปแบบนานานั่นเอง​


    มีกิเลสร้ายอยู่ ๒ ตัว คือเรื่องกิเลส ๑๐ นั้น มุ่งมาที่ “อหิริกกิเลส” คือความไม่ละลายต่อบาป และ “อโนตตัปกิเลส” คือ ความไม่กลัวบาป หากกิเลส ๒ ตัวนี้เจริญขึ้นในใจเมื่อไร จะสามารถทำลายล้างได้หมด เพราะตัวอื่นเป็นเชื้อมาก่อน คือ โลภะ (ความโลภ) โทสะ (ความโกรธ) โมหะ (ความหลง)​


    กิเลสมีทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียด กิเลสประเภทที่มีอวิชชากำกับ เป็นกิเลสละเอียดยากต่อการกำจัดต้องใช้วิชาธรรมกายระดับสูง กิเลสบางอย่าง เพียงเรารักษาศีลก็แก้กันได้ กิเลสบางอย่างต้องแก้โดยสมาธิภาวนา แต่การแก้กิเลสประเภทที่มีอวิชชากำกับ แก้ยากมาก ต้องใช้วิชาธรรมกายชั้นสูง เพราะอะไรจึงยาก เหตุที่ยากเพราะกิเลสตระกูลนั้นขยายงานเป็นปฏิจจสมุบาท แยกเป็นทีมงาน รับส่งกันไม่สิ้นสุด คือ​


    เมื่อมีอวิชชา จะต้องมีสังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เกี่ยวข้องกันเป็นลูกโซ่ กิเลสแต่ละตัวเขาก็มีนิพพาน ภพ ๓ โลกันต์ของเขา เขามีการส่งวิชากันไม่ขาดระยะ เขาทำงานมีประสิทธิภาพ สัตว์โลกเกิดเท่าไร ตายเท่านั้น ไม่รอดเลย แม้แต่หนึ่งเดียว​


    (จากหนังสือ แนวเดินวิชาหลักสูตรมรรคผลพิสดาร ๑ ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ) <!--MsgFile=46-->​


     
  4. albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ข้อมูลเยอะจริงๆ จากที่อ่านที่คุนสมถะยกมาไห้อ่าน

    ผมอ่านแล้วรู้สึกว่าหนังสือที่เค้าทำมาแจกและก้เผยแพร่ไห้ข้อมูลที่ดีมาก

    ทีนี้ก้ใช้การพิจารนาเพื่อไห้เกิดปัญญาและรู้เห็นตามจริงอย่างถูกต้อง
     
  5. ต้นไม้โพธิ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +85
    สาธุครับท่านสมถะ ที่ไม่เหนื่อยต่อการโพสต์

    ปัญหาอยู่ที่ว่ามีแหล่ง มีตำรา มีครูบาอาจารยฺ์ และมีลิงค์ให้กดเข้าไปศึกษา แต่ก็ไม่อ่านกัน

    ท่านสมถะจึงได้ยกแต่ส่วนสำคัญๆมาโพสต์ก็นับว่าดีมากครับ เรียนเชิญท่านผู้สนใจศึกษากันได้ครับ
    ................................

    แล้วว่างจะมาช่วยเสริมประเด็นสำคัญๆนะครับ
     
  6. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
  7. ดุสิตบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +273
    กราบอนุโมทนาบุญกับท่านสมถะด้วยครับ

    "บุคคลที่ทุ่มเทเสียสละเวลาส่วนตัวเพื่อเผยแผ่งานพระศาสนาอย่างไม่หวังผลประโยชน์ตอบแทน เป็นบุคคลที่สมควรแก่การเคารพนับถือของมนุษย์และเทวดาอย่างยิ่ง"
     
  8. ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    คุณสมถะ ยังต้องทำความเข้าใจ เรื่อง สติ และ ปัญญา อีกมาก

    ว่า ปัญญา ไม่ได้อยู่ที่ตัวหนังสือ แต่อยู่ที่ ตัวบุคคล

    ธรรมไม่ได้อยู่ที่ตัวหนังสือ ดังนั้น หากเรามีความรู้ แล้ว เราก็จะสามารถ อธิบาย ธรรมออกมาได้

    จนถึง สุดยอดแห่งปัญญา คือ กล่าวออกมาเป็นธรรม ทุกคำพูด และ สอดคล้องกัน ไม่มีผิดเพี้ยน

    จึงเรียกว่า ธรรม เป็นจริงเสมอ ไม่เปลี่ยนแปลงไปตาม กาลเวลา

    ทีนี้ มาถึง เรื่อง โคตรภู

    เรื่องโคตรภู นั้นเป็นหากเรียกปัญญา ก็คือ ปัญญาที่เห็นแจ้งในความดับไปของความปรุงแต่ง หากว่าเป็นบุคคล ก็คือ บุคคลที่มีปัญญาอยู่ระหว่างจะเป็นพระอริยะกับปุถุชน ก้ำกึ่ง

    ที่ว่า ก้ำกึ่ง เพราะยังติดยังข้อง ยังไม่เคลียร์ ยังติดอยู่กับแรงยึดทางโลกๆ นี้ มุมมองในการเดินออกจาก เครื่องร้อยรัดจึงไม่กระจ่าง

    ทีนี้ ในส่วนที่พูดๆ กันมา ในธรรมกาย นี้บอกตามตรง ยังห่างไกล กับ ปัญญา หลายทอดหลายตลบ

    ให้พิจารณากันให้ดี ขี้เกียจจะอธิบายมาก
     
  9. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่คุณขันธ์นะครับ ถ้าคุณมีปัญญามากเห็นปานนี้ ก็ขอให้เข้าถึงธรรม สำเร็จมรรคผลเร็วๆ จะได้เป็นที่พึ่งแก่พระศาสนา ผมคนด้อยปัญญา มิอาจเทียบค่ากับท่านได้ ขอบคุณในความปรารถนาดี และคำแนะนำสั่งสอน ขอน้อมรับไว้ด้วยใจ



    ...



     
  10. ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    การท่องจำ เป็นนกแก้วนกขุนทอง หรือ ตามบัญญัติ มันไม่ได้ช่วยอะไร

    เปรียบเหมือนเด็กท่องสูตรคูณ มันก็ท่องมาแบบนั้นแหละ

    ดังนั้น การที่เรายก สังโยชน์ ตามบัญญัติมา หรือว่า พูดกันเรื่อง กาย 18 อรหันต์ หรือ อะไรก็ตาม มันเป็นเรื่องของ การท่องๆ กันมา แล้วก็ พยายามทำกันให้เกิดอาการแบบที่ท่องกันมา

    ซึ่งมันผิด

    ทางที่ถูกจะต้อง เจริญ ธรรมะ คือ ศีล สมาธิ แล้ว ใช้ สติปัญญา มองอาการของตัวเรา แล้วสังเกตุ

    ศึกษา ว่า อาการของใจนี้มีอาการอย่างไร แล้ว นั่นแหละ เราจะเห็น ทั้งหมด ที่พระศาสดาบัญญัติไว้ ไม่ว่า จะเป็น สังโยชน์ ทุกๆ ตัว ปฏิจสมุบบาท ทุกตัว เหตุแห่งทุกข์ ทุกตัว อยู่ที่ใจเรานี้

    แล้ว เราไปตั้งธง ด้วยการเอากาย 18 กาย มาชี้นำ มันก็ไม่ได้หันหน้ามาสังเกตุอะไรเลย

    มิหนำซ้ำ เราก็ยังท่องตำราไป ว่า ละสังโยชน์อย่างนั้นอย่างนี้ มันยังไม่ได้มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เป็นสมบัติติดตัวเลย

    สุดท้าย ก็ตายเปล่า ไม่ได้อะไร นอกจาก บ่นพร่ำไปว่า กาย 18 สังโยชน์มี 10 สติมี 4
    นั่นมันสัญญา ทั้งดุ้น เป็นสมุทัยทั้งก้อน พิจารณากันเอาไว้
     
  11. ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    มันคนละเรื่อง ที่ว่าปัญญาด้อย ปัญญาดี นี่มานะ ผุดขึ้นนะนั่น ที่พูดให้ฟังนี้ ผมพยายามพูดเรื่องธรรม อันใดผิดอันใดถูก ก็พูดกันไป ตามเนื้อผ้า จะได้เปิดมุมมอง ว่า ตอนนี้เราอยู่ขั้นใด ทัสนะเราอยู่มุมใด
     
  12. ดุสิตบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +273
    ปริยัติ>>>ปฏิบัติ>>>ปฏิเวธ นี่คือสิ่งที่พระตถาคตเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

    สำหรับผู้ที่จะปฏิบัติธรรมจะต้องมี"ปริยัติ"เสียก่อน ถ้าหากขาดปริยัติ (การศึกษาเสียแล้ว) การ"ปฏิบัติ"ธรรมนั้นๆก็ไม่สามารถเจริญก้าวหน้าได้หรือเป็นปฏิบัติแบบผิดๆ ทำให้เข้าใจธรรมะคลาดเคลื่อนจากความจริงไปได้ครับ เมื่อปฏิบัติธรรมถูกต้องตามแนวทางพระพุทธองค์ดีแล้ว ผลของการปฏิบัติธรรมนั้นคือ "ปฏิเวธ" หรือที่คุณเรียกว่า "ธรรม" นั่นแหละครับ

    สายปฏิบัติที่คุณขันธ์ได้เรียนรู้ปฏิบัตินั้น ส่วนใหญ่อาจจะยึดคำสอนพ่อแม่ครูบาอาจารย์ โดยการฟังธรรมบ้าง อ่านหนังสือของพ่อแม่ครูบาอาจารย์แต่ละรูปบ้าง นี่แหละคือตัวปริยัติของสายปฏิบัติของคุณขันธ์ครับ

    พอฟังธรรมะหรืออ่านหนังสือของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ศรัทธานับถือแล้ว ก็ลงมือปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติติดขัดตรงไหนหรือถ้าไปปฏิบัติในวัดป่า ตอนเย็นส่วนใหญ่หลังทำวัตรเย็นก็มีการสอบอารมณ์พระกัมมัฏฐาน ถ้าติดขัดตรงไหนครูบาอาจารย์ก็แนะแนวทางแก้ไขให้ นี่แหละคือตัวปริยัติอีกขั้นหนึ่งครับ

    ปริยัติของคุณขันธ์ถูกถ่ายทอดโดยพ่อแม่ครูบาอาจารย์ อาจจะเป็นหนังสือ ซีดี MP3 ส่วนปริยัติของท่านสมถะคือพระไตรปิฏกครับ

    ทำไมต้องมีปริยัติ หากขาดปริยัติเสียแล้ว การปฏิบัติก็อาจจะหลงทาง ผิดทางได้นั่นเองครับ
     
  13. ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    คุณ ดุสิตบุรี เข้าใจผิด ที่แย้งอยู่นี้ ไม่ใช่ เรื่องปริยัติในพระไตรปิฎก

    แต่ แย้งปริยัติในเรื่องธรรมกาย
     
  14. ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    84000 พระธรรมขันธ์ พระศาสดาไม่กล่าวตกบกพร่อง

    ในพระไตรปิฎก ไม่มีส่วนใดที่กล่าว ถึง วิชชาธรรมกาย ในแบบฉบับที่ทำกันมานี้

    ทีนี้ ผมขอพูดตรงๆ นะ หากจะกระทบ หลวงพ่อสด

    หลวงพ่อสดนี้ ท่านสอนธรรมกายมา ตั้งแต่ต้น ท่านเข้าใจของท่านอย่างนั้น ทีนี้มันไม่ตรงกับในพระไตรปิฏก ท่านก็ดัดแปลง ให้สอดคล้องกัน

    ก็กลายเป็นว่า

    ทีนี้ หากในเวลานั้น หลวงพ่อสด ท่านยังไม่ถึงธรรม ท่านก็ต้องมีกิเลส เมื่อท่านมีกิเลส ท่านก็คงจะต้องมีทิฎฐิมานะอยู่บ้าง การจะให้ยกเลิกแนวทางธรรมกายไป ก็เห็นทีว่าคงจะทำไม่ได้

    แล้ว อะไรที่ทำให้ผมพูดแบบนี้

    1 ไม่มีปรากฎ กายต่างๆ ในพระไตรปิฎก

    2 ไม่มีปรากฎ ว่า การทำญาณทัสนะให้ปรากฎด้วย กาย18 ไม่มีทั้งในวิสุทธิมรรค หรือ พระไตรปิฎก

    3 ไม่มีปรากฎ ในครูบาอาจารย์ที่ กระดูกเป็นพระธาตุ ท่านสอนให้เจริญ 18 กาย

    เอาหละครับ ผมก็ตั้งข้อสังเกตุ หากกระทบกระเทือนใคร ก็อย่าถืออย่าสา กัน

    การจะนับถือใคร เป็นเรื่องของบุคคล เพราะผมจะไปให้ใคร มาเข้าใจธรรม เหมือนกันหมดมันก็เป็นไปไม่ได้
     
  15. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    หลักฐานธรรมกายในประวัติศาสตร์พุทธศาสนา

    <SUP></SUP>


    คำว่า "ธรรมกาย" มีปรากฏเป็นหลักฐานในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทหลายแห่ง เท่าที่ปรากฏค้นพบคือ ในพระไตรปิฎก ๔ แห่ง ในอรรถกถา ๒๘ แห่ง ในฎีกา ๗ แห่ง ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ๒ แห่ง ในวิสุทธิมรรคมหาฎีกา ๓ แห่ง ในคัมภีร์มิลินทปัญหา ๑ แห่ง ในหนังสือปฐมสมโพธิกถา ๑ แห่ง ในหนังสือพระสมถวิปัสสนาแบบโบราณ ๑ แห่ง ในที่นี้จำนำมาแสดงที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและในคัมภีร์ต่างๆ พอสังเขป​
    หลักฐานชั้นพระไตรปิฎก

    ในพระไตรปิฎกฉบับบาลีอักษรไทย (๒๕๒๕) ซึ่งจัดพิมพ์โดยมหามกุฎราชวิทยาลัย
    มีปรากฏคำว่า "ธรรมกาย" อยู่ ๔ แห่ง โดยส่วนใหญ่อยู่ในพระสูตร คือ

    ๑. ที.ปา อัคคัญญสูตร ๑๑/๕๕/๙๑-๙๒
    ในทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้า ๙๒ ฉบับบาลี ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ว่า "ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐ อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปี พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิฯ"

    "ดูก่อน วาเสฏฐะ อันว่า คำว่า "ธรรมกาย" ก็ดี "พรหมกาย" ก็ดี "ธรรมภูต" ก็ดี ผู้ที่เป็นธรรมก็ดี หรือ "พรหมภูตะ" ผู้ที่เป็นพรหมก็ดี นี้แหละเป็นชื่อของเราตถาคต" จากข้อความนี้แสดงว่า ในประโยคดังกล่าว เป็นคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสกับสามเณรวาเสฏฐะว่า "ธรรมกาย" คือชื่อหนึ่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ๒. ขุ.อป. มหาปชาบดีโคตรมีเถรีอปทาน ๓๓/๑๕๗/๒๘๔
    ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๓๓ ข้อ ๑๕๗ หน้า ๒๘๔ บรรทัดที่ ๑๒ ฉบับบาลี ปี ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ไว้ว่า

    "สํวทฺชโตยํ สุคต รูปกาโย มยา ตว อานนฺทิโย ธมฺมกาโย มม สํวทฺธิโต ตยาฯ"

    "ข้าแต่พระสุคต รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันยังให้เติบโตแล้ว แต่ "พระธรรมกาย" อันน่ารื่นรมย์ของหม่อมฉัน พระองค์ให้เติบโตแล้ว"

    ๓. ขุ.อป. ปัจเจกพุทธาปทาน ๓๒/๒/๒๐
    ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๓๒ ข้อ ๒ หน้า ๒๐ บรรทัดที่ ๙ ฉบับบาลี ปี ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึงว่า

    "...ภวนฺติ ปจฺเจกชินา สยมฺภู มหนฺต ธมฺมา พหุธมฺมกายา...

    "พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สยมภู ทรงเป็นผู้มีธรรมะอันใหญ่ มี "ธรรมกาย" มาก"

    ๔. ขุ.อป. อัตถสันทัสสกเถราปทาน อปทาน ๓๒/๑๓๙/๒๔๓
    ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๓๒ ข้อ ๑๓๙ หน้า ๒๔๓ บรรทัดที่ ๑ ฉบับบาลี ปี ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ว่า

    "...ธมฺมกายญฺจ ทีเปนฺติ เกวลํ รตนากรํ วิโกเปตํ น สกฺโกนฺตี โก ทิสฺวา นปฺปสิทติฯ"
    หลักฐานชั้นอรรถกถา

    ๑. วินย. อ. สมนฺตปาสาทิกา เวรญฺชกณฺฑวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๑๑๖-๑๑๗
    ๒. ที.อ. สุมงฺคลวิลาสินี พฺรหฺมชาลสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๔
    ๓. ที.อ. สุมงฺคลวิลาสินี อคฺคญฺญสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๕๐
    ๔. สํ.อ. สารตฺถปฺปกาสินี ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๔๒-๓๔๓(อรรถกถาวักกลิสูตร)
    ๕. สํ.อ. สารตฺถปฺปกาสินี จกฺกวตฺติสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๒๒๒-๒๒๓
    ๖. ขุ.อ. ปรมตฺถโชติกา มงฺคลสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๙๕
    ๗. ขุ.อุ.อ. ปรมตฺถทีปนี พาหิยสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๙๐, ๙๑
    ๘. ขุ.อุ.อ. ปรมตฺถทีปนี โสณสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๓๒-๓๓๓
    ๙. ขุ.อิติ.อ. ปรมตฺถทีปนี นิทานวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๑๓
    ๑๐. ขุ.อิติ.อ. ปรมตฺถทีปนี ปญฺจปุพฺพนิมิตฺตสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๒๙๑
    ๑๑. ขุ.อิติ.อ. ปรมตฺถทีปนี อคฺคปฺปสาทสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๒๐-๓๒๑
    ๑๒. ขุ.อิติ.อ. ปรมตฺถทีปนี สงฺฆาฏิกณฺณสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๓๔
    ๑๓. ขุ.สุตฺต.อ. ปรมตฺถโชติกา ธนิยสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๙
    ๑๔. ขุ.สุตฺต.อ. ปรมตฺถทีปนี อุปสีวสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๔๔๓
    ๑๕. ขุ.วิมาณ.อ. ปรมตฺถทีปนี รชฺชุมาลาวิมานวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๒๔๖
    ๑๖. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี กงฺขาเรวตเถรคาถาวณฺณนา (ปฐโม ภาโค) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๕๑
    ๑๗. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี สิริวฑฺฒเถรคาถาวณฺณนา (ปฐโม ภาโค) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๑๖๗
    ๑๘. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี นาคิตฺเถรคาถาวณฺณนา (ปฐโม ภาโค) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๒๘๕
    ๑๙. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี เมตฺตชิตเถรคาถาวณฺณนา (ปฐโม ภาโค) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๐๔
    ๒๐. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี เสนกตฺเถรคาถาวณฺณนา (ทุติโย ภาโค) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๑๙
    ๒๑. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี สรภงฺคเถรคาถาวณฺณนา (ทุติโย ภาโค) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๑๕๘
    ๒๒. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี เขนฺตาเถรีคาถาวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๕
    ๒๓. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี มหาปชาบดีโคตมีเถรีคาถาวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๑๕๘
    ๒๔. ขุ.มหานิทฺ อ. สทฺธมฺมปชฺโชติกา ติสฺสเมตฺเตยฺยสุตฺตนิทฺเทสวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๒๖๓
    ๒๕. ขุ.จูฬนิทฺ อ. สทฺธมฺมปชฺโชติกา อุปสีวมาณวกสุตฺตนิทฺเทสวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๑
    ๒๖. ขุ.อป.อ. วิสุทฺธชนวิลาสินี ปจฺเจกพุทฺธาปทานวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๒๔๕
    ๒๗. ขุ.พุทฺธ.อ. มธุรตฺถวิลาสินี รตนจงฺกมนกณฺฑวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๗๔
    ๒๘. ขุ.จริยา.อ. ปรมตฺถทีปนี ปกิณณกกถา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๒๔​



    หลักฐานชั้นฎีกา


    ๑. วินย. ฎีกา. ตติยสงฺคีติกถาวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๑๕๖-๑๕๗
    ๒. วินย.ฎีกา. เวรญฺชกณฺฑวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๒๖๓
    ๓. วินย.ฎีกา. เวรญฺชกณฺฑวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๓๘๗-๓๘๘
    ๔. วินย.ฎีกา. เวรญฺชกณฺฑวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๔๓๙
    ๕. วินย.ฎีกา. ทุติยปาราชิก วินีตวตฺถุวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๒ หน้า ๒๐๓
    ๖. วินย.ฎีกา. โสณกุฏิกณฺณวตฺถุกถาวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๓ หน้า ๓๖๒-๓๖๓
    ๗. ม.ฎี. ลีนตฺถปฺปกาสินี มชฺฌิม-อุปริปณฺณาสฎีกา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๕๐



    หลักฐานจากคัมภีร์และหนังสืออื่นๆ


    ๑. วิสุทธิมรรค
    (๑) วิสุทฺธิมคฺคปกรณ พุทฺธานุสฺสติกถา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๒๓๐
    (๒) วิสุทฺธิมคฺคปกรณ มรณสฺสติกถา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๒๕๕-๒๕๖
    ๒. วิสุทธิมรรคมหาฎีกา
    (๑) วิสุทฺธิ. ฎีกา ปรตฺถมญฺชุสา พรรณนา อนุสสตินิเทศ (พุทธานุสติ) ภาค ๒ ฉบับภูมิพโลภิกขุ บาลี-ไทย หน้า ๔๙๔-๔๙๗
    (๒) วิสุทฺธิ.ฎีกา ปรตฺถญฺชุสา อนุสสติกัมมัฏฐานนิเทศ (มรณสติ) ภาค ๓ ฉบับภูมิพโลภิกขุ บาลี-ไทย หน้า ๒๐-๒๒
    (๓) วิสุทฺธิ.ฎีกา ปรตฺถมญฺชุสา พรรณนาอารุปปนิเทศ (ปกิณกกถา) ภาค ๓ ฉบับภูมิพโลภิกขุ บาลี-ไทย หน้า ๔๙๗-๔๙๘
    ๓. คัมภีร์วิสุทธิมรรคโบราณ
    แต่งโดยพระพุทธโฆษาจารย์ ประมาณ พ.ศ. ๑๐๐๐ หน้า ๒๘๒
    "...อันว่าสมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธองค์ ผู้ทรงพระสวัสดิภาคย์เป็นอันงามนั้น พระองค์มีพระรูปพระโฉม พระสรีรกายอันวิจิตรด้วยทวัตติงสะมหาบุรุษลักษณะ (ลักษณะสำหรับพระมหาบุรุษ ๓๒) และพระอสีตยานุพยัญชนะ ๘๐ ทัศ

    ประเสริฐด้วย"พระธรรมกาย" อันบริบูรณ์ด้วยแก้ว อันกล่าวแล้วคือ พระสีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนะขันธ์ อันบริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง..."
    ๔. คัมภีร์มิลินทปัญหา
    เรื่องพุทธนิทัสสนปัญหา หน้า ๑๑๓
    ๕. หนังสือพระปฐมสมโพธิกถา
    พระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ตอนมารพันธปริวรรต ปริจเฉทที่ ๒๘ หน้า ๕๐๙
    ๖. หนังสือพระสมถวิปัสสนาแบบโบราณ
    "...จึงตั้งจิตต์พิจารณาดู "ธรรมกาย"ในรูปกาย ด้วยการดำเนินในโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ จนจิตต์รู้แจ้งแทงตลอดรูปธรรมและนามธรรมได้แล้ว จักมีตนเป็นที่พึ่ง จักมีธรรมเป็นที่พึ่ง ด้วยประการฉะนี้"

    "พระโยคาวจรผู้รู้ว่า "ธรรมกาย" ดำรงอยู่ในหทัยประเทศแห่งสรรพภูติ ทำให้หมุนดังว่าหุ่นยนต์ ท่านจึงตั้งใจเจริญพระวิปัสสนาญาณ เพื่อให้ถึง "ธรรมกาย" เป็นที่พึ่งอันยอดเยี่ยมโดยสิ้นเชิง ถึงสถานอันสงบระงับ ประเสริฐเที่ยงแท้ เพราะความอำนวยของ "ธรรมกาย" นั้นเป็นอมตะ..."
    ๗. คัมภีร์ศรีมาลาเทวี สีหนาทสูตร
    "บุคคลใดไม่มีความสงสัยว่า ตถาคตเจ้าได้หลุดพ้นจากิเลสทั้งปวงแล้ว และ "ธรรมกาย" นั้นย่อมไม่มีการเกิด ไม่มีการแก่ ไม่มีการเจ็บ ไม่มีการตาย คงที่แน่นอน สงบตลอดกาล บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง ถึงพร้อมด้วยพุทธคุณทั้งปวง จะนับจะประมาณมิได้ ประหนึ่งเม็ดทราบในท้องพระแม่คงคาฉะนั้น สมบูรณ์ไปด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ แต่ไม่ปรากฏต่อสายตาของคนทั้งปวง "ธรรมกาย" ของพระตถาคตเจ้า เมื่อยังไม่พ้นจากกิเลสย่อมถูกกล่าวถึงในนามของตถาคตครรภะ"
    ๘. คัมภีร์ ลิ่ว จู่ ถั๋น จิง วู้ ซื่อ สมัยราชวงศ์ถัง
    "ธรรมกาย" เป็นทางเอกที่ไร้รูป (ขันธ์ ๕) ใสสะอาด บริสุทธิ์ เป็นเรื่องที่ขบคิดด้วยปัญญาไม่ได้ พระอาจารย์ปรากฏรูปขึ้นยามไร้รูป สร้างชื่อขึ้นยามไร้ชื่อ สร้างประโยชน์เพื่อไปมาอิสระ ไม่มีติดขัด ไม่เกี่ยวข้องแม้ใยไหมกิเลสไม่สามารถมาย้อมเกาะจิตในได้ และในยามปฏิบัติธรรมได้ถูกต้อง จะได้พบท่านอาจารย์ใหญ่ ปรากฏธรรมจักขุ เห็น "ธรรมกาย" ที่กลมใส บริสุทธิ์"

    "...มาเถอะกัลยาณมิตรทั้งหลาย เรื่องประพฤติธรรมนี้ ต้องเริ่มที่ใจของเรา ไม่ว่าเวลาใดๆ ตรึกนึกภาวนา

    หลักฐานจากศิลาจารึก
    ๑. ศิลาจารึกพระธรรมกาย
    ...สพฺพญฺญูตญาณปวรสีลํ นิพานรมฺมณํ ปวรวิลสิ ตเกส จตูถชานาปวร ลลาต วชฺชิรสมาปตฺติ ปวรอุ... ...อิมํ ธมฺมกายพุทฺธลกฺขณํ โยคาวจรกุลปุตฺเตน ติกฺขญาเณน สพฺพญฺญุพุทฺธภาวํ ปตฺเถนฺเตน ปุนปฺปุนํ อนุสฺสริตพฺพํฯ

    คำแปล "พระพุทธลักษณะคือ "พระธรรมกาย" มีพระเศียรอันเประเสริฐคือ พระนิพพาน อันเป็นอารมณ์แห่งผลสมาบัติ มีพระนลาฏอันเประเสริฐ คือจตุตถฌาน มีพระอุณาโลมอันประเสริฐ ประกอบด้วยพระรัศมี คือพระปัญญาในมหาวชิรสมาบัติ...
    พ.ศ. ๒๐๙๒ ภาษาไทย-บาลี อักษร ขอมสุโขทัย บัญชี/ทะเบียนวัตถุ/พล.๒ พบที่พระเจดีย์วัดเสือ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ
    ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติมจาก ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

    ๒. ศิลาจารึกที่เมืองพิมาย
    นโมวุทฺธายนิรฺมมาณ (ธรฺมสามฺโภคมูรฺตฺตเย) ภาวาภาวทฺวยาตีโต (ทฺวยาตฺมาโยนิราตฺมก:)

    คำแปล "ขอความนอบน้อม จงมีแด่พระพุทธเจ้า ผู้มีนิรมาณกาย "ธรรมกาย" และสัมโภคกาย ผู้ล่วงพ้นภาวะและอภาวะทั้งสอง ผู้มีอาตมันเป็นสอง และหาอาตมันมิได้"
    เป็นศิลาจารึกภาษาสันสกฤต อักษรขอม มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พบที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ได้มีการถอดความและแปลแล้ว จัดพิมพ์ขึ้นเป็นตัวหนังสือเรื่อง "จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗" ปัจจุบันอยู่ที่หอสมุดวชิรญาณ (หอสมุดแห่งชาติกรุงเทพฯ)​

    ๓. ศิลาจารึกที่ปราสาทพระขรรค
    "สมฺภารวิสฺตรวิภาวิตธรฺมกาย สมฺโภคนิรฺมฺมิติวปุรฺภควานฺวิภกฺต:"

    คำแปล "พระผู้มีพระภาค ผู้ประกอบด้วย " "พระธรรมกาย" อันพระองค์ยังให้เกิดขึ้นแล้วอย่างเลิศ ด้วยการสั่งสม (บุญบารมี) ทั้งสัมโภคกายและนิรมาณกาย"
    เป็นจารึกภาษาสันสกฤต
     
  16. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    วิชชาธรรมกายสอนเรื่องกายในกายนั้นเป็นอย่างไร...?


    ก่อนที่จะ กล่าวเหตุผลใดๆ ในหัวข้อกระทู้ ผมขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับท่านผู้อ่านกันก่อนว่า ท่านมีความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ในทิศทางใด
    ถามตัวท่านเองแล้วตอบด้วยความจริงใจออกมาก่อนว่าท่านเชื่อหรือไม่เชื่อใน เรื่องเหล่านี้ เราจึงจะพูดคุยกันรู้เรื่องในพื้นฐานของความเห็นที่ตรงกัน


    ๑.ท่านเชื่อหรือไม่ว่า คนเราตายแล้วไม่สูญ
    (หมายเอาการสืบต่อแบบสันตติ เมื่อจุติจิต(ตาย)มีขึ้น ปฏิสนธิจิต(เกิด)ก็ตามมาโดยไม่มีระหว่างคั่น แม้หลังตายแล้วถ้ายังไม่หมดกิเลสก็ต้องเกิดอีก)


    ๒.ท่านเชื่อหรือไม่ ในเรื่องกฎแห่งกรรม (บุญ-บาป) ที่จะนำสัตว์โลก (หลังตาย) ไปสู่สุคติภูมิ หรือไปสู่ทุคติภูมิ
    (หมายเอาความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม(บุญ-บาป)ที่ส่งไปสู่นรก-สวรรค์)


    ๓.ท่านเชื่อหรือไม่ ในเรื่องภพภูมิต่างๆ อันเป็นสถานที่รองรับการเวียนว่ายตายเกิด จนกว่าสัตว์โลกนั้นๆ จะพ้นทุกข์หมดกิเลส
    (หมายเอาความเชื่อเรื่องภพภูมิอันได้แก่ กามภพ(สวรรค์ โลก นรก) รูปภพ(พรหม) อรูปภพ(อรูปพรหม)


    ๔.ท่าน เชื่อหรือไม่ เรื่องวัฏฏสงสารอันยาวนานไม่มีเบื้องต้นเบื้องปลายอันสัตว์ผู้ยังติดอยู่ใน กิเลส ตัณหา อุปาทาน ยังต้องท่องเที่ยวไปตลอดไม่มีสิ้นสุด
    (หมายเอาเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารแบบสันตติ)


    ๕.ท่าน เชื่อหรือไม่ ว่าผู้บำเพ็ญสมาธิภาวนาสามารถมีอิทธิปาฏิหาริย์ เช่น หูทิพย์ ตาทิพย์ ละลึกชาติของตนและคนอื่นได้ แสดงฤทธิ์ทางใจอื่นๆ ได้
    (หมายเอาสมาธิในพระพุทธศาสนาจนถึงขั้นแสดงฤทธิ์ได้)


    ๖.ท่านเชื่อหรือไม่ ว่าผู้บำเพ็ญสมาธิภาวนาสามารถถอดจิตหรือถอดกายทิพย์ไปท่องเที่ยวยังภพภูมิต่างๆ ได้
    (หมายเอาสมาธิที่สามารถเห็นภพภูมิและกายทิพย์ตลอดจนสัตว์ในภพภูมินั้น ๆ ได้)



    ขอให้ท่านตอบมาก่อนแล้วการพูดคุยของเราจะชัดเจนขึ้น ถ้าความเข้าใจตรงจุดนี้ไม่ตรงกันการพูดคุยในเรื่องอื่นๆ ก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะความคิดพื้นฐานของความรู้ไม่ตรงกันแต่แรกแล้ว โปรดตอบก่อนนะครับ

    ถ้าท่านตอบว่า ท่านมีความเชื่อตามนั้น ถ้าเช่นนั้นท่านก็ต้องยอมรับว่า คนเราหลังตายแล้วไม่สูญ ยังมี จิต เจตสิก รูป ที่ยังสืบต่อเป็นสันตติให้ไปเกิดยังภพภูมิใหม่ รวมทั้งบุญและบาปที่ติดตามไป ดังนั้น ท่านก็ต้องยอมรับว่าคนเราไม่ใช่มีแค่กายมนุษย์หยาบที่(นั่งอ่านอยู่นี่) เพียงกายเดียว เพราะกายนี้เมื่อเราตายมันก็เน่าเปื่อยผุพังไป กายละเอียดซึ่งอาจจะเรียกว่า กายทิพย์ นั้นรับช่วงสืบต่อหลังตายโดยไม่มีระหว่างคั่นคือเกิดขึ้นทันที ไปอยู่ยังภพภูมิต่างๆ ตามระดับคุณภาพของจิต ที่มีกรรม(บุญ+บาป) คือการกระทำเป็นตัวสนับสนุน

    เมื่อเข้าใจเช่นนี้ ท่านก็คงไม่ปฏิเสธว่ามีกายในกายที่สืบต่อกรรมคือบุญและบาปของกายมนุษย์ ปัจจุบันนี้รองรับช่วงต่อในสัมปรายภพเบื้องหน้า ฉะนั้นต่อไปก็คือทำอย่างไรเราจะได้พบเห็นกายละเอียดเหล่านี้แม้ในขณะที่เรา ยังมีชีวิตอยู่ อย่าลืมเรื่องที่เราเคยได้ยินกันคือ มีผู้ปฏิบัติจิตภาวนาสมารถถอดเอากายทิพย์ซึ่งเป็นกายละเอียดขณะยังมีชีวิต อยู่ไปท่องเที่ยวยังภพภูมิต่างๆ ได้ เช่นพระภิกษุที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งหลายซึ่งก็มีอยู่มากมาย

    ฉะนั้นเรื่องกายในกายจึงเป็นเรื่องที่ไม่เกินความจริงใดๆ สามารถปฏิบัติให้รู้ให้เห็นได้ วิชชาธรรมกายกล่าวถึงกายในกายซึ่งมีเป็นชั้นๆ เข้าไปจึงเป็นไปได้อย่างแน่นอน อยู่แต่ว่าเราจะเข้าถึงไปรู้ไปเห็นเรื่องเหล่านี้ได้อย่างไร และเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่แค่เป็นเพียงรูปนิมิตอย่างที่บางท่านเข้าใจไปเอง แล้ว แต่เป็นเรื่องของกายในกาย หรือกายซ้อนกายที่ทุกคนมีอยู่แล้ว ตรงนี้เราต้องเข้าใจให้ตรงกันก่อน

    หลวงพ่อวัดปากน้ำโชคดีที่ไปรู้ไปเห็นเรื่องกายในกาย เป็นชั้นๆ เข้าไปถึง 18 กาย จึงได้เข้าถึงกรุวิชชา หลวงพ่อใช้เวลาใครครวญวิชชาอยู่ถึง 8 ปี นั่นคือหลวงพ่อพิจารณาทุกเรื่องจนแน่ใจว่านี่ของจริง ไม่ใช่เรื่องนิมิตแน่นอน เพราะก่อนหน้านี้หลวงพ่อก็เคยไปเรียนกัมมัฏฐานจากครูบาอาจารย์หลายท่าน ย่อมทราบดีว่าอะไรคือของจริงหรือของหลอก ซึ่งหลวงพ่อปรารถตอนนั่งเข้าที่ ณ วัดโบสถ์บน บางคูเวียง ว่าถ้าไม่ได้เห็นของจริงอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงรู้ทรงเห็น เป็นไม่ลุกจากที่ นั่นหมายความว่าความรู้ที่ได้ในครั้งนั้นคือ การเห็นดวงปฐมมรรคและการเห็นเรื่องกายในกาย หลวงพ่อจึงต้องใคร่ครวญพิจารณาเป็นอย่างดีว่าจริงแท้แค่ไหน จนในที่สุดหลวงพ่อตัดสินใจทำวิชชาชั้นสูงที่เรียกว่า ปราบมาร โดยตั้งกองทัพปราบมาร ในวัดปากน้ำ เกณฑ์ผู้ที่ได้ธรรมกายระดับสูงเข้าทำวิชชาที่เรียกว่า "โรงงาน" ทำต่อเนื่องไม่หยุดเลยตลอดเวลา 30 กว่าปี กวดขันกันอย่างนั้นทั้งพระภิกษุและแม่ชีอุบาสิกาและอุบาสก ได้ความรู้ออกมาเป็นตำรา เป็นมรดกธรรม ถึง 4 เล่ม คือ

     
  17. ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    คุณสมถะ ยก หลักฐานมามากมายเลย

    แต่คุณสมถะ ลืมไปว่า คำกล่าวนั้น ไม่ได้มีนัยยะตามแบบของ วิชชาธรรมกายเลย

    เป็นเพียงคำพ้องรูป คุณสมถะต้องทำความเข้าใจตรงจุดนี้ เพราะหากว่า มีนัยยะเดียวกันแล้ว พระไตรปิฎกจะไม่มีทางตกหล่น วิธีการ และ รายละเอียดของวิชชาธรรมกายเลย

    อีกทั้ง ใน คัมภีร์พระวิสุทธิมรรค ย่อมตามมาสมทบ สนับสนุน แน่นอนในส่วนของ รายละเอียด

    แต่ ไม่ปรากฎทั้ง 2 คัมภีร์ ในแบบของ วิชชาธรรมกาย

    ผมขอแยกใช้ คำว่า ธรรมกาย กับ วิชชาธรรมกาย
     
  18. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    "ธรรมกาย" สมถกรรมฐานแบบโบราณของไทย


    เราชาวพุทธยังโชคดี มีพระภิกษุรูปหนึ่งได้มองเห็นการณ์ไกล เกรงว่าในอนาคตคนทั้งหลายอาจจะไม่เข้าใจวิธีการทำวิปัสสนากรรมฐานโบราณของ คนไทยว่าเป็นอย่างไรบ้าง จึงรวบรวมนำมาพิมพ์เป็นเล่มขึ้นชื่อ หนังสือพระสมถวิปัสสนาแบบโบราณ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙ พระภิกษุรูปนั้นคือ พระมหาโชติ ปัญโญ (ใจ ยโสธรรัตน์) โดยมีพระเดชพระคุณพระพรหมมุนี (ติสโสอ้วน) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส เป็นผู้ตรวจ หนังสือนี้ได้รวบรวมเอกสารการทำวิปัสสนากรรมฐานจากคัมภีร์เก่า ๆ ซึ่งได้มาจากแหล่งต่าง ๆ เป็นหลักฐานที่แสดงว่า การทำวิปัสสนากรรมฐานในประเทศไทยแต่โบราณ มีลักษณะบางอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ประจำตัว ต่างจากการทำวิปัสสนากรรมฐานของพม่า หรือของศรีลังกา

    ในหนังสือเล่มนี้มีคำอธิบายไว้หลายตอน ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่า เรื่องธรรมกายนั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย มีอยู่ในพุทธศาสนาในแผ่นดินไทยนี้มานานพอสมควรแล้ว แม้กระทั่งคำภาวนา "สัมมา อะระหัง" ก็มีปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้ในหน้า ๒๕๒ ซึ่งคัดมาจากคัมภีร์สมัยสมเด็จพระอริยวงษญาณปริยัติวราสังฆราชาธิบดีศรี สมณุตมาปรินายก (สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน) จะเห็นได้ว่าคำภาวนา "สัมมา อะระหัง" ที่ใช้ในการภาวนานี้ ไม่ใช่คำที่หลวงพ่อวัดปากน้ำคิดขึ้นเอง เชื่อได้ว่าได้นำคำภาวนานี้มาจากคัมภีร์โบราณ

    ในตำราเล่มนี้ยังได้กล่าวถึงการเจริญอานาปานัสติ มีความตอนหนึ่งว่า "...ภาวนา ๑, ๒, ๓, ๔, ๕ ตั้งต้นในจงอยปาก เห็นลมหายใจ และภาวนา ๑, ๒, ๓, ๔, ๕ ปรากฏฝอยเหมือนไฟ ๑ ควันหม้อ ๑ เหมือนนุ่น ๑ แล้วปรากฏเห็นดวงดาวดวงหนึ่ง แล้วปรากฏเห็นพระจันทร์ซีกหนึ่ง แล้วเห็นพระจันทร์ทั้งดวง และภาวนาไปแล้ว เห็นปรากฏเป็นพระอาทิตย์ซีกหนึ่ง แล้วปรากฏเห็นพระอาทิตย์ทั้งดวง..."

    การเจริญอานาปานัสติจากหนังสือพระสมถวิปัสสนากรรมฐานแบบโบราณของไทย อาจจะอธิบายการเห็นดวงแตกต่างไปสักนิดหนึ่ง แต่ก็สามารถยืนยันได้ว่า การเห็นดวงมีจริง หรือแม้แต่การเห็นกายภายในในตำราเล่มนี้ก็มีเขียนไว้ในหน้า ๓๒๘ มีความว่า "...ได้สุขเหมือนนั่งใต้ต้นไม้ ต้องลมริ้ว ๆ สบายริ้ว ๆ มาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิด ปรากฏเห็นรูปร่างตนเองทรงเครื่องมงกุฎสร้อยสังวาล ชื่มชมยินดี สบาย..." นี่เป็นลักษณะซึ่งเข้าได้กับของหลวงพ่อวัดปากน้ำที่ได้อธิบายการเข้าถึงกายทิพย์ไว้อย่างชัดเจน ความตอนหนึ่งหน้า ๓๕๒ บรรทัดที่ ๑๗ ได้กล่าวถึงผลเมื่อปฏิบัติลึกเข้าไปอีก มีความว่า "…จึงตั้งจิตต์พิจารณาดูธรรมกายในรูปกายด้วยการดำเนินในโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ จนจิตต์รู้แจ้งแทงตลอดในรูปธรรมและนามธรรมได้แล้ว จักมีตนเป็นที่พึ่ง จักมีธรรมเป็นที่พึ่ง ด้วยประการฉะนี้"

    อีกตอนหนึ่งในหน้า ๓๘๔ การตั้งฐานของลมทำจิตให้เป็นสมาธินั้น ตำรานี้ได้บอกไว้ถึง ๙ ฐานด้วยกัน ฐานที่ตั้งนั้นคล้ายกับของหลวงพ่อวัดปากน้ำมาก จุดที่ใกล้เคียงก็มีฐานที่เหนือสะดือ มีฐานที่ในคอ ปลายจมูก ศีรษะ แม้ในเรื่องนิมิตก็มีอรรถาธิบายไว้ในหน้า ๓๙๕ ว่า

    "...นิมิตต์นั้นจะเป็นวงกลมก็ตาม เป็นพระพุทธรูปก็ตาม เป็นอย่างเม็ดเพชรรัตน์หรือดวงแก้วก็ตาม ต้องสังเกต กำหนด รักษาไว้ ใช้ทำให้มาก เจริญให้มาก ทำให้ชำนาญ จนสามารถบังคับนิมิตต์ไว้ในอำนาจได้ จิตต์ได้เครื่องหมาย ได้ที่พัก เลื่อนภูมิดีแล้ว อย่าติดนิมิตต์..." นี่ก็ตรงกับหลักของวิชาธรรมกาย

    ความอีกตอนหนึ่งหน้า ๓๗๐ มีอยู่ว่า "...พระโยคาวจร ผู้รู้ว่า ธรรมกายดำรงอยู่ในหทัยประเทศแห่งสรรพภูติ ทำให้หมุนดังว่าหุ่นยนต์ ท่านจึงตั้งใจเจริญพระวิปัสสนาญาณ เพื่อให้ถึงธรรมกายเป็นที่พึ่งอันยอดเยี่ยมโดยสิ้นเชิง ถึงสถานอันสงบระงับ ประเสริฐ เที่ยงแท้ เพราะความอำนวยของธรรมกายนั้นเป็นอมตะ..."

    นี่ก็เป็นหลักฐานซึ่งพิสูจน์ได้ว่า ความเชื่อในเรื่องการทำสมาธิตามแนววิชชาธรรมกายนั้น ไม่ใช่เป็นของใหม่เลยสำหรับประเทศไทย แต่เป็นมรดกตกทอดกันมาหลายชั่วอายุคน แต่เนื่องจากระบบการศึกษาของพระสงฆ์นั้น เราได้ละเลยคัมภีร์โบราณนี้ไป ของที่เป็นมาแต่โบราณจึงกลายเป็นของใหม่สำหรับสายตาของคนหลาย ๆ คน ตามหลักวิชชาธรรมกายแล้วถือว่า นรกสวรรค์นั้นมีจริง บุญบาปมีจริง พระนิพพานมีจริง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ครูบาอาจารย์มีคุณ บิดามารดามีคุณ ซึ่งเป็นความเชื่อถือที่ตกทอดกันมาในหมู่ชาวพุทธ

    แต่สิ่งที่ตกทอดกันมานี้ ไม่ใช่ว่าเราจะมาถือกันอย่างงมงาย เราควรจะมีเหตุผลในการศึกษาวิเคราะห์วิจารณ์กันไปว่า สิ่งนั้นทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติได้ค้นพบหนทางการพ้นทุกข์ กำจัดกิเลสที่มีอยู่ในตัวเองให้ลดน้อยลงได้หรือไม่ และเข้ากับหลักธรรมในพระไตรปิฎกหรือไม่ ควรจะมองในภาพกว้างด้วย คือ ไม่ใช่ยึดติดเฉพาะนิกายหรือความเชื่อของตนเอง และรูปแบบการปฏิบัติของตัวเอง แล้วก็บอกว่าของตัวเองนั้นถูกหรือดีที่สุด จึงควรมองข้อดีของคนอื่นแล้วก็นำมาใส่ของตัวเอง ถ้าทำอย่างนี้แล้ว สังคมศาสนาทั่วโลกก็จะเป็นไปด้วยความสุข ไม่ใช่สังคมที่คอยมาจับผิดกันเอง อิจฉากันเอง ใส่ร้ายกันเอง มิฉะนั้น หลักวิชชาต่าง ๆ ก็จะเศร้าหมอง ศาสนาของเราก็จะเป็นศาสนาซึ่งเต็มไปด้วยความอึดอัด หาใช่เป็นศาสนาที่เจริญเพื่อการปล่อยวาง การพ้นจากความทุกข์ไม่
     
  19. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    เอาใจลงไว้ที่เหนือศูนย์สะดือ ๒ นิ้ว : อนุสติที่มีมาแต่ครั้งสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    <!--MsgIDBody=0-->พระรัตนตรัย
    พระราชนิพนธ์
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


    *************************************

    หนังสือ พระรัตนตรัยนี้ พระวินัยรักขิตผู้เป็นสัทธิวิหาริก ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แต่งไว้ ทรงพิจารณาเห็นอนุสติที่สมควร ภิกษุบริษัทคฤหัสถ์หญิงชาย พอเพียงจะพึงปฏิบัติได้ จึงทรงเลือกคัดจัดสรรไว้แต่สมควร คือพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ อสุภานุสติ พรหมวิหาร ๔ อภิณหปัจเวกขณะ ๕ พระไตรลักขณะ ๓ และมรณานุสติ โดยปริยาย พอเป็นข้อปฏิบัติสมควรดังนี้เป็นต้นไว้ จึงจักกล่าวอุบายสติความระลึกให้วิตถารไปในเบื้องหน้า...


    (คัดย่อมาเฉพาะตอน ดังนี้)


    ควรที่สาธุชนจักเล่าบ่น ให้แคล่วคล่องชำนิชำนาญในใจ แล้วระลึกรำพึงไปในใจให้เนืองๆ จักได้ความเห็นในใจว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้พระธรรมก่อน แล้วสำแดงชี้แจงพระธรรม ให้พระสงฆ์ได้รู้

    พระสงฆ์เป็นผู้ทรงธรรมไว้ในใจ ความเห็นจริงลงกับความเชื่อจริงลง ทั้งสองนี้จึงเป็นตัวสรณาคมน์ ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ทางสวรรค์มรรคผลพระนิพพาน ด้วยประการดังนี้

    อนึ่ง ในคุณพระรัตนตรัย ได้สำแดงชี้แจงออกไว้ พิสดารกว้างขวางบ้าง โดยย่อ ๆ พอเป็นทางปฏิบัติบ้าง ตามสติกำลังความอุตสาหะความเพียรของสาธุชนสัตบุรุษ ผู้เกิดพบพุทธศาสนาธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ๆ เป็นรัตนะที่พึ่งอันประเสริฐ

    ถ้าจะระลึกโดยย่ออีกนัยหนึ่งดังนี้ จงบริกรรมทำในใจว่า อรหํ ๆ แล้วเอาใจวางลงไว้ที่เหนือศูนย์สะดือ ๒ นิ้ว หรือที่หว่างอกหรือที่ต้นคอ จึงบริกรรมทำในใจว่า อรหํ ๆ ไป จึงเอาวิตกกดใจไว้ เอาสติระลึกไปตามความ เอาวิจารพิจารณาไปตามเนื้อความว่า อรหํ ๆ พระพุทธเจ้าท่านมีจิตสันดานบริสุทธิ์ ไกลสิ้นจากกิเลสราคะความกำหนัดยินดี รักใคร่ ในอารมณ์ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ถูกต้องอุ่นอ่อน ๆ จิตสันดานสิ้นจากโทสะ ความโกรธประทุษร้ายสัตว์สังขารอื่นๆ จิตสันดานสิ้นโมหะความหลงในอารมณ์เป็นที่รักทั้งปวง สิ้นจากอุปาทานยึดมั่นถือมั่น ในอารมณ์เป็นที่รัก สิ้นจากตัณหามานะทิฏฐิทั้งปวงดับสูญสิ้นไป.......

     
  20. ต้นไม้โพธิ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +85
    สรุปแนววิชชาธรรมกายโดยสังเขป ในฐานะเป็นอนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์แห่งพระธรรมวินัย

    สวัสดีครับ

    กระผมเองก็ดี ท่านสมถะก็ดี ท่านวิมุตติมรรคก็ดี ท่านอื่นๆที่เรียนวิชชาธรรมกายก็ดี ได้เข้ามาโพสต์เพื่อการศึกษาปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายแก่ผู้สนใจ และสงสัยหลักธรรม

    แต่มิใช่เพื่อเสวนาโต้เถียงกับผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะนะครับ และมีลิงค์มีตำรามีสถานที่ปฏิบัติให้ทุกท่านเข้าไปศึกษาปฏิบัติกันได้ แม้ในกระทู้อื่นๆเช่นท่านวิมุตติมรรค ก็ได้โพสต์ไว้มากมาย

    สำหรับท่านที่อาจจะตั้งอคติมาก่อน หรือพยายามที่จะไม่ศึกษา หรือพยายามที่จะไม่เข้าใจอะไรเลย ก็คงจะไม่มีประโยชน์อะไรนะครับ

    สิ่งที่ผมสรุปบ่อยๆนะครับ เรามาว่ากันอีก

    วิชชาธรรมกายนั่นคือ...อนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์ สำนวนของหลวงพ่อสด จันทสโร วัดปากน้ำภาษ๊เจริญนั่นเอง

    พื้นปริยัติท่านคือ ท่านเรียนบาลีมูลกัจจายนะซึ่งเป็นบาลีใหญ่แบบโบราณ จนสามารถแปลพระไตรปิฎกได้ โดยเฉพาะท่านตั้งใจแปลมหาสติปัฏฐานสูตรให้ได้

    ทางปฏิบัติท่านได้เรียนกับครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในขณะนั้นมากมายหลายรูป และหลายสำนัก ไปศึกษาประวัติท่านดูนะครับ

    วิชชาธรรมกายนั้นโดยมากจะเป็นสำนวนภาคปฏิบัติ ซึ่งได้กลั่นกรองมาจาก พระไตรปิฎก วิสุทธิมรรค และสมถะวิปัสสนากัมมัฏฐานแบบโบราณ

    นับได้ว่าเป็นหนึ่งในสายปฏิบัติแบบโบราณของครูบาอาจารย์ไทยๆท่านหนึ่งซึ่งสุดยอดไม่แพ้พระมหาเถราจารย์รูปใดๆในโลกหล้า

    วิชชาธรรมกายใช้กัมมัฏฐานถึง3อย่างในเบื้องต้น คือเน้นสมถะในเบื้องต้น..... ๑.โดยใช้อาโลกกสิน หรืออาโลกสัญญา หรือวิญญาณกสิน..... ๒.ควบคู่กับอานาปานัสติ .....๓.และพุทธานุสสติ "สัมมาอะระหัง"

    สำหรับฐานที่ตั้งของใจท่านใช้ตามแนวพระพุทธพจน์ โดยเฉพาะตามวิสุทธิมรรค คือจุดลม3จุด วิชชาธรรมกายเพิ่มให้7จุด โดยเฉพาะจุดที่หน้าท้อง 072 เหนือสะดือประมาณ ๒ นิ้วมือ ซึ่งเป็นจุดที่รับรู้สภาวะชัดเจนที่สุด

    ซึ่งหวังผลคือการระงับกิเลศนิวรณ์ แล้วเจริญวิปัสสนาสติปัฏฐานควบคู่ เพื่อยังวิชชาให้เกิด เจริญไตรสิกขาให้บริบูรณ์ ปหานกิเลศสังโยชน์ ทำพระนิพพานให้แจ้ง

    วิชชาธรรมกายนั้นจะเน้นการทำกิจในอริยสัจ๔ มากๆ ซึ่งไตรลักษณ์และกายานุปัสสนาก็รวมอยู่ในกิจในอริยสัจนี่แหละ

    ครูบาอาจารย์ไทยในสมัยโบราณก็สอนกันแนวนี้ ตามพระไตรปิฎก อาศัยอาการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ซึ่งเทรนปฏิบัติของไทยยุคหลังจะเน้นกายานุปัสสนาและไตรลักษณ์

    หากเราศึกษาอาการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ใจความย่อคือ พระองค์ทรงเจริญฌานเพื่อให้จิตใจอ่อนโยนควรแก่งานวิปัสสนา แล้วยังวิชชา3ให้เกิด จนรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ๔ ถึงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

    สำหรับการรู้เห็นด้วยญาณทัศนะจากสัมมาสมาธิในวิชชาธรรมกายนั้น ไม่ใช่แค่ขั้นนิมิต แต่เป็นการเห็นสภาวะธรรมด้วยญาณทัศนะที่แท้จริง ซึ่งสามารถเห็นได้ถึงสีสันฐานของจิต และสามารถเห็น"ธรรม"ได้

    ซึ่ง "ธรรม" นี้ก็คือ กาย ใจ จิต วิญญาณ ที่เจือไปด้วยกิเลศอาสวะของสัตว์โลกนั่นเอง แล้วจึงเจริญสมถะวิปัสสนาสติปัฏฐานยังวิชชาให้เกิดเจริญไตรสิกขาให้บริบูรณ์ปหานสังโยชน์เครื่องร้อยรัดเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง

    กาย เวทนา จิต ธรรม วิชชาธรรมกายมิใช่พิจารณาแค่กายมนุษย์หยาบขี้เหม็นนี้เท่านั้น แต่สามารถพิจารณาหมดทั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ของทั้ง 18 กายหลัก ซึ่งครอบคลุมทั้ง 31 ภูมิ ทั้งรู้ทั้งเห็นด้วยญาณทัศนะมิใช่คิดเอาลอยๆหรือสังเกตุเอาลอยๆ ไม่เป็นเพียงปรากฎการณ์ลอยๆ

    แต่คนโดยมากและเทรนการปฏิบัติในยุคหลังมักจะเข้าใจกันและพิจารณากันแค่กายมนุษย์ขี้เหม็นนี้กายเดียวเท่านั้น ผู้ที่ไม่ได้เข้ามาปฏิบัติแนววิชชาธรรมกายหากภูมิไม่ถึงก็จะ งง กันว่า อะไรของมันฟร่ะ กาย 18 อรหันต์วัดเส้าหลินรึไง? อิอิ

    ก็เพราะท่านภูมิไม่ถึงไง จึงไม่เข้าใจสำนวนอนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์ที่หลวงพ่อสดท่านได้สอนเอาไว้

    ในพระไตรปิฎกก็ดี พระอภิธรรมก็ดี พระอรรถกถาจารย์ก็ดี ได้กล่าวถึงภพและภูมิต่างๆทั้ง 31 ภูมิ แต่ละภูมิ ก็จะมีทั้งภพภูมิ และกายเวทนาจิตธรรมรองรับตามภพและภูมินั้นๆ


    ซึ่งหลวงพ่อสดได้สรุปเป็นอนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์ให้ชัดเป็น 18 กาย ซึ่งคลอบคลุมหมดทั้ง 31 ภูมินี้ไงครับทุกท่าน

    ให้เราๆท่านๆ จับจุดแห่งกายเวทนาจิตธรรม ทั้ง 31 ภูมิได้ง่ายเข้า เป็นอุปการะในการปฏิบัติธรรม
    .........................

    เอาเท่านี้ก่อนนะครับ ว่างๆจะเข้ามาสรุปเนื้อหาใหม่
    แล้วอย่าลืมไปศึกษาเทสนาหลวงปู่สด และตำราต่างๆนะครับ ดังที่ได้โพสต์ไว้มากมาย นี้เป็นการสรุปแนววิชชาธรรมกายโดยสังเขปเท่านั้น
     

แชร์หน้านี้