ขอตอบว่า สมถะ
เราไม่มีในกาย กายไม่มีในเรา
ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ขันธ์, 26 ธันวาคม 2008.
หน้า 35 ของ 53
-
แต่ถ้ามัน ตั้งมั่นอยู่มันก็ไม่กระเพื่อม
ก็ ทั้งวิปัสสนา และ สมถะ มันก็มีอยู่ -
ก็บอกแล้วว่า ศึกษาธรรมะของพระท่านให้ดีก่อน ให้เข้าใจ อุบายธรรมให้ดีก่อนค่อยวิจาร
มาดูกัน....
สำหรับ คุณ เกสท์ ที่กล่าวมา ดีแล้วที่วิเคราะห์มาเช่นนั้น แต่ยังไม่ถูกหรอก
ในสมัยพุทธกาล ไม่มีหรอกว่า ดูจิต นี้จะต้องดูเฉยๆ เขาทำการไปหลายๆ อย่าง ทั้ง กาย เวทนา จิต ธรรม
โดยเฉพาะ ข้อธรรม นี้ จะเกิดขึ้นประจักษ์ใจได้ ก็ต่อเมื่อได้พิจารณา
ส่วน คุณนิวรณ์
อ้างอิง:
<TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">"อย่าใช้จิตแสวงหาจิต"
"อย่าใช้ขันธ์เพื่อการหลุดพ้นขันธ์" ก็ใช้ขันธ์อยู่ จะไปหลุดพ้นได้อย่างไร </TD></TR></TBODY></TABLE>
อย่ายกเอาคำแบบนี้มาส่งเดช ถ้าคุณยังไม่รู้นัยยะดีพอ คุณควรจะยอมรับความจริงเป็นข้อๆ ก่อน เช่น ประเด็นคืออะไร ผมกำลังพูดอะไร และจริงหรือไม่ ที่่กล่าวเช่นนั้น ไม่ใช่ แถไปเรื่อยๆ
ผมจะยกประเด็นมาให้ดูอีกครั้ง
"นิวรณ์ยังยึดติด ว่า การดูจิตนั้นไม่ต้องไปทำอะไรกับมัน แต่ นายขันธ์ บอกให้ทวนกระแส หรือ พิจารณา ลด ละ เลิกกิเลส"
แล้วก็คุมให้อยู่ในประเด็นนี้เพราะตลอดเวลา นิวรณ์ เปลี่ยนประเด็นไป บ้างก็ว่า ไม่ต่างกัน บ้างก็ พูดเป็นนัย ว่าไม่ควรพิจารณา บ้างก็อ้างพระ ต่างๆนาๆ ไปเรื่อยๆ
ผมจะพูดให้ฟังอีกครั้ง
การดูจิตที่ว่าไม่ต้องไปทำอะไรกับมันนั้น จุดประสงค์จริงๆ คือ การเจริญสติ ( แยกองค์ธรรมให้ออกนะ ตรงนี้ ตั้งใจอ่านดีๆ ) การเจริญสตินี้ ให้คอยระลึกรู้ว่า กิน เดิน ยืน นั่ง นอน [ จุดประสงค์นั้น เพื่อการเจริญสติ แปลว่า กำลังทำให้มันเจริญ ดังนั้น ในขณะที่ ดู อริยาบทเนืองๆ อยู่นั้น เป็นขั้นต้น ครั้นพอปฏิบัติจนสมวรแก่ธรรมแล้ว สติ ก็จะเกิดอีกที
โดยสติที่เกิดนี้ เนื่องจาก จิตมันระลึกสภาวะธรรมได้ เมื่อจิตระลึกเห็นสภาวะธรรมได้ด้วย
ตัวจิตเอง สติ ที่เป็นอสังขาริกัง ไม่ได้ชักชวน หรือ เจตนาให้เกิด ก็จะเกิดขึ้น สติ ชนิด
นี้แหละที่เราพึงเจริญให้เกิดขึ้นมีขึ้นเนืองๆ นังต้องทำเนืองๆ โดยเมื่อรู้จักวิธีการเจริญ
สติที่เกิดเองชนิดนี้แล้ว ก็เอาไประลึกดูการเกิดสภาวะธรรมที่เรียกว่ากิเลส ถ้ามันเยอะไป
ก็ย่ยมาดูที่ โมหะ โทษะ โลภะ แต่ย่นไปมันยาก ก็ดูโกรธ ดูหลง ดูเผลอ ดูจิตเข้าฌาณ ดู
จิตฝุ้ง ดูจิตสงสัย ดูอะไรก็ได้ เรียกว่ามันเป็น จิตสังขาร ทั้งนั้น แล้วแต่ะเรียกชื่อกันไป แต่
แท้ที่จริงมันก็คือ โมหะ โทษะ โลภะ แล้วทันทีที่ สติ ชนิดนี้เกิด โดยการไปรู้สภาวะ
ธรรมชนิดที่เป็นกิเลส กิเลสจะถูกปัดตกไปจากจิตอัตโนมัติ ทั้งนี้เพราะ สติ ที่เกิดเอง
ชนิดนี้ เป็นเจตสิกข้างกุศล ซึ่งจะไม่มีทางเกิดร่วมกับ เจตสิกฝ่ายอกุศล เจกสิกที่เป็น
ฝ่ายอกุศลจิตจึงตกหายไปต่อหน้าต่อตาเอง แต่เนื่องจากเหตอาจจะยังไม่หมด จึงยัง
เห็น อกุศลจิตเกิดขึ้นซ้ำอีก ก็ให้ดูไปเรื่อยๆ ทั้งนี้เพราะยังไม่เห็น เหตุของมัน แต่ถ้า
สติมันไวพอ ไปเห็นอกุศลจิตตจั้งแต่เริ่มเหตุ อกุศลที่ตามมาทั้งหมดก็หายไปทั้ง
หมด แต่ก็อาจจะเกิดขึ้นอีก เพราะเชื้ออวิชชายังไม่ได้ถูกเผิกถอน ยังไม่แจ้งในอริยสัจจ ]
ชอบ หรือ ไม่ชอบ อารมณ์ ดีหรือไม่ดี ซึ่ง รวมความว่า เป็นมหาสติปัฎฐาน 4 คือ พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม ว่ามีอะไรเกิด มีอะไรดับ
[ เมื่อ สติชนิดเกิดเอง ประจักษ์แจ้งแก่ตนแล้วว่าเป็นอย่างนี้ จักษุธรรมเห็นเจตสิกธรรม
ชนิดนี้แล้ว ก็จะแก่กล้าพอที่จะตามรู้ตามดู ชอบใจ หรือ ไม่ชอบใจ เพิ่มเติมได้อีก ดู
เพื่อให้เกิด สติ เพื่อให้มันจดจำสภาวะธรรม ชอบใจ หรือ ไม่ชอบใจได้ เมื่อดูไปเรื่อยๆ
จนจิตจดจำสภาวะธรรม ชอบใจ หรือ ไม่ชอบใจได้ สติก็จะเกิด เมื่อเกิดสภาวะธรรม
ชอบใจ หรือ ไม่ชอบใจ เกิดขึ้น จิตก็จะมีคุณภาพพอที่จะตามรู้ตามดูการปรุงแต่ง ]
แต่ทีนี้ การที่บอกว่า ให้ดูเฉยๆ นี้จะเป็น ขั้นแรก คือ ไม่ให้กระบวนการของสัญญา สังขาร เข้ามาปรุง เพื่อให้เห็นการเกิดดับ ตามความเป็นจริง ว่า กายเคลื่อนไป ใจเคลื่อนไป ก็ให้รับรู้ถึงสิ่งนั้น นี่คือขั้นแรก และ คนมักจะติดว่า อาจารย์บอกว่าอย่าไปปรุงต่อ ก็ให้ดำเนินเพียงเท่านี้
[ ก็ต้องมาชี้อีกครั้ง การดูเฉยๆ ไม่ใช่ให้ดูแล้วจ้อง เพ่ง จนจิตมันเฉยๆ แต่ให้จิตมันทำ
งานของมันไป จะอะไรก็ได้ จะปฏิบัติในชีวิตประจำวันก็ได้ จะปฏิบัติสมถะอยู่ก็ได้ มัน
จะเกิดสภาวะธรรมให้จิตรู้ได้ทั้งหมด มีของถูกรู้ถูกดูปรากฏเสมอ ก็เอามาดู มาระลึก
ดูเป็นสภาวะธรรมไป ก็เพื่อเจริญสติ ให้จิตมันจกจำสภาวะธรรมเหล่านั้นได้ เมื่อจำได้
ก็จะเกิด สติ ระลึกรู้ ก็จะมีความละเอียดมากขึ้นในการจำแนก รูป-นาม ทั้งหมด ที่จิต
ไปรู้เข้าได้ ]
ทีนี้ จิตเมื่อหดสั้นและรวมตัวเข้ามา ก็อาจจะพบกับ ความบริสุทธิ์ บางส่วนอันเป็นทัสนะขึ้นมาก็ หลงว่า นี้แหละ คือทาง นี้แหละคือวิปัสสนาญาณที่แท้จริง ผมอ่านแล้วก็นึกในใจว่า
นี่สิ่งเหล่านี้ ผมเป็นมาก่อนตั้งไม่รู้กี่ปีแล้ว ไ่ม่ต้องบอกว่าทำอย่างไรก็รู้หมดแล้ว แต่ว่ามันยังขาดอะไรไป นั้นแหละคือประเด็นที่ผมมาพูด
ก็ว่า เมื่อ ปฏิบัติเจริญ สติ เวลาเจริญสติ ก็คอยดู ไม่ต้องไปทำอะไรแทรกก็ถูกแล้ว แต่ในวิถีชีวิตประจำวัน เมื่อเจอกับกิเลส ต้องฝืน เพราะว่า หากไม่ฝืน แล้วบอกว่า ดูเฉยๆ มันดับไปหมดได้ มันก็เข้าถึง พระอรหันต์ได้ทันทีนะสิ นี่ก็พูดแบบนี้ให้พิจารณาว่า ต้องหาอุบายพิจารณา ว่ากิเลสเกิดมาอย่างไร แล้วจึงจะประจักษ์ ใจ อันเป็น ธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐานเกิดขึ้นนั้น
[ การดูกิเลสมันผ่านหน้าบ้านไปนั้น หากเจริญสติได้อย่างถูกต้อง และทันสภาวะธรรม
ชอบใจ และไม่ชอบใจแล้ว ก็จะเริ่มเห็นกิเลสมันผุดขึ้น แต่เนื่องจากจิตเรามีสติ รู้ทัน
ความชอบใจ ไม่ชอบใจ จิตจึงไม่ไปเชิญแขกเข้ามาในบ้าน แขกก็จะเดินผ่านหน้า
บ้านไปจนลับตา ก็จะเริ่มเห็น เกิด-ดับ โดยความเป็นจริงโดยมี สติ ที่เป็นเครื่องมือ
ในการทำวิปัสสนาญาณให้เห็นตามจริง ก็จะเป็นอย่างนี้ ก็ดูแบบนี้ไปเรื่อนๆ จนจิต
เขาอิ่มการเห็น แล้วเขาสรุปการเห็น จิตจะทรงฌาณ(เพราะกิเลสเดินผ่านหน้าบ้าน
ไปหมด) ญาณก็จะสัมปยุต เกิดขบวนการของ อริยมรรค อีกที แล้วจึงค่อยทวนโดย
จิตเขาจะทวนเองว่ากิเลสอะไรละไปแล้ว อะไรเหลือ ซึ่งจะทำให้ทราบแก่ตนว่า เป็น
การบรรลุแบบไหนอย่างไร ]
ครานี้แหละ เมื่อมหาสติปัฎฐานเริ่มพัฒนาแล้ว เราก็จะค่อยๆ เพิกการมอง คือ ไม่ต้องไปมอง ถี่่ ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม แต่ คอยมองตัว ทุกข์ แล้ว ค่อยๆ เพีี้ยร แล้ว เจริญวิปัสสนา ว่า อะไรคือ สมุทัย พิจารณาให้ธรรมประจักษ์ขึ้น ถึง สมุทัยนั้น แล้วมันจะดับไป
[ เมื่อเกิดขบวนการของอริยมรรคแล้ว ก็จะมีจักษุธรรม ค่อยพิจารณาเรื่อง อริยสัจจ ว่า
เป็นอย่างไร ไม่ใช่ไม่เคยมีจักษุธรรมเลย แล้วจะนึกทึกทักเอาเองว่า นี่คือ อริยมรรค
เรื่อง มรรค นี้ ก็ให้กลับไปอ่านที่ จินนี่ ยกมาให้ดูว่า อะไรคือการอนุโลมใช้ ใช้อนุโลม
เพื่ออะไร มรรค แบบไหนคืออนุโลมใช้สำหรับปุถุชน แล้วมรรคนั้นคืออริยมรรคหรือ
เปล่า ในพระสูตรนั้นจะชี้แล้วว่า แม้เป็นคำเดียวกัน แต่ใช้ในสองสถานะ แต่ไม่ได้แปล
ว่ามีเนื้อธรรมเดียวกัน ]
ก็ปัญหายังมีอีกว่า แล้ว นายนิวรณ์ นี้ สงสัยเป็นพระอรหันต์ บอกว่า ไม่ต้องไปพิจารณาอะไร มันจะดับไปเอง ผมก็ย้อนถามว่า มันดับไปเองได้หมด มันก็ไม่ต้องมีอาการหลงแล้ว
[ อันนี้แสดงไปแล้ว ให้อ่านเรื่อง กิเลสเปรียบเหมือนแขกที่จรมา ผ่านหน้าบ้าน แล้ว
คุณก็เอาไปทรวจทานดู ว่าขัดในเรื่อง มหาสติปัฏฐานอย่างไรหรือไม่ ]
ก็เพราะว่า คนยังหลง มันก็ต้อง เดินตามวิถีที่ พระพุทธองค์สอน
นี่ใครจะเชื่อผมก็ทำไป ใครไม่เชื่อก็ตามใจ เพราะมันยังโง่อยู่มาก แล้วอวดดี นี่ผมเดินมาจนถึงเท่าไร ก็บอกไปหมดแล้วว่า ผ่านมาแล้ว ยกพระสูตรมาก็ยกมาให้ดู ยกคำสอนพระอริยะมา ก็ยกมาให้ดู มันยังจะบอกว่า ธรรมตื้น ธรรม สาธารณะ ยกไม่ตรงบ้างอะไรบ้าง
ก็พิจารณาดูแล้วกัน
[ ก็ขอย้ำว่า ไปศึกษาคำสอนของพระท่านให้แจ้งแก่ใจก่อน แล้วค่อยปฏิเสธทางที่
หลายๆ คนเขากำลังดำเนิน เริ่มดำเนิน ]
<!-- / message --> -
จากจิต ก็ แตก ออก ไป กาย เวทนา ธรรม ได้
เพราะอยู่ในที่เดียวกัน
เมื่อแตกออกก็ ย่นย่อ เข้ามา
หาจิตเหมือนเดิม
ภาคปฏิบัติเบื้องปลาย
ก็จ่อเข้ามาที่จิตเหมือนเดิม
จะไปหา กาย เวทนา ธรรม อีกทำไม
มหาเหตุคืออวิชชาอยู่ที่จิต
สุดท้ายไม่ดูที่จิต จะดูที่ไหน
ธรรมชั้นนี้สูงกว่าที่ อ.ขันธ์จะเข้าใจ
นะจะบอกให้ -
-
-
รู้เฉยๆ สักกว่ารู้ สักว่าเห็น
ถ้ามากกว่า รู้ ด้วยความรู้ตัว(มีสติ) รู้เรื่อง รู้เอาเรื่องราว ก็เข้าข่าย สมถะ
ที่พูดถึงนี้ มองในแง่ของ จิตทำวิปัสสนา(ได้ปัญญา) จิตทำสมถะ(ได้สมาธิความตั้งมั่น)
"อารมณ์น้อยสติมาก อารมณ์มากสติน้อย" คำนี้ มันรู้มากกว่า รู้ ไปแล้ว
ก็เลยตอบ ว่า สมถะ -
ตรงที่ยังไม่สื่อสารกันให้เข้าใจนะครับ
ผมว่าคุณนิวรณ์ กับ อ.ขันธ์ คงไม่ต่างจากนี้ -
"อารมณ์น้อย สติระลึกรู้ไม่ทัน
อารมณ์มาก สติระลึกรู้ทัน"
เป็นธรรมระดับสมถะ หรือ วิปัสสนาครับท่าน -
แล้วคุณขันธ์ เข้าใจวิธีปฏิบัติที่เรากล่าวหรือเปล่า
คำว่า ดูเฉยๆ คือ ติดเฉย ติดซึม ติดนิ่ง หรือเปล่า
มันเป็นการเฉยที่ดูสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นในกาย ใจเราไปเรื่อยๆ
เห็นเรื่อยๆ เห็นเนืองๆ แบบนี่ เรียกว่า ติดนิ่งหรือเปล่า
การดูไปเรื่อยๆ เพื่อให้จิตเขาจดจำสภาวะธรรมได้ เมื่อเขาจดจำได้
ก็จะเรียกว่าเกิด สติ คำว่า สติ ที่เกิดจากหลังการที่จิตเขาจดจำสภาวะ
ธรรมได้ โดยเราไม่ใช่คนจำ ไม่ใช่คนดู สติ ที่คุณขันธ์เข้าใจ กับ สติ
ที่เรากล่าวเห็นว่า มันเกิดเอง เป็นตัวเดียวกันหรือไม่
ถ้าไม่ ทางคุณยังเห็นว่า สติ คือ การกำหนดเข้าไปรู้ กำหนดว่ารู้อย่าง
นั้น เห็นอย่างนี้ สติ แบบนี้ ต้องถือว่า คนละตัวกันกับเรา ถ้า สติ ใน
แบบที่คุณใช่เอามาเจริญสติในแบบเรา ทางเราเรียกว่า จ้อง เรียกว่า เพ่ง
เรียกว่า ประคอง แล้วแต่ลักษณะการฉวยมาเป็นเรา(จิต) แต่ทางเรา
จะระลึกดูสภาวธรรมเหล่านี้ แล้วปล่อยเสีย หากมันไม่ปล่อย เราก็รู้
ว่าเราบังคับจิตไม่ได้ เราจึงรู้ดูมันทำเฉยๆ กล่าวคือ มันจะเอาสมาธิ
เข้าไปประหารกิเลส เราก็ดูมันทำอยู่เฉยๆ ซ้อนอีกชั้นหนึ่ง จนกว่าจิต
จะจดจำสภาวะธรรมที่จิตแอบเอาสมาธิเข้าไปตัด สติ ถึงจะเกิด ก็จะ
เข้าสู่การทำวิปัสสนาตามความเป็นจริง
ผมก็ทำได้แบบนี้ ดูมันไปอย่างนี้ ส่วนเรื่องดูวิญญาณ ผมก็บอกได้
เลยว่าผมเห็นมันแล้ว และเห็นได้แจ่มชัดกว่านั้น หากตอนนี้ไปฝึกเปิด
ภาครับ ก็จะเข้าใจภาษาสัตว์ต่างๆ แต่พระท่านว่า มันไม่มีประโยชน์
ดูเฉยๆ อย่างนี้ไปก่อน เพื่อสะสมบารมีให้เต็มเร็วๆ
ถ้าอยากรู้ว่า การไปรู้ภาษาสัตว์มีคุณหรือโทษ ให้ศึกษาชาดกที่กล่าว
ถึงจุดเริ่มแรกของ พรเทวทัตที่มีจิตปองอาฆาติพระพุทธองค์ -
สมถะ ก็ใช่ วิปัสนาก็ใช่ และทั้งสมถะและวิปัสนาก็ใช่
เพียงแต่จะรู้ทั้งในอารมณ์รูปนาม หรือสมมุติ -
สมถะ หรือ วิปัสสนา
ในความคิดของผมเป็นเป็นเพียงแค่วิธีการเท่านั้นครับ
ที่สำคัญคือสติ ครับ
จะทำสมถะ หรือ วิปัสสนา
ก็เป็นไปเพื่อ สติ ทั้งนั้น ครับ ในเบื้องแรก -
ถ้าผมเข้าใจ หลักการปฏิบัติธรรม ใด ๆ ผิด ไป
ช่วยกรุณาชี้แนะด้วยนะครับ -
เชิญสนทนากันต่อครับ ไปล่ะ ...
เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับทุกท่าน -
ผู้ใหญ่ก็นึกในใจว่า เดี๋ยวโตกว่านี้ก็รู้เอง อย่าให้ผมอธิบายไปมากกว่านี้เลย -
-
คุณเกสท์ครับ
แสดงว่าคุณนับถือพุทธศาสนาเพราะเชื่อตามๆกันมาเท่านั้น
จึงไม่รู้จักฌานและไม่เห็นความสำคัญของฌานในพุทธศาสนาเลยสักนิด
แม้แต่พระพุทธโฆษาจารย์ยังกล่าวยกย่องฌานไว้ดังนี้
-
คุณหม้อหุงข้าวครับ
คุณกำลังสับสนและเข้าใจผิดอยู่นะครับ
ผมไม่เคยคิดตรวจสอบอะไรใครเลยนะครับ
เพราะธรรมะที่พวกเค้าพูดๆกันมาก็บอกให้รู้ได้แล้วครับว่า...
ที่ผมมีคำถามไปนั้นเพื่อต้องการรู้เท่านั้นหละว่า
ที่รู้มาหนะจาก จำมาพูด หรือทำมาพูด(ธรรมภูต)
;aa24 -
การดูตัววิญญาณ นี้ เดี๋ยวผมขออธิบายให้คนที่สนใจฟังแล้วกัน
ให้คุณ อ่านคำต่อไปนี้ "ผม" "หนู" อ่านสองคำนี้บางคนรู้ไปว่าเป็น เส้นผม บางคนรู้ไปว่าเป็นตัว สรรพนามของคนที่กล่าว บางคนรู้ไปว่าเป็นตนเองที่ใช้เรียก ผม
ทีนี้ การอ่าน ข้อความอะไรก็ตาม เมื่อจักษุวิญญาณ มองเห็นแล้ว จะนำไปสู่ความเข้าใจ
ความเข้าใจนี้ ปรากฎตรงไหน ในใจเรา มันมีตัวมีตนไหม ให้ดูตรงนั้นว่า เมื่อความเข้าใจเกิดขึ้น มันเป็นตัวเป็นตนไหม พิจารณาเช่นนี้ ยกตัวอย่างเช่น อ่านแล้วเข้าใจ ไอ้ตัวเข้าใจนี้ ใครเข้าใจ เราเข้าใจหรือเปล่า ถ้าตอบว่าใช่ แสดงว่า ยังมีสักกายทิฎฐิ คือ มองขันธ์ 5 เป็นเรา เราเป็นขันธ์ 5
ตรงนี้ใครอวดรู้ ว่า รู้แล้วเห็นแล้วแสดงว่า โง่ เพราะว่า มันเป็นธรรมของ พระโสดาปัตติผล
คือ ละสักกายทิฎฐิได้แล้ว
แล้วถ้าจะมาบอกว่า ผมรู้แล้วเห็นแล้ว แบบนี้ก็หลอกตัวเองอีก เพราะถ้ารู้แล้วเห็นแล้ว ธรรมต้องเกิด ต้องอัศจรรย์ใจ เพราะได้สัมผัสรสธรรม และจะต้องเข้าใจในสิ่งที่ผมกล่าวไปว่า มีลึกซึ้งโดยอรรถเพียงใด
ความเข้าใจ เราเข้าใจได้ แต่ประจักษ์ใจ นั้น ยาก การประจักษ์ใจนั้นแหละคือธรรม คือ เห็นแล้วว่า สิ่งนั้นไม่ใช่เรา เห็นความรู้ เห็น สัญญาที่เกิด เห็นวิญญาณที่เกิด ไม่ใช่เรา
ตรงนี้แหละ คือการละสักกายทิฎฐิ
ใครอวดดีบอกว่า รู้แล้ว ก็ถามว่า รู้แล้วทำไมมึงไม่มาพูด นั่งอมธรรมไว้ทำไม ( ขอโทษ ที่ใช้คำไม่สุภาพ เพื่อประกอบอรรถรสแห่งธรรม) -
ตอบคุณขันธ์กับคุณนิวรณ์
คุณขันธ์ครับ ผมเองก็เคยพูดไปแล้วนะครับว่า
เห็นคุณกับคุณนิวรณ์ที่เพียรพยายามแนะนำธรรมะให้กับผู้ที่ใหม่อยู่
และสนใจพุทธศาสนานั้น เป็นสิ่งดีนะครับ ถ้าสิ่งที่พูดตรงต่อพระบรมศาสดา
เห็นมีการถกกันบ้างเป็นครั้งคราวพอให้กระทู้ไม่เหงา
แต่เนื้อหาสาระส่วนใหญ่เป็นการโชว์ภูมิเสียมากกว่า ถูกผิดไม่สนใจ
หามีความละอายต่อบาปไม่ ขอให้ได้คุยในสิ่งที่ตนเองอยากคุยเท่านั้น
ไม่ได้สนใจที่จะหาสัจจธรรมที่แท้จริงจากการสนทนานั้นเลย
ผมบอกคุณและคุณนิวรณ์ได้เลยว่า ทำไมถึงไม่ฟังคุณ๒คนนั้นมีเหตุผล๔ข้อครับ
๑.เท่าที่คุณ๒คนพูดมานั้นขัดกับหลักเหตุผล??? ผมได้มีคำถามเพื่อขอเหตุผล
๒.หลีกเลี่ยงการตอบคำถามของผม??? ผมยังรอคำตอบอยู่ครับ
๓.คุณรับมาเองว่าลักจำมาพูดแล้วผิดตรงไหน??? ผมตอบไปแล้วหาอ่านเอา
๔.คุณพูดถึงสภาวธรรมของพระอริยเจ้าผิดจากความเป็นจริง???
ข้อนี้เคยตำหนิคุณทั้ง๒คนไปแล้วนะครับ
ส่วนเรื่องที่คุณทั้ง๒คนพยายามยัดเยียดกันเองให้เป็นธรรมภูต2นั้น
ผมขอบอกตามตรงโดยไม่เกรงใจเลย คุณทั้ง๒นั้นหมดสิทธิ์โดยเด็ดขาดครับ
เพราะยังไม่เคยตอบคำถามเกี่ยวกับการปฏิบัติมาเลย
ดีแต่จำมาพูด1 และจำมาพูด2 เรื่อยเปื่อย
พอถูกถามกลับ ไม่เป็นใบ้ ก็แถออกไปว่าฟังไม่รู้เรื่อง
ฉะนั้นไม่มีสิทธิ์เป็นทำมาพูด2(ธรรมภูต๒)แม้แต่จะคิดก็หมดสิทธิ์....
;aa24
หน้า 35 ของ 53