หลวงพ่อสด แยกกายมาจากต้นธาตุต้นธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย belives, 29 ตุลาคม 2010.

  1. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    สิ่งที่อยากฝากให้แก่ผู้สนใจฝึกสมาธิภาวนาวิชชาธรรมกายก็คือ...

    ขอให้ท่านศึกษาจนกระทั่งเห็นคุณค่าของวิชชา จับหลักวิชชาให้ถูก จับหลักความรู้ให้ตรง ทุกอย่างมีเหตุมีผลกำกับทางวิชชา มีหลักมีเกณฑ์กำกับ ผิดจากหลักจากเกณฑ์ทางวิชชาก็แปลว่า "ผิดศูนย์ผิดทาง ไม่เข้ากลางออกนอก"

    เมื่อใดท่านศึกษาจนกระทั่งจับหลักวิชชาได้ ท่านจะเข้าใจแจ่มแจ้งว่า อะไรคือวิชชาธรรมกาย แล้วท่านจะเห็นคุณค่าตามสายปกครองของธาตุธรรมภาคขาว และปฏิบัติตนสร้างบารมีตามนโยบายของธาตุธรรมภาคขาวอย่างถูกตรง ถ้าท่านเรียนรู้ด้วยการค้นคว้าไปที่หลักวิชชา ท่านจะพบครูผู้รู้จริงทางวิชชา และท่านจะแยกแยะได้เองว่าอะไรผิดอะไรถูก อะไรเพี้ยนอะไรตรง อะไรชัดเจนอะไรคลาดเคลื่อน อะไรของจริงอะไรของหลอก และอะไรคือบารมีตัวจริงที่จะมีฤทธิ์ภาคปราบ ให้ท่านมองให้ออกว่า วิชชารบภาคปราบ(ที่ต้องโปรดได้ด้วย)นั่นคือ ยุคพระพุทธเจ้านิพพานเป็น(กายมนุษย์)ภาคปราบ จะสำเร็จได้ก็ด้วยการเข้าถึงวิชชา เข้าใจวิชชา และสร้างบารมีโดยเอาวิชชาออกหน้า โดยการนำวิชชามาใช้กำจัดทุกข์ กำจัดภัย กำจัดโรค ให้แก่สัตว์โลกได้นั่นเอง


    บารมีอ่อนๆ เป็นอาหารอันโอชะของธรรมภาคมารเท่านั้น




    รวมพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อวัดปากน้ำ http://khunsamatha.com/blog/dhammakaya-C5.html

    ตำราวิชชาธรรมกายทุกหลักสูตร http://www.crystalmind.org/library/index.asp

    เวบวิชชาธรรมกาย http://khunsamatha.com/

    ห้องสนทนาวิชชาธรรมกาย http://forums.212cafe.com/samatha/<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->​
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  2. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    เทคนิคการสอนสมาธิวิชชาธรรมกายอย่างเป็นระบบ ชัดเจน เป็นขั้นตอน ตรวจสอบวัดผลได้
    http://khunsamatha.com/vip.html




    ภาพงานสอนสมาธิภาวนา วิชชาธรรมกาย
    http://forums.212cafe.com/samatha/board-4/list.html
     
  3. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
  4. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ๏๏๏๏๏๏๏๏ .:: "วิชชาเพี้ยนกับวิชชาพัฒนา" เขามีเกณฑ์วัดกันอย่างไร? ::. ๏๏๏๏๏๏๏๏


    ก่อนจะพูดคุยก็ต้องขออ้างอิงตำราวิชชาธรรมกาย 4 เล่ม ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ คือ
    <O:p

    1. ทางมรรคผล (วิชชา 18 กาย)
    <O:p


    2. คู่มือสมภาร
    <O:p



    3. วิชชามรรคผลพิสดาร เล่ม 1
    <O:p


    4. วิชชามรรคผลพิสดาร เล่ม 2<O:p



    <O:p

    ทั้ง 4 เล่ม เป็นข้อมูลอ้างอิง เป็นสาระความรู้เพื่อใช้ในการวินิจฉัยนะครับ การปฏิบัติทางวิชชาธรรมกายต้องอิงตำรา ต้องหมั่นทบทวนตำรา เพราะตำราคือความรู้ที่เป็นผลจากการปฏิบัติมาแล้ว หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านปฏิบัติจนรู้เห็นปิฎกวิชชาแล้วจึงรวบรวมมาเป็นตำราให้เราได้ใช้เป็นคู่มือปฏิบัติสืบไป <O:p


    ดังนั้นเราต้องอ่านตำรา ต้องหมั่นทบทวนตำรา แต่ทั้งนี้การจะอ่านตำรารู้เรื่องและเข้าใจแจ่มแจ้งทุกบทฝึกได้นั้นไม่ง่ายนัก เราจึงต้องเข้าหาครูอาจารย์ที่ท่านสอนได้ตรงตามตำรา อย่างน้อยก็เชื่อได้ว่าสอนถูกตรงตามความรู้ของหลวงพ่อวัดปากน้ำที่ท่านบันทึกอยู่ในตำรา <O:p


    การจะทราบว่าอาจารย์ท่านใดสอนได้ถูกสอนได้ตรงเพียงใด เราเพียงขอความรู้ท่านโดยเทียบเคียงตามตำราทางวิชชาธรรมกายเท่านี้เองก็จะพอทราบได้ว่าอาจารย์ท่านสอนตรงตามความรู้ของหลวงพ่อวัดปากน้ำหรือไม่ และอาจารย์ที่ทรงภูมิทางวิชชาจริง ท่านต้องมีผลงานการเขียนตำราและผลงานการอธิบายวิชชาเป็นตำหรับตำราให้เราได้อ่านหรือได้ศึกษาอย่างชัดเจน <O:p


    โดยภาพกว้างๆ "เพี้ยนกับพัฒนา" เหมือนเส้นยาแดงผ่าแปดสำหรับคนที่มีพื้นทางวิชชามาน้อยก็อาจไม่สามารถแยกแยะได้ แต่สำหรับผู้มีพื้นฐานทางวิชชามาดี หรือปฏิบัติได้ตรงแนวจะเข้าใจได้เป็นอันดี จะทราบเป็นอันดีว่าความหมายของคำว่าเพี้ยนหรือพัฒนา เขาวัดกันอย่างไร ก็วัดกันตรงการเดินวิชชาในบทฝึกต่างๆ ตรงตามตำราหรือไม่ ตั้งแต่ความรู้เบื้องต้นจนกระทั่งเบื้องกลาง เบื้องสูงกันเลยทีเดียว ความรู้ที่ได้นั้นสามารถนำไปใช้กำจัดทุกข์ กำจัดภัย กำจัดโรค และกำจัดอวิชชาได้จริงหรือไม่ โดยมีแนวทางสังเกตดังนี้<O:p





    **** วิชชาพัฒนา สังเกตดังนี้ ****<O:p


    1) ต่อยอดจากความรู้เดิม โดยมีเนื้อวิชชาเดิมเป็นพื้นฐาน และเน้นปูความรู้วิชชาพื้นฐาน(วิชชา ๑๘ กาย)ให้ถูกตรง สามารถบอกเหตุผลทางวิชชาได้
    <O:p
    ความรู้พื้นฐานสำคัญมาก เหมือนกับตึกที่ต้องตอกเสาเข็มให้มั่นคงจึงจะก่อสร้างต่อไปได้ฉันใด การเรียนรู้ทางปฏิบัติความรู้พื้นฐานที่ถูกตรงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าเรากลัดกระดุมเม็ดแรกผิด ยังผลให้เม็ดต่อๆ ไปก็ผิดหมด สถานที่ใดมีการเรียนรู้วิชชาธรรมกาย แต่ไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนวิชชาพื้นฐานได้อย่างชัดเจน ถูกต้อง ตรวจสอบ วัดผลก็ไม่ได้ แปลว่า วิชชาไม่ต่อยอดจากความรู้ดั่งเดิมเสียแล้ว หลักกว้างๆ ของการเรียนการสอนวิชชาพื้นฐานก็คือ...

    <O:p
    เริ่มต้น การฝึกต้องเดินใจตามฐานทางเดินของใจทั้ง ๗ ฐานก่อนเสมอ ตั้งแต่บริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วขาวใส หญิงน้อมเข้าทางปากช่องจมูกซ้าย ชายน้อมเข้าทางปากช่องจมูกขวา ถ้าให้นึกไปไว้ที่ศูนย์กลางกายเลย ก็แปลว่าสอนข้ามขั้น เมื่อทางเดินเขามีเช่นนี้แต่ไม่เน้นย้ำให้ชัดเจน การเดินทางของใจก็เข้าสิบเข้าศูนย์ไม่ได้ ส่งผลให้เห็นธรรมที่ "ศูนย์" ไม่ได้ ถ้าเลวร้ายกว่านั้นก็อาจเห็นธรรมนอกตัวไปอีก ซึ่งการเห็นธรรมนอกตัวนั้นไม่ใช่ทางเดินของธรรมภาคขาวเสียแล้วนั่นเอง

    ทางเดินของใจทั้ง ๗ ฐานนั้นสำคัญอย่างไร เปรียบเหมือนประตูทางเข้าบ้าน เรามีความประสงค์จะเข้าห้องนอน แต่เราเปิดประตูบ้านไม่เป็น เปิดประตูบ้านไม่ถูก เราก็เข้าไปสู่ห้องนอนอันเป็นห้องในสุดของบ้านไม่ได้ ถ้าเราเปิดประตูบ้านเป็นเมื่อเข้าบ้านได้แล้ว เราก็เข้าห้องนอนได้ การเดินใจเริ่มตั้งแต่...



    <O:p
    ๑. ปากช่องจมูก หญิงซ้าย-ชายขวา นี่เปรียบดังประตูบ้าน เข้าเป็นไหม หญิงกับชายเข้าคนละด้านกัน ถ้าเริ่มต้นไม่ถูก โอกาสเข้าสู่สิบสู่ศูนย์ยากแล้ว
    <O:p
    ๒. เพลาตา ตรงรูน้ำตาออก หญิงซ้าย-ชายขวา นี่ก็ต้องเข้าคนละด้านกันอีก ท่านต้องกล่าวนำเพราะชาย-หญิงเดินใจเข้าปากช่องจมูกและเพลาตาไม่เหมือนกันนั่นเอง
    <O:p
    ๓. จอมประสาท กลางกะโหลกศีรษะของเรา ตรงนี้สำคัญมาก เพราะมีกลเม็ด จะเห็นธรรมข้างในตัวอันเป็นทางเดินไปสู่ทางสายกลาง(ปฏิปทาสายกลาง)ได้นั้น ต้องเหลือบตาเบาๆ ช้อนดวงนิมิตใสเข้าไปสู่จอมประสาท ถ้าไม่เน้นโอกาสเห็นธรรมนอกตัวสูงมาก ซึ่งการเห็นออกนอกตัวไม่ใช่ทางสายกลางแล้วนั่นเอง
    <O:p
    ๔. ปากช่องเพดานหรือเพดานปาก ตรงที่เราเคยสำลักน้ำสำลักอาหาร
    <O:p
    ๕. ปากช่องลำคอ อยู่ในหลอดลำคอของเรา เหนือลูกกระเดือกนิดนึง
    <O:p
    ๖. ฐานของศูนย์กลางกาย เรียกอีกอย่างว่า “สิบ” เห็นสิบแล้วเห็นศูนย์ การเห็นดวงธรรมมี ๒ ขั้นตอนท่านทราบหรือไม่
    <O:p
    ๗. ศูนย์กลางกาย นั่นคือ “ศูนย์” นี่คือหนทางหมดจดวิเศษ เมื่อใจหยุดถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงใสแจ่มอยู่ที่ “ศูนย์” เป็นจุดเริ่มต้นของมรรคผลนิพพาน เรียกว่าดวงปฐมมรรค เป็นเอกายนมรรค(ทางเอก) เป็นสติปัฏฐาน(ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน) และเป็นทางสายกลาง(ปฏิปทาสายกลาง)

    ต้องฝึกลำดับฐานทางเดินของใจให้แคล่วคล่อง เพราะนี่คือทางไปเกิดมาเกิดของสัตว์โลก เรียกง่ายๆ ว่า เป็นที่เกิด ที่ดับ(ตาย) ที่หลับ ที่ตื่น เพราะสัตว์โลกจะเกิด-ดับ-หลับ-ตื่น ใจต้องจรดศูนย์ก่อนเสมอ เพียงแต่เราไม่เคยสังเกตกันเอง การสอนให้ฝึกเดินใจตามฐานทางเดินของใจทั้ง ๗ ฐานนี้จึงสำคัญมากๆ ทำให้รู้การไปเกิด-มาเกิด ทำให้ไม่หลงตายอีกด้วย

    การสอนให้ถูกตรงและสมบูรณ์แบบตั้งแต่เบื้องต้นจึงสำคัญมากที่สุด ถ้าสอนลำดับฐานทั้ง ๗ ก่อนเสมอ โดยเฉพาะผู้มารับการฝึกใหม่ (สำหรับผู้ฝึกจนชำนาญแล้ว สามารถลัดฐานได้ แต่ก็ต้องทราบวิธีการลัดฐานอย่างถูกต้องด้วย การลัดฐานเป็นผลมาจากการเดินใจ ๗ ฐานอย่างแคล่วคล่องแล้วนั่นเอง)การเดินใจตามฐานทางเดินของใจทั้ง ๗ ฐานได้ถูกต้องก็จะช่วยให้เขาเห็นธรรมหรือดวงใสที่ "ศูนย์" ได้ง่ายดายขึ้น ผู้สอนต้องบอธิบายได้เพราะการเดินใจตามฐานทางเดินของใจทั้ง ๗ ฐานนี้สำคัญมาก และสามารถนำไปใช้ในการเดินวิชชาได้ทุกขั้นตอนทุกหลักสูตร ถ้าไม่ฝึกให้ถูกตั้งแต่เบื้องต้นจักส่งผลถึงตอนเรียนวิชชาชั้นสูงด้วย ดังจะได้อธิบายเสริมต่อไป...



    <O:p2) แก้ไขปัญหาที่พบในการเดินวิชชาแบบเดิมให้เดินวิชชาได้ดีขึ้น ได้เหตุได้ผลตรงตามที่บทฝึกต้องการ เช่น เรื่องการเดินวิชชา ๑๘ กาย เดิมเราเอาใจนิ่งไว้ที่ฐานที่ ๗ รอให้ใจหยุดถูกส่วน(ใจตกศูนย์)ก็จะเห็นกายในกายเรื่อยไปจนครบ ๑๘ กาย

    <O:p++ ปัญหาที่พบคือ น้อยคนที่จะเดินวิชชาแนวนี้ไปจนครบ ๑๘ กาย ไปติดแค่กายหนึ่งหรือสอง หรือสามกาย เนื่องจากวิธีนี้เหมาะแก่ผู้มีบารมีธรรมมาแต่ปางหลังมาก ที่ใจถูกฝึกมาดี ดังเช่นหลวงพ่อวัดปากน้ำและเหล่าศิษย์ยุคแรกๆ

    <O:p++ วิธีแก้ไข ก็คือ เราต้องเดินใจตามฐานทั้ง ๗ ทุกครั้ง เมื่อถึงกายใดๆ เช่น เห็นกายฝัน(มนุษย์ละเอียด) เราก็ต้องลำดับใจไปทีละฐาน แล้วไปหยุดตรงฐานที่ ๗ ส่งใจนิ่งลงไปเห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็มกลางดวงธรรมของกายฝัน ลำดับดวงธรรม ๖ ดวง พอถึงดวงธรรมที่ ๖ จุดเล็กใสว่างออก เห็นกายทิพย์หยาบ แล้วเดินใจไปตามฐานทั้ง ๗ ของกายทิพย์หยาบทำตามวิธีนี้ก็จะเห็นกายในกายได้ตลอดไปจนครบ ๑๘ กายได้อย่างง่ายดาย

    ให้ฝึกเดินกายในกายไปทีละกาย ด้วยวิธี ลำดับฐาน(ทางเดินของใจทั้ง ๗ ฐาน) - ลำดับดวง(ดวงธรรม ๖ ดวง) – ลำดับกาย (ไปทีละกายจนครบทั้ง ๑๘ กาย)

    เมื่อทดสอบดูแล้ววิธีการเดินใจไปตามฐานทั้ง ๗ ทุกครั้ง มีข้อดีมากเพราะใจจะเข้ากลางของกลางเสมอ และทำให้สามารถเดินวิชชาได้ครบ ๑๘ กายได้โดยง่ายดาย ช่วยแก้ปัญหาการเดินวิชชา ๑๘ กายได้ดีมาก

    <O:pอย่าลืม หลวงพ่อวัดปากน้ำกล่าวไว้ว่า "เห็นสิบแล้วเห็นศูนย์ เป็นเค้ามูลสืบกันมาฯ" นั่นหมายถึงก่อนใจจะหยุดที่ศูนย์(ฐานที่๗) ใจจะหยุดตรงสิบก่อนคือฐานที่ ๖ เสมอ ใจจะหยุดตรงสิบและตกศูนย์ได้ เราต้องเดินใจตามฐานที่ตั้งของใจทั้ง ๗ ฐานได้นั่นเอง



    <O:p3) ทำของยากให้เป็นของง่าย เช่น สอนให้ผู้มารับการฝึกเห็นธรรมกายได้ง่ายขึ้น ใช้เวลาน้อย ประหยัดงบประมาณ มาร้อยต้องเห็นธรรมทั้งร้อย มาพันต้องเห็นธรรมทั้งพัน จะมาฝึกเป็นหมื่นเป็นแสนคน เราก็ต้องสามารถสอนให้เขาเห็นธรรมได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ต้องมีขั้นตอนในการฝึกที่ชัดเจน จัดลำดับก่อนหลังในการฝึกภาคปฏิบัติได้ มีวิธีการวัดผลการฝึกทุกครั้ง นี่คือการทำของยากให้เป็นของง่าย และนี่คือเป้าหมายของการเผยแผ่สมาธิวิชชาธรรมกายให้เจริญคู่ฟ้าดินอย่างแท้จริง

    <O:pการพาคนเข้าสู่สถานปฏิบัติธรรมจำนวนมากๆ แต่ไม่มีการจัดการเรียนการสอนให้คนเห็นธรรมได้อย่างถูกต้องชัดเจน ตรวจสอบวัดผลก็ไม่ได้นั้น ถือเป็นการสร้างภาพที่เน้นปริมาณแต่ไม่มีคุณภาพ ไม่ใช่หลักของการเผยแผ่ธรรมของธรรมภาคขาวเลย ต้องถามตัวเราเองก่อนว่าเราจัดพิธีกรรมโดยเน้นปริมาณหรือจำนวนคนเข้ามามากมายนั้นเพื่ออะไร ทำไมไม่ชิงสิทธิเฉียบขาดด้วยการฝึกให้เขาเห็นธรรมกายให้ได้ในเวลานั้น เราพาเขามาหลงใหลในพิธีกรรมอันสิ้นเปลืองทำไม เราพาเขามาเสียเงินเพื่อการก่อสร้างเกินความจำเป็นทำไม ท่านได้เงิน ท่านได้ปริมาณ ท่านได้ภาพผลงานเอาไว้โฆษณา แต่ธาตุธรรมภาคขาวไม่เคยได้ประโยชน์ในการเปิดรู้เปิดญาณทัสนะให้คนเหล่านั้นได้เห็นธรรมกายเลย ทำไมท่านไม่ดำเนินการเผยแผ่ตามจุดประสงค์ตามวิธีการของธาตุธรรมภาคขาวเล่า ถ้าท่านเข้าถึงธาตุธรรมภาคขาวได้จริง เรื่องที่สำคัญที่สุดก็คือชิงธาตุธรรมของสัตว์โลกให้เข้าถึงธรรมกาย เพื่อให้ธรรมภาคขาวเข้าไปช่วยแก้ไข เห็น-จำ-คิด-รู้ ของเขาให้พลิกธาตุธรรมมาเป็นฝ่ายกุศลาธัมมาให้จงได้ งานพิธีกรรม งานก่อสร้าง งานการเงินการทองที่เกินจำเป็น นั่นไม่ใช่งานของธรรมภาคขาวเลย

    -->> ยิ่งการที่เรามีบุคคลากรจำนวนมาก มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องฝึกบุคลากกรเหล่านั้นให้สอนเป็น ให้สอนได้อย่างถูกต้อง ถ้าเราพัฒนากันตรงการฝึกให้เกิดครูสอนธรรมกายที่ได้มาตรฐานเดียวกันจำนวนมาก วิชชาธรรมกายก็จะเจริญแพร่หลายไปทั่วโลก เพราะเรามีครูสอนธรรมกายได้มาก โดยเฉพาะครูหรือวิทยากรสอนวิชชาธรรมกายหลักสูตรเบื้องต้น คือ หลักสูตร ๑๘ กาย เราควรฝึกบุคลากรของเราทั้งพระทั้งฆราวาสให้สอนเป็นสอนได้ออกมารับใช้สังคมให้มาก วิชชาธรรมกายภาคปฏิบัติจึงจะอยู่คู่ฟ้าดิน ถ้าเรามีความพร้อมอยู่แล้ว กล่าวคือ มีทั้ง เงิน สถานที่ เครื่องไม้เครื่องมือ เทคโนโลยี และจำนวนบุคลากรอาสาสมัครมากเพียงพอ เราก็ควรสร้างครูหรือวิทยากรสอนหลักสูตรพื้นฐาน ๑๘ กายให้มาก ถ้าทำได้แปลว่า ท่านมีวิชชาจริง ถ้าทำไม่ได้แปลว่า ท่านไม่มีความรู้ และยังเอาคนไปใช้ผิดนโยบายของธรรมภาคขาวเสียอีกด้วยนั่นเอง

    <O:pยิ่งไปทำให้วิชชาธรรมกายหรือการเข้าถึงธรรมกายดูว่าเป็นเรื่องยาก ต้องสร้างบารมีด้วยวัตถุเงินทองมากๆ เสียก่อน หรือผู้ที่ตนอ้างว่าได้ธรรมกายแต่ดูลึกลับซับซ้อนยากแก่การเข้าถึง หรือไม่ก็อ้างเรื่องวิชชาให้ดูคลุมเคลือไม่อธิบายหรือไม่สามารถอธิบายให้ชัดเจนได้ โดยเฉพาะวิชชาเบื้องต้น ก็แปลว่าทำของที่น่าจะง่ายให้ยากและยากยิ่งขึ้น กลายเป็นไปต่อยอดความยากเข้าไปอีก ทำเช่นนี้ไม่เป็นผลดีต่อการเรียนรู้ทางวิชชาเลย



    <O:p4) ต้องพัฒนาวิชชาอยู่เสมอ วิชชาต้องละเอียดยิ่งขึ้นไปเรื่อย ดังคำของหลวงพ่อวัดปากน้ำที่ว่า "เดินหน้าต่อไปไม่ถอยหลังกลับ" โดยให้ "ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป"

    <O:pเรื่องวิชชาธรรมกายนี้ต้องพัฒนากันที่เนื้อวิชชา หลักวิชชาในภาคความรู้ขั้นปฏิบัติ เพราะนี่คือมรรควิถีของผู้เข้าถึงธรรมกายอย่างแท้จริง เมื่อเราพัฒนากันที่เนื้อความรู้ เนื้อวิชชา ธรรมก็จะเจริญ โลกก็จะเจริญ เพราะความรู้ย่อมมีไปไม่สิ้นสุด ตราบใดที่กิเลสอวิชชายังครอบงำสัตว์โลกอยู่ เราจะมาพึงพอใจแต่ความรู้เดิมๆ ไม่ได้ กิเลสเขาก็พัฒนาในฝ่ายของเขา เราจะมานั่งเดินวิชชาที่หยาบลงๆ ก็ไม่ได้ จะเห็นได้ว่าแม้เรื่องในโลกนี้ก็มีการพัฒนามาโดยตลอดในช่วงระยะเวลาอันยาวนาน แทบจะเรียกว่าในทุกเรื่องก็ว่าได้ อยู่ที่ว่ามันเป็นไปในแง่ดีขึ้นหรือเลวลงเท่านั้น

    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านให้ความสำคัญในภาคปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง เราต้องเอาความรู้ออกหน้า อย่าเอาความเชื่อความศรัทธาออกหน้า เพราะความรู้ที่ถูกต้องตรงตามหลักวิชชาเท่านั้น วิชชาจึงจะพัฒนาได้ เราจะทราบได้อย่างไรว่าความรู้ที่ได้ตรงกับหลักวิชชา ขอให้ย้อนไปพิจารณากันในตำราหลักสูตรทั้ง ๔ เล่มที่ยกมาข้างบนนั้นเป็นหลัก เพราะตำราเหล่านั้นมีความรู้ภาคสมถะและวิปัสสนาอย่างครบถ้วน เป็นความรู้วิชชาธรรมกายทุกระดับชั้น ตั้งแต่ เบื้องต้น กลาง ปลาย อ่อน แก่ หยาบ ละเอียด โปรดศึกษาให้มาก ทำความเข้าใจให้ได้ทุกบทฝึก

    <O:pถ้าผู้สอนมีความรู้จริงและวิชชาพัฒนาจริง การสอนเบื้องต้นจะต้องได้ผลและตรวจสอบได้ แต่ถ้าผู้สอนไม่มีความรู้จริง แทนที่จะพัฒนาตรงการเรียนรู้ให้เฉียบคมขึ้น ก็จะกลับไปพัฒนาเรื่องนอกตัวให้มากขึ้นมาแทนที นี่คือข้อบ่งบอกว่า ความรู้ภาคปฏิบัติไม่มีแล้วนั่นเอง จึงหันเหไปสู่เรื่องนอกตัว เช่น วัตถุ เงินทอง พิธีกรรม เน้นจำนวนและปริมาณที่ไม่ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางวิชชาแต่อย่างใด





    ---- วิชชาเพี้ยน สังเกตดังนี้ ----<O:p



    1) ความรู้นอกกรอบนอกตำรา โดยไม่มีพื้นวิชชาเดิมรับรอง เทียบเคียง ตรวจสอบไม่ตรงกับความรู้หลักของวิชชาธรรมกาย ไม่ได้ด้วยเหตุผลทางวิชชา


    <O:pเช่น การที่คนๆ หนึ่งเห็นดวงปฐมมรรคเราต้องรีบต่อวิชชาให้เขาเห็นธรรมกาย จนสามารถเดินวิชชา ๑๘ กายได้ ไม่ใช่ปล่อยเขาให้เห็นแต่ดวงไปเรื่อยๆ หรือเห็นกายธรรม(องค์พระ)ไปเรื่อยๆ ซึ่งไม่มีประโยชน์เลย เพราะเห็นดวงธรรมแล้วต้องเห็นกายในกายให้ได้ทั้ง ๑๘ กาย เพราะนี่เป็นเพียงวิชชาพื้นฐานเบื้องต้นเท่านั้น ตามที่หลวงพ่อวัดปากน้ำวางแนวเอาไว้ให้พิจารณาหลักการสอนเบื้องต้น...ดังนี้


    สอนจนเขาเห็นดวงปฐมมรรค ต้องต่อวิชชาให้เขาเห็นกายในกาย จนเป็นวิชชา ๑๘ กาย แล้วฝึกเดินวิชชาอนุโลม-ปฏิโลม ๑๘ กายทุกวันให้กายทุกกายใสสว่าง

    <O:pจากนั้นจึงพาผู้ได้ธรรมกายไปฝากธาตุฝากธรรมต่อธาตุธรรมบนพระนิพพาน และขอรัตนะทั้งเจ็ดด้วย ฝึกเข้านิพพานเยอะๆ เพื่อไปซ้อนกายสับกาย ซ้อนสับทับทวีกับธาตุธรรมเพื่อให้กายใสและใจ หยุด-นิ่ง-แน่น จรดวิชชาได้เนืองๆ เพื่อเตรียมพร้อมเรียนรู้วิชชาในระดับอื่นต่อไป <O:p


    ถามว่าทำไมต้องเดินวิชชา ๑๘ กายได้

    ขอตอบว่า กายในกายของเรามี ๑๘ กาย มีเหมือนกันหมดทั้งโลกนี้และโลกไหนๆ สัตว์โลกทุกภพภูมิมี ๑๘ กายเหมือนกันหมด ถ้าเราไม่เห็นกายในกาย เราก็ไม่เห็น เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ถ้าเราเห็นกายในกายทั้ง ๑๘ กาย แปลว่าเราเจอแผนผังของชีวิตแล้ว เป็นผังสำเร็จทำให้เราเข้าสู่ทางมรรคผลนิพพานได้
    ในเบื้องต้น เมื่อเราฝึกจนกระทั่งเข้ากายในกายทั้ง ๑๘ กายได้แล้ว หมั่นเดินวิชชาเป็น อนุโลม-ปฏิโลม เพื่อให้กายในกายทั้ง ๑๘ กายใสแจ่มตลอดไปไม่มัวหมอง ส่งผลให้ใจหยุด-นิ่ง-แน่น นั่นแปลว่าเราอยู่ในปกครองของธรรมภาคขาวแล้ว จะเกิดผลดีต่างๆ ตามมามากมาย นี่คือเหตุผลว่าทำไมหลวงพ่อวัดปากน้ำท่านต้องการให้เรา(สัตว์โลก)เข้าถึงกายในกายทั้ง ๑๘ กาย ก็เพื่อให้เราเดินวิชชาให้กายในกายขาวใสนั่นเอง อย่าไปเห็นแบบผุดขึ้นเป็นสาย เพราะนั่นไม่มีประโยชน์ทางวิชชา ไม่ใช่หลักสูตรที่ถูกต้อง ไม่ใช่หลักวิชชา ไม่ทำให้เดินถูกทางมรรคผล เมื่อท่านเห็นดวงธรรมแล้ว ท่านต้องเห็นธรรมกายเบื้องต้น(วิชชา ๔ กายธรรม) แล้วฝึกวิชชา ๑๘ กายต่อไป ถ้าท่านเรียนรู้เช่นนี้ ถือว่าถูกหลักวิชชาของธรรมภาคขาวแล้ว ท่านเดินถูกทางมรรคผลแล้ว เป็นวิชชาเบื้องต้นที่มั่นคงเป็น "รอยใจ" ของธรรมภาคขาวอย่างแท้จริง อย่าเสียเวลาหลงทางเข้ารกเข้าพงษ์อยู่เลย....


    2) แทนที่จะพัฒนาให้ดีขึ้นกลับถอยหลังเข้าคลอง เช่น ผู้เป็นธรรมกายต้องแก้โรคได้ ต้องตรวจคนตายว่าไปอยู่ที่ไหนได้อย่างถูกตรงตามหลักวิชชา ต้องสอนเขาเห็นธรรมกายได้อย่างเฉียบคม สอนเขาเดินวิชชา ๑๘ กายได้ ถ้าทำได้อยู่ถือว่ายังรักษาความรู้ไว้ได้ ถ้าทำไม่ได้นั่นคือการถอยหลังเข้าคลองทางวิชชา

    <O:pวิชชาธรรมกายเน้นที่ใจ หยุด-นิ่ง-แน่น ไม่ได้เน้นที่ เห็นดวงธรรมหรือเห็นพระธรรมกายแล้ว ใจเป็นสุข แล้วก็ชื่นชอบแต่ความสุข เราเป็นผู้ฝึกที่ดีเมื่อมีกระแสเรื่องของการติดสุขในการนั่งสมาธิ เราต้องรีบทำความเข้าใจให้ถูกตรงว่า วิชชาธรรมกาย เน้นที่ความ หยุด-นิ่ง-แน่น ของใจ เมื่อใจหยุด-นิ่ง-แน่น แปลว่าใจสงบ เมื่อใจสงบจึงเกิดสุข แต่อย่าไปยึดตรง “สุข” สุขแท้จริงต้องเกิดจากความสงบ(หยุด-นิ่ง-แน่น)ของใจ นั่นคือ นัตถิสันติปะรังสุขขัง – สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบของใจนั้นไม่มี ควรเน้นที่ ความสงบ คือ หยุด-นิ่ง-แน่น การนั่งสมาธิเกิด “สุข” นั้นไม่ผิด แต่ผู้ฝึกหรือครูสอนสมาธิที่ดีต้องกำชับด้วยว่า ความ หยุด-นิ่ง-แน่น ของใจต่างหากเป็นที่มาของ สุขสันติ และความ หยุด-นิ่ง-แน่น นั้น ยังต้องเดินหน้าต่อไปไม่ถอยหลังกลับ ด้วยการ หยุดในหยุด นิ่งในนิ่ง แน่นในแน่น ใสในใส อีกด้วย ถึงตอนนั้นไม่ต้องกล่าวถึงเรื่อง “สุข” แล้ว เพราะใจเดินตามหลักมรรคมีองค์ ๘ ได้แล้วนั่นเอง



    <O:p3) มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากเนื้อความรู้เดิม เช่น การเห็น บุญ ต้องเห็นเป็นดวงบุญ ไม่ใช่เห็นเป็นท่อบุญ เป็นสายบุญ ขนาดของดวงบุญนั้นเมื่อกลั่นตัวแล้วเหลือเท่าหยดน้ำ บุญใหญ่เท่าฟ้าครอบนั้นเมื่อกลั่นแล้วเหลือเท่าจักตอก(อุปมา) ดังนั้นไม่ควรโฆษณาว่าบุญใหญ่โตเกินจริง โดยเฉพาะบุญจากการทำทานนั้น ดวงบุญจะไม่ใหญ่โตอะไร บุญจากการเจริญภาวนาวิชาธรรมกายเป็นดวงบุญที่ใสและมีฤทธิ์ บุญอื่นๆ ยังห่างชั้นมากนัก

    <O:pการเห็นดวงใสหรือเห็นพระแก้วใส ต้องเข้ากลางของกลาง ลำดับฐาน-ลำดับดวง-ลำดับกาย ไม่ใช่ไปนึกให้เห็นดวงใสหรือองค์พระผุดขึ้นเป็นสาย อย่างนั้นไม่ตรงหลักวิชชา ไม่มีประโยชน์ต่อการเดินวิชชา ๑๘ กายเลย

    <O:pอีกอย่างการท่องวิชชาต้องท่องใจโดย “ส่งใจนิ่งไปกลางดวงใส” แล้วท่องใจว่า “สัม มา อะ ระ หัง ๆ ๆ ๆ" ไม่ใช่ "ท่องให้เสียงดังออกมาจากศูนย์กลางกาย" ต้องสั่งวิชชาเข้ากลางของกลาง ไม่ใช่สั่งให้ออกมาหรือผุดออกมา เพราะการสั่งวิชชาเช่นนั้น ใจจะเคลื่อนออกจาก “ศูนย์” ได้ นั่นคือ “ผิดศูนย์ผิดทางไม่เข้ากลางออกนอก”

    <O:p</O:p
    การเรียนรู้วิชชาธรรมกายที่ถูกต้อง การสั่งวิชชาก็ดี การบอกความรู้ก็ดี ต้องตรวจสอบวัดผลได้ เทียบเคียงตำราแล้วลงรอยกัน ที่สำคัญรู้ญาณทัสสนะที่เห็นต้องได้รับการยืนยันและตรวจสอบจากครูอาจารย์และเทียบให้ตรงหลักวิชชาก่อนทุกเรื่อง รู้อะไรเห็นอะไรอย่าเพิ่งเชื่อให้ทำวิชชาตรวจสอบก่อนเสมอ เรื่องรู้ญาณทัสสนะนี้มีเหลี่ยมคูอยู่มาก อย่าได้ประมาท เพราะธาตุธรรม ๓ ฝ่ายต่างใช้ช่องทางนี้ในการหลอกรู้หลอกญาณทัสสนะ คือความรู้ที่ได้จากการรู้เห็นต้องใช้วิชาตรวจสอบอย่างละเอียดและใช้ความรู้ทางวิชชาชั้นสูง โดยเฉพาะความรู้สำคัญในทางการรบและเรื่องในธาตุในธรรมนั่นเอง



    <O:p4) วิชชาหยาบลง คือถอยจากละเอียดมาเล่นความรู้ที่หยาบลง ดังเช่น ความรู้ทางปฏิบัตินั้น เป็นเรื่องนามธรรม ผู้ปฏิบัติพึงเห็นผลได้ด้วยตนเอง ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย แต่ถ้าเราเอาเรื่องที่เป็นนามธรรมถอยหยาบมาเป็นเรื่อง วัตถุธรรม เรื่องพิธีกรรม ที่เกินความจำเป็น และอาจเป็นเรื่องที่ไม่ตรงกับหลักปฏิบัติทางวิชชาด้วยซ้ำ เพราะวิชชาธรรมกายสอนให้เราพัฒนาใจ ไม่ยึดติด ไม่ติดพิธีกรรม ไม่ติดวัตถุภายนอกตัว หลวงพ่อวัดปากน้ำมีคติธรรมที่เราควรนำเป็นแบบอย่างคือ ท่านมุ่งหวังสร้างพระในใจคน ท่านกล่าวว่า เราต้องให้ความรู้เขาก่อน เมื่อเขามีความรู้แล้วก็ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย เมื่อใจใสแล้วทำอะไรดีหมด หลวงพ่อวัดปากน้ำจะบันเทิงอารมณ์มากเมื่อผู้มารับการฝึกเห็นดวงธรรมในท้องได้ ใครที่ทำได้แม้เพียงแค่คนเดียว หลวงพ่อฯ ยิ้มได้ทั้งวัน นั่นหมายถึงหลวงพ่อฯ เห็นการปฏิบัติสำคัญกว่าเรื่องอื่นใด เราผู้เป็นศิษย์ควรถือเป็นแบบอย่างได้เป็นอย่างดี ทำอะไรๆ ต้องเข้าหลักหลวงพ่อฯ นั่นคือ "ประหยัดสุด ประโยชน์สูง"

    ขอให้ท่านผู้เข้ามาอ่านโปรดพิจารณาให้มาก ว่าการเรียนรู้ในวิชชาธรรมกายนั้น หลวงพ่อวัดปากน้ำได้วางหลักเกณฑ์ไว้อย่างดีแล้ว มีการตรวจสอบ และวัดผลความถูกต้องไว้อย่างชัดเจน ตำราทั้ง ๔ หลักสูตรถือเป็นธรรมนูญของผู้ฝึกธรรมกายทุกคน เราอย่าหลงเชื่อตนเอง คือเชื่อรู้ญาณทัสสนะของเราเองจนเกินไป ควรตรวจสอบความรู้กับตำราเนืองๆ ว่าเรายังอยู่ในร่องในรอย ของ รอยใจภาคขาว(กุศลาธัมมา)อยู่หรือไม่.......



    <O:p

    ความรู้ทางวิชชาธรรมกายยังมีอีกมาก รอผู้มีบารมีธรรมมาช่วยกันฝึกฝนและเรียนรู้ ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ...



    เวบให้ความรู้วิชชาธรรมกาย http://www.khunsamatha.com/

    ห้องสนทนาธรรม http://forums.212cafe.com/samatha/
     
  5. ต้นไม้โพธิ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +85
    สดๆร้อนๆจาก DMC

    ผลการปฏิบัติธรรมของพระนานาชาติไม่กี่รูปผู้บวชมาสองเดือนกว่าๆแล้ว

    ทบทวนฝันในฝัน วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2553
    ตอน ผลการปฏิบัติธรรมพระธรรมทายาทนานาชาติ รุ่นพิเศษ


    <DIV class=MsoNormal align=center>ผลการปฏิบัติธรรมพระธรรมทายาทนานาชาติ รุ่นเข้าพิเศษ
    เรียบเรียงจากรายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา

    กราบนมัสการพระเดชพระคุณหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง

    <DIV class=MsoNormal align=justify><DIVE /> กระผม...พระดักกี้ โกวิโท อายุ 25-ปี เป็นชาวอเมริกัน มาจากสหรัฐอเมริกาครับ กระผมจบการศึกษาทางด้านภาพยนตร์ กระผมได้มาปฏิบัติธรรมในโครงการ The-middle-way-รุ่นที่ 34-แล้วชีวิตของกระผมก็เปลี่ยนไป ความสุขจากสมาธิ ทำให้กระผมมีความสุขได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาสิ่งนอกตัว หลังจากจบโครงการแล้ว กระผมฝึกนั่งสมาธิทุกวันไม่ขาดเลย รวมตอนนี้ก็ 69-วันแล้วครับ แล้วกระผมก็ตัดสินใจเข้าอบรมในโครงการอุปสมบทพระนานาชาติ รุ่นพิเศษ ซึ่งทำให้กระผมได้ฝึกนั่งสมาธิอย่างเข้มข้น </DIV>
    <DIV class=MsoNormal align=center><DIVE /></DIV>
    พระดักกี้ โกวิโท

    เวลานั่งสมาธิ กระผมจะทำความรู้สึกว่า ตัวเองลอยอยู่กลางอวกาศที่โล่งๆว่างๆ ทำความรู้สึกว่าเราอยู่ในดวงแก้ว ผ่านไปไม่นาน กระผมก็เห็นดวงแก้วลูกโตมาก อยู่ในศูนย์กลางกายของกระผม แล้วก็มีองค์พระแก้วใสเกิดขึ้นที่กลางดวงแก้วด้วย พอมองไปในองค์พระ ก็เห็นจุดสว่างคล้ายดวงดาวอยู่ในนั้น สักพักจุดสว่างก็โตขึ้น กลายเป็นดวงแก้วที่มีองค์พระแก้วใสอยู่ในนั้นอีก เป็นแบบนี้ซ้ำๆ ใจของกระผมสงบนิ่ง ปราศจากความคิดใดๆ กระผมรู้สึกว่าตัวเองกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับองค์พระที่นับไม่ถ้วน ตัวเบาสบาย ภายในก็เต็มไปด้วยแสงสว่างครับ

    <DIV class=MsoNormal align=center>
    ภาพวาดประสบการณ์ภายในของพระดักกี้ โกวิโท
    <DIVE /></DIV>
    กระผมมีความปรารถนาที่จะทำหน้าที่แนะนำธรรมะให้กับชาวอเมริกัน โดยเฉพาะในฝั่งตะวันตก เพราะในเวลานี้ ธรรมะและการปฏิบัติธรรม กำลังเป็นที่ต้องการของชาวอเมริกันอย่างมากครับ

    กราบนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง
    พระดักกี้ โกวิโท​
    <DIV class=MsoNormal align=justify><DIVE /></DIV>
    กราบนมัสการพระเดชพระคุณหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง

    <DIV class=MsoNormal align=justify><DIVE /> กระผม...พระคำบา วิปุโล อายุ 34-ปี เป็นชาวคองโก กระผมจบการศึกษาด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยลูบุมบาชี ในคองโกครับ กระผมเคยเข้าอบรมอุบาสิกาแก้วในคองโก เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2553-ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการอบรมรวมกันทั้งอุบาสกและอุบาสิกาครับ ทำให้กระผมมีความประทับใจในการนั่งสมาธิเป็นอย่างมาก กระผมจึงตัดสินใจบินลัดฟ้ามาที่วัดพระธรรมกาย เพื่อเข้าร่วมโครงการอุปสมบทพระนานาชาติในครั้งนี้ </DIV>
    <DIV class=MsoNormal align=center>
    พระคำบา วิปุโล
    <DIVE /></DIV>
    เวลากระผมนั่งสมาธิ กระผมจะผ่อนคลายร่างกายให้สบาย และนึกถึงดวงแก้วที่มีองค์พระอยู่ภายใน โดยนึกมาไว้ในศูนย์กลางกายของกระผมครับ กระผมนึกถึงดวงแก้วไปเรื่อยๆ ใจของกระผมก็สงบ ไม่คิดอะไรเลย แล้วกระผมก็เห็นทั้งดวงแก้วและองค์พระใสขึ้น กระผมรู้สึกว่าตัวเองกำลังนั่งอยู่ในความเงียบ เพียงแค่นั่งดูองค์พระไปเรื่อยๆ ทั่วทั้งร่างกายของกระผมก็เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข เป็นช่วงเวลาที่พิเศษมากที่สุดสำหรับกระผม

    <DIV class=MsoNormal align=center>
    ภาพวาดประสบการณ์ภายในของพระคำบา วิปุโล
    <DIVE /></DIV>
    หลวงพ่อครับ...กระผมอยากศึกษาธรรมะให้มากขึ้น กระผมขออนุญาตอยู่เป็นพระลูกชายของหลวงพ่อไปเรื่อยๆนะครับ

    กราบนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง
    พระคำบา วิปุโล​
    <DIV class=MsoNormal align=justify><DIVE /></DIV>
    กราบนมัสการพระเดชพระคุณหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง

    <DIV class=MsoNormal align=center>
    พระกาเอ็มเบ้ ปคุโณ
    <DIVE /></DIV>
    กระผม...พระกาเอ็มเบ้ ปคุโณ อายุ 28-ปี กระผมเป็นชาวคองโก กระผมมาบวชเพื่อค้นหาชีวิตที่แท้จริงครับ เวลานั่งสมาธิ กระผมจะผ่อนคลายร่างกาย สูดลมหายใจเข้า-ออกลึกๆ หลายๆครั้ง แล้วก็นึกถึงพระจันทร์ที่กลางกาย ไม่นานกระผมก็เห็นทางสว่างปรากฏขึ้น ตอนนั้นใจของกระผมสงบนิ่ง ไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวดใดๆเลย แล้วก็มีองค์พระ องค์เล็กๆเกิดขึ้นที่บริเวณศูนย์กลางกายของกระผมครับ องค์พระมีแสงสว่าง เหมือนกับแสงของดวงอาทิตย์ แต่มองแล้วรู้สึกสบายตา เย็นกายเย็นใจมากเลยครับ แล้วแสงสว่างก็แผ่ขยายออกจากศูนย์กลางกายไปทั่วร่างกายของกระผม กระผมรู้สึกมีความสุขสุดๆ แบบ...Extremely-happy-เป็นความสุขแบบที่ไม่เคยเจอมาก่อนในชีวิตเลยครับ


    ภาพวาดประสบการณ์ภายในของพระกาเอ็มเบ้ ปคุโณ
    <DIVE /></DIV>
    กระผมขอกราบขอบพระคุณหลวงพ่อ ด้วยความซาบซึ้งเป็นอย่างสูง กระผมอยากให้ทุกคนทั้งโลกรู้จักสมาธิและฝึกนั่งสมาธิ เพราะสมาธิเท่านั้นที่จะเปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้ดีขึ้นได้จริงๆครับ

    กราบนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง
    พระกาเอ็มเบ้ ปคุโณ​
     
  6. ต้นไม้โพธิ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +85
    ข้อแนะนำ

    พระนานาชาติแค่สามรูปนี้ ให้ต่อวิชชา 18 กายทันทีได้ไหมครับ อย่าอ้างว่าเยอะ แค่สามรูปนี้เอง พิสดารกาย สับกายซ้อนกาย เจริญฌาน ทำได้ไหมครับ

    สอนอนุปัสสนาและวิปัสสนา ให้มากๆ อย่าลืมศาสนาพุทธเด่นที่ไตรสิกขาและวิปัสสนา ไม่ใช่แค่สมาธิ สมาธินั้นนอกศาสนาก็มี

    สอนปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ จุตูปปาตญาณ สอนให้ตรวจภพจักรวาล สอนให้ทำนิพพานให้แจ้ง สอนให้ได้รับรัตนะ 7

    เอาแค่นี้ เบื้องสูงไปกว่านี้ยังไม่ต้องก็ได้

    ถ้าท่านสอนให้ไม่ได้ แนะนำให้ส่งมาที่ดำเนินนะครับ เรายินดี ท่านจะเข้าถึงพระพุทธศาสนาที่แท้จริง ภายในเวลา 1 อาทิตย์ แค่สามรูปเอง สบาย ชิวๆ

    ท่านจะว่าอย่างไร? หรือจะให้เขาเห็นแค่นี้ บวชต่ออีกซักเดือนถึงปี แล้วก็เน้นให้ทำทานไปจนวันตาย แบบนี้ก็ไม่ต่างไปจากศาสนาโยคีนะครับ ศาสนาโยคะเขาก็มีสอนสมาธิ มีอยู่หลายสถาบันเลยครับ

    ถ้าท่านทำได้เพียงเท่านี้ คนเขาจะต่อว่าวิชชาธรรมกายไม่มีอะไรจริง วิปัสสนาก็ไม่สอน มีแต่ติดนิมิตติดสมาธิไปวันๆ ท่านทำให้วิชชาธรรมกายถูกโจมตีอีกแล้ว ท่านจะรับผิดชอบอย่างไรครับ???????????????????????????????????????????????????????

    ท่านจะพูดได้เต็มปากเต็มความภาคภูมิใจได้อย่างไรว่าท่านเผยแผ่พระพุทธศาสนาและวิชชาธรรมกายจริง

    วันดีคืนดีมีนักปราชญ์มาเขียนหนังสือ กรณีธรรมกาย2 โจมตีขึ้นมาอีกท่านจะทำอย่างไร? ท่านทำตัวเองนะครับ เหล่าศิษย์วิชชาธรรมกายสำนักอื่นๆชี้ขุมทรัพย์ให้แล้ว
     
  7. ต้นไม้โพธิ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +85
    ส่วนเคสสตั๊ดดี๊นี้ เป็นพวกชอบฝึกสมาธิแบบโยคะ แล้วติดอยู่เท่านั้น ไม่ก้าวหน้า

    นั่งสมาธิไม่สงบ ไม่ก้าวหน้า...จะทำอย่างไรดี ::: DMC Dhamma Media Channel

    ปัญหานี้จะหมดไป เพราะแก้ไขได้ที่วัดหลวงพ่อสดฯดำเนินฯ ดังตัวอย่างโพสต์ที่ #119

    http://palungjit.org/threads/หลวงพ่อสด-แยกกายมาจากต้นธาตุต้นธรรม.264598/page-6

    เป็นชาวอเมริกันที่เป็นครูสอนโยคะและสมาธิ แต่ได้มาแสวงหาการนั่งสมาธิตามวิถีพุทธ และสามารถแก้ไขการปฏิบัติให้เข้าถึงศาสนาพุทธตามแนววิชชาธรรมกายได้อย่างยอดเยี่ยม ภายในเวลาแค่ไม่กี่วันเท่านั้น โพสต์ที่ #119 นะครับ

    วัดหลวงพ่อสดฯ สอนฟรั่งผู้นี้ด้วย สมถะ วิปัสสนา ไตรสิกขา สติปัฏฐาน4 ทำนิพพานให้แจ้งพร้อมวิชชา3 ครบ
     
  8. ต้นไม้โพธิ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +85
    อย่างน้อยๆ ถ้าท่านไม่รับข้อแนะนำอะไรเลย

    ผมก็ขอให้ท่านสอนวิปัสสนาเบื้องต้นบ้าง อย่าเอาแต่สอนให้ติดนิมิตติดสมาธิแล้วบอกให้ทำทานจนวันตายเท่านี้เลยครับ

    เพื่อเห็นแก่มนุษย์ที่สามารถพัฒนาตนเองได้ตามศาสนาพุทธก็แล้วกัน
     
  9. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    สโลแกนด์ที่ว่า "ธรรมกายคือเป้าหมายของชีวิต" ถามว่าถ้าผู้สอนไม่สอนให้ถูกหลักวิชชา แล้วผู้ฝึกจะเห็นธรรมกายได้อย่างไร


    เราไปหลอกล่อให้เขาทำบุญทำทานแบบทุ่มสุดตัวหรือหมดตัว เพื่อแลกกับการขายวิมานในอากาศหรือขายสวรรค์ชั้นดุสิตบุรีที่ไม่รู้ว่าจะมีจริงหรือเปล่า สวรรค์สำหรับคนทำทานที่หวังจะขึ้นไปอยู่บนชั้นที่เหล่าพระโพธิสัตว์ท่านพำนักกัน มันไม่เกินความจริงไปหน่อยหรือ


    แล้วท่านทราบหรือไม่ว่า สวรรค์ชั้นนี้ใครเป็นผู้ปกครอง ใครมีอำนาจปกครอง จู่ๆ ท่านมาโฆษณาชวนเชื่อ โดยไม่ถามผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดุสิตหรือว่า มีวงบุญพิเศษฯ จริงหรือไม่ สวรรค์ชั้นนี้ศิษย์เอกของหลวงพ่อวัดปากน้ำที่ได้เป็นหัวหน้าเวรทำวิชชาในโรงงานท่านหนึ่งดูแลอยู่ ไม่ใช่คุณยายจันทร์นะครับโปรดเข้าใจ อย่าได้นำชื่อสวรรค์ชั้นนี้ไปเร่ขายหรือจับจองพื้นที่ตามอำเภอใจเช่นนั้น เดี๋ยวถึงเวลาตายจากโลกนี้จริงๆ แล้วหมดสิทธิ์อยู่ที่ชั้นดุสิตแล้วจะไปโวยวายเอากับใคร

    ในทางโลกเขามีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค แต่นี่เล่นขายวิมานกันข้ามโลก ข้ามภพข้ามชาติ ถ้าไม่เป็นจริง จะไปเรียกร้องความเสียหายกับใครได้ มีใครกล้ายืนยันได้ว่าท่านมีสิทธิ์ไปอยู่สวรรค์ชั้นดุสิตจริง ท่านมีน้ำใจโพธิสัตว์จริงหรือ ท่านเรียนรู้วิชชาธรรมกายอย่างถูกตรงแล้วหรือ ไม่ต้องถามใคร ถามตัวท่านเองว่า วันนี้ท่านมีความรู้ทางวิชชาธรรมกายอะไรบ้าง...?


    เงินซื้อไม่ได้ทุกอย่างดอกนะครับ วิชชาความรู้ต่างหากเป็นที่พึ่งของเราได้จริง




    อย่าเอาความเชื่อออกหน้า จงเอาความรู้(ทางวิชชา)ออกหน้าเถิด แล้วท่านจะรอดตัว และเอาตัวรอดได้
    http://forums.212cafe.com/samatha/
     
  10. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
  11. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    เรื่องที่สุดแห่งธรรมนั้น หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านไม่เคยสอน
    ย้ำว่า ไม่เคยมีสอนในตลอดที่สุดชีวิตของท่าน

    แต่ท่านเคยกล่าวเอาไว้ว่า จะไปให้ถึงที่สุดของตัว ให้ไปพ้นปกครองของผู้ปกครองที่อยู่ลับ ๆ เบื้องหลัง
    ท่านว่า เรายังไม่เป็นตัวของตัวเอง ยังไม่เป็นอิสระ ยังมีผู้บังคับบัญชาเราอยู่
    ท่านว่า แม้แต่ขณะที่ท่านกำลังเทศน์อยู่นั้น ผู้ฟังก็ฟังไป เพราะมีผู้บังใจของเราให้ฟัง
    บังคับใจให้เราสนใจเนื้อหาที่เทศน์ในท่อนนั้น ท่อนนี้ ให้จำเรื่องนั้น จำเรื่องนี้
    แม้กระทั่งตัวของท่าน ผู้เป็นผู้เทศน์เอง ก็ตกอยู่ในบังคับบัญชาของผู้ปกครองที่อยู่เบื้องหลัง
    บังคับใจของท่าน ให้ท่านเทศน์ท่านสอนเรื่องนั้น เรื่องนี้
    ผู้บังคับ ผู้ปกครองเราอยู่ข้างหลังนั้นมีอยู่ อย่างนี้ หลวงพ่อท่านเรียกว่า ฉากหลัง

    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านพบว่า
    กายของเรานั้นมีเป็นชั้น ๆ เข้าไป ละเอียดมากขึ้นไปเรื่อย ๆ
    กายที่ละเอียดกว่าก็ปกครองกายที่หยาบกว่า
    ที่ว่าปกครอง คือ ปกครองที่ใจ คือ กายละเอียดบังคับที่ เห็น-จำ-คิด-รู้ ของกายที่หยาบกว่า
    อย่างนี้ เป็นชั้น ๆ เข้าไป
    ถ้าเราเข้าถึงกายที่ละเอียดกว่า ได้มากเท่าไร เราก็พ้นปกครองของกายที่ละเอียดกว่านั้น ๆ ไปได้
    หมายความว่า ยิ่งเข้าไปหากายที่ละเอียดได้มากเท่าใด เราก็เข้าใกล้ความเป็นอิสระมากขึ้น
    นี่คือจุดมุ่งหมายของหลวงพ่อวัดปากน้ำ
    และท่านก็เพียรทำมาตลอดชีวิตของท่าน
    ไม่ได้หยุดเลย ท่านทำทุกวินาที ทุกอนุวินาที
    และที่สำคัญที่สุด วิธีที่ท่านจะเข้าไปนั้น ไม่ใช่เข้าไปง่าย ๆ
    ไม่ใช่แค่หยุดนิ่งเฉย สบาย ๆ แล้วก็เข้ากายในกายเรื่อยไปอย่างไม่ลุ้น ไม่เร่ง ไม่เพ่ง อะไรอย่างนั้น
    แต่การจะเข้าไปนั้น จะต้องกำจัดอวิชชาไปด้วย
    ต้องให้ใจของเราเป็น เซฟ มรรค แกส กรด ไอ อัศนีธาตุ ให้แลบ ลั่น ย่อย แยก เข้าไป
    ให้ดับ ละลาย ไปจนสุดละเอียด ของแต่ละกายที่เข้าถึง และให้สุดเหตุสุด เหตุหมด เหตุไม่มี เหตุว่าง เหตุดับ เหตุลับ เหตุหาย เหตุสูญ ฯลฯ
    ทำเข้าไปอย่างนี้ จึงจะผ่านเข้าไปแต่ละกาย แต่ละช่วงของความละเอียดเข้าไปได้
    เรื่องมันจึงยาก ไม่ง่ายเลย หลวงพ่อวัดปากน้ำจึงยังไปไม่ถึงที่สุด
    ท่านจึงว่า เรายังเป็นบ่าวเป็นทาสเขาอยู่
    นี่ เล่าสั้น ๆ ได้อย่างนี้ คือเรื่องไปให้สุดกายของตัว

    คนละเรื่องกับที่สุดแห่งธรรม
    ซึ่งเป็นคนรุ่นหลังที่จับประเด็นเอามาเป็นจุดขาย
    ทั้ง ๆ ที่วิธีการทำนั้น ตนเองก็ยังไม่รู้ว่าทำอย่างไร แต่กลับสอนไปให้ทำอย่างผิดพลาด
    คือให้นิ่งเข้าไว้ ไม่ต้องลุ้น ไม่ต้องเร่ง ไม่ต้องเพ่ง แล้วกายก็จะผุดขึ้นมาเป็นสาย ไม่ขาดสาย
    พอทำอย่างนี้ได้ ก็ดีใจกันใหญ่ ว่าได้ช่วยงานพระเดชพระคุณท่าน ฯ แล้ว
    ทั้ง ๆ ที่ทำไม่ถูก เพราะที่ถูก ท่านต้องดับละลายเหตุที่มารมาทำเอาไว้
    ที่เห็นละเอียด ๆ ในว่างนั่นแหล่ะ มารเขาทำเอาไว้ล่ะ
    ซึ่งเหตุที่ว่ามารเขาทำเอาไว้นั้น ท่านก็กำลังเผชิญอยู่
    คือเห็นกายผุดขึ้นมาเป็นสาย โดยที่ไม่ต้องไปทำอะไร มันก็ผุดขึ้นมาอย่างนั้น
    แต่ถ้าหากเราดับละลายเป็น เราแก้เหตุในวิชานั้นเป็น เราจะเห็นทันทีว่าไม่ใช่
    ถ้าทำได้จริง เราจะเห็นกายผู้ปกครองให้เหตุละเอียดนั้นทันที และถ้าเราจะไปต่อ ก็ต้องผ่านผู้ปกครองที่ละเอียดนั้น ๆ
    ถ้าผ่านผู้ปกครองในเหตุละเอียดนั้นไม่ได้ เราก็ไปต่อไม่ได้
    และการจะผ่านไปให้ได้ ก็ต้องเห็นกายเขา แล้วดับละลายกัน แปลว่าต้องต่อสู้กัน นั่นคือเราต้องเดินวิชารบไปด้วย
    แต่การก็เป็นว่า เราไม่ได้รบอะไรกับเขาเลย เดินวิชาไป ไม่เคยพบผู้ปกครองในความละเอียด ความว่างเหล่านั้นเลย
    ที่แท้ เขาก็ยังปกครองเราอยู่ ที่เห็นกาย ๆ ผุดขึ้นมาเป็นสายนั้น ผู้ปกครองเขาก็ปกครองให้เราวนอยู่ในความละเอียดนั้นๆ อยู่ ยังไม่ไปไหนเลย
    อย่างนี้ จะเรียกว่าพ้นปกครองไปได้อย่างไร
    ว่าจะไป ก็ยังไปไม่ถูก ยังไม่รู้วิธีไป แต่กลับไปสอนให้คน เขาทำอย่างผิดวิธี วนอยู่ในเหตุผกครองของมารอยู่อย่างนั้น เอาเรื่องอะไรไม่ได้
    มารเขาก็ไม่ปล่อยให้ไป ก็ให้กายมันผุดขึ้นมาไม่ขาดสายอยู่อย่างนั้น แล้วก็ว่า สุขจริงหนอ ดีจริงหนอ ทำได้ละเอียดแล้วหนอ
    แล้วก็โฆษณากันว่า นี่แหล่ะ จะไปให้ถึงที่สุดแห่งธรรมกันล่ะ



    ข้อมูลจากคุณ
    instructor
    ประกอบเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก
    http://forums.212cafe.com/samatha/board-2/topic-16-1.html
     
  12. ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    แนวทาง ธรรมกาย เป็นรูปฌาณ ชัดเจน คือ มีองค์ประกอบคือ

    1 รูปนิมิต เช่น กายประเภทต่างๆ

    2 มีการวิตกวิจารณ์ ใน รูปนั้น

    3 มีปีติ

    4 มีสุขเกิดขึ้น

    5 มีอุเบกขา นิ่งอยู่

    แต่ทีนี้ เขาก็ติดกัน คือ ติดในการดำดิ่งลงไปในรูปฌาณ ออกจากนิมิตกายหยาบ เข้าสู่นิมิตกายละเอียด เข้าสู่ นิมิตกายพระโสดา พระอรหันต์ เป็น นิมิตทั้งสิ้น

    แต่คุณสมบัติ ที่ใจ จะซักฟอกกิเลส นั้น ไม่มี ย้ำว่า ไม่มี

    เพราะขาด วิปัสสนา เมื่อออกสู่ภายนอกแล้ว ตากระทบ รูป ใจกระทบสิ่งใดๆ ไม่มีการยกขึ้นสู่ สภาพแห่งไตรลักษณ์ ใน นาม

    สัจธรรม มีอยู่ 2 อย่าง คือ รูป และ นาม การเข้าถึงธรรม จะให้ละเอียดแต่รูป อย่างเดียวไม่ได้

    จะต้องให้ละเอียดในทางนาม ซึ่งทางนามนี้ ไม่ได้เห็นด้วย ภาพ แต่เห็นด้วยความรู้สึกบ้าง ตาธรรม บ้าง ละเอียดไปตามลำดับ

    ดังพระศาสดา สอนให้ดูใน กาย เวทนา จิต และ ธรรม ละเอียดเป็นชั้นๆ ไป

    ก็ขอให้ลองพิจารณาก่อน อย่าเชื่อไปโดยปราศจากการไตร่ตรอง
     
  13. ต้นไม้โพธิ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +85
    เรียนคุณขันธ์

    หากหมายถึงแนวทางธรรมกายของวัดพระธรรมกายผมไม่เถียง เพราะเขาไม่สมบูรณ์ ผมเห็นด้วยกับคุณขันธ์

    หากเป็นแนวทางวิชชาธรรมกายที่หลวงพ่อวัดปากน้ำสอนนั้น เป็นไปตามพระไตรปิฎก วิชชาธรรมกายเป็นเพียงแต่สำนวนอนุศาสนีย์ปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อสดเท่านั้น

    เพราะหลวงพ่อสดเรียนกัมมัฏฐานจากครูบาอาจารย์ในประเทศไทยชื่อดังในสมัยนั้น และท่านก็เรียนบาลีมูลใหญ่แต่ไม่ได้เข้าสอบ ท่านเรียนจนสามารถแปลมหาสติปัฏฐานสูตรจากพระไตรปิฎกได้(ป.ธ.๙ส่วนมากในประเทศไทยยังแปลเองไม่ได้เลย) และยังใช้แนวทางของตำราวิสุทธิมรรคเป็นอีกหลักหนึ่งด้วย และตำราวิปัสสนากัมมัฏฐานแบบโบราณของกรุงเก่าด้วย
    .....................
    ลองเข้าไปศึกษาพอสังเขปในที่นี้นะครับ

    http://www.dhammakaya.org/vijja/

    http://www.dhammakaya.org/dhmq/detail.php?ID=1
    .....................

    ที่นี่บอดร์ของสายมโนมยิทธิ น่าจะเข้าใจแนวทางวิชชาธรรมกายได้ดีเพราะมีส่วนคล้ายกันอยู่บ้างนะครับ

    เป้าหมายคือสลัดตนออกจากทุกข์ทั้งปวง และทำพระนิพพานให้แจ้งกันทุกท่านนะครับ
     
  14. ต้นไม้โพธิ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +85
    มีคนบอกว่า คนนั่งธรรมกายเหมือนยังติดอยู่ในรูป ไม่สามารถจะหลุดพ้นได้ นั่นจริงหรือไม่ ? อย่างไรครับ ?

    ก็บอกแล้วว่า เขาไม่รู้ว่าติดรูปคืออะไร เพราะเขาไปเข้าใจเรื่องธรรมกายเป็นนิมิต และกระผมจะบอกให้ชัดเจนกันตรงนี้ พระคุณเจ้าโปรดทราบ โจมตีกันมานานแล้วว่า ธรรมกายวัดปากน้ำติดนิมิต ติดรูป กระผมอยากจะเรียนถามว่า

    มีอยู่ตรงไหนที่พระพุทธเจ้า ไม่ให้ใช้นิมิต มีไหม ! ใครเอามาแสดงให้ดูหน่อยได้ไหมครับ ผมจะประกาศให้ก้องทั่วโลก พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ไม่มีใครเอาบทนี้มาดูเลย นี่ หลักทำนิพพานให้แจ้ง

    “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อไม่เป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความเงียบสงัด จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้

    เมื่อไม่ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่ง วิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้

    เมื่อไม่ยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อไม่ยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลบริบูรณ์ได้แล้ว จักละสังโยชน์ทั้งหลายได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อไม่ละสังโยชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มี ได้เลย”

    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่คลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ ไม่ตามประกอบความยินดี ความพอใจในหมู่อยู่แล้วหนอ เป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความเงียบสงัดแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อถือเอานิมิตแห่งสมาจิตวิปัสสนาจิตได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้”


    คิดดูเถอะ..พระพุทธเจ้าน่ะตรัสให้ทำนิมิต มันเรื่องอะไรเราจะไปปฏิเสธนิมิต มันเป็นฐานสำคัญ นิมิตเป็นอุบายรวมใจให้มาหยุด เพราะใจมันมีตัวตนที่ไหน จะให้ใจหยุด ถึงได้สอนกัน บางท่านก็บอกว่า สมาธิแบบธรรมชาตินั่นถูกต้องแล้ว เท่านี้ก็พอแล้ว ความจริงพอหรือไม่พอ ให้ดูอริยมรรคมีองค์ ๘ : สัมมาสมาธิ คือ การเจริญฌานทั้ง ๔ ตั้งแต่ปฐมฌานน่ะ มันต้องยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิต นั่นแปลว่า มันเริ่มมาตั้งแต่บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิตถึงปฏิภาคนิมิตจึงจะได้อัปปนาสมาธิ จึงจะยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร แล้วจึงจะกำจัดถีนมิทธะ และวิจิกิจฉาได้ ประกอบด้วยปีติกำจัดพยาบาท สุขกำจัดอุทธัจจกุกกุจจะ และเอกัคคตากำจัดกามฉันทะ นั่นแหละนิวรณ์ ๕ ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติแท้ๆ มีสติพิจารณาในนิวรณ์ ๕ อยู่ที่ไหน ? ก็อยู่ที่มีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ นั่นแหละ ไม่ได้มีอยู่ที่ไหน เพราะฉะนั้น ใครตั้งนิมิตขึ้นถูกต้องร่องรอยพระพุทธศาสนาเลย มันผิดที่ไหนกันครับ

    เกจิอาจารย์บางท่านบอกให้พิจารณานิมิตเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็คือพิจารณาให้เห็นนิมิตตามที่เป็นจริงว่านี่..สังขารนิมิต ไม่ว่าจะเอาอะไรมาพิจารณา จะเป็นเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ก็ยกขึ้นมาพิจารณานี่ ก็ให้พิจารณานิมิตนั้นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะนิมิตนั้นเป็นของจริงโดยสมมติ เมื่อพิจารณาแล้วถูกต้องตรงถึงธรรมกาย จะไปปฏิเสธได้ยังไง นิมิตมันต้องเกิดด้วย และถ้านิมิตไม่เกิด หรือไม่ได้ใช้นิมิตแล้วจะยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้อย่างไร นี้มีอยู่ใน ฉักกนิบาต อังคุตรนิกาย ไปเปิดดูได้ทุกท่าน เป็นพระพุทธวจนะด้วย ไม่ใช่เป็นของพระอรหันต์ธรรมดาด้วยซ้ำไป

    เพราะฉะนั้น นิมิตนี่เป็นของต้องมี สมถภูมิ ๔๐ น่ะบอกไว้ชัดเจนเลย กสิณ ๑๐ นี่มันชัดอยู่แล้วก็มันนิมิตอยู่แล้วนี่ จริงๆ แล้ว แม้ อนุสสติ ๑๐ อสุภะ ๑๐ ก็ต้องเห็นนิมิต แต่นิมิตที่เห็นอย่าง อนุสสติ นี่ยังไม่แท้ แปลว่า พิจารณาจริงๆ จะเอาแน่ๆ เช่น เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าคนที่เห็นนิพพาน สัมผัสนิพพาน ซ้อนนิ่งอยู่กลางนิพพานทั้งรู้ทั้งเห็นและได้อารมณ์พระนิพพาน ส่งกระแสพระนิพพานมันผิดตรงไหน แต่นั่นนิพพานไม่เรียกว่านิมิต แต่ว่าสัมผัสได้ด้วยอายตนะที่ละเอียดเสมอกัน

    แต่เทวตานุสสตินี่มันชัดอยู่แล้วมันต้องเห็น แต่ไม่เห็นก็ได้ ก็นั่งท่องเอาว่าเทพยดามี เขาทำกุศลสำคัญ มีศีลกุศล ทานกุศล ภาวนา กุศล เป็นต้น เลยไปเกิดเป็นเทพยดา มีหิริโอตตัปปะ อย่างนี้ก็ได้...ก็ลองดูสิว่า ใจมันสงบได้เท่าไร กระผมว่าสงบได้นิดเดียว แต่ถ้าเป็นผู้สื่อกับเทวดาได้ โดยวิธีการที่ถูกต้องไม่ใช่โดยบังเอิญหรือถูกหลอก อันนั้นล่ะดีที่สุด เป็นนิมิตของจริงโดยสมมติ รู้เลยว่าเทวธรรมมีอะไร อย่างชัดเจนและถ้าคนถึงเทวกายได้เห็นเทพยดา ผมรับรองว่า สงบครับ..สงบแน่ ๆ เพราะขึ้นชื่อว่าสมถกัมมัฏฐาน ต้องสงบจากกิเสลนิวรณ์

    ดังนั้น นิมิตคือ สื่อที่ทำให้ใจรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกสิณ ๑๐ อาโลกกสิณเป็นกสิณครอบจักรวาล เป็นกสิณกลาง ไม่ว่าบุคคลจะมีอัธยาศัยอย่างไรก็ตาม ใช้กสิณนี้กสิณเดียวครอบได้หมด ใช้แก้ไขป้องกันได้เลย กสิณก็คือนิมิตนั่นแหละ

    และแม้แต่คนที่ทำวิปัสสนาไม่ว่าจะสายไหนก็เอานิมิตทั้งนั้น ท่านสูดลมหายใจเข้าออก ท่องพุทโธๆ ไป พอจิตละเอียดหนักท่านเห็นอะไรล่ะ ให้ไปถามผู้ที่ถึงจุดนี้ได้ทุกคน..ก็เห็นดวงใสครับ กระผมเชื่อแน่และรับรอง ๑๐๐% ว่าหลวงพ่อมั่นนี่ท่านเห็นดวงใส แล้วท่านก็เอาเข้ากลางดวงนั้น กลางของกลางดวงนั้น แต่ท่านปฏิเสธการเอาดวงออกนอก ท่านบอกมันไม่ถูกต้อง แต่ดวงใสอยู่ในใจของท่าน อยู่ศูนย์กลางข้างในกายท่าน พิจารณาเช่นนี้ครับ ทิพพจักขุ ทิพพโสต เกิดตรงนั้น เห็นแจ้ง เห็นชัด ก็เห็นจากตรงนั้น ไปถามเอาเถอะครับ

    ยุบหนอพองหนอ นั่งภาวนาก็เห็นครับ ทำไมจะไม่เห็น เห็นตั้งแต่ต้นด้วยซ้ำไป ไปถามดูก็ได้ แต่ก็เห็นด้วยใจหรือจะพิจารณาอะไรก็ตาม ผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม เรารู้จักหรือไม่ก็ตาม นึกออกไปเห็น เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ไม่ใช่นั่งท่องเอานะครับ เห็นน่ะนิมิตทั้งนั้น แต่ต้องเห็นด้วยใจ ทีนี้..นิมิตมันไปหมดตรงไหน ? ไปดูเถอะครับ ตำราวิสุทธิมรรค ท่านแสดงไว้ว่าเมื่ออริยมรรคญาณจะเกิดขึ้นปหานสังโยชน์กำลังแห่งสมถะและวิปัสสนา มีกำลังเสมอกัน จิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะเดียวกันปหานสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้ ได้ชื่อว่าท่านออกจากภาคทั้ง ๒ คือสังขารนิมิตและตัณหาปวัตติ อุภโตวุฏฐานะ ไปดูได้ในปัญญานิทเทส ปวัตติ คือเครื่องปรุงแต่ง ก็ตัณหานั่นแหละหรือสัญโญชน์ อุภโตวุฏฐานะ คือออกจากภาคทั้ง ๒

    ทีนี้ ออกจากสังขารนิมิตนี่ครับ วิชชาอื่นกระผมอธิบายไม่ได้เพราะไม่รู้จัก แต่วิชชาธรรมกายน่ะให้พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียด จนจิตละเอียดหนัก สมถพละคือกำลังสมาธิ และวิปัสสนาพละมีกำลังเสมอกัน แล้วจิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ นี่พิสดารละเอียดไปจนจิตละเอียดหนัก จนวางอุปาทานในขันธ์ ๕ ได้ชั่วคราว หรือ สำหรับพระอรหัตมรรคก็ต้องได้ถาวร หรือปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ ธรรมกายหยาบตกศูนย์ ธรรมกายละเอียดปรากฏเข้าไปในอายตนะนิพพาน หรือซ้อนเข้าไปในพระนิพพาน หรือปรากฏอยู่ในอายตนะนิพพาน ก็ได้อารมณ์พระนิพพาน นั่นจิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ จึงออกจากภาคทั้ง ๒ คือ จิตละเอียดหนัก พ้น..หลุดจากสังขารนิมิต คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ในภพ ๓ ตั้งแต่มนุษย์หยาบ มนุษย์ละเอียด ทิพย์หยาบ ทิพย์ละเอียด พรหมหยาบ พรหมละเอียด อรูปพรหมหยาบ อรูปพรหมละเอียด ไปจนสุดละเอียด จึงวางอุปาทานในขันธ์ ๕ ได้เบื้องต้นในระดับโคตรภูญาณเป็นเพียงชั่วคราว แต่จะไปได้โดยเด็ดขาดตามระดับภูมิธรรม ที่ปฏิบัติได้ เมื่อมรรคจิตเกิดปหานสัญโญชน์ ได้ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ เช่น โสดาบันบุคคล ก็ปหานสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ แล้วเข้าผลสมาบัติไปเลย ธรรมกายรู้เลยครับ เพราะมันดับหยาบไปหาละเอียด ส่วนหยาบเมื่อมรรคจิตเกิดสมบูรณ์ปหานสังโยชน์ นั่นธรรมกายมรรค เมื่อธรรมกายมรรคเกิดขึ้นธรรมกายผลก็ตามมาเลยชั่วขณะจิตเข้าผลสมาบัติ เพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์ มันตรง..เข้าใจได้เลย ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก แต่ว่า..วิธีอื่น สายอื่น กระผมไม่เข้าใจว่าละสังขารนิมิตได้โดยวิธีไหน..ผมไม่ทราบ..ไม่เข้าใจเพราะฉะนั้นเรื่องนิมิตได้ โปรดเข้าใจได้เลยว่า พระพุทธเจ้าไม่มีตรัสไว้ตรงไหนเลยว่า..เธอ อย่าใช้นิมิต ถ้าใครเอามา ให้ผมดูสักนิดเถอะครับ
     
  15. ต้นไม้โพธิ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +85
    ให้ไปศึกษาพอสังเขปกันไปก่อนนะครับ สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาสมถะวิปัสสนาสติปัฏฐานแนววิชชาธรรมกาย


    หลักวิชชาธรรมกาย

    http://www.dhammakaya.org/taxonomy/term/5

    รวมตอบปัญหา

    http://www.dhammakaya.org/dhmq/detail.php?ID=1


    แนะนำว่าสมควรจะศึกษาเรื่อง

    ไตรสิกขา สมถะ วิปัสสนา สติปัฏฐาน นิมิตต 3 บริกรรม 3 จิตมองเห็นได้ยาก อาโลกสัญญาไม่มีประมาณ การถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตแล้วยกขึ้นสู่วิปัสสนา เรื่องวิปัสสนูปกิเลศนั้นผิดตรงที่ยึดและการเข้าใจผิดทำให้การปฏิบัติไม่ก้าวหน้า มิใช่ว่าวิปัสสนูปกิเลศทั้ง 10 นั้นเป็นสิ่งเลวร้าย แต่เป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติธรรมต่างหาก ฯลฯ

    และควรมีความรู้เรื่อง ตถาคตคือธรรมกาย และภพภูมิทั้ง 31 ภูมิด้วย จึงจะเข้าใจเรื่อง 18 กายทำไม ทำไมต้อง 18 กาย กายในกายและธรรมกาย เวทนา จิต ธรรม ณ ภายใน ณ ภายนอก ฯลฯ ระดับนี้ไม่ใช่นิมิตแล้ว เป็นธรรม และเป็นการเห็นธรรมด้วย ญาณทัศนะ

    แล้วจะเป็นพื้นฐานให้แจ่มแจ้งในธรรมะชั้นสูงๆสืบต่อไป ทั้งปริยัติและปฏิบัติ แม้แต่เรื่อง อัตตา อนัตตา เชิงวิชาการ


    พอประมาณก่อนนะครับ แล้วจะเสวนากันได้ประโยชน์ มิฉะนั้นก็จะเสวนากันไม่รู้เรื่อง ยิ่งไปเอาความรู้เก่าๆ ขาดๆเกินๆ มาปนเปยิ่งทำให้ห่างไกลจากสัจธรรมนะครับ
     
  16. ต้นไม้โพธิ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +85
    วิชชาธรรมกายนั้นมีอยู่หลายระดับ

    ระดับเบื้องต้น ระดับเบื้องกลาง ระดับเบื้องสูง

    หรือ ระดับเบื้องต้น ระดับบำบัดทุกข์บำรุงสุข ระดับมรรคผลนิพพาน ระดับมรรคผลพิสดาร ระดับวิชชาภาคปราบเต็มธาตุเต็มธรรม
    ....................................................

    อีกสิ่งที่วิชชาธรรมกายในระดับมรรคผลนิพพานเน้นมากซึ่งสายอื่นๆในยุคหลังไม่ค่อยได้นำมาปฏิบัติกัน.....

    """หลวงพ่อสดค้นคว้ากลับคืนมาได้จากไหน จากภาวนามยปัญญานี้แหละ ภิกษุสามเณรเรียนแต่ภาคปริยัติ และถ้าหากไม่ใส่ใจในการปฏิบัติ ถึงจะฉลาดเก่งกาจเพียงไหน ก็เป็นปัญญาที่เกิดและเจริญขึ้นได้แต่เพียงสุตมยปัญญา และจินตมยปัญญา มันไม่ละเอียดสุขุมลุ่มลึกลงไปถึงแก่นแน่ชัด หรือชัดแจ้งจากการที่ได้ทั้งเห็นทั้งรู้

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงตัวอย่างไว้แล้ว คือ พระองค์เองตรัสรู้ก็เพราะเห็น เห็นแล้วจึงตรัสรู้ ทรงแสดงในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรว่า จกฺขุ ํ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ (อาโลโก อุทปาทิ)

    ถ้าว่าได้ปฏิบัติเพื่อเจริญปัญญาด้วยภาวนามัย ปัญญาย่อมแจ้งชัด ละเอียดสุขุมลุ่มลึก ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักทำนิพพานให้แจ้ง อันนี้ไม่ค่อยนำมาพูดกัน แต่หลวงพ่อวัดปากน้ำปฏิบัติดำเนินตามแนวนั้น เริ่มตั้งแต่เข้าสมถะเต็มรูปแล้วจึงวิปัสสนาเป็นชั้นไปว่ามหาสติปัฏฐาน ๔ เบื้องต้นเป็นอนุวิปัสสนา เมื่อถึงธรรมกายแล้วจึงพิจารณาเห็นอริยสัจ ทุกขสัจ สมุทัย นิโรธสัจ นิโรธต้องสัมผัส ต้องได้อารมณ์พระนิพพาน มรรคสัจจึงจะเกิดและเจริญ

    หลวงพ่อสดได้ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ ในลักษณะนี้ ในทำนองนี้ ก็ได้เห็น แล้วจึงรู้อย่างนี้ หลวงพ่อสดศึกษาคัมภีร์มาก ฝึกปฏิบัติหลายครูหลายอาจารย์ หลายสำนัก แต่ว่าท่านปฏิบัติไปด้วยบุญบารมีของท่านที่ได้ความรู้จากทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายปริยัติด้วย ท่านเรียนภาคบาลีสูง"""


    นั่นก็คือ วิปัสสนาภูมิในส่วนของการทำพระนิพพานให้แจ้ง อาการแทงตลอดอริยสัจ ซึ่งสำนักอื่นๆในยุคหลังๆมักจะสอนกันวนๆเวียนๆอยู่แค่ ไตรลักษณ์ของกายมนุษย์หยาบนี้ ก็เข้าใจกันว่า หรูหราพอตัวซะแล้ว.....
     
  17. ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    สวัสดีครับ ขอสนทนาด้วย พอดีว่าไปเปิดเจอมาดังนี้

    ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่า ธรรมที่เกิดขึ้นในใจนั้น ต้องไม่ปรากฎเป็นรูป เพราะธรรมนั้นละเอียดมาก
    และ ทุกข์ อริยสัจ ก็จะเป็น ความแปรปรวน ทั้งนาม และ รูป
    แต่ดูเหมือนว่า แนวปฏิบัติที่กล่าวมานั้น ก็ยังคงติดในรูป

    การปรากฎธรรมขึ้นในใจนั้น อาศัยรูป อาศัยนาม ขึ้นตั้ง แล้วใช้ปัญญา มอง เมื่อมองแล้วเห็นสัจธรรมใน ลักษณะของรูป และ นามนั้นว่า แปรปรวน จนใจนี้ยอมรับธรรม ก็เรียกว่า ธรรมนั้นเกิดขึ้นในใจ

    ทีนี้ ผมเกรงว่า การมองเป็นดวงนั้น เป็นการเอาธรรมไปไว้ในรูป อันเป็นการเอาของจริงไปไว้ในสมมติที่สร้างขึ้น

    ไม่ใช่เป็นการออกมามองอย่างผู้รู้

    ลองพิจารณาดูก่อน ตามธรรมดาคนเราศรัทธาอะไร เราก็คิดว่าของเราดีที่สุด แต่ว่าเราลองเปิดใจศึกษาไปก่อน แล้วใช้สตินำ ให้มากคอยตรวจด้วยหลักเหตุและผล
     
  18. ต้นไม้โพธิ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +85
    สาธุนะครับที่เสวนาโดยธรรม

    ถ้าท่านไปอ่านโพสต์ก่อนหน้านั้นสักสามโพสต์ก็จะเป็นอุปการะคุณมากขึ้นนะครับ ว่าสายวิชชาธรรมกายไม่ได้ติดรูป และไม่ได้แปลงนามเป็นรูป และไม่ได้เอานามไปไว้ในการสร้างรูป

    การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกาย เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป ที่เรียกว่า ธัมมุทธัจจวิคคหิตมนัส

    จะเป็นการเจริญสมถะในระดับฌานเพื่อดับสมุทัยตลอด เรียกว่าการดับหยาบไปหาละเอียด และจะมีการพิจารณาวิปัสสนา สติปัฏฐาน และอริยสัจ4 ตลอด จนถึงโคตรภูญาณ และสามัญญผลที่สูงๆขึ้ไป เรียกได้ว่าเป็นการมีนิโรธเป็นโคจร เป็นอุภโตภาควิมุตติ เป็นสุญญตวิโมกข์ ในสามัญญผลตลอดครับ

    จึงมีแต่การเข้าไปเป็นธรรมนั้นๆ ให้ละเอียด เพื่อสักแต่ว่า "รู้" ด้วยญาณทัสนะ แล้วก็ละ ละไปไหน ละไปหาธรรมที่ละเอียดๆๆๆ ต่อๆไป พิจารณาวิปัสสนา สติปัฏฐาน อริยสัจ ทำนิพพานให้แจ้งอยู่ตลอด จนกว่าจะหมดกิเลสาวะ

    ถามว่าทำไมต้อง 18 กาย ตอบว่า 18 กายก็คือภพและภูมิหลักๆของสัตวะใน 31 ภูมินั่นเอง สามารถรู้และเห็นกาย เวทนา จิต ธรรมได้ครบหมดตลอด

    "จิต" มองเห็นได้ไหม? เรายึดเอาพระพุทธพจน์ที่ว่า ทูรังคมัง เอกจรัง อสรีรัง คุหาสยัง

    จิตนั้นมองเห็นได้ยาก เที่ยวไปได้ไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่ใช่สรีระ มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย

    จิตนั้นไม่ใช่รูป เป็นนาม แต่นามนั้นเห็นได้ แต่เห็นได้ยาก นามนั่นแหละคือนาม เห็นได้ ต้องใช้ทิพย์จักขุขึ้นไปจึงจะมองเห็นได้ ใช้ตามนุษย์เห็นไม่ได้ ใช้ตามนุษย์จึงเป็นเพียงแค่ปรากฎการณ์

    แม้แต่อรูปพรหม ก็เชนกัน เป็น อรูป แปลว่า ไม่ใช่รูป ไม่ได้แปลว่าไม่มีรูป อรูปนั้น ต้องใช้อรูปจุกษุมองจึงจะเห็น

    ธรรม ก็เช่นกัน ต้องใช้จักษุระดับโคตรภูมองดู จึงจะเห็น ธรรม ใช้ตาที่ต่ำกว่านี้ก็เห็นไม่ได้ จะเห็นเป็นเพียงปรากฎการณ์

    ทั้งจิต ทั้งธรรม ต่างก็เป็นอนิทัสสนรูปนะครับ ใช้ตาเนื้อมองเห็นไม่ได้ แต่ใช้จักษุที่เสมอกันหรืสูงกว่าดยธรรมจึงจะเห็นได้

    แล้วทุกๆธาตุทุกๆธรรมที่มองเห็น ก็จะเกี่ยวเนื่องไปจนถึงส่วนหยาบกว่าลงมาทั้งหมด ทั้งอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด การปรุงแต่งเป็น รูป ต่างๆนั้นเอง

    หากถือเอาตามวิสุทธิมรรค พระพุทธโฆษาจารย์ท่านก็เห็นแนวนี้เช่นกัน ที่ท่านกล่าวว่า หทัยวัตถุเกิดขึ้นในเนื้อหัวใจ ในนั้นมีใจ ส่วนจิตนั้นลอยอยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงของใจ และมีสีต่างๆตามอารมณ์ที่ปรุงแต่ง

    สายวิชชาธรรมกายก็ถือเอาตามวิสุทธิมรรคนี้เช่นกัน และไม่มีการยึดติดปรุงแต่งอะไร และต้องวิปัสสนาสถาวะธรรมนั้นอยู่ตลอดเวลา

    หากท่านใดอาจจะไม่ชอบใจไม่เห็นด้วยกับพระอรรถกถาจารย์ผู้นี้ ก็ตามแต่ ก็อย่าให้ถึงขนาดต่อต้านกันให้ตายกันไปข้างเลย แล้วแต่ท่านเถอะ สำหรับสายวิชชาธรรมกายก็นับถือพระอรรถกถาจารย์ผู้นี้ ซึ่งแตกฉานในปิฎกทั้งสาม ตำราของท่านใช้เป็นหลักสูตรเล้าเรียนของพระสงฆ์ในอาณาจักรนี้มานานแสนนาน และท่านก็เป็นอรรถกาจารย์ผู้เป็นที่ยอมรับในโลกเถรวาท และศัพท์ทางการปฏิบัติโดยมากก็นำมาจากท่านกันทั้งนั้น แม้แต่นักเรียนพระอภิธรรมก็ต้องศึกษางานของท่านก่อนเสมอ
    ................................................

    ถ้าหากท่านจะถือเอาความว่า นาม เป็นสิ่งว่างๆ เป็นเพียงปรากฏการณ์ ไม่ใช่ธรรมชาติหนึ่ง ก็แล้วแต่ท่าน ก็ขอให้ท่านเป็นไปตามแนวทางของท่าน ผมก็จะเคารพในความเข้าใจของท่านนะครับ

    หวังว่าท่านก็จะเคารพในความเข้าถึงเข้าใจของผู้อื่นๆเช่นกัน มิฉะนั้นก็คงวิวาทะกันไปไม่จบไม่สิ้น เอาเวลาไปชำระกิเลศ เจริญไตรสิกขาดีกว่าครับ

    สายวิชชาธรรมกายก็เน้นการ รู้ เห็น ตามพระพุทธพจน์ที่ว่า ชานตา ปัสสตา อรหัตตา สัมมาสัมพุทเธนะ และตำราที่ท่านยกมาก็เป็นสำนวนภาคปฏิบัติ ไม่ใช่ทฎษฎี หรือเชิงวิชาการ ทำนองเดียวกับที่วิสุทธิมรรคแสดงไว้ครับ

    แค่ชี้แจงแบบพอสังเขปนะครับ ไม่ได้ยาว สาธุครับ
     
  19. ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    ไม่มีใครทำลายให้ใครตายหรอกคุณ อย่าไปรู้สึกขนาดนั้น
    สำหรับ คัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านก็ไม่ได้กล่าวเรื่องธรรมกายเลย
    ดังนั้น หากว่า เราจะถือปฏิบัติแบบธรรมกาย เราก็ต้องพิจารณาว่า ธรรมกายนั้น กินความแค่ไหน อย่าไปอินทีเกรต แต่ให้แยกให้จำแนกสภาพ ให้ได้ก่อน เมื่อทราบแล้วก็เติมให้เต็ม ด้วยการศึกษา

    อย่าไปคิดว่า วิชชาใดๆ จะกินความได้รวบยอด มีแต่ อานาปานสติ เท่านั้นแหละ ที่พระศาสดาทรงสรรเสริญ
    เดี๋ยวจะมาสนทนาด้วยใหม่
     
  20. ต้นไม้โพธิ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +85
    สาธุครับที่เสวนาโดยธรรม

    ผมก็ลองใช้สำนวนแรงดูหน่อยจะได้พอทราบว่าบางท่านมีทัศนะเป็นอย่างไร เพราะบางท่านก็ไม่ชอบพระพุทธโฆษาจารย์เอาซะเลย ถึงกับตั้งตนจะเป็นไม่ซีกงัดไม้ซุงก็มี ก็ไม่รู้จะอะไรกันนักหนา เท่านั้นเองครับ ไม่ได้คิดไกลไปไหนหรอก

    อย่างท่านพุทธทาสท่านก็กล่าวไว้เองว่าพระพุทธศาสนามีหลายเหลี่ยมหลายมุม ท่านพุทธทาสเองก็ดำเนินไปตามเหลี่ยมมุมของท่านก็ดีแล้ว ท่านใดทัศนะไม่ลงกันก็ปล่อยเขาไปตามเหลี่ยมมุมของเขาเถิด ท่านพุทธทาสสนับสนุนนรกสวรรค์และนิพพานแบบประยุกต์ๆ แต่ท่านก็บอกว่าท่านไม่ไปแตะไม่ไปยุ่งของเก่าที่มีอยู่ ท่านจะสอนของท่านแบบนั้นเท่านั้น...ถ้าได้แบบนี้ก็ดี มันจะได้ไม่วิวาทะกันไม่สิ้นสุด

    ต้องขอเรียนว่าผมก็ไม่ใช่พวกศรัทธาจริต และไม่ได้ยกย่องแต่สายวิชชาธรรมกายเท่านั้นดีนะครับ ผมเองก็ปฏิบัติมาหลายสำนัก ก็แค่ชอบแนวทางของสายนี้เท่านั้นเอง

    เคยมีคนถามผมว่าแล้วสายไหนดีที่สุด ไปจนถึงสายมหายานเขาไม่ดีหรืออย่างไร?

    ผมก็ตอบว่า ถ้าหากพูดภาษาพระธรรมวินัย เดียวกันแล้ว เป้าหมายเพื่อการสลัดตนออกจากทุกข์ทั้งปวงและเพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ก็ถือว่าธรรมะอันเดียวกัน เพียงแต่จะใช้สำนวนไหน ของใคร สายไหน สำนักไหนเท่านั้นเอง จะเป็นพองยุบ พุทโธ สัมมาอะระหัง มโนมยิทธิ ดูจิต เจริญสติ มหายาน เซน สุขาวดี นิจิเรน วัชรยาน ก็ตามแต่เถิด


    หากผมว่างๆก็จะเข้ามาเสวนาด้วยเช่นกันครับ แต่คงไม่ถึงกับกัดไม่ปล่อยตามติดทุกวินาที อิอิ ยามว่าง เสวนาธรรมตามกาลครับ บางทีอาจจะหายไปนานหน่อย หรือท่านอื่นๆใดว่างก็เข้ามาเสวนากันได้ครับ อนุโมทนากับทุกท่านด้วยนะครับ ^_^

    .....สำหรับสายวิชชาธรรมกายก็ใช้อานาปานสติเช่นกัน ใช้อาโลกกสิน และพุทธานุสติ รวมกันในเบื้องต้น เพื่อให้เข้าสู่การระงับกิเลสนิวรณ์ เพื่อทำอนุปัสสนารู้เห็นสภาวะธรรมทั้งภพภูมิต่างๆผ่านกาย เวทนา จิต ธรรม แล้วจึงเจริญวิปัสสนาควบคู่กันไป ยังวิชชาและไตรสิกขาให้เจริญ จนถึงโคตรภูญาณ ทำนิพพานให้แจ้ง กระทั่งมรรรคละสังโยชน์ได้เป็นสมุทเฉทปหาน จึงเจริญโลกุตระวิปัสสนา แล้วพิจารณาอริยมรรคอริยผล ไปจนบรรลุอรหัตผล

    แต่หากกิเลศนิวรณ์ยังไม่ระงับ จะเรียกว่า โยนิโสมนสิการ หรือการพิจารณาสภาวะธรรมนั่นเอง ครูอาจารย์ท่านก็เน้นให้โยนิโสมนสิการตลอดเวลาแม้ในเวลาที่กิเลศนิวรณ์ยังไม่ระงับ...
     

แชร์หน้านี้