01 - สมาธิเบื้องต้น - หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร
02 - คุณค่าของสมาธิ - หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร
03 - อุบายวิธีสมถะ - วิปัสสนา - หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร
เสรี ลพยิ้ม
Mar 6, 2016
เสียงธรรม อมฤตธรรม / หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร [Samadhi Meditation Techniques]
ในห้อง 'สมาธิ - พระกรรมฐาน' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 7 กันยายน 2017.
หน้า 1 ของ 17
-
-
-
-
-
-
-
-
“มุตโตทัย” แปลว่า “แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น” เป็นพระธรรมเทศนาของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เพียงเล่มเดียวที่มีการบันทึกไว้โดยพระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร เมื่อครั้งที่พระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์อุปัฏฐากหลวงปู่มั่นเป็นปีที่ ๒ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๔๘๖ ณ วัดป่านาคนิมิตต์ (วัดป่าบ้านนามน) ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร ซึ่งการบันทึกพระธรรมเทศนาในครั้งนั้น พระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์บันทึกไว้ว่า “… ผู้เขียนพยายามทำเป็นความลับไว้ตลอดเวลา เนื่องจากไม่มีใครที่จะกล้าที่จะเขียนธรรมเทศนาของท่าน เพื่อให้ได้บันทึกธรรมเทศนาเพื่อประโยชน์แก่คนอื่นต่อไปภายหลังที่ไม่ได้ฟังจากท่าน วิธีการที่ผู้เขียนทำสำเร็จก็คือ เมื่อเวลาท่านแสดงธรรม ก็พยายามกำหนดไว้ในใจอย่างมั่นคง เมื่อท่านแสดงธรรมจบแล้ว ก็ยังต้องมีหน้าที่ถวายการนวดอีกไม่ต่ำกว่า ๒ ชั่วโมง เมื่อถวายการนวดเสร็จก็รีบกลับที่พัก จับปากการีบเขียนธรรมเทศนาของท่านก่อนที่ความจำนั้นจะเลือนลางไป โดยใช้ปากกา ๑ ด้ามที่ติดตัวไป แต่น้ำหมึกไม่มี ผู้เขียนต้องคิดตำราทำน้ำหมึกขึ้นใช้ โดยเอาผลสมอไทย ผลมะเหลื่อม ผลมะขามป้อม เอามาตำแช่น้ำ แล้วเอาเหล็กที่มีสนิมมากแช่ลงไปด้วย เมื่อแช่ ๒-๓ วันได้ที่แล้ว เอามากรองด้วยผ้าขาวบางจนใสแล้วเอาเขม่าติดก้นหม้อสีดำใส่เข้าไปคนจนเข้ากันดีแล้วกรองอีก คราวนี้ก็เอามาใช้ได้ผลเขียนได้เป็นเล่ม แต่เวลาเขียนมันจะไม่แห้งทันที ต้องรอนานจนกว่าจะแห้ง ... ต่อมาผู้เขียนได้เอาเนื้อความอ่านเล่าถวาย ท่านก็ยอมรับว่าการบันทึกนี้ถูกต้อง ...” (จากหนังสืออัตชีวประวัติ พระเทพเจติยาจารย์ (วิริยังค์ สิรินธฺโร) หน้า ๑๓๒) - พระธรรมเทศนาของหลวงปู่มั่นในหนังสือ “มุตโตทัย” ประกอบด้วย ๑๗ หัวข้อ แต่ละหัวข้อมีสาระสำคัญที่ผู้ปฏิบัติธรรมควรศึกษาอย่างยิ่ง มีการพิมพ์แจกเป็นธรรมทานไปแล้วหลายครั้งนับแสนเล่ม ทำให้พุทธศาสนิกชนภายหลังได้อ่านธรรมเทศนาที่วิจิตรลึกซึ้งและทรงคุณค่าอย่างเอนกอนันต์ของหลวงปู่มั่น จากความเมตตาของพระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโรที่บันทึกไว้เมื่อกว่า ๗๐ ปีล่วงมาแล้ว
ก่อนที่หลวงปู่มั่นจะละสังขาร ซึ่งขณะนั้นอยู่บ้านหนองผือนาใน หลวงพ่อวิริยังค์เป็นหัวเรือใหญ่ในการนำหลวงปู่มั่นไปที่วัดป่าสุทธาวาสในอำเภอเมือง ตามคำสั่งของหลวงปู่มั่น เพราะท่านดำริว่าถ้าท่านละสังขารที่บ้านหนองผือชาวบ้านต้องฆ่าเป็ดไก่เป็นจำนวนมากเพื่อต้อนรับผู้มาในงาน ถ้าละสังขารที่อำเภอก็ยังมีตลาดหน่อย ถึงแม้ชาวบ้านจะเสียใจและไม่อยากให้หลวงปู่มั่นไปที่อื่น แต่ก็ต้องยอม -
-
-
-
-
-
-
มรรค 8 ปฏิบัติได้ง่ายๆในชีวิตประจำวัน โดยหลวงพ่อวิริยังค์
Pohthipun Karnwatanagool
Oct 20, 2017
37 เรื่องวิธีบำเพ็ญมรรค8 ;หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร
MrTHChannel :-
Published on Feb 8, 2013 -
-
-
-
จากหนังสือคำสอนของหลวงพ่อวิริยังค์
บางทีเราจะพบกับผู้ทำสมาธิเกิดตัวสั่นเหมือนผีเข้า อย่างนี้เป็นกิริยาอาการหนึ่งของใจ ความสั่นนี้จะเกิดขึ้นจากการทนไม่ไหวในการที่จิตกำลังจะเข้าสู่อาทิสมานกาย เมื่อจิตละความรู้สึกของกายหยาบสู่อาทิสมานกาย ความเป็นตัวของตัวเองจะไม่มี เพราะอาทิสมานกายนั้นยังไม่ได้ถูกจุดพลังอำนาจดำเนินการ จึงต้องคล้อยไปตามอารมณ์อุปาทานที่คั่งค้าง เพราะขาดจุดพลังอำนาจที่ได้ฝึกให้เกิดพลังแห่งความสามารถบังคับอาทิสมานกายได้ ณ เวลานั้น เป็นความสำเร็จขั้นสำคัญของสมาธิ แต่บุคคลไม่ได้ผ่านการทำสมาธิ หรือผ่านแต่ไม่ถึงจุดพลังอำนาจ การเป็นไปของอาทิสมานกายจะต้องไปตามอารมณ์และอุปาทาน เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงต้องเคลิ้มไปตาม เนื่องจากจิตได้เคลียร์ปลายสุดประสาทของกายหยาบได้แล้ว กายหยาบก็หมดสิทธิ์ที่จะทำงาน จึงเป็นหน้าที่ของอาทิสมานกายในการสั่งการไปตามอารมณ์และอุปาทาน จิตของคนเรานั้นเป็นตัวสะสมทุกสิ่งทุกอย่างที่มันได้ประสบมา เมื่อประสบพบเห็นก็ฉายเข้ามาเก็บเอาไว้นานัปการ ครั้นเมื่อจิตเข้าภวังค์ จิตที่ฉายเอาไว้หรือเท่ากับถ่ายเป็นฟิล์มเก็บไว้ที่จิต ก็จะถูกอัดรูปออกมา เป็นไปด้วยอารมณ์อุปาทานนั้นๆ ด้วยเหตุนี้ กายหยาบจึงแสดงวิธีหรืออาการต่างๆ ออกมาอย่างไร้สติ เป็นสิ่งที่ถูกกดดันจากอทิสมานกายให้พูดสำเนียงต่าง ๆ อักขระต่างๆ อารมณ์อุปาทานติดค้างเจ้าพ่อเจ้าแม่อยู่ในใจแต่ก่อนก็จะแสดงวิธีหรืออาการเหล่านี้ออกมา ซึ่งผิดปกติธรรมดา ไม่เหมือนคนที่มีสติโดยทั่วไป การแสดงออกเหล่านี้ทำให้คนที่มีสติปกติเข้าใจว่าเทพบ้าง ปิศาจบ้าง เจ้าพ่อบ้าง วิญญาณต่างๆ บ้าง เกิดมีความเชื่อด้วยความประสงค์ต้องการให้ช่วยเหลือต่างๆ นานา เป็นต้นว่า ดูชะตา ดูคู่ ดูเมียน้อยเมียหลวง รักษาโรคภัยไข้เจ็บ ดูอนาคต ให้ช่วยในหน้าที่การงาน ค้าขายให้มีโชคลาภ
ด้วยประการใดก็ตาม หรือด้วยความประสงค์ของประชาชนเอง ตลอดความเชื่อที่ยังไม่ได้รับการกลั่นกรองของผู้คนทั้งหลาย หาที่พึ่งอื่นไม่ประสบความสำเร็จ ก็ต้องมาเอาสิ่งที่ไม่มีตัวตนเป็นที่พึ่ง โดยคิดว่ามันก็ไม่เห็นจะเสียหายอะไร ประชาชนมาคิดกันอย่างนี้ การที่จิตเข้าภวังค์ด้วยความโน้มน้าวของอารมณ์ อุปาทานจึงเกิดขึ้นแล้วตั้งเป็นกลุ่มตามความที่บุคคลมิได้มีการกลั่นกรองให้ทราบและเข้าใจในกรณีเช่นนี้
(จากหนังสือหลวงพ่อ หน้า ๑๔ – ๑๕) -
อาจารย์ยอด : ชีวประวัติหลวงปู่วิริยังค์ สิรินฺธโร [พระ] new
อาจารย์ยอด
Published on Sep 22, 2017
หน้า 1 ของ 17