หลวงพ่อสด แยกกายมาจากต้นธาตุต้นธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย belives, 29 ตุลาคม 2010.

  1. ดุสิตบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +273
    ธรรมะสวัสดีครับ

    1. ท่านขันธ์ได้กล่าวว่า " หากจะบอกว่า วิชชาธรรมกาย เข้าถึง โลกุตระธรรม นั้นก็ไม่ถูก เพราะว่า คำว่า พระโสดาบัน พระสกิทาคา พระอนาคามี และ พระอรหันต์ ไม่สามารถ เข้าถึงได้ด้วยการ ดำลงสู่สมาธิ "

    2. ท่านขันธ์ได้กล่าวว่า "แต่ หากว่า จะบอกว่า วิชชาธรรมกาย คือ การทำสมาธิ แล้ว ผมก็คิดว่า ใช้ได้ ทำได้ มีผลได้"

    ทั้ง 2 ข้อ 2 ประโยคข้างต้นที่ผมได้หยิบยกมาแล้วนั้น ถ้าท่านขันธ์อ่านในกระทู้ที่หลายๆท่านได้นำมาลงไว้ในกระทู้ก่อนๆ ซึ่งเป็นหัวข้อวิธีปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนววิชชาธรรมกายตามที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี(สด จันทสโร) วัดปากน้ำภาษีเจริญ ท่านได้เทศนาสั่งสอนพุทธบริษัทตลอดชีวิตของท่านตลอดมา ท่านขันธ์ก็จะเข้าใจว่าวิชชาธรรมกายไม่ได้ใช้หลักของสมถะเพียงอย่างเดียว แต่ใช้วิธีปฏิบัติทั้งสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานทั้งสองอย่างควบคู่กันไปครับ
     
  2. ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    คุณ ต้องมีสติ หยิบประเด็น ธรรมขึ้นมา แก้ต่าง ไม่ใช่ เอาพระ หรือ เอาพระสูตรมาแก้ต่าง

    เพราะว่า หากคุณเห็นว่า สิ่งที่คุณเชื่ออยู่นั้นดี แสดงว่า คุณจะต้องมีเหตุผล ให้เอาเหตุผลนั้นแหละ มาสนับสนุนธรรมของตน อย่าไปเอา ข้อความของที่อื่นมาสนับสนุน เพราะนั่นหมายความว่า คุณเชื่อข้อความนั้น
    แต่ คุณยังไม่มีปัจจัตตัง คือ ธรรมของตนเอง
     
  3. ดุสิตบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +273
    แปลว่าท่านขันธ์ไม่ทราบเรื่องมาก่อนว่าเมื่อก่อนท่านเจ้าประคุณพระมงคลเทพมุนี(สด จันทสโร) วัดปากน้ำภาษีเจริญ ถูกอธิกรณ์เรื่องสอนวิชชาธรรมกายมาแล้ว แล้วพระที่เป็นพยานสืบแก้อธิกรณ์ให้ก็คือท่านพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส) ครับ นั่นก็แปลว่าท่านพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส)และพระเถระผู้ใหญ่ทั้งสังฆมณฑลรับรองและยอมรับว่าวิชชาธรรมกายที่ท่านเจ้าประคุณพระมงคลเทพมุนี(สด จันทสโร) วัดปากน้ำภาษีเจริญ สอนนั้นถูกต้อง

    ลองอ่านด้านล่างนะครับ

    ทำไม พระอริยคุณาธาร(ปุสโสเส็ง )พระอาจารย์ของพระอาจารย์สิงห์จึงต้องไปสืบปฏิปทาหลวงพ่อวัดปากน้ำในทางลับ


    คณะสงฆ์ทั้งฝ่ายมหานิกายและคณะธรรมยุติได้ส่งสายมาสืบปฏิปทาหลวงพ่อวัดปากน้ำในทางลับ เมื่อคำว่า “ธรรมกาย” แพร่หลายออกไป ถึงกับเข้าหูท่านผู้เป็นนักปราชญ์มหาบัณฑิต ทำความฉงนสนเท่ห์ให้เกิดในคณะสงฆ์ บางท่านปลงใจว่าหลวงพ่อมีความรู้และปฏิบัติธรรมเกินธง ถึงกับมีประชุมลับกันในพระเถระผู้ใหญ่และผู้เชี่ยวชาญกรรมฐาน ส่วนมากลงความเห็นหนักไปทางการละเมิดพระวินัย เข้าขั้นอวดอุตริมนุสธรรม ยกโทษสูงถึงเพียงนั้น ท่วงทีก็หาทางเพื่อจะคว่ำบาตรหลวงพ่อ


    สงฆ์คณะมหานิกาย “มีพระเถระรูปหนึ่ง ได้รับเกียรติเข้าประชุมอยู่ด้วย ท่านผู้นี้พูดว่าอันอุตริมนุส ธรรมนี้เป็นคำที่แปลว่า เป็นธรรมของมนุษย์อันยอดยิ่ง คือเป็นธรรมสูงสุดของมนุษย์ทางพระพุทธศาสนา เมื่อใครผู้ใดเข้าถึงแล้วย่อมข้ามพ้นโอฆะทั้งมวลถึงฝั่งพระนิพพานอันไม่มีภพชาติสืบต่อไป แต่ผู้ที่จะเข้าถึงอุตริมนุสธรรมต้องเป็นคนที่มีบารมีสูง มีความเพียรมาก งามทั้งปริยัติ งามทั้งปฏิบัติ งามทั้งศีลาจารวัตร์ ต้องมีสัจจะประจำสันดาน ไม่ใช่วิสัยคนพอดีพอร้าย ต้องเป็นคนใจกล้า เสียสละ มีเมตตาสูง


    เจ้าคุณวัดปากน้ำ เป็นคณาจารย์กล้าพูดกล้าสอน ไม่มีความครั่นคร้ามต่อใครผู้ใด เมื่อเห็นดีอย่างไร ก็ปฏิบัติไปตามความเห็น น่าจะมีความบริสุทธิ์ใจตามความรู้ความเห็น แม้แต่พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงประกาศสัจจะธรรมก็ตรัสแก่เบญจวัคคีย์ว่า เมื่อญาณทัศนะยังไม่บริสุทธิ์ตราบใด เราก็ไม่สามารถปฏิญาณความเป็นพระสัมพุทธะแก่สมณพราหมณ์ ประชาชน แก่เทวดา และมนุษย์โลก มารโลก พรหมโลกได้ ที่พระองค์กล้าปฏิญาณได้ ก็เพราะได้ญาณทัศนะ รู้ความจริงแล้ว นี่เป็นข้อความที่จำต้องคำนึงถึงเป็นบทมาติกาก่อน


    เจ้าคุณวัดปากน้ำตามเสียงพูดกันมีเมตตาธรรมสูง ให้การศึกษาทั้งปริยัติ ทั้งการปฏิบัติแก่ภิกษุสามเณรวัดปากน้ำไม่น้อยกว่า๓๐๐รูป สอบนักธรรมและบาลีในสนามหลวงได้จำนวนตั้ง ๑๐๐ ลองตรึกตรองดูบ้างว่า ในประเทศไทยวัดไหนทำประโยชน์ศาสนาถึงขนาดนี้ ถวายอาหารบิณฑบาตแก่พระภิกษุสามเณรทุกวัน ทุกเวลา เป็นจำนวนตั้ง ๓๐๐ ถึง ๔๐๐ องค์ ใครทำได้อย่างนี้


    เจ้าคุณวัดปากน้ำจะเข้าขั้นไหนเราไม่ทราบ แต่ควรคิดไว้ก่อนว่า สำนักวัดปากน้ำสอนมานาน พูดมานานแล้ว ธรรมวัดปากน้ำยังไม่เสื่อม มีแต่เพิ่มผู้ปฏิบัติยิ่งขึ้น ท่านยังตั้งเจตนาจะรับพระภิกษุสามเณรให้เข้ารับการศึกษาถึง ๕๐๐ องค์ เฉพาะวัดปากน้ำ ลักษณะนี้น่าจะมีอะไรดีอยู่มาก ถ้าเป็นเจตนาลวงโลกคงอยู่ไม่ได้ถึงเพียงนี้ เท่าที่พบมาพระอาจารย์ลามกอยู่ได้ ๕ – ๖ ปีก็สาบสูญไป แต่วัดปากน้ำสู้หน้าโลกโดยไม่ตกต่ำ ก็น่าจะมีอะไรดีเป็นหลักประกันอยู่มาก

    พวกเราที่มาพิจารณาโทษวัดปากน้ำทั้งหมดนี้ ความจริงก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางพระกรรมฐานมากนัก รู้พอรักษาตัวรอดได้ ความรู้ทางธรรมปฏิบัติก็มีความลุ่มลึกสุขุมแตกต่างกัน แม้พระอรหันต์ก็ยังต่างกันโดยคุณสมบัติ อุตริมนุสธรรมนั้นผู้ปฏิบัติพึงรู้พึงถึง ต้องสามารถดำเนินปฏิปทาทางจิต มีวิริยะอย่างอุกฤษฏ์ พวกเรายังปฏิบัติไม่เข้าขั้นเช่นนี้ จะไปลงโทษผู้เชี่ยวชาญกรรมฐานได้อย่างไร เอาความรู้อะไรไปลงโทษเขา ที่ประชุมยอมรับความเห็นนั้น และให้พระเถระรูปนี้มาสอบสวนเป็นทางลับ และท่านมาในฐานะเป็นผู้สนใจในการปฏิบัติธรรม ในที่สุดเรื่องร้ายไม่เกิดขึ้น และไม่ถูกสงสัยในแง่อุตริมนุสธรรมอีกต่อไป”

    (สมเด็จพระสังฆราชปุ่นครั้งมีสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระวันรัต, ๒๕๒๙, ประวัติพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ)และอนุภาพธรรมกาย ใน พระมงคลเทพมุนี ประวัติหลวงพ่อ และคู่มือสมภาร. วัดปากน้ำ, ภาษีเจริญ, และสมาคมศิษย์หลวงพ่อวัดปากน้ำ, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, หน้า๑๐๖ )


    สงฆ์คณะธรรมยุต ท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธาร(ปุสโสเส็ง )หรือฤาษีสันตจิต ท่านเป็นศิษย์รุ่นแรกของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นอาจารย์ของพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม แม่ทัพธรรมสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในวิชชาทิพยอำนาจ เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ท่านได้มีโอกาสเข้ามาในพระนคร ได้ยินเสียงโจษจันกันถึงเรื่องที่ หลวงพ่อวัดปากน้ำ ได้พบเห็นเฝ้าแหนพระพุทธเจ้าและแสดงปาฏิหาริย์ให้คนเห็นพระพุทธเจ้าด้วย มีพระเถระชั้นผู้ใหญ่สงสัย และได้ปรึกษาเรื่องนี้กับท่าน ท่านแนะนำว่าควรไปสืบดูก่อน อย่าด่วนโต้แย้งคัดค้าน


    เมื่อท่านไปพบหลวงพ่อแล้ว ท่านจึงเข้าใจหลวงพ่อด้วยดี ในกรณีของหลวงพ่อ แสดงปาฏิหาริย์ในเรื่องพระพุทธเจ้านั้น เข้าใจว่าท่านมุ่งต่อต้าน ปรับปวาท (คือวาทะของผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อพระพุทธศาสนา ซึ่งกำลังมีอิทธิพลและได้รับความสนับสนุนอย่างดีในระยะกาลนั้นเป็นประมาณ ไม่ได้มุ่งอวดอ้างเพื่อลาภสักการะยศศักดิ์แต่ประการใด ท่านจึงได้อนุโมทนาและได้ช่วยยับยั้งพระเถระผู้ใหญ่ มิให้แสดงปฏิกริยาเป็นปฏิปักษ์ต่อหลวงพ่อ ดังใจความที่คัดจากหนังสืออิทธิปาฏิหาริย์ เกจิอาจารย์ ของดวงธรรม โชนเชิดประทีป, ๒๕๐๗, กรุงเทพฯ: บรรณาคาร, หน้า ๓ –๖ มีความว่าดังนี้ :


    “ เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ข้าพเจ้า( พระอริยคุณาธาร ปุสฺโสเส็ง ) ได้มีโอกาสเข้าไปในพระนคร ได้ยินเสียงโจษจันกันถึงเรื่องที่ หลวงพ่อวัดปากน้ำ ได้พบเห็นเฝ้าแหนพระพุทธเจ้าและแสดงปาฏิหาริย์ให้คนเห็นพระพุทธเจ้าด้วย มีผู้สงสัยกันมาก พระเถระชั้นผู้ใหญ่ก็สงสัย บางท่านทำทีจะโต้แย้งคัดค้าน และได้ปรึกษาเรื่องนี้กะข้าพเจ้า


    ข้าพเจ้าแนะนำว่าควรจะสืบสวนให้รู้ถ่องแท้ก่อน อย่าด่วนโต้แย้งคัดค้าน เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้ลึกซึ้ง อันยากแก่การพิสูจน์อิทธิวิสัย เป็นเรื่องที่คิดไม่ถึง และอภิญญาเป็นวิชชาชั้นสูงในพระพุทธศาสนา ถ้าเรารู้ไม่ถึงแล้วด่วนคัดค้านโต้แย้ง อาจได้รับความอับอายภายหลัง ท่านผู้นั้นขอร้องข้าพเจ้าให้เป็นผู้สืบสวน ข้าพเจ้ารับภาระนั้นด้วยเห็นแก่ความสวัสดีของพระพุทธศาสนา


    วันหนึ่งข้าพเจ้ามีโอกาสดี ให้คนไปพบปะสนทนากับหลวงพ่อ ท่านนัด ๑๖. ๐๐ น. ข้าพเจ้าไปวัดปากน้ำตามเวลานัด ขณะนั้นหลวงพ่อยังอยู่ในที่ฝึกภาวนาแก่ภิกษุสามเณร อุบาสก-อุบาสิกา ข้าพเจ้ารอคอยอยู่ที่รับแขกราวครึ่งชั่วโมง มีคนไปบอกหลวงพ่อ ท่านออกมาปฏิสันถารเมื่อรู้ว่าเป็นบุคคลที่นัดไว้ จึงนำไปที่กุฏิของท่าน เพื่อมีโอกาสสนทนาโดยเฉพาะ เมื่อผ่านการปราศัยไต่ถามชื่อเสียงเรียงนามตำแหน่งแห่งที่พอรู้เรื่องแล้ว หลวงพ่อพูดถึงแนวการปฏิบัติและแนวการสอนของท่าน พร้อมกับเล่าเรื่องไปเฝ้าพระพุทธเจ้าให้ฟัง


    ข้าพเจ้าสอบถามพระพุทธลักษณะกับหลวงพ่อเล็กน้อย ท่านชี้ให้ดูพระพุทธรูปว่ามีลักษณะอย่างนั้น และมีพระเกตุมาลายอดแหลม เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า หลวงพ่อให้หนังสือ “ธรรมกาย” แก่ข้าพเจ้า ๑ เล่ม ส่วนข้าพเจ้าได้ตอบแทนท่านด้วยหนังสือ “สีลวัต” ๑ เล่ม


    ที่มาจากคุณ : ธารณธรรม


    http://www.atriumtech.com/cgi-bin/h...m/cafe/religious/topic/Y4599194/Y4599194.html
     
  4. ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    ก็ หลักวิปัสสนากัมมัฎฐาน ที่กล่าวมานั้น ถูกต้องตรงความหมาย ที่แท้จริงหรือไม่

    อย่าลืมนะว่า ยิ่งวันเวลาผ่านไปนานเท่าไร การถ่ายทอดย่อมเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ได้

    ทีนี้ ที่เห็นคือ

    คนปฏิบัติ วิชชาธรรมกาย ได้กายพระอรหันต์ ได้กาย พระโสดาบัน ได้กายพระอริยะ
    แต่ว่า ไม่ได้ละ สังโยชน์จริงเลยสักตัวหนึ่ง ข้อนี้ สำรวจตนเองได้ ด้วยโลกธรรมนะ ลองสำรวจตนเองดู

    แต่ว่า ก็อาจจะสำรวจได้ยาก หากว่า เราไม่มีสติเข้มแข็งพอ เพราะมันจะระลึกได้อย่างไรว่า เมื่อ 5 นาทีที่แล้ว เราคิดอยากได้ใคร่ดี หรือ อิจฉาตาร้อนหรือไม่ เพราะว่า บางคนเขาสติไม่มากพอ เขาก็ระลึกไม่ได้

    การเจริญมหาสติ จึงเป็น ทางเอกอย่างแท้จริง
     
  5. ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    สิ่งที่ มันคลุมเครือ และ ต้องคิดคือ

    ใครที่ได้วิชชาธรรมกาย สมมติว่า ได้กายพระอรหันต์แล้ว เขาไม่ได้เจริญมหาสติ จนถึงระดับ จิต

    เขาจะระลึกได้ไหม ว่า จิตเขานั้น เจือไปด้วย ปฏิฆะบ้าง โทสะ บ้าง เพราะอะไร

    เพราะว่า เมื่อมันเกิดขึ้น มันดับไปหายไป เขาระลึกย้อนไปไม่ได้

    สุดท้ายแล้ว เขาครอง สมาธิอยู่อย่างนั้น มันก็สุขสบายอยู่อย่างนั้น จนกลายเป็นว่า สำเร็จ มรรคผล
     
  6. ดุสิตบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +273
    ทำไมผมต้องยกพระสูตรหรือหลักฐานของพระเถระขึ้นมาเพราะนั่นคือหลักฐานยืนยันว่าธรรมนั้นถูกต้อง ถ้าจะยกธรรมของตนเป็นที่ตั้ง เดี๋ยวคนนั้นยก คนนี้ยก ยกกันทั่วบ้านทั่วเมือง ไม่ยึดถือพระไตรปิฏก ไม่ยึดถือคำสอนพระเถรานุเถระ ไม่ยึดถือคำสอนของครูบาอาจารย์ ถือดีอวดดีในตัวของตัวเอง ถ้าปล่อยให้เป็นแบบนี้ไปนานๆ พระศาสนาจะอยู่อย่างลำบาก เพราะคนมันกิเลสหนา ถือดีทนงตน เอามูตร เอาคูตรมาทับถมพระไตรปิฏกกันหมดครับ
     
  7. ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    ต้อง แยกให้ออกระหว่าง พระที่ท่านมีปาฎิหารย์ ท่านมีอำนาจช่วยเหลือคนได้

    นั่นก็เพราะท่านมีบารมี มีวาสนาของท่าน

    กับ ธรรม ที่เราต้องศึกษา เพื่อที่เราจะมีเอาไว้ พึ่งตนเอง เป็น อัตตาหิ อัตตโนนาโถ

    ธรรมที่บริสุทธิ์ แท้จริง หาได้ยาก ต้องค้นที่ใจของเราเท่านั้น

    แล้วใจนี้มัน หลายสันพันคม ยิ่งมีอำนาจมากขึ้นเท่าไร จิตใจ ยิ่งแปรเปลี่ยนได้ร้อยแปด

    ให้เห็น สว่างสไว ให้เห็นเป็น เทพยดา เห็นอะไรก็ได้

    แต่ไม่เห็นธรรม

    ขอตัวก่อนนะครับ ว่างๆ จะมาสนทนาด้วยใหม่
     
  8. ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    เอาเถอะ ว่างๆ เดี๋ยวค่อยมาถกกันใหม่

    กิเลสมันหลายสันพันคม มันไม่เห็นง่ายๆ ด้วย กายแก้วหรอก
     
  9. ต้นไม้โพธิ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +85
    เรียนผู้ร่วมสวนาทุกท่าน
    หากท่านต้องการเสวนาโดยไม่ได้ตั้งอคติชูธงตั้งไว้ก่อน การเสวนาธรรมจะมีประโยชน์มากนะครับ
    แต่หากท่านตั้งธงด้วยอคติไว้ก่อนแล้วมันก็เท่านั้นเอง ไม่จบไม่สิ้นหรอกครับ ผมเห็นกระทู้ลักษณะนี้มามากมายแล้ว
    กลายเป็นการโต้กันไปๆมาๆมากกว่าจะเอาสาระประโยชน์
    ...................
    ทุกประเด็นสมถะวิปัสสนาสติปัฏฐานตามแนววิชชาธรรมกาย ท่านเจ้าคุณพระราชญาณวิศิษฏ์(เสริมชัย ชยมังคโล)ร่วมกับพระมหาเถระวัดปากน้ำ ได้วิจัยธรรมไว้เป็นเอกสารหลักฐานมาตรฐานมานานแล้ว ก่อนปี พ.ศ. 2517 และได้เผยแผ่ไปมากมาย
    ผ่านหนังสือ อาทิเช่น ทางมรรคผลนิพพาน การเจริญไตรสิกขา อริยสัจ4 และอาการแทงตลอด ฯลฯ ไฟล์เสียงอีกมากมาย
    ท่านที่สนใจต้องไปหาอ่านเอาตามห้องสมุดเกือบทุกแห่งจะมีนะครับ หรือไปศึกษาเอาที่วัดหลวงพ่อสดธรรมกายยาราม ดำเนินฯ ราชบุรี
    เอาแต่มาเถียงกันไปๆมาๆทางเน็ต มันจะไปคุยรู้เรื่องอะไร? ยิ่งแบบว่าตั้งธงอคติมาอยู่ก่อนแล้วยิ่งไม่ก่อเกิดประโยชน์ พิมพ์ไปก็เมื่อมือเปล่า
    ...................
    สำหรับท่านที่ขยันนำข้อมูลวิจัยธรรมของเจ้าคุณพระราชญาณวิศิษฏ์ มาโพสต์ตามเน็ต ก็ต้องขออนุโมทนาแก่ท่าน สมถะ หรือปราชญ์ขยะ หรือขมิ้นเหลือง ศิษย์สายคุณการุณย์ แต่ท่านก็ขยันนำองค์ความรู้ที่ท่านเจ้าคุณพระราชญาณวิศิษฏ์แสดงไว้มาโพสต์ ที่เหลือนอกนั้นก็เป็นทัศนะของท่านเองตามภูมิธรรม และของคุณการุณย์
    สำหรับผม ไม่ขยันโพสต์มาก เอาแต่พอดีๆ เพราะถ้าจะดีควรจะเข้าไปศึกษาเองที่สำนัก เจอกันจริงๆดีกว่า มีสาระกว่าครับ
    ...................
    ข้อมูลหลักวิชชาธรรมกายพอสังเขป
    ไม่อ่านก็ถกเถียงกันอยู่นั่น แต่ถ้าอ่านแล้วแต่ใจตั้งธงเป็นอคติก็เท่านั้น


    ภาคปฏิบัติจริงพอสังเขป

    http://www.dhammakaya.org/vijja/

    หลักวิชชา

    http://www.dhammakaya.org/taxonomy/term/5

    รวมตอบปัญหา

    http://www.dhammakaya.org/dhmq/detail.php?ID=1
     
  10. ต้นไม้โพธิ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +85
    เรื่องผู้ฝึกวิชชาธรรมกายติดนิมิตจริงหรือ....ก็โพสต์ไว้แล้ว อ่านหรือป่าว? วนๆเวียนๆอยู่แต่เรื่องนิมิต กลับไปอ่านดูนะครับ
    วิชชาธรรมกายเป็นพระวิปัสสนาสายเมืองไทยที่สอนกัมมัฏฐานครบบริบูรณ์ไตรสิกขาครับ ท่านไม่ต้องห่วง เน้นอริยสัจ4อาการแทงตลอดในระดับมรรคผลนิพพานครับ
    สายอื่นๆในยุคหลังเน้นแค่เรื่องไตรลักษณ์ และกายานุปัสสนา ซะด้วยซ้ำไป
    ........................
    หลวงพ่อสดสอนว่าการถึงพระธรรมกายอรหัต หมดกิเลศ หมายเอาผู้ปฏิบัติที่เข้าถึงพระธรรมกายที่บรรลุอรหัตผลแล้ว
    ส่วนที่ยังขจัดกิเลศไม่หมด ได้แค่ไหนก็ตามภูมิธรรม เช่นระดับโคตรภูญาณท่านก็กล่าวว่า เปรียบเสมือนขาข้างหนึ่งอยู่ในพระนิพพาน เป็นผู้ก้าวข้ามโคตรปุถุชน
    หลวงปู่สดสอนชัดเจนเรื่อง "เดินตามขันธ์ 3 เรื่อยไป เสร็จกิจ 16 ไม่ตกกันดาร เรียกว่าพระนิพพาน" ก็บอกแล้วว่าท่านเน้นอริยสัจ และอาการแทงตลอด
    ...........................
    วิชชาธรรมกายเน้น สมถะในเบื้องต้น เพื่อเข้าสู่การระงับกิเลศนิวรณ์ แล้วเจริญสมถะวิปัสสนาควบคู่กันเจริญสติปัฏฐาน ทำพระนิพพานให้แจ้ง จนมรรคปหานสังโยชน์ได้เป็นสมุทเฉทตามภูมิธรรม

    โพสต์ไปแล้วนะครับเรื่องนี้ ก็ยังไม่เข้าใจอยู่นั่น

    ก็ท่านยังไม่เข้าใจไงครับ ว่าอะไรเป็นตัวกำจัดกิเลศ ถึงได้แสดงทัศนะเช่นนี้

    อีกอย่างเอาสำนวนปฏิบัติจริง มาคุยกับผู้ปฏิบัติแบบวิชาการนึกคิด ถ้าไม่เปิดใจให้กว้างมันก็ไม่มีทางเข้าใจ มันจะหลงสำนวน อย่าทำให้มันเป็นกำแพงนะครับ

    .........................
    หากจะเอาแบบเป็นหลักเป็นฐาน ก็ต้องเชิญท่านสมถะ ปราชญ์ขยะ มาโพสต์นะครับ ผมจับแต่ประเด็นหลักๆครับไม่ปราถนาพิมพ์ยาวๆ สาธุกับทุกๆท่านครับ

    ขอเรียนทุกท่านว่า เสวนากันโดยธรรมเถิดครับ จะเกิดประโยชน์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มิใช่มุ่งจะโต้เถียงเอาชนะ หรือตั้งธงอคติไว้ มันไม่เกิดประโยชน์เลยครับ บางอย่างผมไม่แจ้งท่านหนุน บางอย่างท่านไม่แจ้งผมหนุน แบบนี้สิครับ เสวนาตามกาลเป็นมงคลอันสูงสุด
     
  11. kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    แล้วอะไรละครับที่หลวงปู่สอนว่าเป็นตัวกำจัดกิเลสจริงๆนั้น มันคืออะไร ท่านทั้งหลายในที่นี้ช่วยชี้ให้กระผมกระจ่างสักทีได้ไหมครับว่า หลวงปู่สดก็ท่านละสังขารท่านสอนว่าอะไรเป็นเครื่องกำจัดกิเลสกันแน่ ขอให้เป็นคำสอนของหลวงปู่จริงๆนะครับ เพราะผมเชื่อว่า ความที่ว่าธรรมกายนั้นหมายถึง ธรรมและกาย ยังไม่ได้กล่าวถึงเวทนาและจิต และเป็นไปได้สูงที่ว่าเมื่อเข้าถึงธรรมและกายนั้นย่อมยังซึ่งความละ สลัดออกซึ่งกิเลส อันนี้ในส่วนของผมครับผมไม่เคยศึกษาธรรมหรือการเข้าถึงธรรมโดยละเอียดของหลวงปู่สด อาศัยฟังๆตามกันมาบ้าง หรือจะว่าอาศัยบารมีของหลวงปู่ก็ว่าได้ที่จะได้รู้ได้เห็นความจริงของธรรมกายนั้นๆ ผมเคยอ่านอยู่เรื่องหนึ่งนานแล้ว เรื่องที่ว่า กายหยาบและกายละเอียด ท่านที่เข้าใจและปฏิบัติตามแล้วเห็นจริงช่วยอธิบายสักหน่อยได้ไหมครับ เอาเพียงแค่เรื่อง กายหยาบกับกายละเอียด ตั้งแต่มนุษยกาย เป็นโสดาบันกาย ไปจนถึงอรหัตกาย ช่วยหน่อยนะครับ ผมอยากทราบว่าเกี่ยวกันไหมกับ คำว่ามรรคและผล ถึงสิ่งที่ผมอยากทราบครับ
    สาธึคั๊บ
     
  12. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
  13. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
  14. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
  15. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    เชิญพิจารณา
    "ที่เห็นนั้น เขาเห็นจริง แต่สิ่งที่ถูกเห็น ไม่จริง"
    "นิมิต ที่เห็นนั้น เขาเห็นจริง แต่สิ่งที่ถูกเห็น ไม่จริง"

     
  16. kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ไม่เอาหรอกครับไม่อยากอ่านมาก อยากฟังว่าท่านทั้งหลายเข้าใจว่าอย่างไร ไอ้ครั้นจะฟังจากหลวงปู่สด จริงๆนั้น หากท่านอยู่ท่านก็คงจะอธิบายได้ในส่วนที่เราทั้งหลายไม่เข้าใจหรือไหลไป แต่เมื่อหลวงปู่ไม่อยู่แล้ว ก็เลยอยากทราบว่าท่านทั้งหลายเข้าใจว่าอย่างไรกันบ้าง จึงอยากทราบความนั้นว่า กายธรรม นั้นมีความหยาบความละเอียด และความหยาบละเอียดนั้น สัมพันธ์หรือไม่กับ มรรคกับผล ของพระอริยะบุคคลทั้งหลาย นั่นแหละที่ท่านหามาให้อ่านนั้นก็ถูกแต่ท่านเองเข้าใจว่าอย่างไรผมเพียงอยากฟังความคิดเห็นของท่านเท่านั้นครับ
    สาธุคับ
     
  17. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ผมก็ไม่ได้เจาะจงเอามาให้คุณkengkenny อ่านคนเดียวนี่ครับ เอามาฝากให้ผู้สนใจเข้าไปหาข้อมูลเอาเอง

    ถึงจะตอบอย่างไร ก็เหมือน บอกว่ารสหวานที่ผู้ถามไม่เคยลิ้มลองมันหวานอย่างไร อธิบายเท่าไรๆ ก็จะมีคำถามตามมามากมาย สุดท้ายก็จะต้องถามว่า มันหวานอย่างนั้นอย่างนี้เหรอ คนตอบก็เหนื่อยเปล่า....

    ทำไมคุณkengkenny ไม่ลองไปวัดหลวงพ่อสด หรือที่ๆ เขามีฝึกสมาธิวิชชาธรรมกาย แล้วไปหาคำตอบด้วยการปฏิบัติล่ะครับ

    ไม่ใช่ไม่อยากตอบนะครับ แต่เบื่อที่จะต้องตามอธิบายทั้งๆ ที่ข้อมูลมีให้ศึกษามากมายแล้ว ในห้องสนทนา... http://forums.212cafe.com/samatha/ ผมก็อธิบายมามากแล้ว
     
  18. ต้นไม้โพธิ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +85
    สวัสดีครับ

    ก็ลิงค์ที่ผมและคุณสมถะให้มาตอบคำถามให้ท่านได้แล้วไงครับ

    ถ้างั้นดูเฉพาะหน้านี้ก่อนก็ได้ สามารถตอบประเด็นเรืองกายละเอียดหยาบที่สัมพันธ์กันกับมรรคผล

    แต่ท่านต้องใจกว้างว่าเป็นสำนวนภาคปฏิบัติจริงนะครับ มิฉะนั้นจะหลงสำนวนกันไปใหญ่
    ............................................................



    ๑. หลักปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน


    ๑. ขั้นสมถกัมมัฏฐาน ๒. ขั้นอนุวิปัสสนา ๓. ขั้นโลกุตตรวิปัสสนา
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทานหลัก คือ ธรรมเป็นอารมณ์ของสมถกัมมัฏฐาน อันเป็นพื้นฐานสำคัญให้ถึงธรรมอันเป็นรากเหง้าให้วิปัสสนาเกิด เจริญขึ้น และตั้งอยู่ เพื่อเจริญปัญญาจากการที่ได้เห็นแจ้งและรู้แจ้ง ในสภาวะของสังขารธรรม และวิสังขารธรรมคือพระนิพพานธาตุโดยปรมัตถ์ และในพระอริยสัจ ๔ ตามที่เป็นจริง ไว้หลายวิธี อันผู้เจริญภาวนาพึงเลือกปฏิบัติให้ถูกจริตอัธยาศัยของตน
    ข้าพเจ้าจึงขอเสนอวิธีเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่ให้ผลดีมีประสิทธิภาพสูง ตามหลักปฏิบัติพระสัทธรรมเพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงไว้ดีแล้ว คือวิธีเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ให้ถึงธรรมกายมรรคผลนิพพานตามรอยบาทพระพุทธองค์ ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านปฏิบัติได้เข้าถึง ได้รู้เห็นและเป็นธรรมกายแล้ว จึงได้สั่งสอนศิษยานุศิษย์จนตลอดชีวิตของพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่าน และได้ถ่ายทอดสืบต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน ปรากฏผลดีเป็นอย่างสูงแก่ผู้ปฏิบัติด้วยอิทธิบาทธรรม
    โดยมี หลักปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถึงธรรมกาย ให้เกิดอภิญญา และวิชชา คือความรู้ความสามารถพิเศษ ได้แก่ วิชชา ๓ วิชชา ๘ (รวมอภิญญา ๖) ชื่อว่า “วิชชาธรรมกาย” เป็นพื้นฐานสำคัญแก่การเจริญวิปัสสนาปัญญาถึงโลกุตตรปัญญา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังต่อไปนี้

    ๑. ขั้นสมถกัมมัฏฐาน
    มีหลักวิธีปฏิบัติเบื้องต้นที่สำคัญ ๓ ประการ คือ
    1. กำหนด “ฐานที่ตั้งของใจ” ไว้ ณ ศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม และเป็นที่ตั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม
      ศูนย์กลางกายระดับสะดือเป็นที่สุด และเป็นต้นทางลมหายใจ (เข้า-ออก)
    2. กำหนด “บริกรรมนิมิต” คือ นึกให้เห็นด้วยใจเป็นเครื่องหมายดวงแก้วกลมใส ให้ใจรวมอยู่ ณ ศูนย์กลางดวงแก้วกลมใสนั้น ตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ (ตามข้อ ๑)
      การเพ่งดวงแก้วกลมใส มีลักษณะเป็นการเพ่งแสงสว่าง (อาโลกกสิณ) กล่าวคือ ถ้าพระโยคาวจรเพ่งแสงสว่างเป็นอารมณ์ ถึงได้อุคคหนิมิต ก็จะเห็นเป็นดวงใสสว่าง หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านจึงใช้ดวงแก้วกลมใส (แทนดวงใสสว่าง) เป็นบริกรรมนิมิต
    3. กำหนด “บริกรรมภาวนา” คือ ท่องในใจด้วยองค์บริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหังๆๆ” ที่กลางของกลางจุดเล็กใส กลางดวงแก้วกลมใส ตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือนั้น เพื่อประคองใจให้หยุดนิ่งตรงนั้น
      คำว่า “สัมมา” เป็นคำย่อจากคำว่า “สัมมาสัมพุทโธ” แปลว่า พระผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ ซึ่งหมายถึง พระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า ส่วนคำว่า “อรหัง” แปลว่า พระผู้ไกลจากกิเลสและบาปธรรมทั้งปวง ซึ่งหมายถึง พระวิสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า เมื่อบริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหังๆๆ” นึกน้อมพระพุทธคุณ คือ พระปัญญาคุณ และ พระวิสุทธิคุณของพระพุทธเจ้ามาสู่ใจเราด้วย เป็นพุทธานุสสติ
    ถ้าผู้ปฏิบัติภาวนากำหนดบริกรรมนิมิต คือ นึกเห็นเครื่องหมายดวงแก้วกลมใสด้วยใจได้ยาก ก็ให้สังเกตลมหายใจเข้า-ออก ที่ผ่านและกระทบดวงแก้ว ตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ อยู่ตรงนั้น (เป็นอานาปานสติอีกโสดหนึ่ง) โดยไม่ต้องตามลมหายใจเข้า-ออก ก็จะช่วยให้เห็นดวงนิมิตได้ง่ายเข้า เมื่อเห็นดวงใสปรากฏขึ้นแล้ว ก็ปล่อยความสนใจในลม
    เมื่อรวมใจหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็จะเข้าถึง และได้รู้เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จนถึงธรรมกาย อันเป็นกายที่พ้นโลก เป็นธาตุธรรมที่บริสุทธิ์ เป็นอุปการะสำคัญต่อการเจริญวิปัสสนาให้เกิดปัญญาจากการที่ได้เห็นแจ้งและรู้แจ้ง
    1. ในสภาวะของสังขาร คือ ธรรมอันไปในภูมิ ๓ ทั้งสิ้น และธรรมที่เป็นไปในภูมิที่ ๔ เฉพาะที่เป็นสังขตธรรม ตามที่เป็นจริง
    2. ในสภาวะของวิสังขาร คือ พระนิพพานธาตุโดยปรมัตถ์ อันเป็นคุณธรรมภายในของพระอริยเจ้า ทั้ง สภาวะนิพพาน ผู้ทรงสภาวะ และ อายตนะนิพพาน ตามที่เป็นจริง และ
    3. ในอริยสัจ ๔ อันเป็นไปในญาณ ๓ คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ มีรอบ ๑๒
    <A name="#๒. ขั้นอนุวิปัสสนา">๒. ขั้นอนุวิปัสสนา
    เมื่อผู้ปฏิบัติภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้ว ย่อมสามารถเจริญภาวนาทั้งสมถะและวิปัสสนา ให้เกิดอภิญญา ความรู้ความสามารถพิเศษ และวิชชา ได้แก่ วิชชา ๓ วิชชา ๘ (รวมอภิญญา ๖) จึงชื่อว่า “วิชชาธรรมกาย” ให้เกิดและเจริญความรู้ความสามารถพิเศษ ให้สามารถพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ให้เจริญ “วิปัสสนาปัญญา” เห็นแจ้งรู้แจ้งสภาวะของสังขาร อันประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (สังขตธรรม) ว่ามีสามัญญลักษณะที่เป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ และอนตฺตา อย่างไร อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการเจริญโลกุตตรวิปัสสนา ให้เห็นแจ้งในอริยสัจ ๔ เป็น “โลกุตตรปัญญา” ต่อไป
    กล่าวคือ เมื่อผู้ปฏิบัติภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้ว
    1. พึงฝึกเจริญฌานสมาบัติให้เป็นวสี แล้วย่อมเกิดอภิญญา มีทิพพจักษุ ทิพพโสต เป็นต้น ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ (การเริ่มเจริญสมถภาวนาโดยการกำหนดบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วกลมใสนั้น มีลักษณะเป็นการเพ่งกสิณแสงสว่าง ชื่อว่า “อาโลกกสิณ” อันเป็นกสิณกลาง และมีผลให้เกิดอภิญญาได้ง่าย)
    2. สามารถน้อมไปเพื่อ “อตีตังสญาณ” เห็นอัตตภาพของตนและสัตว์อื่นในภพชาติ ก่อนๆ น้อมไปเพื่อ “อนาคตังสญาณ” เห็นจุติปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปตามกรรม และน้อมไปเพื่อ “ปัจจุปปันนังสญาณ” เห็นสัตว์โลกในทุคคติภูมิ ได้แก่ ภูมิของเปรต สัตว์นรก อสุรกาย และในสุคติภูมิ ได้แก่ เทวโลก และพรหมโลก ตามที่เป็นจริง ตามพระพุทธดำรัสได้
    ให้สามารถรู้เห็นสภาวะของสังขาร ได้แก่ เบญจขันธ์ของสัตว์โลกทั้งหลาย อันปัจจัยปรุงแต่งด้วย ปุญญาภิสังขาร คือความปรุงแต่งด้วยบุญคือกุศลกรรม อปุญญาภิสังขาร คือความปรุงแต่งด้วยบาปคืออกุศลกรรม และ อเนญชาภิสังขาร คือ ความปรุงแต่งที่ไม่หวั่นไหว (ด้วยรูปฌานที่ ๔ ถึงอรูปฌานทั้ง ๔)
    ได้เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์โลกในสังสารจักร อันเป็นไปตามกรรม โดยวัฏฏะ ๓ คือ กิเลสวัฏ กัมมวัฏ และวิปากวัฏ และ
    ให้สามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวะของสังขารธรรม คือธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (สังขตธรรม) กล่าวคือ ธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งสิ้น ว่ามีสามัญญลักษณะที่เป็น อนิจฺจํ ทุกขํ และ อนตฺตา อย่างไร อย่างละเอียด และกว้างขวาง
    ให้เจริญวิปัสสนาญาณ รวบยอดผ่านถึงโคตรภูญาณของธรรมกายได้อย่างรวดเร็ว และเป็นบาทฐานให้เจริญโลกุตตรวิปัสสนาได้เป็นอย่างดี

    <A name="#๓. ขั้นโลกุตตรวิปัสสนา">๓. ขั้นโลกุตตรวิปัสสนา
    เมื่อพระโยคาวจรเจริญอนุวิปัสสนา ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ คือ มีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายใน และ ณ ภายนอก เห็นแจ้งรู้แจ้งในสามัญญลักษณะของสังขารธรรมทั้งหลายอยู่แล้วนั้น
    ธรรมกายย่อมเจริญฌานสมาบัติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือมีสติพิจารณาเห็นอริยสัจ ๔ ของกายในภพ ๓ แล้วทำนิโรธ (ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ) ดับสมุทัย ปหานอกุศลจิตของกายในภพ ๓ โดยวิธีดับหยาบไปหาละเอียด ผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งของธาตุธรรม เห็น-จำ-คิด-รู้ คือ “ใจ” อันกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ยึดครองอยู่ ปหานอกุศลจิต ชำระธาตุธรรม เห็น-จำ-คิด-รู้ คือ “ใจ” ของกายในกาย (รวมเวทนา จิต และธรรม) จากกายสุดหยาบถึงสุดละเอียด จนเป็นแต่ธาตุล้วนธรรมล้วนของธรรมกายที่บริสุทธิ์สุดละเอียด ถึงปล่อยวางอุปาทานในเบญจขันธ์ของกายในภพ ๓ และปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติเสียได้
    ปล่อยขาดพร้อมกันแล้ว ธรรมกายที่หยาบตกศูนย์ ธรรมกายที่บริสุทธิ์สุดละเอียดนั้นจะไปปรากฏในอายตนะนิพพานอันเป็นที่สถิตอยู่ (อายตน=วาสฏฺฐาน) ของพระนิพพานคือธรรมกายตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตเจ้า ที่ดับขันธ์เข้าปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ประทับเข้านิโรธสงบตลอดกันหมดนับไม่ถ้วน สว่างไสวด้วยธรรมรังสีของธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม เป็นความสูญ คือว่างอย่างมีประโยชน์สูงสุดเพราะไม่มีสังขาร ชื่อว่า “ปรมัตถสูญ”
    โคตรภูจิต คือ ธรรมกายโคตรภูของพระโยคาวจรนั้นย่อมยึดหน่วงพระนิพพานอันละเอียด ประณีต สุขุมลุ่มลึกนั้นเป็นอารมณ์
    เมื่อมรรคจิต และ มรรคปัญญา อันรวมเรียกว่า มรรคญาณ ของธรรมกายมรรคของพระโยคาวจรนั้นเกิดและเจริญขึ้น ปหานสัญโญชน์ กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ขึ้นไปได้ ย่อมก้าวล่วงข้ามโคตรปุถุชนเป็นพระอริยบุคคลตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ และ ณ บัดนั้น ธรรมกายมรรค ได้แก่ ธรรมกายพระโสดาปัตติมรรค ก็จะตกศูนย์ และปรากฏผลจิต ได้แก่ ธรรมกายพระโสดาปัตติผล เข้าผลสมาบัติ พิจารณาปัจจเวกขณ์ ๕ คือ พิจารณามรรค ผล กิเลสที่ละได้ กิเลสที่ยังเหลือ (ในกรณีเสขบุคคล) และพิจารณาพระนิพพาน ต่อไป
    นี้คือขั้นตอนของเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถึงมรรคผลนิพพาน ตามรอยบาทพระพุทธองค์ ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ปฏิบัติเข้าถึงได้รู้-เห็น และเป็นธรรมกาย แล้วได้สั่งสอนศิษยานุศิษย์ และได้ถ่ายทอดสืบต่อๆ กันมาถึงปัจจุบัน ข้าพเจ้าขอแนะนำให้ท่านผู้สนใจศึกษาสัมมาปฏิบัติ ให้ทดลองปฏิบัติให้เห็นผลด้วยตนเอง แล้วท่านจะซาบซึ้งในคุณของวิชชาธรรมกาย ด้วยตัวของท่านเอง
     
  19. kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ไม่มีอะไรเช่นกันหรอกครับ เพียงแต่ว่าผมเพียงเกรงว่าในตอนที่หลวงปูสดสอนนั้น หลวงปู่อาจเน้นให้เข้าถึงสภาวะธรรมบางอย่างที่เอื้อต่อการเข้าถึงมรรคผลนิพพานนั้นๆ แต่ยุคหลังสรุปเหมารวมไปว่านั่นเป็นมรรคผลนิพพาน ส่วนเรื่องการฝึกนั้น ผมเองแม้ไม่เคยฝึกที่ไหนๆมาก็ตามที แต่พอจะมองออกว่าหลวงปู่ท่านสอนอะไรครับ และที่สำคัญๆนั้น หลวงปู่ท่านสอนการทำสมาธิจิตให้มีความละเอียดถึงที่สุด แบ่งได้หลายระดับ จากนั้นแต่ละระดับนั้นก็ชัดเจนว่ามีความสามารถในการเข้าถึงมรรคเข้าถึงผลได้แตกต่างกัน อันนี้เป็นสิ่งที่ผมสังเกตเห็นครับ ไม่ใช่ว่าจะไปกล่าวล่วงเกินหลวงปู่นะครับ เพียงแค่เกรงว่าคนชั้นหลังที่ฟังตามๆกันมาแล้วก็บอกว่าไปปฏิบัติดู ทั้งๆที่ความจริงแล้วการทำจิตสร้างนิมิตนั้นแท้จริงคือการสร้างสมธิจิต ซึ่งในแต่ละระดับของนิมิตนั้นๆมีความหยาบหรือละเอียดและรายละเอียดนั้นสามารถอธิบายได้ด้วยสติที่ตนเองมีเท่านั้น จึงเห็นความแตกต่างของนิมิตทั้งหลายได้เห็นความหยาบและละเอียดของสมาธิจิตได้ เมื่อออกสู่ภูมิวิปัสสนาก็จะเป็นความละเอียดของจิตอีกแบบนึง...คือผมมองว่าอย่างนั้น และเห็นว่าวิชาธรรมกายหรือกายธรรมนั้น น่าจะเป็นแบบนั้นตามความเข้าใจของผมครับ ผมมีความอดทนไม่มากพอกับความพลุพล่านของคน คือ อยู่ยากกับที่ๆคนแออัด แต่ก็อนุโมทนาครับในความหวังดี ที่แนะนำมา ผมเพียงแค่เคยฝึกตามจากคำบอกเล่าบ้างจากหนังสือบ้างเท่านั้น บารมีวาสนาผมไม่พอจะไปทำอย่างที่ท่านแนะนำได้ครับ
    อนุโมทนาสาธุครับ
     
  20. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    การเรียนธรรมภาคปฏิบัติวิชชาธรรมกายนั้น ถ้าไม่เข้าหาครูอาจารย์ที่มีความรู้ภาคปฏิบัติจริง โอกาสที่ เห็น-จำ-คิด-รู้ ของเราจะถูกแก้ไขให้ไม่คลาดเคลื่อนจากความฟุ้งซ่านทางปัญญานั้นก็ไม่มี เราจะเอาความเห็นส่วนตัวมาตัดสินธรรมภาคปฏิบัติที่เขาเรียนรู้กันอย่างมีหลักมีเกณฑ์และสืบทอดกันมาแบบเคี่ยวกรำเพื่อให้ถูกตรงและจะไม่ยอมให้คลาดเคลื่อนจากหลักวิชชาแม้สักนิดเดียว เพื่อไม่ให้เกิดการปนเป็นของธาตุธรรมอื่นๆ ที่คอยสอดวิชชาเข้ามานั่นเอง


    แต่การที่เราอาศัยเพียงประสบการณ์และความนึกคิดของตนเองมาตัดสินในเรื่องของธรรมภาคปฎิบัติที่ลุ่มลึกเกินสามัญปัญญาที่เกิดแต่ สุตตมยปัญญา แล จินตมยปัญญา จะเข้าถึงได้นั้น ก็แปลว่าเราเรียนรู้มายังไม่ครบองค์แห่งปัญญาที่แท้จริง นั่นคือต้องเรียนให้เข้าถึง ภาวนามยปัญญาให้จงได้ด้วย ไม่อย่างนั้นก็อาจเจอเพียงแค่วิปัสสนึก หรือหลักวิชาตรูเท่านั้นเอง




    "อย่าเอาความเชื่อออกหน้า จงเอาความรู้(ที่ถูกหลักวิชชา)ออกหน้าเถิด"
    http://khunsamatha.com/
     

แชร์หน้านี้