หลวงพ่อสำเร็จศักดิสิทธิ์ /เห็นภพชาติในถ้ำทอง

ในห้อง 'ประวัติและนิทานธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 12 สิงหาคม 2017.

  1. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,021
    หลวงพ่อคูณ ธุดงค์สู่ภูเขาควาย

    หลวงตา
    Feb 28, 2023

    หลวงพ่อคูณ ธุดงค์สู่ภูเขาควาย พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ) วัดบ้านไร่ ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
     
  2. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,021

    ประวัติ “หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ” ปราชญ์แห่งที่ราบสูง

    เปิดประวัติ พระเทพวิทยาคม หรือ “หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ” อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา ที่แม้ท่านจะละสังขารไปตั้งแต่ปี 2558 ยังคงมีพุทธศาสนิกชนและศิษยานุศิษย์นับถือเคารพศรัทธาเป็นจำนวนมาก

    ประวัติ หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ จาก หนังสือที่ระลึกในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพครูใหญ่ และครูใหญ่พระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ)

    หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม 2466 แรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน ณ บ้านไร่ หมู่ 6 ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา บิดาชื่อ นายบุญ ฉัตรพลกรัง มารดาชื่อ นางทองขาว ฉัตรพลกรัง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน ประกอบด้วย 1 หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ 2 นางคำมั่น วงษ์กาญจนรัตน์ 3 นางทองหล่อ เพ็ญจันทร์

    เมื่ออายุได้ 11 ปี มารดาเสียชีวิต บิดานำไปฝากเป็นศิษย์วัดบ้านไร่ โดยมีพระอาจารย์เชื่อม วิรโช พระอาจารย์ฉาย กิตติญโญ และพระอาจารย์หลี อารกขยโย เป็นครูสอนภาษาไทยและภาษาขอม



    เมื่ออายุครบ 21 ปี ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดถนนหักใหญ่ ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2487 โดยพระครูวิจารยติกิจ เจ้าคณะอำเภอด่านขุนทด เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการสี วัดบ้านจั่น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสุข วัดโคกรักษ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ต่อมาได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อแดง ชินบุตโต วัดบ้านหนองโพธิ์ ตำบลสำนักตะคร้อ อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา และหลวงพ่อคง พุทธสโร วัดถนนหักใหญ่ ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุดทด จังหวัดนครราชสีมา

    การศึกษาขณะเป็นสมณะ สอบได้นักธรรมชั้นตรี ที่สำนักเรียนนวัตถนนหักใหญ่ เมื่อได้ศึกษาพระธรรมวินัยด้านปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวทเป็นอย่างดีแล้ว ได้ออกเดินธุดงค์ด้วยเท้าเปล่าจากวัดบ้านไร่สู่พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม และเข้าสู่ประเทศลาว (สปป.ลาว) ในประเทศลาวได้ธุดงค์ไปหลายที่ เช่น ภูเขาควาย หลวงพระบาง ทุ่งไหหิน แก่งหลี่ผี มหานทีสี่พันดอน และเข้าสู่ประเทศกัมพูชา ปี พ.ศ. 2500 หลังจากการเดินธุดงค์แล้ว หลวงพ่อกลับมาจำพรรษา ณ วัดบ้านไร่ การจำพรรษาของหลวงพ่อในแต่ละปีนั้น ท่านได้จำพรรษาไปตามวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย

    ขณะที่ หลวงพ่อกลับมาจำพรรษา ณ วัดบ้านไร่นั้น ท่านได้นำชาวบ้านก่อสร้างโรงเรียนบ้านไร่ โดยไม่ได้ใช้งบประมาณจากทางราชการแต่อย่างใด และยังบริจาคเงินก่อสร้างวัด หน่วยงานราชการต่าง ๆ มากมาย ทั้งโรงพยาบาล สถานีอนามัย โรงเรียน วิทยาลัย สถานีตำรวจ บ้านพักตำรวจ ที่ว่าการอำเภอ ถนน รวมทั้งบริจาคเงิน เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ช่วยชีวิต รถพยาบาล รถดับเพลิง เครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นต้น จากคุณงามความดีของท่านมากมาย จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานสัญญาบัตรพัตยศ ณ พระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัยในพระบรมมหาราชวัง ดังต่อไปนี้

    12 สิงหาคม 2535 พระราชทานสัญญาบัตรพัตยศ ที่พระญาณวิทยาคมเถระ

    10 มิถุนายน 2539 พระราชทานสัญญาบัตรพัตยศ เลื่อนสมณศักดิ์ที่พระราชวิทยาคม

    12 สิงหาคม 2557 รับพระราชทานสัญญาบัตรพัตยศ เลื่อนสมณศักดิ์ ที่พระเทพวิทยาคม

    และได้รับแต่งตั้ง เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11 โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2546



    หลวงพ่อได้ถวายเงินแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย วันที่ 11 มกราคม 2538 ณ วัดบ้านไร่ จำนวน 72,000,000 บาท (เจ็ดสิบสองล้านบาท) และถวายอีกครั้งในวันที่ 18 เมษายน 2551 ณ พระราชตำหนักจิตรลดารโหฐานพระราชวัง จำนวน 100,000,000 บาท (หนึ่งร้อยล้านบาท) ประมาณการเงินที่บริจาคเพื่อเป็นปัจจัยสร้างวัด หน่วยงานราชการและเอกชน เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ สาธารณสงเคราะห์ มีมากถึง 4,000,000,000 บาท (สี่พันล้านบาท)

    หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ มรณภาพ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2558 สิริอายุ 92 ปี 71 พรรษา



    ที่มา : อนุสรณ์ งานพิธีพระราชทานเพลิงศพครูใหญ่ เป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2561 มหาวิทยาลัยขอนแก่น

    ขอบคุณภาพ FB : พระเครื่องหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ

    :-https://workpointtoday.com/หลวงพ่อคูณ-ปริสุทฺโธ-ปร/




     
  3. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,021
  4. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,021
  5. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,021
    หลวงปู่ทองบัว ตันติกโร - นิมิตอสุภกรรมฐาน

    หลวงตา
    Mar 7, 2023
    หลวงปู่ทองบัว ตันติกโร วัดป่าโรงธรรมสามัคคี อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่

     
  6. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,021
    ประวัติและปฏิปทา
    (พระราชพุทธิมงคล) หลวงปู่ทองบัว ตันติกโร

    วัดป่าโรงธรรมสามัคคี
    อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่




    หลวงปู่ทองบัว ตนฺติกโร วัดป่าโรงธรรมสามัคคี อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
    หลวงปู่ทองบัว เกิดเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๔ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีระกา (ตรงกับวันมาฆบูชา) เวลา ๖.๐๐ น. ที่บ้านหนองผักแว่น ตำบลห้วยโปร่ง อำเภอโคกสำโรง จังหวัด ลพบุรี ในสกุล “บุตรศรี” แต่ครั้งเมื่อไปแจ้งที่อำเภอทางอำเภอเขียนผิดเป็น “พุทธศรี” ซึ่งมีความหมายว่า เป็นศรีหรือมิ่งขวัญแก่บวรพุทธศาสนา ตั้งแต่บัดนั้นมา

    โยมบิดาชื่อนาย โมทย์ โยมมารดาชื่อ นางสีดา มีพี่น้องร่วมท้องกัน ๑๒ คน เป็นชาย ๖ คน หญิง ๖ คน ส่วนท่านเป็นบุตรคนที่ ๙ เมื่ออายุได้ ๖-๗ ขวบ โยมมารดาถึงแก่กรรม จึงได้ย้ายครอบครัวไปอยู่ยังจังหวัดขอนแก่น และเมื่ออายุได้ ๙ ขวบ จึงได้ไปเรียนหนังสือไทยที่โรงเรียนบ้านยางคำวิทยาทาน วัดสวรรค์คงคา บ้านยางคำ จนจบชั้นประถม เมื่อจบเรียนแล้ว ได้บวชเป็นผ้าขาวรักษาศีลอุโบสถ บริโภคอาหารวันละมื้อเดียว นุ่งขาวห่มขาว และบำเพ็ญสมาธิ ติดตามกับพระภิกษุพี่ชายจนออกพรรษา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒ เมื่ออายุของท่านได้ ๑๘ ได้บวชเป็นสามเณร โดยมีท่านเจ้าคุณพระพิศาลคณานุกิจ ศิษย์พระอาจารย์มั่นเป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วได้บำเพ็ญสมณธรรมกัมมัฐฐาน หัดวิปัสสนาเป็นเวลา ๓ ปี กับพระอาจารย์ท่านเจ้าคุณพิศาลคณานุกิจ เจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล)


    หลวงปู่ทองบัว ตันติกโร เมื่อครั้งยังมีพรรษาไม่มากนัก
    ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๘๕ ท่านหลวงปู่ทองบัว มีอายุได้ ๒๑ ปีเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ผู้เป็นอาจารย์นำตัวไปฝากอุปสมบท ณ วัดมหาชัย อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี (พระอาจารย์มั่นเคยจำพรรษาอยู่) โดยมีพระพิศาลคณานุกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์ มี ท่านอาจารย์ตาล เป็นพระกรรมวาจารย์ เมื่ออุปสมบทเป็นที่เรียบร้อยแล้วได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองแวง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ได้เรียนปริยัติธรรมและกรรมฐานควบคู่กันไป จนจบชั้นนักธรรมเอก

    ภายหลังพระอาจารย์มั่น กลับออกจากเชียงใหม่ในปี พ.ศ.๒๔๘๒ และเดินทางกลับสู่ภาคอีสาน สู่จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดอุดรธานีแล้ว ในปี พ.ศ.๒๔๘๕-๒๔๘๖ ได้พักจำพรรษาที่วัดสำนักป่าบ้านนามน จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นที่สงบวิเวกดีมาก โอกาสนี้เองที่ พระอาจารย์ทองบัว ตันติกโร ได้ถวายตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ณ สำนักป่าบ้านนามนนั่นเอง ได้ศึกษาฟังธรรมเทศน์ธรรมและฝึกปฏิบัติ นอกจากนี้ยังได้ฝึกบำเพ็ญกรรมฐานร่วมกับ พระอาจารย์จันทร์ เขมปัตโต (อดีตจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง) , พระอาจารย์ชอบ ฐานะสโม , และ พระอาจารย์ตื้อ อจลธัมโม
     
  7. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,021
    (cont.)
    นอกจากได้เรียน ปฏิบัติกรรมฐานจากพระอาจารย์มั่น แล้ว ยังมีโอกาสธุดงค์ติดตามท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ไปจังหวัดนครพนม และได้ธุดงค์ไปดอยเก้า กุฉินนารายณ์ สถานที่อันศักสิทธิ์กับ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ แม้แต่พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ศิษย์องค์แรกของพระอาจารย์มั่น ก็มีความเอ็นดูพระอาจารย์ทองบัวมาก ครั้งหนึ่งพระอาจารย์สิงห์เคยหยอกล้อ โดยใช้มือขวาของท่านลูบคางพระอาจารย์ทองบัว เมื่อในปี พ.ศ.๒๔๘๕ พระอาจารย์ทองบัวยังได้มีโอกาสศึกษากรรมฐานกับพระอาจารย์กงมา และภายหลังในปี พ.ศ.๒๔๙๓ ยังมีโอกาสศึกษากรรมฐานกับพระอาจารย์ตื้อ อจลธัมโม หลวงปู่แหวน สุจิณโณ และพระอาจารย์สิม พุทธจาโร ผลแห่งการบำเพ็ญภาวนารักษาศีล ปฏิบัติวิปัสสนา กัมมาฐานเป็นเวลานานถึง ๓๔ ปี (ในตอนนั้น) จึงได้มีสมาธิที่แก่กล้า อีกทั้งความมานะบากบั่นในการบำเพ็ญภาวนา ดังนั้นจึงต้องถูกนิมนต์ไปนั่งปรกบริกรรมภาวนาในพิธีพุทธาภิเษกเสมอมามิได้ขาด


    (จากซ้าย) หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม, หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร และหลวงปู่ทองบัว ตันติกโร

    (จากซ้าย) หลวงปู่ทองบัว ตันติกโร, พระพุทธพจนวราภรณ์ (หลวงปู่จันทร์ กุสโล),
    หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม, หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร และหลวงปู่เกตุ วัณณาโก

    ๒ รูปนี้เป็นรูปภาพที่อยู่ ณ วัดโรงธรรมสามัคคี
    ต.สันกำแพง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ มีอายุกว่า ๕๐ ปี
    และลายมือบนรูปภาพนั้นเป็นลายมือของหลวงปู่ทองบัว
    อดีตเจ้าอาวาสวัดโรงธรรมสามัคคี
    กิตติศัพท์ชื่อเสียงของพระอาจารย์ทองบัว ในการอฐิธานจิตในวัตถุมงคลใดแล้วเล่าจะบังเกิดสิ่งมหัศจรรย์แก่ผู้ที่ศรัทธา พุทธคุณในด้าน แคล้วคลาดและเมตามหานิยมสูง บ่อยครั้งที่มีการสร้างพระเครื่องวัตถุมงคลของสายวัดป่า อาทิพระเครื่องหลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่ พระเครื่องหลวงปู่สิม พระเครื่องหลวงปู่แหวน หลวงปู่ตื้อ และอื่นอีกมากมาย ท่านก็ไม่เคยปฏิเสธที่จะไม่ร่วมอธิฐานจิตหรือจารแผ่นยันต์ หรือเสกมวลสารเลย

    หลวงปู่บัวทอง ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโรงธรรมสามัคคีตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๓ เป็นต้นมา ตลอดใต้ร่มกาสาวพัตร หลวงปู่ท่านได้ถือเพศบรรพชิต นับตั้งแต่นาทีแรกของการบรรพชาอุปสมบท จนถึงปัจจุบัน ปฎิบัติข้อวัตรตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ครูอาจารย์ได้ประพฤติเป็นแนวทางไว้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการทำวัตร สวดมนต์ บำเพ็ญภาวนาปฎิบัติศาสนกิจส่วนตนและส่วนรวม ท่านทำไม่เคยจนตราบจนถึงวันที่ท่านได้ละสังขาร

    หลวงปู่ทองบัว ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดโรงธรรมสามัคคีมาตั้งแต่ต้น ท่านได้ริเริ่มสร้าง พระเจดีย์โพธิปักขิยธรรม เป็นเจดีย์ที่มีรูปร่างแปลกไปจากที่อื่น มีความหมายถึงการนำไปสู่การตรัสรู้ ๓๗ ประการ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปปธาน ๔, อิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗, มรรคมีองค์ ๘ รวมเป็นโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ โดยฐานเจดีย์เป็นทรงกลม ภายในประกอบด้วยห้องสมุด ห้องแสดงศิลปวัตถุ ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำวันเกิด และพระพุทธรูปต่างๆ ชั้นสูงสุดเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
     
  8. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,021
    (cont.)

    “พระเจดีย์โพธิปักขิยธรรม” ณ วัดโรงธรรมสามัคคี อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่

    ในปี พ.ศ.๒๕๔๙ อายุ ๘๔ ปี หลวงปู่ทองบัวได้นำพาคณะศรัทธาญาติโยมก่อสร้าง วิหารหลังใหญ่สองชั้น แต่ยังไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากหลวงปู่อาพาธ ทำให้ครอบครัวในตระกูลชินวัตร คณะศิษยานุศิษย์ และพระครูจิตติภัทราภรณ์ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ร่วมกันสร้างวิหารสองชั้นสืบต่อมา

    ลำดับสมณศักดิ์และหน้าที่ทางคณะสงฆ์
    ปี พ.ศ.๒๕๐๑ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูวิมลคณาภรณ์
    ปี พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระวิมลธรรมญาณเถร
    ปี พ.ศ.๒๕๔๗ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชพุทธิมงคล

    ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน-แม่ฮ่องสอน (ธรรมยุต) ก่อนเกษียณอายุทางพระสังฆาธิการ จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดฯ

    หลวงปู่ทองบัว ตันติกโร (พระราชพุทธิมงคล) ท่านได้มรณภาพลง ในวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔ จวบได้ ๙๐ ปี ๖๘ พรรษา (ตรงกับวันวิสาขบูชา) ซึ่งหาเปรียบพระเกจิอาจารย์องค์ใดรูปใดได้ เกิด วันมาฆบูชา ละสังขาร วันวิสาขบูชา


    สรีระสังขารพระราชพุทธิมงคล (หลวงปู่ทองบัว ตันติกโร) ไม่เน่า
    เหรียญสรรพสิทธิโชค รุ่นแรก
    หลวงปู่ทองบัว นับว่าเป็นพระเถระคณาจารย์ผู้เรืองวิทยาคุณสูง ทรงศีลาจารวัตรเคยปฎิบัติ บำเพ็ญสมาธิ วิปัสนากัมมัฏฐานเป็นเวลาช้านานมากว่า ๗๐ ปี อีกทั้งมีจิตบริสุทธิ์ทรงพลังแข็งแกร่ง ดังนั้นวัตถุมงคลที่ท่านนั่งปรกบริกรรมปลุกเสกอธิษฐานจิตแผ่พลังเมตตาลงไปในเหรียญนั้นจึงดีเด่น มีพุทธคุณสูงทางด้านเมตตามหานิยม เหรียญนำโชคลาภมหาศาลอาจดลบันดาลให้มีโชคดีราวปาฎิหาริย์ เหรียญดังกล่าวนั่นก็คือ “เหรียญสรรพสิทธิโชค” รุ่นแรก พ.ศ.๒๕๑๗ ซึ่งเหรียญรุ่นนี้แกะบล็อคโดย นายช่างเกษม มงคลเจริญ ซึ่งมีฝีมือแกะเหรียญได้งามเลิศเป็นอันดับหนึ่งในขณะนั้น ซึ่งจำนวนที่สร้างมีดังนี้

    กำเนิดของเหรียญสรรพสิทธิโชค รุ่นแรก พ.ศ.๒๕๑๘ โดยคณะกรรมการจัดสร้างเหรียญนำโดยท่าน พลตรี เอนก สืบวงศ์แพทย์ – คุณนายอุบลวรรณ (บัวเที่ยง ) สืบวงศ์แพทย์ บุตรีคุณแม่บัวเขียว พรหมชนะ, พ.อ.นิวัติ หีบทอง, พ.ต.อ.ภมร ชัยศิริ, อาจารย์ถาวร แก้วญานะ บุตรชายนายซาว แก้วญานะ ผู้ร่วมแรงสร้างกุฏิศาลาถวาย พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๙ นอกจากนี้ ผู้เป็นเรี่ยวแรงสำคัญยิ่ง นำเหรียญจำนวนกว่าสองหมื่น เดินทางจากกรุงเทพฯนำไปให้ พระอาจารย์ทองบัว ตนฺติกโร วัดโรงธรรมสามัคคี ศิษย์พระอาจารย์มั่น เมตตาทำพิธีนั่งปรกปลุกเสกเหรียญนี้จนสำเร็จ บุคคลสำคัญผู้แบกภาระขนส่งเหรียญชุดนี้ก็คือ ครอบครัวนายพลอากาศตรี พีระพงษ์-อนงค์นุช ภูยานนท์ บุตรีคุณนวลอนงค์ แก้วญานะ อดีตนางสาวเชียงใหม่ และนางงามสันกำแพง ปี พ.ศ.๒๕๐๐


    เหรีญรูปไข่พระอาจารย์ทองบัว ตนฺติกโร วัดป่าโรงธรรมสามัคคี อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ รุ่นแรก รุ่นสรรพสิทธิโชค ปี พ.ศ.๒๕๑๘ เนื้อทองแดง

    เหรีญรูปไข่พระอาจารย์ทองบัว ตนฺติกโร วัดป่าโรงธรรมสามัคคี อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ รุ่นแรก รุ่นสรรพสิทธิโชค ปี พ.ศ.๒๕๑๘ เนื้อทองแดง
    ลักษณะเหรียญที่มีชื่อว่า เหรียญสรรพสิทธิโชค รุ่นแรก เป็นเหรียญรูปไข่ มีหูในตัว มีขนาดกว้าง ๒.๕ ซม. สูง ๓.๓ ซม. หนาราว ๑ มิลลิเมตรเศษ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘
    ด้านหน้า เป็นภาพครึ่งองค์หน้าตรงของหลวงพ่อทองบัว ตนฺติกโร เจ้าอาวาส วัดโรงธรรมสามัคคี จังหวัดเชียงใหม่ ผู้เป็นศิษย์เอกหนึ่งใน ๑๐๘ องค์ สายกองทัพธรรมอันลือชื่อของ พระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺตเถระ ปรมาจารย์ด้าน วิปัสสนากัมมัฏฐาน เมื่อยังมีชีวิตเคยสร้างคุณงามความดีนานัปการ สมัยเมื่อราวปี ๒๔๗๐ นานร่วมร้อยปีมาแล้ว ท่านเกิดปี พ.ศ.๒๔๑๓ และมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๒

    ส่วนด้านล่างริมขอบเหรียญเป็นลวดลายไทยที่ผูกขึ้นเป็นรูปดอกบัวชูช่ออยู่ตรงกึ่งกลาง และมีกลีบบัวคลี่ขยายเป็นลายกนกโอบโค้งควบขนาบทั้งสองฟากของเหรียญนี้ บรรจงแกะขึ้นอย่างประณีตอ่อนช้อยงดงามยิ่ง สมกับเป็นฝีมือครูช่างแกะบล็อก นายช่างเกษม มงคงเจริญ สุดยอดฝีมือแกะเหรียญพระคณาจารย์ชื่อดังแห่งยุค ๓๐ ปีก่อน
     
  9. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,021
    (cont.)
    ส่วนด้านหลังเหรียญ กึ่งกลางมียันต์เฑาะว์ ขัดตะหมาดวนสามรอบมียอดอุณาโลม มีคาถากำกับสองข้างเป็นตัวขอม อ่านว่า นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา

    ส่วนรอบๆ ริมขอบเหรียญมีตัวหนังสือไทย อ่านว่า พระครูวิมลคณาภรณ์ ( พระอาจารย์ทองบัว ตนฺติกโร ) วัดป่าโรงธรรมสามัคคีอ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ และตรงกึ่งกลางมีชื่อเหรียญว่า เหรียญสรรพสิทธิโชค
    ผู้ริเริ่มสร้างเหรียญ เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๗ คณะผู้จัดสร้าง เหรียญสรรพสิทธิโชค รุ่นแรก ปี พ.ศ.๒๕๑๘ ได้ขออนุญาต ท่านพระครูวิมลคณาภรณ์ ( ทองบัว ตนฺติกโร ) สร้างเหรียญชนิดต่างๆ ขึ้น ดังนี้คือ

    ๑. เหรียญสรรพสิทธิโชคเนื้อทองคำหนักราว ๒๗ กรัม จำนวน ๙ เหรียญ มีเลข ๑-๙ กำกับ
    ๒. เหรียญสรรพสิทธิโชคเนื้อเงิน จำนวนการสร้าง ๒๙๙ เหรียญ
    ๓. เหรียญสรรพสิทธิโชคเนื้อนวะ จำนวนการสร้าง ๖๙๙ เหรียญ
    ๔. เหรียญสรรพสิทธิโชคเนื้อทองแดงกละไหล่ทอง จำนวนการสร้าง๑๙๙๙ เหรียญ
    ๕. เหรียญสรรพสิทธิโชคทองแดงรมดำ จำนวนการสร้าง ๙๙๙๙ เหรียญ

    จากจำนวนทั้งสิ้นนี้ยังมี ชุดกระเป๋าเพื่อจัดเป็นชุดหากมีผู้ที่ต้องการบูชาเป็นชุด คาดว่าไม่น่าเกิน ๑๐๐ ชุด และยังมีเหรียญทองแดงผิวไฟอีกจำนวน ๑๕๐๐ เหรียญ และผ้ายันต์สรรพสิทธิโชคอีกราว ๓๐๐ ผืน ล็อกเก็ตอีก ๓ อัน

    หัวหน้าคณะกรรมการจัดสร้างมี พลตรี เอนก สืบวงศ์แพทย์, พ.ต.อ.ภมร ชัยศิริ, พ.อ.นิวัติ หีบทอง, คุณแสวง ปร่ำนาค และผู้เขียน

    ครั้นนายช่างเกษม มงคลเจริญ แกะบล็อกและปั๊มเหรียญครบถ้วนตามจำนวนดังกล่าวแล้ว ก็นำเหรียญไปเข้า พิธีพุทธาภิเษก ณ พระวิหาร (อุโบสถ) วัดโรงธรรมสามัคคี เลขที่ ๕๖ หมู่ที่ ๗ อำเภอสันกำแพง จ.เชียงใหม่ โดยท่านพระครูวิมลคณาภรณ์ (ทองบัว ตนฺติกโร) เจ้าอาวาสวัดมีเมตตาทำพิธีนั่งปรกปลุกเสกให้เรียบร้อยสมบูรณ์ครบถ้วนดีทุกประการ และได้อาราธนาพระสงฆ์ ๙ รูป เจริญสวดชัยมงคลคาถาพรมน้ำพระพุทธมนต์จนเสร็จพิธีการนี้ เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘ พร้อมทั้งให้มงคลนามแก่เหรียญดังกล่าวนี้ชื่อว่า เหรียญสรรพสิทธิโชค มีพุทธคุณดีเด่นทางโชคลาภมีทรัพย์สินทวีคูณ อีกทั้งเมตตามหานิยมและแคล้วคลาดภัยอันตรายทั้งปวง ท่านยังประสาทพรให้บังเกิดความสุขสวัสดี และอำนวยโชคลาภแก่ผู้เลื่อมใส หากมี เหรียญสรรพสิทธิโชค ไว้พกพาใช้บูชาประจำตัวสืบไปตลอดกาลนาน ท่านมีวาจาสิทธิ์ประสิทธิพรมงคล ว่าดังนี้

    สิทธิกิจจัง สิทธิวาจัง สิทธิกัมมัง
    สิทธิอริยะ ตถาคัตโต สิทธิเตโชโยนิจจัง
    สิทธิลาโภ นะรันตะรัง
    สัพพะสิทธิ ประสิทธิเต


    อนึ่ง มีเรื่องน่าพิศวงเกี่ยวกับพุทธคุณเหรียญนี้มีประสบการณ์อันเป็นที่ประจักษ์ มีหลักฐานยืนยันว่าหลายรายที่เคยมีฐานะย่ำแย่ ก็พลันมีฐานะการเงินกระเตื้องขึ้นราวปาฏิหาริย์ กลายเป็นเศรษฐีเงินล้าน ชาวสันกำแพงและเชียงใหม่ จึงพากันกล่าวยกย่องเหรียญนี้ว่า เหรียญเงินล้าน

    พุทธคุณเด่นของเหรียญรุ่นแรก ดีเด่นทางด้านโชคลาภ ทำให้ฐานะการเงินกระเตื้องขึ้นได้แทบไม่น่าเชื่อ เคยเป็นที่ประจักษ์แก่สายตามามากราย ว่าดลบันดาลให้บังเกิดโชคดีมหาศาล ดุจดังบุญหล่นทับนั่นเทียว ผู้ใดมีเหรียญรุ่นแรกนี้ จงเก็บบูชาไว้เถิด จักบังเกิดโชคลาภให้เห็นผลประจักษ์ได้แน่นอน สมกับคำอวยพรว่า สรรพสิทธิโชค ที่หลวงปู่ท่านได้แต่งชื่อเหรียญรุ่นนี้ไว้
    :-->https://www.108prageji.com/หลวงปู่ทองบัว-ตันติกโร/
     
  10. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,021
  11. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,021

    ท่าน ก. เขาสวนหลวง - อุบาสิกาอรหันต์

    หลวงตา
    Mar 9, 2023
     
  12. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,021
    หลวงปู่คำพอง ติสโส (กองทัพธรรมแดนปักษ์ใต้)


    หลวงตา

    Mar 8, 2023

    หลวงปู่คำพอง ติสโส วัดถ้ำกกดู่ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
     
  13. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,021
    อาจารย์ยอด : หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก [พระ]

    อาจารย์ยอด
    เกจิ อาจารย์ | ของดี ปู่ดู่ | วัดสะแก

    หนุ่มคงกระพัน official
    373,695 views Oct 13, 2021

    หลวงปู่ดู่ อีกหนึ่งสุดยอดเกจิแห่ง วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระภิกษุสายวิปัสสนากรรมฐานอีกรูป ที่มีวัตรปฏิบัติที่งดงาม และท่านก็ได้ปลุกเสกมงคลไว้มากมาย หลากหลายรุ่น ซึ่งแต่ละรุ่นก็ได้รับความนิยมและมีมูลค่าทางตลาดที่ไม่ธรรมดา และวัตถุมงคลของปู่ดู่ ก็โดดเด่นทั้งในเรื่อง แคล้วคลาด คงกระพัน และ เมตตามหานิยม พบกับเรื่องราววัตถุมงคลของ หลวงปู่ดู วัดสะแก ได้ในคลิปนี้ครับ
    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ให้พร

    khunphan1976
    1,386,656 views Jan 29, 2012
     
  14. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,021
    พระเกจิแห่งบาเจาะ - หลวงพ่อแดง ธัมมโชโต

    หลวงตา
    Mar 12, 2023

    หลวงพ่อแดง ธัมมโชโต วัดเชิงเขา อ.บาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
     
  15. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,021
    ประวัติหลวงพ่อแดง ธัมมโชโต

    หลวงปู่แดง ธัมมโชโต

    หลวงปู่แดง นามเดิมชื่อ แดง นามสกุล แก้ววิเชียร เป็นบุตรของนายนุ้ย...หลวงปู่แดงเกิดเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ.๒๔๓๒ ตรงกับวันศุกร์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู บริเวณเชิงเขา ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ท่านมีพี่ น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๕ คน คือ
    ๑. นายคง แก้ววิเชียร
    ๒. นางแดง วันแก้ว
    ๓. นางบุญทอง ทองคำ
    ๔. นายแดง แก้ววิเชียร
    ๕. นายเงิน แก้ววิเชียร

    หลวงปู่แดงเมื่ออายุได้ ๑๓ ปี บิดาก็ได้นำไปฝากเรียนหนังสืออยู่กับ ท่านอธิการจันทร์ เจ้าอาวาสวัดไม้แก่น อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี .....ต่อมาเมื่อท่านอายุได้ ๒๑ ปี ได้เข้ามาอยู่ที่วัดเชิงเขา เรียนหนังสือกับ ท่านพระอธิการเส้ง เจ้าอาวาสวัดเชิงเขา ซึ่งงพระอธิการเส้งเป็นพระเถระที่มีอาคมแก่กล้า เป็นที่นับถือของชาวบ้านเชิงเขาในสมัยนั้นเป้นอันมาก
    หลวงปู่แดง ได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๕๑ โดยท่านเจ้าอธิการจันทร์ วัดไม้แก่น เป็นพระอุปัชฌายะ ท่านพระอาจารย์คงแก้ว วัดเลียม อำเภอสายบุรี เป็นพระกรรมวาจา ท่านพระอธิการเส้ง วัดเชิงเขาเป็นพระอนสาวนา สำเร็จญุตติภกรรม เวลา ๑๕.๑๖ น.....โดยชุมนุมพระสงฆ์ ๒๒ รูป ใรพัทสีมาวัดเชิงเขา.....พระอุปัชฌาให้ฉายาว่า พระแดง ธัมมโชโต ( เวลานั้นไม่มีการเรียนนักธรรม ).....ถึงปี ๒๔๕๔ พระแดง ธัมมโชโตมีพรรษาได้ ๕ พรรษา ซึ่งตามพระวินัยกำหนดว่า เป็นนิสัยมุตตกะอยู่ในมัชฌิมภูมิ รักษาตัวเองได้แล้ว จึงได้กราบลาพระอุปัชฌา และอาจารย์เดินทางไปศึกษาต่อ ณ เมืองสงขลา ได้ไปอยู่ที่วัดดอนแย้ ตำบลบ่อยาง ในสำนักของ ท่านพระครูธรรมโมลี ( หนู ) เจ้าคณะใหย่เป็นผู้ปกครองดูแลวัดทั้งหลายใน ๗ หัวเมืองในปัตตานี และบรรดาวัดในหัวเมืองแถบมาลายู

    ท่านพระแดง ธัมมโชโต ไปอยู่ที่สงขลากี่พรรษาไมทราบชัด ทราบแต่ว่าเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๒ ท่านพระอะิการเส้ง เจ้าอาวาสวัดเชิงเขาอาพาธถึงแก่มรณภาพลง ท่านพระแดงได้เป้นผุ้จัดการฌาปนกิจศพท่านพระอธิการเส้ง แล้วท่านพระแดงได้รับการแต่งตั้งเป้นเจ้าอาวาสวัดเชิงเขาสืบต่อมา
    อนึ่ง ที่วัดเชิงเขาในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนที่จะเรียนหนังสือไทย โดยเฉพาะพวกศิษย์วัดต้องอาศัยสาลาวัดเป็นสถานที่เล่าเรียน ซึงค่อนค้าจะทรุดโทรมและคับแคบ ท่านพระแดงท่านมองเห็นความสำคัญของการศึกษาของลูกๆ หลานๆ ท่านจึงได้สละทุรทรัพย์ส่วนตัวออกจัดสร้างโรงเรียนขึ้น ๑ หลัง ๒ ชั้น ยาว ๕ ห้องเรียน ในที่ดินบริเวณวัดเชิงเขา .....โรงเรียนแห่งนี้ ทางราชการได้ให้นามว่า โรงเรียนวัดเชิงเขาแดงอุทิศ
    ครั้นต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๒ ท่านเจ้าอธิการจันทร์ เจ้าอาวาสวัดไม้แก่นมรณภาพลง หลวงพ่อแดง ท่านได้จัดการศพแล้ว ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าอาวาสวัดไม้แก่นอีกวัดหนึ่งด้วย

    ครั้นปี พ.ศ.๒๔๘๕ ท่านปราถนาจะออกรุกขมูลธุดงค์เที่ยวไปตามป่าช้า และอยู่ตามโคนต้นไม้ เพื่อแสวงหาความวิเวกตามวิสัยสมณะ เยี่ยงอย่างพระอริยเจ้าทั้งหลาย.....จึงตัดปลิโพธิกังวลทั้งปวงออกเดินจากวัดจนถึงกรุงเทพมหานคร ได้รับการอบรมวิปัสสนาพร้อมกับพระสงฆ์หมู่ใหญ่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ ภายใต้การนำของ เจ้าคุณพระพิมลธรรม ( อาจ ) และพระคณาจารย์ผู้ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ และหลวงพ่อแดงได้จำพรรษาอยู่ที่คณะ ๑๕ ในวัดสุทัศนเทพวราราม เป็นเวลา ๑ พรรษา
    เมื่อปวารณาออกพรรษาแล้ว ท่านได้เดินธุดงค์หมู่สงฆ์จำนวน ๓๐๐ รูป มีเจ้าคุณพิมลธรรมเป็นหัวหน้า เดิรนไปยังวัดภาคเหนือเช่น ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย และหนองคาย เป็นเวลาหลายเดือน แล้วเดินกลับกรุงเทพฯ ในเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๙๔

    วิหารหลวงปู่แดง ธัมมโชโต
    หลังจากนั้น หลวงปู่แดงเดินทางด้วยเท้ากับพระสงฆ์หมู่หนึ่ง ไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ไปนมัสการพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และจาริกท่องเที่ยวอยู่ในจังหวัดภาคกลางอีกหลายแห่ง
    ในราวปี พ.ศ. ๒๕๐๐ หลวงปู่แดงได้เดินทางด้วยเท้าล่งใต่แต่ลำพังองค์เดียว พักแรมตามป่าช้ารายทางโดยลำดับ จนถึงปัตตานีในเดือนมิถุนายน ในปีนั้นท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนิกรชนาราม ซึ่งอยู่ในอำเภอเมืองปัตตานี ได้ ๑ พรรษา..........ออกพรรษาแล้วท่านเดินธุดงค์ไปตามป่าช้าต่างๆ ในเขตจังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส ตลอดเข้าไปในเขตมาเลเซีย เมื่อถึงวันเข้าพรรษาท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดเทพวิมลมัลคลาราม อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

    กาลต่อมาท่านจะสร้างเหรียญ และมีพ่อค้าในเมืองปัตตานีรู้ข่าวว่า หลวงปู่แดงจะสร้างเหรียยแล้ว (ก่อนหน้าก็มีคนขอให้ท่านสร้าง แต่ท่านไม่ตกลง)...ก็ได้เรี่ยไรเงินกันจากผู้ที่นับถือหลวงปู่ได้เงินมาประมาณ ๑๐,๐๐๐ บาท ไปถวายหลวงปู่เพื่อสมทบทุนสร้างเหรียญ จึงได้มีการสร้างเหรียญรุ่นนี้ขึ้น นับเป้นเหรียญรุ่นแรกที่มีจำนวนสร้างดังนี้
    เหรียญเงิน ๑๐๘ เหรียญ
    เหรียญทองแดง ๒๐,๐๐๐ เหรียญ
    กริ่งรูปเหมือนลอยองค์ ๒,๐๐๐ องค์
    พระบูชารูปเหมือน ๓๐๔ องค์
    ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ หลวงปู่แดงได้ปลุกเสกเดี่ยว มงคลที่ว่ามานี้ทั้งหมด ท่านปลุกเสกตลอดพรรษา .....และวัตถุมงคลของท่านก็ได้แสดงอภินิหารให้ผู้ที่บูชาไปประจักษ์แก่สายตามาแล้วหลายครั้ง


    ...........หลวงปู่แดงมรณภาพเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๒ ที่ตึกสงฆ์ โรงพยาบาลประจำจังหวัดปัตตานี รวมอายุท่านได้ ๙๐ ปี พรรษา ๗๐ .....ศพของหลวงปู่แดงทางวัดได้นำกลับไปบำเพ็ญกุศลตามประเพณี และได้บรรจุศพไว้เพื่อรอการฌาปนกิจต่อไป
    ต่อมาทางวัดได้ฤกษ์ที่จัดงานศพของท่านขึ้น โดยได้กำหนดเอาวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๕ ...ชาวบ้านที่มีความเคารพเลื่อมใสหลวงปู่ ได้พร้อมใจกันจัดทอดผ้าป่าในวันเดียวกันนี้ ทั้งนี้เพื่อจะได้ปัจจัยสมทบทุนสร้างพระอุโบสถที่หลวงปู่ได้ตั้งใจสร้างไว้แต่ยังไม่เสร็จ ให้ได้มีโอกาสสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี บริเวณวัดเชิงเขาในวันนั้นจึงคับคลั่งไปด้วยผู้คนมากมายเป็นพิเศษ

    แล้ววินาทีอันน่าระทึกใจก็มาถึง
    เมื่อลูกศิษยื และกรรมการวัดได้นำศพ ของหลวงปู่ออกมาจากที่บรรจุ เพื่อขึ้นเมรุเตรียมการพระราชทานเพลิงต่อไปนั้นเอง ทุกคนที่จัดการเรื่องนี้ก็ถึงกับตกตลึง เมื่อปรากฏว่า ร่างของหลวงปู่แดง ได้แข็งเป้นเหมือนหิน เนื้อหนังไม่ได้เน่าเปื่อย กลับแห้งลงไปเฉยๆ เส้นผม เล็บมือเล็บเท้า ก็ไม่หลุดล่วง คงสภาพเดิมถึงแม้ว่าหลวงปู่แดงได้มรรภาพไปแล้ว ๓ ปี ก้ตาม
    นี่คือ...ปาฏิหารของหลวงปู่แดง วัดเชิงเขา ที่ได้แสดงให้ประจักษ์แก่สายตาของชาวบ้าน ในวันนั้น
    :-- https://sites.google.com/site/hlwngphxdaeng/
     
  16. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,021
    หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ถูกเจ้าแม่กวนอิมขอร้องให้ฉันเจ

    ปู่ดอน station
    Feb 16, 2023

    เจ้าแม่กวนอิมได้เสด็จมาหาหลวงปู่โต๊ะ ขณะนั่งภาวนาเพียงลำพังมนพระอุโบสถ พระองค์ได้ขอร้องให้หลวงปู่โต๊ะยอมเป็นสาวกในฝ่ายมหายาน อละต้องฉันเจในเทศกาลกินเจ แต่เมื่อหลวงปู่โต๊ะไม่ยินยอม ปรากฏว่า..หลวงปู่โต๊ะต้องอาพาธอย่างหนัก!?..
    ประวัติ--> https://palungjit.org/threads/หลวงพ่อสำเร็จศักดิสิทธิ์-เห็นภพชาติในถ้ำทอง.616488/page-38
     
  17. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,021
  18. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,021
    สุขใจเมื่อไปธุดงค์ 1

    หลวงตา
    Mar 14, 2023
    สุขใจเมื่อไปธุดงค์ 1

    หลวงปู่จำเริญ เตชปัญโญ วัดเหล่างิ้ว (ทุ่งนิมิตสถิตธรรม) อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด
     
  19. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,021
    สุขใจเมื่อไปธุดงค์ 2

    หลวงตา
    Mar 14, 2023

     
  20. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,021

    อัตชีวประวัติ หลวงปู่จำเริญ เตชปัญโญ


    เจ้าอาวาสวัดเหล่างิ้ว (ทุ่งนิมิตสถิตธรรม) อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด



    หลวงปู่จำเริญ เตชปัญโญ เกิดในตระกูลชาวนา นามเดิม ชื่อ จำเริญ ก้อมโกสุมภ์

    เกิดเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2496 ปีมะเส็ง ที่บ้านจังหาร ตำบลจังหาร อำเภอจังหาร จ.ร้อยเอ็ด

    บิดาและมารชื่อนายอ้วน นางอำคา ก้อมโกสุมภ์ มีพี่น้องร่วมสายโลหิต 10 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 5


    ด้านการศึกษา จบชั้นประถมปีที่ 7 ที่โรงเรียนสงเคราะห์เด็กบ้านบางละมุง จังหวัดชลบุรี ขณะนั้นเป็นลูกศิษย์วัดอยู่ที่ วัดบรมนิวาส มีโอกาสเรียนดนตรีและเป็นนักร้องประจำวงดนตรีของกรมประชาสงเคราะห์บางละมุง

    หลังจากนั้นได้เข้าเรียนต่อ ม.ศ. 1 ที่โรงเรียนโพธิสัมพันธ์พิทยาคาร แต่ ลาออกกลางครันมาสมัครเรียนภาคค่ำที่วัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม ระหว่างนี้ช่วงกลางวันไปทำงานที่ร้านทำฟันกลางคืน ไปเรียน จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ 16 ตุลา มีเหตุให้ ต้องอพยพไปอยู่พิษณุโลกทำให้เรียนไม่จบ สุดท้าย กลับมา บ้านเกิดที่จังหวัดร้อยเอ็ด เข้าศึกษาต่อภาคค่ำ โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย

    ชีวิตในวัยทำงาน คิดเป็นตำรวจ มุ่งหน้าไปสอบที่ชลบุรี สอบข้อเขียนได้แต่ตกสัมภาษณ์จึงหันเหเข้ากรุงเทพไปขับรถแท็กซี่


    หลวงปู่ จำเริญเตชปัญโญ อุปสมบทเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 ขณะนั้นมีอายุ 28 ปี เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบท ณ วัดบ้านจังหาร ตำบลจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด มีพระครูสุนทรสัจจคุณ(หนู สจฺจวโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสันติธรรมรัตน์ (สงบ ยโสธโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมุห์สิมมา ถาวโร(สิมมา ถาวโร) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้ว มีฉายาทางธรรมว่า “ เตชปัญโญ ”

    หลวงปู่ จำเริญเตชปัญโญ ดำเนินชีวิตทางธรรม มาถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2556 เป็นพรรษาที่ 32 และ ดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาส วัดเหล่างิ้ว (ทุ่งนิมิตสถิตธรรม)ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2541 จนถึงปัจจุบัน(30 เมษายน 2556)

    ประวัติการจำพรรษา

    พรรษาที่ 1 บ้านจังหาร ต.จังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด

    พรรษาที่ 2 วัดป่ารัตนสมพร (หลวงปู่คำภา ฐิตธมฺโม เป็นเจ้าอาวาส) เมืองใหม่ จังหวัดกาฬสินธุ์

    พรรษาที่3 วัดเขาแหลมธรรมสังเวช (หลวงพ่อสนิท ปิยธมฺโม เป็นเจ้าอาวาส) สมอทอด จ.เพชรบูรณ์

    พรรษาที่ 4 วัดรำไพรพรรณีวัน (หลวงพ่อณรงค์ มหาวีโร เป็นเจ้าอาวาส) บ้านเพ จังหวัดระยอง

    พรรษาที่ 5 ถ้ำพญาเสือ เขารูปช้าง ปาดังเบซา จังหวัดสงขลา (หลวงพ่อมณี ธมฺมทีโป)

    พรรษาที่ 6 จำพรรษา ณ บ้านเกิด หมู่ญาติธรรม ร่วมก่อตั้งสำนักสงฆ์ และพัฒนามาเป็น วัดทุ่งนิมิตสถิตธรรม ในปัจจุบัน

    ปัจจุบัน หลวงปู่จำเริญ เตชปัญโญ เป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งนิมิตสถิตธรรม หรือวัดเหล่างิ้ว ตั้งอยู่ ณ บ้านจังหาร อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด วัดแห่งนี้แรกเริ่มก่อตั้งเป็นสำนักสงฆ์ทุ่งนิมิตสถิตธรรม เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2529 จากนิมิตรของหลวงปู่เมื่อคราวพักปักกลดบำเพ็ญเพียรกับพื้นดิน แต่เดิมชาวบ้านเรียกบริเวณนี้ว่า “โนนโพนยูง” เมื่อญาติโยมรู้ข่าวเกิดจิตศรัทธา หลั่งไหลมาร่วมก่อสร้างจนเป็นวัดขึ้นอย่างเป็นทางการ

    ต่อมา พ.ศ.2529 หลวงปู่จำเริญ ขอจัดตั้งวัดในนาม วัดทุ่งนิมิตสถิตธรรม แต่ได้รับการตอบรับเป็นชื่อ วัดเหล่างิ้ว ภายหลังได้ขอเปลี่ยนใช้ชื่อ วัดทุ่งนิมิตสถิตธรรม ใน พ.ศ.2550

    ภายในพุทธสถานลานบุญวัดทุ่งนิมิตสถิตธรรมแห่งนี้ หลวงปู่จำเริญ ได้จัดสร้างตึก “พุทธศาสน์” เพื่อประกาศความจริงสิ่งที่หมาย เป็นสื่อไข “ปริศนาธรรม” อันมีคุณค่าแก่ชีวิต ภายในประดิษฐ์ความเป็นมาของสาเกตุนครไว้ให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ค้นคว้าศึกษา นับเป็นสมบัติล้ำค่าทางธรรมแห่งแรก ที่หลวงปู่ได้มอบให้กับถิ่นฐานบ้านเกิด

    ด้านการเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น นอกจากหลวงปู่จะเทศน์โปรดญาติโยมที่ไปทำบุญที่วัดเป็นประจำทุกวันแล้ว หลวงปู่ท่านได้จัดตั้งสถานีวิทยุชุมชน โดยใช้ชื่อว่า สถานีวิทยุพระพุทธศาสนาแห่งชาติ “วิญญาณกลุ่มชุมชนคนรักจังหาร” เริ่มทดลองออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2552 วัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อ ในการเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นศูนย์กลางหลอมรวมจิตใจของคน ให้เกิดการประสานงานทั้งทางโลกและทางธรรมเข้าด้วยกัน ด้วยความรัก ความเมตตาปรารถนาดีต่อกัน อันเป็นเครื่องหมายแสดงความกตัญญูกตเวทิตาแก่ถิ่นฐานบ้านเกิด ตอบแทนคุณแผ่นดินและ เชิดชู สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

    ยังมีมรดกธรรมล้ำค่าอีกประการหนึ่งที่หลวงปู่ได้ปรารภกับศิษยานุศิษย์ไว้ว่า หากเป็นไปได้ตามเหตุตามปัจจัยและพร้อมด้วยบารมีธรรม หลวงปู่จะสร้าง “ภูค้ำ ภูคูณ” ไว้ที่วัดทุ่งนิมิตสถิตธรรม ให้มีลักษณะเป็นภูเขา ด้านบนเป็นเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ด้านล่างจำลองเป็นถ้ำ ภายในถ้าจะจัดแสดงเรื่องราวบอกเล่าตำนานความเป็นมาของพื้นที่และบรรพบุรุษ เพื่อแสดงธรรมเป็นเครื่องหมายเตือนใจให้แก่ผู้มาเยี่ยมเยือนได้ศึกษา ให้ทุกคนตระหนักและเตรียมพร้อมกับการสละ รัก โลภ โกรธ หลง อันเป็นหนทางสู่ความสุข สงบ ร่มเย็น อย่างแท้จริง

    เรียบเรียงข้อมูล เมื่อ 30 เมษายน 2556

    โดย นางสาวนารทฤทัยษ์ หัทยาภิรมย์

    ………………………
    :--http://www.watthungnimit101.com/index.php/ประวัติเจ้าอาวาส
     

แชร์หน้านี้