หลวงพ่อสด แยกกายมาจากต้นธาตุต้นธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย belives, 29 ตุลาคม 2010.

  1. เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,457
    การปฏิบัติแบบธรรมกายนี่ผมไม่เคยปฏิบัตินะ
    เลยไม่กล้าพูดกล้าวิพากษ์วิจารณ์
    เพราะการปฏิบัิติแต่ละสายมีรายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน
    การวิพากษ์วิจารณ์โดยที่ตนยังไม่เคยปฏิบัติอย่างจริงจัง
    ก็ไม่ต่างกับการเอากิเลสของตนมาแปดเปื้อนวิธีปฏิบัติของผู้อื่น

    ครูบาอาจารย์อย่างเช่น องค์หลวงตามหาบัว
    สายไหนที่ท่านไม่เคยคลุกคลี ไม่เคยศึกษาด้วย
    ท่านก็บอกว่าท่านไม่คุ้นเคย ไม่เคยศึกษาด้วย
    และท่านก็ไม่เคยไปบวกลบให้คะแนนหรือตัดคะแนนวิธีปฏิบัิติของผู้ใด
     
  2. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    การเห็น ด้วย "ญาณทัสสนะ" ของกายในกายทั้ง ๑๘ กาย โดยกายในกายแต่ละกายก็มีคุณสมบัติและความละเอียดของญาณทัสสนะ แตกต่างกันไป

    กายในกายทุกกาย มีรู้-ญาณทัสสนะ
    ญาณทัสสนะ ก็คือ "ตา" ของกายนั้นๆ ยกตัวอย่าง เรามีตา ๒ ตา ของกายมนุษย์หยาบ ตาของเรามองเห็นไปได้แค่ไหน เราก็รู้ไปได้แค่นั้น เห็นแล้วจึงรู้ แต่พอเราปฏิบัติเข้าถึงกายในกายทั้ง ๑๘ กาย แต่ละกายก็มี ตา (ญาณทัสสนะ) ที่ละเอียดแตกต่างกันไป และที่แปลกก็คือ ตาของกายในกายนั้นเห็นได้รอบตัว คือเห็นได้ทั้ง ซ้าย ขวา หน้า หลัง บน ล่าง ตาของกายมนุษย์หยาบเวลามองอะไรจะเห็นด้านหน้าได้ด้านเดียว แต่ตาของกายละเอียดเห็นได้รอบตัว
    ตาของกายฝัน กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม(ทั้งหยาบและละเอียด)ก็มีญาณทัสสนะที่จะไปรู้เห็นในโลกียธรรมทั้งปวง ไปเห็นในภพภูมิต่างๆ ตามกำลังและรู้ญาณทัสสนะของกายนั้นๆ
    ตาหรือญาณทัสสนะของพระธรรมกายตั้งแต่ กายธรรมโคตรภู กายธรรมพระโสดา กายธรรมพระสกิทาคามี กายธรรมพระอนาคามี กายธรรมพระอรหัต (ทั้งหยาบและละเอียด)ก็สามารถรู้เห็นในส่วนของโลกุตตรธรรมจนกระทั่งเห็นนิพพานตามกำลังและคุณสมบัติของกายธรรมนั้นๆ แปลว่า เรามี ตา(ญาณทัสสนะ) หรือเครื่องมือในการ รู้-เห็น ทั้งในระดับโลกียะและระดับโลกุตตระแล้วนั่นเอง ทีนี้ลองพิจารณาตามพระสูตรนี้ดูนะครับ...


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
    มหาวรรค ภาค ๑

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=04&A=355&Z=445

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้
    ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิดทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ
    เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตา
    ให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
    นั้น เป็นไฉน?
    ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละ คือปัญญาอันเห็นชอบ ๑
    ความดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑
    ตั้งจิตชอบ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
    เพื่อนิพพาน.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้ว
    แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล เราได้ละแล้ว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล เราทำให้แจ้งแล้ว.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรให้เจริญ.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล เราให้เจริญแล้ว.

    [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓
    มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีแล้ว เพียงใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า
    เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน
    หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา ในอริยสัจ ๔ นี้
    มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า
    เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
    ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์.
    อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาติ
    นี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป.



    -->> การที่พระพุทธองค์ทรงเข้าถึงปฏิปทาสายกลาง ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน จะเห็นได้ว่า เมื่อเข้าถึงปฏิปทาสายกลางได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ ทรงทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ฯลฯ แล้วดำเนินไปตามทางสายกลางคืออริยมรรคมีองค์ ๘ จนกระทั่งพิจารณาอริยสัจ ๔ ด้วยญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ จนกระทั่งตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านี้ทุกอย่างนั้นเป็นขั้นตอนสัมพันธ์กันหมด จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้ กล่าวคือ...

    เมื่อพบปฏิปทาสายกลาง อันได้แก่อริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วยการปฏิบัติจนกระทั่ง ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง เกิดขึ้น เป็นลำดับกันไปเช่นนี้

    ทีนี้ถ้าจะกล่าวว่า ดวงตา ญาณ ฯลฯ ที่ทรงกล่าวนี้ คงไม่ใช่ดวงตาของกายมนุษย์ที่นั่งอยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์อย่างแน่นอน เพราะดวงตาของกายมนุษย์หยาบนั้น มีเกิดขึ้นมาแต่กำเนิดไม่ต้องทำให้เกิดขึ้นอีก แต่ดวงตา ญาณ ฯลฯ ที่ทรงตรัสนี้ ก็คือ ดวงตา ญาณ ของกายในกายที่ละเอียดเข้าไป ด้วยการดำเนินปฏิปทาสายกลาง คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ จนกระทั่งเห็นอริยสัจ ๔ ด้วยญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒

    ในทางวิชชาธรรมกาย เราต้องเดินใจเข้ากลางของกลาง ตั้งแต่เบื้องต้น จนกระทั่งเห็นดวงปฐมมรรค ท่านให้เข้ากลางของกลางเท่านั้น กลางของกลางที่ว่านี้เรียกได้ว่าทางสายกลาง(ปฏิปทาสายกลาง) จนกระทั่งเห็นกายในกายถึงธรรมกาย ตอนนี้เราจะเข้าถึง ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ตามกำลังวาสนาบารมีของเราแล้ว นี่ก็ตรงกับหลักการได้ดวงตาเห็นธรรมจนกระทั่งถึงปฏิปทาสายกลางแล้วทำดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ให้เกิดขึ้น ตรงตามหลักการเห็นธรรมโดยแท้...


    อ่านข้อมูลทั้งหมดได้ที่ http://forums.212cafe.com/samatha/board-3/topic-19.html
     
  3. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

    ทีฆนิกาย มหาวรรค</CENTER>

    [๒๐๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้กล่าวเนื้อความนี้แล้วเรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์มากล่าวว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สติปัฏฐาน ๔ นี้ อันพระผู้มีพระภาค ผู้รู้ ผู้เห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติดีแล้วเพื่อบรรลุกุศลสติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ฯ

    ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณากายในกายเป็นภายใน มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่
    เมื่อภิกษุพิจารณากายในกายเป็นภายในอยู่ ย่อมตั้งจิตไว้โดยชอบ ผ่องใสโดยชอบในกายานุปัสสนานั้น เธอตั้งจิตไว้โดยชอบ ผ่องใสโดยชอบในกายานุปัสสนานั้นแล้ว ยังญาณทัสสนะให้เกิดในกายอื่นในภายนอก

    ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเป็นภายใน มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เมื่อภิกษุพิจารณาเวทนาในเวทนาเป็นภายในอยู่ ย่อมตั้งจิตไว้โดยชอบผ่องใสโดยชอบเวทนานุปัสสนานั้น เธอตั้งจิตไว้โดยชอบ ผ่องใสโดยชอบในเวทนานุปัสสนานั้นแล้ว ยังญาณทัสสนะให้เกิดในเวทนาอื่นในภายนอก

    ภิกษุพิจารณาจิตในจิตเป็นภายใน มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เมื่อภิกษุพิจารณาจิตในจิตเป็นภายในอยู่ ย่อมตั้งจิตไว้โดยชอบ ย่อมผ่องใสโดยชอบในจิตตานุปัสสนานั้น เธอตั้งจิตไว้โดยชอบ ผ่องใสโดยชอบในจิตตานุปัสสนานั้นแล้ว ยังญาณทัสสนะให้เกิดในจิตอื่นในภายนอก


    ภิกษุพิจารณาธรรมในธรรมเป็นภายใน มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เมื่อภิกษุพิจารณาธรรมในธรรมเป็นภายในอยู่ย่อมตั้งจิตไว้โดยชอบ ผ่องใสโดยชอบในธัมมานุปัสสนานั้น เธอตั้งจิตไว้โดยชอบผ่องใสโดยชอบในธัมมานุปัสสนานั้นแล้ว ยังญาณทัสสนะให้เกิดในธรรมอื่นในภายนอก

    ท่านผู้เจริญทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ นี้แล อันพระผู้มีพระภาค ผู้รู้ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติแล้วเพื่อบรรลุกุศล ฯ




    ****************************************************


    ท่านทั้งหลายตรองดูเถิด ญาณทัสสนะ ก็คือ ตา พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
    "ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อน..."
    ดังนั้นการใช้ ตา(ญาณทัสสนะ) ไปรู้เห็นธรรมตามเป็นจริง จนเกิดปัญญา เกิดความรู้ เกิดแสงสว่าง เราต้องปฏิบัติไปตามวิธีของพระพุทธองค์เช่นนี้

    การพิจารณาสติปัฏฐาน ๔ การพิจารณาอริยสัจ ๔ และการพิจารณาในขั้นวิปัสสนา ย่อมสำเร็จด้วยญาณทัสสนะ ดวงตาที่เรามีอยู่(ตาของกายมนุษย์หยาบ)ไม่เพียงพอที่จะรู้เห็นธรรมะหรือความรู้ละเอียดต้องรู้-เห็นด้วย ดวงตา(ญาณทัสสนะ)ที่ละเอียด ดังนั้นการฝึกปฏิบัติทางกิจภาวนาถ้าไม่เกิด ดวงตา คือ ญาณทัสสนะที่ละเอียดล่วงตาของกายมนุษย์แล้ว เราจะรู้เห็นธรรมตามสภาวธรรมที่เป็นจริงได้อย่างไร

    การฝึกสมาธิวิชชาธรรมกายเพื่อให้เห็นกายในกาย(ทั้ง ๑๘ กาย) ก็เพื่อให้ ดวงตา(ญาณทัสสนะ)ที่ละเอียดของกายละเอียดเกิดขึ้น เพื่อไปรู้-เห็น ในระดับวิปัสสนาญาณต่างๆ และเป็นอุปการะให้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้บริบูรณ์ และสามารถพิจารณาอริยสัจ ๔ ด้วยญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ ได้ จนกระทั่งสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล หมดกิเลส สิ้นสังโยชน์เลยทีเดียว



    ดังนั้นเรื่องของการเห็นกายในกาย(วิชชา ๑๘ กาย) ไม่ใช่เรื่องของรูปนิมิตแต่ประการใด การที่ท่านจะทราบความชัดเจนได้ว่า การเห็นกายในกายนั้นทำให้เกิด ดวงตาหรือญาณทัสสนะได้อย่างไร มีวิธีการเดียวก็คือ "ท่านต้องลงมือพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติให้เข้าถึงกายในกายนั้น" ถ้าเราเข้าใจจุดประสงค์หรือประโยชน์ของการเห็นกายในกายทั้ง ๑๘ กายได้เช่นนี้ เราจะได้ความรู้ว่า นี่คือ ทางมรรคผล

    เราจะมีเครื่องมือชั้นเยี่ยมที่สามารถพาเราไปรู้-เห็นในสิ่งที่ตาสามัญหรือปัญญาสามัญของมนุษย์จะมิอาจหยั่งเห็นได้ ความรู้ในระดับสมถะและวิปัสสนาก็ดี ความรู้ในส่วนของโลกียะและโลกุตตระก็ดี ย่อมต้องอาศัยเครื่องมือหรือสื่อในการไป รู้-เห็น ทั้งนั้น จะพึ่งเพียงกายมนุษย์หยาบกายนี้ย่อมไม่เพียงพอเป็นแน่ เครื่องมือหรือสื่อ รู้-เห็น ที่กล่าวมานี้ก็คือ ดวงตาหรือญาณทัสสนะ ของกายในกายทั้ง ๑๘ กายนั่นเอง


    อ่านข้อมูลทั้งหมด ได้ที่ http://forums.212cafe.com/samatha/board-2/topic-71.html
     
  4. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    กระทู้น่าสนใจ


    การสร้างบารมีของ ภาคปราบและภาคโปรด แตกต่างกันอย่างไร..?
    http://forums.212cafe.com/samatha/board-2/topic-73-1.html



    ท่านใดจะร่วมแสดงความคิดเห็นขอเรียนเชิญในกระทู้ต้นเรื่องนะครับ
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  5. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    เรื่องของรู้-ญาณทัสสนะ ที่ไปรู้-เห็น ดวงทุกข์-สมุทัย ดังตัวอย่างต่อไปนี้นั้น...

    "ความแก่ (ชราทุกข์) นี้ซ้อนอยู่ในกลางดวงเกิด (ชาติทุกข์), มีลักษณะกลม สีดำเป็นนิล แต่ไม่ใส ขนาดโตเท่าดวงจันทร์ ขนาดเล็กเท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ เวลาที่ดวงแก่นี้ยังเล็กอยู่ ก็เป็นเวลาที่เริ่มแก่, แต่ถ้าดวงนี้ยิ่งโตขึ้น กายก็ยิ่งแก่เข้าทุกที ดวงแก่นี้เองที่เป็นเหตุให้ร่างกายทรุดโทรม เมื่อแก่มากขึ้นก็ต้องมีเจ็บ (พยาธิทุกข์) เพราะดวงเจ็บนั้นซ้อนอยู่ในกลางดวงแก่นั้นเอง เป็นดวงกลมขนาดเท่าๆ กันกับดวงเกิด ดวงเจ็บนี้มีสีดำเข้มกว่าดวงแก่ ขณะเมื่อดวงเจ็บนี้มาจรดเข้าในศูนย์กลางดวงแก่เข้าเวลาใด กายมนุษย์ก็จะต้องเจ็บไข้ทันที เมื่อดวงเจ็บนี้มาจรดหนักเข้า ดวงตาย (มรณทุกข์) ก็จะเข้ามาซ้อนอยู่ในกลางดวงเจ็บ เป็นดวงกลมขนาดเท่าๆ กับดวงเจ็บ แต่มีสีดำใสประดุจนิลทีเดียว เมื่อดวงนี้เข้ามาจรดกลางดวงเจ็บแล้ว ถ้ามาจรดตรงหัวต่อของกายมนุษย์กับกายทิพย์ พอมาจรดเข้าเท่านั้น หัวต่อของมนุษย์กับทิพย์ก็จะขาดจากกัน เมื่อกายมนุษย์ไม่เนื่องกับกายทิพย์แล้ว กายมนุษย์ก็จะต้องตายทันที
    กายมนุษย์ที่เป็นทุกข์นั้น ก็เพราะอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง ๕ อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ว่าเป็นตัวตน บุคคล เรา เขา ของเรา ของเขา จึงได้ชื่อว่า รูปูปาทานักขันโธ, เวทนูปาทานักขันโธ, สัญญูปาทานักขันโธ, สังขารูปาทานักขันโธ และ วิญญาณูปาทานักขันโธ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ในขันธ์ทั้ง ๕ คือ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ นั้น ต่างก็มีเห็น จำ คิด และรู้ ซ้อนประจำอยู่ แล้วขยายส่วนหยาบออกมาเป็น กาย ใจ จิต และ วิญญาณ เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นกายเนื้อ และใจนั่นเอง"

    นี่เป็นผลของญาณทัสสนะที่ละเอียดของพระธรรมกายไม่ใช่จะเห็นกันได้ง่ายๆ เราท่านทั้งหลายไม่มี ตา(ญาณทัสสนะ)เช่นนี้ จึงพิจารณาได้แต่สภาวธรรมซึ่งเป็นผลของเหตุละเอียดอีกทีเท่านั้น จึงคิดไปว่า นามธรรมละเอียดยิ่งนักรับรู้ได้แต่สภาวธรรม จะเห็นเป็นรูปธรรมไม่ได้

    เรื่องอย่างนี้ ท่านต้องเข้าใจด้วยว่า ญาณวิสัยนี้ยากแก่การคิดนึก ต้องรู้เห็นเองจึงจะแจ้งใจได้ อุปมา-อุปมัย ดังนี้

    ในยุคพุทธกาล ถ้าหมอสมัยนี้ไปบอกคนยุคนั้นว่า รู้ไหมการเป็นไข้หวัดนี่ มาจากเชื้อไวรัสนะ นี่ไงรูปร่างหน้าตามันเป็นอย่างนี้


    คนในยุคนั้นก็ต่างส่ายหัวแล้วก็บอกเพียงว่า ไข้หวัดมันมากับลมหนาว หรือภูตผี เทพเจ้าต่างหากที่ดลบันดาลสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้น มันไม่มีตัวตน รูปร่างหน้าตาหรอก ถ้าท่านบอกว่ามี ไหนลองจับตัวมันมาให้เห็นจะจะกันหน่อยได้ไหม ปัญหาก็คือเขาไม่เชื่อ เพราะความเชื่อดั้งเดิมของเขาไม่ละเอียดและมีเหตุมีผลมากเพียงพอที่จะเข้าใจเรื่องเหล่านี้ได้ ทั้งๆ ที่มันเป็นเรื่องจริง แต่ก็ไม่เหมาะแก่การอธิบายชัดเจนลงไปในยุคสมัยนั้นนั่นเอง


    นี่แค่เราใช้เครื่องมือที่เรียกว่ากล้องขยายส่องให้เห็นตัวเชื้อโรคด้วยตามนุษย์หยาบ ถ้านำไปบอกเล่าผิดยุค ผิดสมัย ผิดบุคคล เขาก็ไม่มีทางเชื่อหรือเข้าใจได้

    แล้วประสาอะไรกับ ญาณวิสัยที่ละเอียดหนักเข้าไปอีก ยากแก่การคาดคะเน และก็ยากที่จะแสดงอธิบายให้เกิดความเข้าใจแก่คนทั้วไปได้ ถ้าไปบอกกับใครๆ ในรายละเอียดของตัวหนังสือสีน้ำเงินให้ผู้คนในสมัยพุทธกาลฟังยิ่งยากแก่การอธิบายและทำความเข้าใจ ยิ่งผู้ไม่อยู่ในข่ายของผู้มีรู้-ญาณทัสสนะด้วยแล้ว ก็คงคุยกันไม่รู้เรื่อง นี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทรงห้ามคิดหรือคุยเรื่อง ญาณวิสัย และทรงจัดเป็นเรื่องอจินไตย ถึงแม้ว่ายุคนี้ผู้คนจะมีความรู้และเข้าใจเรื่องที่สลับซับซ้อนในเชิงวิทยาศาสตร์ได้มากขึ้น แต่เรื่องของญาณวิสัยก็ยังเหมาะที่จะพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติให้รู้-เห็นได้เองมากกว่า


    ข้อมูลที่นำมาแสดงด้วยตัวหนังสือสีน้ำเงินนั้น ความจริงเป็นความรู้ภาคปฏฺบัติ ท่านไม่ได้เขียนให้อ่านเฉยๆ แต่ท่านบอกวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิด ญาณทัสสนะ หรือตาที่ละเอียดเพื่อจะไป รู้-เห็น ในเรื่องราวเหล่านี้ด้วยนั่นเอง



    เปรียบเทียบอีกที เวลาเราเป็นโรค ถ้าเราเห็นว่าโรคเหล่านี้มันมีตัวเชื้อโรค เราใช้ยาที่ไปกำจัดถึงตัวเชื้อโรค โรคก็หายอย่างเด็ดขาด แต่ถ้าเราคิดว่ารักษาไปตามอาการเพราะไม่รู้ไม่เห็นว่ามีตัวเชื้อโรคอยู่ภายใน คิดแต่ว่าโรคเหล่านี้มันมากับอากาศหนาวเย็นบ้าง ภูตผี หมอผี เทพเจ้าเป็นผู้กระทำหรือดลบันดาลบ้าง เราก็รักษาไปตามอาการและตามความเชื่อ สุดท้ายคนๆ นั้นอาจหายหรือตายก็ได้ แต่เรื่องที่เสียหายที่สุดก็คือ เราไม่อาจเข้าถึงความจริงของการป่วยไข้ครั้งนี้ได้นั่นเอง



    สิ่งที่ยกตัวอย่างให้พิจารณานี้ ท่านผู้อ่านต้องนำไปคิดพิจารณาให้รอบคอบเอง ผมย้ำแต่เพียงว่า สภาวธรรมทุกอย่างมีเหตุกำกับเสมอ เหตุที่ว่านี้มีเครื่อง มีผู้บังคับ ผู้ปกครองเครื่อง มีต้นคิดวิชชา ผมกล่าวเช่นนี้ท่านจะเข้าใจได้ไหม ถ้าไม่เข้าใจท่านมีสิทธิส่ายหัวแล้วปฏิเสธ แต่อีกมุมหนึ่งท่านก็มีสิทธิพิสูจน์เรื่องเหล่านี้ ด้วยการปฏิบัติตามวิธีการที่ผู้พูดบรรยายมาว่าเขา รู้-เห็น กันอย่างไร เราก็ปฏิบัติเพื่อรู้-เห็นอย่างนั้นบ้าง เมื่อ รู้-เห็น อย่างนั้นแล้วเราค่อยมาสรุปอีกทีว่าจริงหรือไม่จริงก็ยังได้....มิใช่หรือ...?
     
  6. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
  7. วงบุญพิเศษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +649
    จะสายไหนสายใดก็ตามแต่ ไม่ควรกล่าวว่าร้ายกัน

    สายคุณลุงการุญ อาจารย์มนัส มีบทความทางวิชาการมากมายกล่าวโจมตีวัดพระ

    ธรรมกาย พวกคุณชอบโจมตีวัดซึ่งมีพระที่อยู่ในศีล 227ข้อ วัดซึ่งเป็นสถานที่ปราศจาก

    กาม วัดซึ่งเป็นขอบพัทธเสมาของพระบรมศาสดา วัดซึ่งเป็นสถานที่ประกาศธรรมของ

    พระพุทธเจ้า โบกสบัดด้วยธงชัยพระอรหันต์ ไม่ว่าสิ่งที่คุณพูดจะจริงเท็จประการใด แต่

    ที่แน่ๆคือการปรามาสพระรัตนตรัยอย่างไม่เคยหยุดหย่อน

    ปัจจุบันวัดพระธรรมกาย มีผลอย่างมากต่อการเผยแผ่ธรรมของพระพุทธเจ้า มีผลต่อการ

    ปักหลักปักฐานมั่นคงของพระศาสนา

    กลุ่มอาจารย์ มนัส ไม่ใช่สงฆ์ แต่กล่าวร้ายใส่สงฆ์ และก็ยกตนข่มท่าน อ้างวิชชาของ

    ฝ่ายตนว่าสูงส่งกว่า สอนดีกว่า วิชชาแน่นกว่า วิเคราะห์วิจารณ์ไปต่างๆ มิหนำซ้ำว่า

    ยังปรากฎกล่าวหาว่าพระในวัดพระธรรมกายเป็นมาร ใครไปทำบุญด้วยถือว่าบาปเพราะ

    สนับสนุนมาร ฆราวาสผู้ยังครองเรือนกล่าวว่าบรรพชิตซึ่งออกจากกามแล้ว ท่านบำเพ็ญ

    มาเป็นสิบๆปี รวมทั้งวัดพระเป็นพันๆรูป

    กรณีนี้ แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรมที่วัดพิชยญาติการามเคยประกาศ ไว้หลายครั้ง หลายวาระ เกี่ยวกับกรณีธรรมกาย มีใจความสรุปว่า "หลวงพ่อธัมมชโย เป็นพระมีบารมีมาก ทำตรง ทำถูก สอนถูก ควรไปวัดพระธรรมกาย ใครเคยมีกรรมกับวัดนี้ ไม่ว่าทางกาย วาจา ใจก็ตามให้ไปกราบธรรมกายเจดีย์แล้วกล่าวเป็นบาลีขอขมากรรมกับพระรัตนตรัย ขอขมาหลวงปู่สด หลวงปู่สดท่านอยู่ที่วัดพระธรรมกาย"

    เคยมีคนถาม อาจารย์มนัสว่า ทำไมไม่บวช ท่านก็ว่ายังนั้นอย่างนี้ มีเหตุผลมีเงื่อนไข

    ท่านว่าไม่ต้องเป็นพระก็ปฎิบัติได้ อยากถามว่าถ้าอย่างนั้นพระพุทธเจ้าจะให้มีการบวชไป

    ทำไม อยู่แบบอาจารย์มนัสไม่ดีกว่าหรือ อาจารย์มนัสไม่บวชก็ไม่เป็นไรแต่อย่างไปด่าคน

    ที่เค้าบวชอยู่ อย่างไปว่าคนในผ้าเหลือง เพราะลำพังตัวอาจารย์มนัสเองก็มิได้มีผลต่อ

    ความมั่นคงของพระศาสนานัก ผิดต่างจากสงฆ์ และยังปรากฎว่า ในขณะที่วัดพระ

    ธรรมกายจัดงานบวชพระเป็นแสน บวชอุบาสิกาแก้วเป็นแสน อาจารย์มนัสเองก็ออกบท

    ความกระทบกระเทียบ พยายามว่าตนนั้นบารมีมากกว่า ตนไปสอนเด็กที่นั้นที่นี่เด็กเห็น

    ดวงธรรม เด็กเข้าถึงธรรมกาย เด็กอัญเชิญจักรพรรดิได้ ตนนั้นได้บารมีมากกว่าการ

    บวชพระนับแสนที่วัดพระธรรมกายโดยไม่สนใจว่าที่วัดจัดบวชพระนั้นเพราะอะไร พระทั่ว

    ประเทศลดลงต่อปีมากขึัน วัดร้าง6000กว่าวัดแล้วใน30000วัดทั่วประเทศ พระ3จังหวัด

    ภาคใต้ จะอยู่ไม่ได้อยู้แล้ว ไม่สนใจ โจมตีอย่างเดียว สมัยหลวงปู่สดอยู่ท่านก็บวชเป็น

    พระ ท่านก็มิได้สึกมาทำวิชชธรรมกาย แต่นี่อาจารย์มนัสอ้างตัวเป็นศิษย์ใกล้ชิดในทาง

    ละเอียด โจมตีงานการขยายพระพุทธศาสนาของวัด

    จะอย่างไรก็ดีถ้าไม่สามารถปรับความเข้าใจกันได้ก็ไม่ควรโจมตีเป็นปีๆแบบนี้ ปัจจุบันกลุ่ม

    ลุงการุญ อาจารย์มนัสได้พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับวิชชธรรมกายมากมาย มีเว็บไซต์ให้ศึกษา

    มากมายแต่ก็ไม่อาจลดทิฐิมานะของตนได้ ยังคงโจมตีวัดพระธรรมกายในขณะที่ทางวัด

    เค้าไม่ได้สนใจพวกคุณ ทางวัดเค้าไม่ว่าร้ายอะไรคุณเลย วัดมีโครงการสร้างความมั่นคง

    ให้พระศาสนามากทั้้งบวชพระ บวชอุบาสิกา งานตักบาตร ฟื้นฟูความเจริญให้พระ

    ศาสนา ตุณกลับแช่งเขาให้ตายวันตายคืน ปีที่แล้วก็ว่ามรณะแน่ แต่ไม่มรณะ ปีนี้ก็ว่า

    มรณะแน่แต่ก็ไม่มรณะ

    กรณีจิปาถะอื่นที่เกี่ยวข้อง
    สงสัย"คนที่วัดพระธรรมกายมากมาย คิดว่าหลวงปู่สดเป็นเจ้าอาวาสคนก่อนด้วยซ้ำ"
    อธิบาย วัดมีการขยายงานไปมาก คนใหม่ๆก็เข้าวัดมาก จึงยังไม่มีความเข้าใจในปฎิปทาของมหาปูชนียาจารย์ แม้กระทั่งประวัติของวัด

    สงสัย ทำไมวัดไม่มีการสอนวิชชธรรมกายขั้นสูง
    อธิบาย ที่เห็นว่าไม่มีการสอนวิชชาขั้นสูงเพราะ คุณดูทางDMC ละซิ ถึงว่าไม่มี ที่ออกทางDMC เป็นการขยายงานพระพุทธศานาขั้นต้น ขยายไปทั่วโลก จึงเห็นว่าไม่มีการสอนวิชชาขั้นสูง หรือจะให้สอนถ่ายทอดสดทุกคืน แบบนั้นแล้วใครจะมาศึกษาพระพุทธศาสนาในอรรถอื่นอีก

    สงสัย คนในวัดไม่มีใครรู้เรื่องวิชชาขั้นสูง
    อธิบาย เพราะคนในวัดส่วนใหญ่คือคนเข้าวัด คนเข้าวัดทั่วไปอ่ะ ที่มาไหว้พระทำบุญ รักษาศีล ไม่ใช่พระพุทธเจ้าภาคปราบ คนเข้าวัดเหล่านั้นคือคนซึ่งทำมาค้าขายปกติ ส่วนคนที่อยากศึกษาวิชชาธรรมกายขั้นสูงก็ต้องไปถามพระอาจารย์ พระอาจารย์ก็มีกันเป็นฝ่าย มีการแบ่งขยายงานเป็นจังหวัด ก็ลองไปถามดูซิ ท่านมีอภิญญาทั้งนั้น แล้วไหนว่าไม่มีวิชชาขั้นสูง ไม่สงสัยหรอว่าทำไม่คนมาก เพราะพระอาจารย์ท่านแนะนำการดำเนินชีวิตเราได้ ท่านรู้ทุกอย่าง เราทะเลาะกับคนข้างบ้านมาท่านยังรู้เลย ผมเจอมากับตัว

    สงสัย ทำไมมีงานบุญเยอะจัง
    อธิบาย งานบุญที่ว่าเยอะเมื่อเทียบกับอะไร ถ้าเทียบกับวัดอื่นก็ต้องดูเนื้องาน เนื้นงานวัดอื่นท่านจัดงานบุญเพื่อบำรุงวัดท่าน เนื้องานวัดพระธรรมกายจัดงานบุญเพื่อสังฆมณฑล และงานที่ทำก็ใหญ่ๆทั้งนั้น เราบวชเป็นแสนได้สำเร็จด้วยบารมีหลวงพ่อ เราสร้างเจดีย์ทนฝน ทนกรด ทนเบส อยู่เป็นพันๆปี เราขยายงานเผยแผ่ไปทั่วโลกและเราทำต่อเนื่อง



    และที่ผมรู้เกี่ยวกับแม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม เพราะผมเป็นศิษย์ท่านด้วย เมื่อวานก็พึ่ง

    ไปหาท่านที่วัดมา ไปถวายปัจจัยกับมือท่านเลย ท่านเคยบรรยายทั้งในที่สาธารณะเกี่ยว

    กับวัดพระธรรมกายไว้เยอะ และที่ผมถามเป็นการส่วนตัวก็มี โดยสรุปท่านก็ว่า วัดพระ

    ธรรมกายทำบุญด้วยได้ ศึกษาได้ ปฎิบัติตามแล้วนิพพานได้
     
  8. วงบุญพิเศษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +649
    สงสัย ดุสิตบุรี ที่สุดแห่งธรรม มีจริงหรือ
    อธิบาย สวรรค์มีจริงหรือ อายตนะนิพพานมีจริงหรือ นรกมีจริงหรือ ของละเอียดแบบนี่ คนครองเรือนอยู่ ยังข้องในกาม ไม่เข้าใจหรอก
    ข้อมูลเสริม

    สวรรค์ชั้นดุสิต มีความกว้างใหญ่ไพศาลมาก มี ท้าวสันดุสิต ซึ่งบรรลุเป็นพระโสดาบันแล้ว เป็นผู้ปกครองภพ ที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดุสิตอยู่สูงขึ้นไปจากยอดเขาสิเนรุ อยู่ในอากาศเหนือสวรรค์ชั้นยามา 42,000โยชน์ บนสวรรค์จะไม่มีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ทำให้ไม่มีเงา ไม่มีมุมมืดบนสวรรค์ อยู่ได้ด้วยความสว่างจากวัตถุสิ่งของต่างๆ เช่น กายของเหล่าเทวดา วิมาน สวน สระ สิ่งแวดล้อมต่างๆมีแต่ความสว่าง จึงไม่ต้องอาศัยดวงอาทิตย์

    ลักษณะของสวรรค์ชั้นดุสิต จะไม่ได้กลมอย่างโลกมนุษย์ แต่จะกลมแบบราบ ถ้ามองจากสวรรค์ชั้นยามาขึ้นไป จะมองเห็นเป็นแสงสว่างนุ่มเนียนตา และถ้ามองจากสวรรค์ชั้นดุสิตขึ้นไป ก็จะเห็นแสงสว่างนุ่มเนียนตาของสวรรค์ชั้นนิมมานรดี หรือถ้ามองลงไปที่ดาวดึงส์ก็จะเห็นว่า มีขนาดเล็กนิดเดียว เพราะสวรรค์ชั้นดุสิตใหญ่กว่า

    โครงสร้างของสวรรค์ชั้นดุสิต มีวิมานของท้าวสันดุสิต เป็นศูนย์กลางของสวรรค์ชั้นนี้ แล้วแบ่งออกเป็น 4เขต วนโดยรอบวิมานของท้าวสันดุสิต ดังนี้...



    เขตที่1.เป็นที่อยู่ของพระอริยเจ้า คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี ซึ่งอยู่ชั้นในสุด

    เขตที่2.เป็นที่อยู่ของนิยตโพธิสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์ที่ได้รับการพยากรณ์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วว่า จะได้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน ซึ่งวงบุญพิเศษของผู้ที่มีมโนปณิธาน จะรื้อสัตว์ขนสัตว์ไปสู่ฝั่งพระนิพพาน ให้หมดจนกระทั่งถึงที่สุดแห่งธรรม ก็จะอยู่ในเขตนี้ด้วย

    เขตที่3.เป็นที่อยู่ของอนิยตโพธิสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์ที่ยังไม่ได้รับพยากรณ์เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังต้องสร้างบารมีอีกมาก

    เขตที่4.เป็นที่อยู่ของผู้ที่ทำกุศลมาก และมีกำลังบุญมากพอที่จะได้อยู่สวรรค์ชั้นดุสิตนี้ เป็นเขตทั่วไป นอกเหนือจาก 3เขตแรก

    สวรรค์ชั้นดุสิต มีความพิเศษกว่าสวรรค์ชั้นอื่นอยู่หลายประการ หนึ่งในความพิเศษนั้นก็คือ เป็นที่อยู่ของเหล่าพระบรมโพธิสัตว์ ที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตจำนวนมาก และเหล่าเทพบุตรที่สร้างบารมีเป็นพระสาวก เพื่อตามพระบรมโพธิสัตว์ลงมาตรัสรู้ในอนาคต

    แล้วทำไม พระบรมโพธิสัตว์หรือบัณฑิตทั้งหลาย จึงปรารถนาที่จะได้มาบังเกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิตนี้ ทั้งๆที่กำลังบุญของแต่ละท่านนั้นมากมาย ปรารถนาที่จะไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นใดก็ได้ เหตุที่ท่านเลือกสวรรค์ชั้นนี้ มีข้อสังเกตอย่างน้อย 3ประการ คือ

    1.พระโพธิสัตว์สามารถจุติลงมาได้ตามใจปรารถนา หมายความว่าโดยปกติเทวดามีเหตุแห่งการจุติหลายประการ เช่น หมดบุญก็มี หมดอายุขัยก็มี จุติเพราะความโกรธก็มี แต่เหล่าพระบรมโพธิสัตว์ทั้งหลายในสวรรค์ชั้นดุสิตนี้ เมื่อจะจุติลงมาสร้างบารมี หรือมาบังเกิดเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็จะนั่งทำสมาธิ(Meditation) อธิษฐานจิต สามารถดับวูบลงมาเกิดได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่เหนือกฎเกณฑ์ของชาวสวรรค์ชั้นอื่นๆ

    2.เนื่องจากสวรรค์ชั้นนี้ มีแต่บัณฑิต มีแต่พระบรมโพธิสัตว์ ล้วนแต่มีอัธยาศัยคล้ายคลึงกัน ที่จะฝึกฝนตนเองและช่วยสรรพสัตว์ไปสู่ฝั่งพระนิพพาน ไม่ประมาทในการดำรงชีวิตเหมือนชาวสวรรค์ชั้นอื่นๆ มักจะคบหาบัณฑิต พูดคุยสนทนาธรรมกันเพื่อความเบิกบานใจ และหมั่นไปฟังธรรมในวันพระ ซึ่งท่านท้าวสันดุสิตจะเป็นผู้อัญเชิญพระบรมโพธิสัตว์ ที่มีบุญบารมีมาก มาแสดงธรรมให้ฟัง

    3.ขนาดอายุทิพย์ของสวรรค์ชั้นดุสิตนี้ คือ 4,000ปีทิพย์ ซึ่งไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป พอเหมาะพอดีที่จะเสวยสุข เพราะท่านจะต้องลงมาสร้างบารมีต่อ ถ้ามีอายุขัยนานเกินไปจะทำให้เสียเวลา
     
  9. วงบุญพิเศษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +649
    สงสัย
    เฮ้อ...เบื่อรายการโฆษณาชวนเชื่อและการสร้างความหวังลมๆ แล้งๆ จังนะครับ
    อธิบาย แล้วคุณมีอมตะธรรมอันใดฤา จึงมาว่าเค้าว่า โฆษณาชวนเชื่อ เค้าทำตามผู้มีบุญในกาลก่อน ในอดีตพระโพธิสัตว์ต่างๆก็ปฎิบัติเช่นนี้ พวกคุณก็มิเห็นมีผลงานอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เป็นสามัญชน ทานข้าว3มื้อ ครองเรือน นอนบนที่สูง แล้วก็ว่าตนทำวิชชาถูกต้อง พวกเราก็มีครูบาอาจารย์ของเรา สืบมาจากหลวงปู่สด ศึกษาวิชชาธรรมกาย ขยายงานพระศาสนาในรุ่งโรจน์ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม
     
  10. วงบุญพิเศษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +649
    ที่ว่าเราผิด ท่านเล่าถูกแล้วหริอ

    ที่ว่าท่านถูก แน่หรือว่าถูกจริง

    ที่ว่าถูกจริง ถูกนั้นใครรับรอง




    ว่าเรานั้นถูกมารเข้ากลับกรอก ถูกซ้อนนอกซ้อนในธรรมมืดหม่น

    ว่าท่านถูกแท้แน่กระจ่างมล นรชนรู้แท้ท่านเข้าข้างตัว
     
  11. สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    คุณวงบุญพิเศษมาช้าไปหน่อยนะครับ ละครเขาจะลาโรงอยู่แล้ว...


    ขอกล่าวย้อซ้ำทวนว่า ทั้งหมดที่คุยกันนั้น ไม่ใช่ผมหรือใครมีเจตนาร้ายต่อวัดพระธรรมกาย ผมไม่ใช่อาจารย์มนัส ผมเป็นศิษย์คนหนึ่งของคุณลุงการุณย์ก็จริง แต่ไม่คิดที่จะกระทบกระทั่งแบบรุนแรงเหมือนคนอื่นทำ เพราะผมเห็นว่านั่นไม่ใช่วิธีปรองดอง และทำแบบนั้นก็ไม่ช่วยให้เราเข้าใจกันได้ โดยเฉพาะถ้าเราไม่ถือหรือยึดติดที่ตัวบุคคลจนเกินไป ถ้าเราเห็นแก่ตัวหลักวิชชาธรรมกาย เราก็จะคุยภาษาเดียวกันได้ง่ายยิ่งขึ้น


    ผมเห็นประโยชน์ของการปรองดอง แต่ก็ต้องมีบ้างที่ต้องกล่าวแบบตรงๆ ย้ำนะครับ ผมต้องการเห็นชาววัดพระธรรมกายไม่ว่าอยู่ตำแหน่งใด สนใจหรือใส่ใจที่ตัววิชชาธรรมกาย คุยกันเรื่องตัววิชชาเพื่อความเข้าใจในหลักวิชชาที่ถูกตรงนั่นเอง


    และย้ำชัดๆ ตรงๆ อีกทีว่า ผมไม่เคยสนใจว่าทำไมวัด ฯ ไม่สอนวิชาชั้นสูง เพราะผมต้องการให้วัดสอนวิชชาเบื้องต้นให้ถูกต้องชัดเจน ตรวจสอบวัดผลได้ วิชชา ๑๘ กาย ถือเป็นวิชชาเบื้องต้นไม่ใช่วิชชาชั้นสูงนะครับ


    ตอนนี้ผมเบื่ออยู่เรื่องหนึ่งก็คือ เรามาทุ่มเถียงกันเพียงเพื่อจะปกป้องศรัทธาของเราที่มีต่อครูอาจารย์ จนเราลืมแก่นแท้นั่นก็คือ ตัวหลักวิชชาธรรมกายนั่นเอง


    ตรงไหนที่ผู้อื่นเขาเสนอ ถ้าท่านเห็นว่าเป็นเรื่องดีก็นำไปปรับปรุงเถิดครับ เพราะผมเองต้องการให้วัดพระธรรมกายเผยแผ่ธรรมกายได้จริง ให้สมกับคำว่า "วัด พระ ธรรมกาย"

    ถ้าคุณวงบุญพิเศษโกรธเคืองอาจารย์....มากนัก ผมก็เห็นใจ เป็นใครก็คงไม่พอใจทีมีคนมาด่าว่าอาจารย์ของเรา ผมกล้ายืนยันว่านั้นเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับครูบาอาจารย์นะครับ อย่าไปโยงให้เกิดความเสียหายต่อครูบาอาจารย์เลย ท่านไม่ได้รับรู้เรื่องเหล่านี้ด้วยเลย นี่คือความจริง

    เอาอย่างนี้เถิด...กระทู้นี้ ผมก็ไม่อยากให้เป็นที่ระบายอารมณ์แต่ประการใด ท่านมีข้อสงสัยอะไร หรือต้องการปรับความเข้าใจกันอย่างไร ก็ขอให้ใจเย็นๆ แล้วค่อยๆ พูดกันไป ผมยินดีช่วยไขข้อข้องใจให้ เรามาคุยภาษาเดียวกันเถิดครับ ภาษาวิชชาธรรมกายนี่แหละ
     
  12. ต้นไม้โพธิ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +85
    เรียนศิษย์สายวัดพระธรรมกายที่นับถือ

    ที่ท่านกล่าวมาเรื่อง ดร.มนัส ก็เห็นว่าเพียงพอแล้ว หากจะเสวนาเพิ่มเติมก็เข้าไปที่เวปต้นเรื่องนะครับ

    สำหรับ ดร.มนัส ศิษย์สายคุณการุณน์ ผมก็รู้จักผ่านบล๊อกของเขา ผมก็ไม่เห็นด้วยกับสำนวนของเขาหรอกครับ มันชวนทะเลาะมากกว่าปรองดอง ก่อผลเสียมากกว่าประโยชน์

    สำหรับผมเองก็เป็นศิษย์วิชชาธรรมกายสำนักอื่นๆอีก ที่เข้ามาแนะนำเพื่อพระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกาย จับประเด็นให้ดีนะครับ ให้ศิษย์ทุกสายแหละครับ โดยเฉพาะวัดพระธรรมกาย นำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดี แม้แต่บุคคลากรของสำนักผมเองทุกๆท่านด้วยครับ

    สาธุครับ พอแล้วนะครับเรื่องทั่วๆไป เรามาเสวนาเรื่องวิชชากันต่อดีกว่าครับ

    ตอนนี้คุณขันธ์กำลังเข้ามาเสวนาเรื่องวิชชาธรรมกาย เราเป็นศิษย์เรียนวิชชาธรรมกาย ก็ช่วยๆกันเสวนาไปครับ

    ส่วนเรื่องโปรโมทศรัทธาส่วนบุคคล พอได้แล้วครับ พอได้แล้ว เรามาเสวนานำวิชชาธรรมกายสู่การเสวนาธรรมได้แล้วครับ

    ถ้าอยากโปรโมทเรืองส่วนบุคคลให้ไปตั้งกระทู้ใหม่ และพยายามอย่าเหมาเอาวิชชาธรรมกายไปขึ้นอยู่กับใครเพียงคนเดียว สำนักเดียว เพราะถ้าท่านไม่ดีจริง หรือท่านไม่รู้ตัวว่าท่านผิดพลาดตรงไหน วิชชาธรรมกายจะเสียชื่อไปด้วย ดังกรณีธรรมกาย นะครับ หวังว่าคงเข้าใจประเด็นนะครับ

    สังเกตุสิครับ เวลาวัดพระธรรมกายทำเพื่อพระพุทธศาสนาเป็นกลางๆ ใครๆเขาก็อนุโมทนา แต่พอวัดพระธรรมกายชอบโปรโมทเรื่องส่วนตัว หรือแสดงว่าวิชชาธรรมกายขึ้นอยู่กับสำนักท่านเพียงผู้เดียว เท่านั้นแหละครับ เป็นเรื่อง ถ้าไม่ใช่ศิษย์ที่เรียนวิชชาธรรมกาด้วยกันทักท้วงตักเตือนโดยเมตตาธรรม ใครเล่าเขาจะทักท้วง ศิษย์สำนักอื่นๆเขามีแต่จะด่าเอาด้วยอคติ ทำใจให้กว้างนะครับ จับประเด็นให้ดี อนุโมทนาสาธุครับ
     
  13. ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    ผมสงสัยว่าหากชั้นดุสิตเลือกโอกาสจุติได้ ชั้นพรหมก็ทำได้แน่นอนอยู่แล้ว ยกเว้น อรูปพรหม แล้วสวรรค์ชั้น นิมมานรดี กับ ปรนิมมิตวสวัตรี ทำไม่ได้หรือครับ วานผู้รู้ช่วยสงเคราะห์ด้วยครับ หากดุสิตบุรีงดงามมากกว่า ยามาเป็นร้อยเป็นพันเท่า นิมมานรดีก็น่าจะงามกว่าดุสิตเป็นร้อยเป็นพันเท่าเช่นกัน ฤทธิ์ก็น่าจะมากกว่ากันด้วยนะ แล้วหากไปอยู่ที่อื่นจะช่วยสงเคราะห์โลกไม่ได้เลยหรือครับ คือว่า หากจิตตัดกามารมณ์ได้ก็จะไปพรหม หากตัดไม่ได้หรือไม่ขาดก็ไปสวรรค์ชั้น กามาพจร หรือสวรรค์ 6 ชั้นตามบุญกุศล ผมสงสัยจังว่า ถ้าสวรรค์มี ตั้ง 6 ชั้น ทำไมคนถึงอยากจะไปแค่ชั้น 4 ละครับ บางครั้งถึงขนาดไม่อยากไป ชั้น 5 และ 6 ด้วยซ้ำไป ทั้งๆ ที่บุญของตนก็สามารถไปได้
     
  14. ดุสิตบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +273
    เหตุที่คนอยากไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตบุรีหลังจากดับขันธ์ลาโลกนี้ไปแล้ว เพราะเขาเหล่านั้นตอนมีชีวิตเป็นมนุษย์ได้บำเพ็ญเพียรสละเวลา กำลังกาย ใจ ทรัพย์ ในการสร้างบารมี มีจิตคิดช่วยเหลือเวไนยสัตว์ให้พ้นทุกข์จากวัฏสงสาร เมื่อทำความดีหรือสร้างบารมีแม้เพียงเล็กน้อยก็จะตั้งสัจจะอธิษฐานในการช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์จากวัฏสงสาร มีหัวใจของพระโพธิสัตว์นั่นเองครับ

    แล้วทำไมต้องสวรรค์ชั้นที่ 4 ดุสิตบุรี ไม่ใช่ชั้นที่ 5 และ 6 เพราะสำหรับพระโพธิสัตว์ผู้สร้างบารมีแล้ว สวรรค์ชั้นนี้มีอายุไม่มากเกิน ไม่น้อยเกินสำหรับการที่อยู่ในสวรรค์หรือจะจุติลงมาสร้างบารมีต่อครับ จะว่าไปแล้วพระบรมสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนที่จะลงมาตรัสรู้เป็นพระอนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านก็อยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิตบุรีมาแล้วทั้งสิ้นครับ


    อายุของเทวดาในสวรรค์ชั้นดุสิตบุรีจะมีอายุบนสวรรค์ 4,000 ปีทิพย์ ( 576 ล้านปีมนุษย์ ) ก็เท่ากับว่า 1 ปีทิพย์ของสวรรค์ชั้นดุสิต ก็จะเท่ากับ 144,000 ปีของโลกมนุษย์ หรือจะอธิบายง่ายๆว่าหนึ่งวันในสวรรค์ชั้นดุสิตเท่ากับ 400 ปีมนุษย์

    ลองเทียบกับสวรรค์ชั้นที่ 1 สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกามีอายุ 500 ปีทิพย์ ( 9 ล้านปีมนุษย์ ) ก็เท่ากับว่า 1 ปีทิพย์ของสวรรค์ชั้นนี้ เท่ากับ 18,000 ปีของโลกมนุษย์ครับ หรือจะอธิบายง่ายๆว่าหนึ่งวันในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาเท่ากับ 50 ปีมนุษย์ครับ
     
  15. วงบุญพิเศษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +649
    สงสัย ผมสงสัยว่าหากชั้นดุสิตเลือกโอกาสจุติได้ ชั้นพรหมก็ทำได้แน่นอนอยู่แล้ว ยกเว้น อรูปพรหม แล้วสวรรค์ชั้น นิมมานรดี กับ ปรนิมมิตวสวัตรี ทำไม่ได้หรือครับ
    อธิบาย
    ที่สวรรค์ชั้นดุสิต แบ่งออกเป็น 4เฟส โดยเฟสข้างในเป็นอาณาเขตของผู้ปกครอง นิยตโพธิสัตว์ อนิยตโพธิสัตว์ และนอกสุดเป็นเฟสของผู้มีบุญมาก ออกมาตามลำดับ

    จะว่าไปแล้วผู้ที่สร้างบารมีจนถึงระดับดุสิต แต่มิได้ปราถนาพุทธภูมิ ก็จะอยู่เฟสนอกของดุสิต

    แต่หากสร้างงบารมีมากล้นระดับปรนิมมิตวสวัสตี แต่ปราถนาพุทธภูมิ ก็จะต้องอยู่ที่ดุสิตครับ

    ดังนั้น จะว่าเทวดาชั้นนิมานรดี และปรนิมมิตวสวัสตี บารมีสูงกว่าดุสิตก็ไม่ถูก เพราะเทวดาเหล่านี้สูงกว่าที่ดุสิตเฟสนอกเพียงอย่างเดียว แต่บารมีสูงกว่าเฟสในหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาเป็นเจาะจงลงไป<!-- google_ad_section_end -->

    สงสัย หากดุสิตบุรีงดงามมากกว่า ยามาเป็นร้อยเป็นพันเท่า นิมมานรดีก็น่าจะงามกว่าดุสิตเป็นร้อยเป็นพันเท่าเช่นกัน ฤทธิ์ก็น่าจะมากกว่ากันด้วยนะ แล้วหากไปอยู่ที่อื่นจะช่วยสงเคราะห์โลกไม่ได้เลยหรือครับ
    อธิบาย
    เพราะเทวดาที่นิมานรดี ปรนิมมิตวสวัสตี มิได้อธิษฐานช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ไงละครับ และจิตลึกๆของเขาเหล่านั้น มิได้อยากช่วยผู้อื่น หากเขามีจิตช่วยสรรพสัตว์จริงในเส้นทางการสร้างบารมี วิถีจิตก็ให้ไปอยู่ที่ดุสิตเฟสในๆแล้วครับ


    ส่วนสวรรค์ชั้นนิมานรดี ปรนิมมิตวสวัสตี ที่สวยกว่านั้น เพราะเทวดาเหล่านั้นสร้างบารมีมาเพื่อเสยวบุญนั้น ส่วนโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อสั่งสม อดออมเป็นอสงไขยเพื่ออนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ<!-- google_ad_section_end -->
     
  16. ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    ศิษย์ธรรมกาย ทั้งหลาย
    ผมถามหน่อยครับ

    ข้อความที่ยกมานี้ คุณคิดไปเองหรือเปล่า

    การที่ยกพระสูตรมา ผมเกรงว่า จะเป็นว่า คิดเอาเองว่าใช่

    แต่หากพิจารณาให้ดี ไม่มีคำใดในพระสูตรที่สนับสนุน ความของท่าน ว่าญาณทัสนะหมายถึง ตาของกายแต่ละกายนั้น


    ผมขออธิบาย คำว่า ญาณทัสนะดังนี้

    คำว่า ญาณทัสนะ หมายถึง มุมมอง ความเห็น ปัญญา ที่เกิดขึ้น เนื่องจากเห็นความเป็นจริงของสรรพสิ่งขึ้นไปตามลำดับ ดังนั้น มันไม่เกี่ยวอะไรกับ ตาธรรมกาย ที่ยังคงเป็น รูป เป็นตัวเป็นตน

    ญาณทัสนะนี้ จะต้องมาจากการ มองตามสภาพความจริง แล้วปรากฎข้อเท็จจริงของสิ่งนั้นขึ้น ไม่ใช่ รูป

    ยกตัวอย่าง เด็กๆ ไม่รู้อะไร ครั้นพอโตขึ้นมาก็มองโลกเปลี่ยนไป นี่คือ ปัญญาที่เกิดขึ้น

    ทีนี้ เมื่อมาถึงระดับ ญาณทัสนะ ของการวิปัสสนา ก็มองโลกเปลี่ยนไป แต่ เปลี่ยนไปในการเห็นความจริงมากยิ่งๆ ขึ้นไป

    ฟังให้ดี เช่น เราเคยมองว่า เราเป็นตัวเป็นตน เพราะเราแบกกายนี้ตุเลงๆ ไป เราก็นึกว่ากายนี้เป็นเรา
    แต่พอสังเกตุกันให้ดี อบรมให้บ่อย มันก็ประจักษ์ขึ้น เห็นตัวตนเป็นเพียงความรู้สึก ไร้รูป ตรงนี้แหละ เรียกว่า ทัสนะ ที่รู้เห็นตามจริง

    ทีนี้ ที่พูดนี้บางคนอาจจะมี ทัสนะที่แตกต่างกันไป แต่เชื่อเถอะว่า ใครที่มีญาณทัสนะแล้วจะต้องเข้าใจว่า ผมพูดถึงอะไร

    ทีนี้ ย้อนกลับมาดู เรื่องของธรรมกาย ก็เลยกลายเป็นคนละเรื่องกัน
    เพราะ ธรรมกาย หมายถึง รูป ที่มองเห็นได้เป็นที่ตั้ง
    แต่ ผม เห็นธรรม อันไม่มีรูป เป็นที่ตั้ง

    ตรงนี้ต้องพิจารณาให้ดีนะ ว่า อะไรกันแน่ คือ ธรรม
     
  17. ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    มีอีกประเด็นหนึ่ง คือ

    หากจะบอกว่า วิชชาธรรมกาย เข้าถึง โลกุตระธรรม นั้นก็ไม่ถูก
    เพราะว่า คำว่า พระโสดาบัน พระสกิทาคา พระอนาคามี และ พระอรหันต์
    ไม่สามารถ เข้าถึงได้ด้วยการ ดำลงสู่สมาธิ
    แต่ จะต้อง ด้วยการพิจารณาธรรม ตัดสังโยชน์ แล้ว ตัวสังโยชน์นี้ ก็ไม่ได้อยู่ในกายเสียด้วย
    แต่ ว่า มันอยู่นอกกาย ตัวเดียวที่อยู่ในกายคือ ความโง่ อันไม่มีรูปร่าง

    เมื่อ ความโง่ยังมีอยู่ ตราบใด จิตใจของเราไปกระทบ กับ สิ่งภายนอก ด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้ว เรายังสั่นไหว ไปด้วยโลกธรรม นั่นแสดงว่า เรายังละสังโยชน์ไม่ได้
    ป่วยการที่เราจะเห็น กายพระอรหันต์ ในตัวเราแต่ พอเรามาเจอ สิ่งยั่วยวนภายนอกแล้วเรายังละไม่ได้

    การที่เราจะละได้ นี้ เราก็ลองดูซิว่า เวลา เราไปเจออะไรต่อมิอะไร แล้วใจเรายังกระเพื่อม นั้นแสดงว่า
    ปัญญาของเรายังไม่เท่าทัน ต่อสิ่งนั้น เรียกว่า เรายังละสังโยชน์ไม่ได้

    ตัวที่น่ากลัวมาก คือ 3 ตัวต้นนี้แหละ เพราะมันเป็นความคลุมเครือ ทำผิดทิศผิดทาง เราใช้ชีวิตประจำวันอยู่ แต่ตั้งทัสนะไว้ผิดอยู่ตลอด เพราะ ญาณทัสนะเรายังไม่เกิด และ มันจะต้องเกิดได้ด้วย การเจริญมหาสติปัฎฐาน 4 คือ สำรวจจิตใจ ปัญญา เวทนา และ กายของเรา ว่ามันมีลักษณะเช่นไร จนเกิด
    ปัญญา เท่าทันต่อสังโยชน์ ที่เราต้องไปกระทบ แล้ว จิตมีอาการกำเริบขึ้น

    แต่ หากว่า จะบอกว่า วิชชาธรรมกาย คือ การทำสมาธิ แล้ว ผมก็คิดว่า ใช้ได้ ทำได้ มีผลได้

    แต่ หากจะบอกว่า วิชชาธรรมกาย เป็นทางไปนิพพาน ก็คงต้องบอกว่า ไม่ใช่

    ลองพิจารณาดูให้ดีก่อน
     
  18. ดุสิตบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +273
    ธรรมกาย" ในแนวคิดพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส)

    จากหนังสือวิปัสสนาบันเทิงสาร บทความเรื่อง “ทิพยอำนาจ” ซึ่งเป็นธรรมเทศนาของพระอริยคุณาธารผู้เชี่ยวชาญปริยัติและปฏิบัติ แห่งวัดเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่นได้บรรยายไว้ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๓

    ท่านได้กล่าวถึง ธรรมกาย ไว้ในหัวข้อ อินทรีย์แก้ว ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ความเห็นในเรื่อง ธรรมกาย หรือ พระธรรมกาย นี้เป็นความเห็นของฝ่ายเถรวาทมานานแล้ว ซึ่งท่านก็ยอมรับว่าเป็น “ความรู้ลึกลับในพระธรรมวินัย” คือรู้ว่ามีอยู่ แต่รายละเอียดยังไม่แจ่มชัด จัดเป็นหลักฐานที่กล่าวโดยพระสงฆ์เถรวาท ถึงเรื่อง ธรรมกาย ในแง่ของปริยัติ
    รายละเอียดทั้งหมดในหัวข้ออินทรีย์แก้วมีดังนี้
    “ก่อนจบบทนี้ จะพูดถึงอินทรีย์แก้ว ซึ่งได้พูดแย้มไว้หลายแห่งมาแล้ว พอเป็นแนวศึกษาค้นคว้าของนักศึกษาพระพุทธศาสนา หวังว่าจะเป็นเรื่องที่สนใจอยากทราบเป็นแน่
    ปกรณ์ฝ่ายมหายานหรืออุตตรนิกาย เขาแบ่งภาคพระพุทธเจ้าเป็นหลายชั้น เช่น

    (๑) พระอาทิพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าเที่ยงแท้ มีพระรัศมีรุ่งเรืองที่สุดหาเขตจำกัดมิได้ ไม่มีเบื้องต้นและเบื้องปลาย เป็นอยู่ชั่วนิรันดร.

    (๒) พระฌานิพุทธเจ้า ได้แก่พระนิรมานกายที่ทรงเนรมิตบิดเบือนขึ้นด้วยอำนาจฌาน สมาบัติ มีพระรัศมีรุ่งเรือง มิใช่พระพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้โปรดสัตว์ในโลก.

    (๓) พระมานุสีพุทธเจ้า ได้แก่พระพุทธเจ้าซึ่งมาตรัสรู้โปรดสัตว์ในโลก มีพระกายในความเป็นมนุษย์อย่างสามัญมนุษย์ทั้งหลาย แต่เป็นพระกายดีวิเศษกว่าของมนุษย์สามัญ มีพระฉัพพรรณรังษีรัศมีพระกายแผ่สร้านออกข้างละวา

    ปกรณ์ของฝ่ายทักษิณนิกาย หรือเถรวาท (คือฝ่ายเรา) ท่านโบราณจารย์แบ่งพระกายของพระพุทธเจ้าเป็น ๓ ภาคเช่นเดียวกันกับปกรณ์ของฝ่ายมหายาน แต่เรียงลำดับจากต่ำไปหาสูง เมื่อเทียบดูแล้วก็จะเป็นว่าคล้ายคลึงกัน คือ

    ๑. พระรูปกาย เป็นพระกายซึ่งเอากำเนิดจากพระพุทธบิดา พระพุทธมารดาที่เป็นมนุษย์ ธรรมดา ประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ เหมือนกายของสามัญมนุษย์เป็นแต่บริสุทธิ์สะอาดสวยงาม พระฉวีวรรณเปล่งปลั่งเกลี้ยงเกลากว่ากายของมนุษย์สามัญ เป็นวิบากขันธ์สำเร็จมาแต่พระบุญญาบารมี

    ๒. พระนามกาย ได้แก่กายชั้นใน ปราชญ์บางท่านเรียกว่ากายทิพย์ และว่าเป็นกายที่มีรูปร่าง สัณฐานเหมือนกายชั้นนอก เป็นแต่ว่องไวกว่าและสามารถกว่ากายชั้นนอกหลายร้อยเท่า สามารถออกจากร่างหยาบไปในที่ไหน ๆ ได้ตามต้องการ เมื่อกายหยาบสลาย กายชั้นนี้ยังไม่สลายจึงออกร่างไปหาที่เกิดใหม่ต่อไป นามกายเป็นของมีทั่วไปแม้แต่สามัญมนุษย์ แต่ดีเลวกว่ากันด้วยอำนาจกุศล อกุศลที่ตนทำไว้แต่ก่อน ส่วนพระนามกายของพระพุทธเจ้าท่านว่าดีวิเศษยิ่งกว่าของสามัญมนุษย์ด้วย อำนาจพระบุญญาบารมีที่ทรงบำเพ็ญมาเป็นเวลาหลายอสงไขยกัลป์

    ๓. พระธรรมกาย ได้แก่พระกายธรรมอันบริสุทธิ์ ไม่สาธารณะทั่วไปแก่เทวาและมนุษย์ หมายถึง พระจิตที่พ้นจากกิเลสอาสวะแล้วเป็นพระจิตบริสุทธิ์ผุดผ่อง มีพระรัศมีแจ่มจ้า เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์อุทัยไขแสงในนภากาศฉะนั้น พระธรรมกายนี้เป็นพระพุทธเจ้าที่จริงแท้ เป็นพระกายที่พ้นเกิด แก่ เจ็บ ตาย และทุกขโศกทั้งหลายได้จริง เป็นพระกายที่เที่ยงแท้ถาวร ไม่สูญสลายเป็นอยู่ชั่วนิรันดร

    แต่ท่านมิได้บอกให้แจ้งชัดว่า พระธรรมกายนี้มีรูปพรรณสัณฐานเช่นไรหรือไม่ เป็นที่รวมแห่งธรรมทั้งปวง

    ความเชื่อว่าพระอรหันต์นิพพานแล้ว ยังมีอยู่อีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นพระอรหันต์แท้ไม่สลายตามกาย คือความเป็นพระอรหันต์ไม่สูญ ความเป็นพระอรหันต์นี้ท่านก็จัดเป็นอินทรีย์ชนิดหนึ่งเรียกว่า "อัญญาตาอินทรีย์" พระผู้มีพระภาคเจ้าคงหมายเอาอินทรีย์นี้เอง บัญญัติเรียกว่า วิสุทธิเทพ เป็นสภาพที่คล้ายคลึงวิสุทธาพรหมในสุทธาวาสชั้นสูง เป็นแต่บริสุทธิ์ยิ่งกว่าเท่านั้น

    เมื่อมีอินทรีย์อยู่ก็ย่อมจะบำเพ็ญประโยชน์ได้ แต่ผู้จะรับประโยชน์จากท่านได้ก็จะต้องมีอินทรีย์ผ่องแผ้วเพียงพอที่จะรับรู้เห็นเท่าท่านได้ เพราะอินทรีย์ของพระอรหันต์ประณีตสุขุมที่สุด แม้แต่ตาทิพย์ของเทวดาสามัญก็มองไม่เห็นมนุษย์สามัญซึ่งมีตาหยาบ ๆ จะเห็นได้อย่างไร

    อินทรีย์ของพระอรหันต์ นั่นแหละเรียกว่า อินทรีย์แก้ว หู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจของท่านเป็นแก้ว คือ ใสบริสุทธิ์ดุจแก้วมณีโชติ ผู้บรรลุถึงภูมิแก้วแล้วย่อมสามารถพบเห็นพระแก้ว คือพระอรหันต์ที่นิพพานแล้วได้

    ขอบคุณที่มา ท่านปราชญ์ขยะ ปราชญ์ขยะ - วิชชาธรรมกาย - พยานบุคคล - "ธรรมกาย" ในแนวคิดพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส)
     
  19. ดุสิตบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +273

    ข้อมูลโดยย่อเกี่ยวกับ พระอริยคุณาธาร (ปุสโส เส็ง , ปธ. 6)

    1. ท่านเป็นลูกศิษย์โดยตรงของ…

    1.1) สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (พระอุปัชฌายะของท่าน)

    1.2) ท่านเจ้าคุณ พระอุบาลี คุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ

    1.3) ท่านเจ้าคุณ พระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ

    1.4) หลวงปู่ เสาร์ กันตสีโล

    1.5) หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต



    2. ท่านอยู่รุ่นเดียวกับพระครูบาอาจารย์หลายองค์ เช่น

    2.1) พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ

    2.2) หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    2.3) ท่านพ่อลี ธัมมธโร


    3. ลูกศิษย์องค์สำคัญของท่าน เช่น

    3.1) หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา

    3.2) พระอาจารย์ จวน กุลเชฏโฐ วัดภูทอก จ.หนองคาย


    3.3) พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม

    4. หนังสือ"ทิพยอำนาจ" เกิดจากการที่ท่านถูกอาราธนานิมนต์โดยหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล

    5. หนังสือ"ทิพยอำนาจ" นี้ สำเร็จได้เพราะได้รับความร่วมมือจากบุคคลสำคัญ คือ

    5.1) สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (พระอุปัชฌายะของท่าน)

    5.2) พระพรหมมุนี (ผู้อำนวยการของมหามงกุฎราชวิทยาลัย)


    6. ที่สำคัญท่านเป็นทนายแก้ต่างข้อกล่าวหาต่างๆและเป็นพยานยืนยันความถูกต้องในการสั่งสอนธรรมะปฏิบัติของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี(สด จันทสโร) วัดปากน้ำภาษีเจริญครับ
     
  20. ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    คุณ ดุสิตบุรี

    คุณ เอาพระอริยคุณาธารมา สนับสนุนไม่ได้ เพราะว่า

    1 ในหนังสือนั้นไม่ได้บอกว่า รับรองพระธรรมกาย เราจะจับเพียงประโยคสองประโยคแล้วสรุปว่า รับรองไม่ได้ เพราะคำพูดเหล่านั้น ไม่ได้มีอะไรชี้ชัดว่า มีความหมายตามที่คุณเข้าใจอย่างชัดเจน

    2 สมัยพระพุทธองค์ ทรงประกาศ ศาสนา ท่านไม่ได้ใช้ หลักฐานจากอย่างอื่น มารับรองธรรมของท่าน แต่ ท่านใช้ ธรรม นั้นเอง รับรองตัวเอง ดุจดัง เปิดของคว่ำ ซึ่งหมายความว่า เห็นได้ง่าย ขอเพียงแค่เปิดใจมาดู
     

แชร์หน้านี้