ไม่ใช่นะครับที่มักกล่าวว่า “สมถะเหมือนการหลบภัย วิปัสสนาเหมือนการผจญภัย”

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 26 พฤษภาคม 2009.

  1. วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846


    ]...ถามนิดนึง..
    ...เสนอนิดหน่อย

    ...ในการใช้ชีวิตประจำวันเราพุทโธตลอด..(ใช้พุทโธเป็นฐาน)..
    ...หากมีอาชีพที่เสี่ยงกับอันตรายได้ง่าย ก็ควรตั้งใจจดจ่ออยู่กับงานที่ทำ ...แต่หากงานที่ทำไม่เสี่ยงกับอันตรายก็บริกรรมไว้ในใจตลอดก็ได้เพื่อให้ขึ้นใจกับพุทโธ
    ...พุทโธช้ารู้..พุทโธไวรู้..
    ...กรณีนี้เป็นการฝึกสติไปในตัวโดยการตามรู้ หากตามรู้จนชำนาญก้รู้สึกตัวได้เร็ว แค่รู้ รู้เฉยๆ จะช่วยในการเจริญสติได้ดีขึ้น

    ...เมื่อรู้ตัวว่าเผลอไปคิด..พุทโธหาย..ก็ดึงกลับมา..ไม่ปล่อยให้คิดต่อ.. ...เป็นการฝึกสติตามรู้โดยดูจาก เผลอแล้วรู้ ซึ่งจะเป็นการจดจำสภาวะที่เรียกว่าเผลอคือโมหะ หากฝึกจนชำนาญ ตามรูทันเผลอแล้วรู้โดยอาศัยพุทโธเป็นหลักในการตามรู้เผลอ ก็จะรู้สึกตัวได้ไวขึ้นเป็นลำดับ
    ...แต่การดึงกลับ โดยบริกรรมที่พุทโธ แล้วพุทโธหาย เป็นการทำให้จิตสงบ การรวมจิตให้สงบนิ่ง ยิ่งแนบแน่นกับคำบริกรรมก็จะสงบละเอียดขึ้น เป็นการฝึกทำฌาน ไปในตัว


    ...เมื่อมีสิ่งมากระทบ..ก็กำหนดรู้..แล้วกลับมา..พุทโธต่อ..
    หากในชีวิตประจำวัน มีสิ่งมากระทบ แล้วกำหนดรู้ เช่น ตากระทบรูปเกิดที่ใจ แล้วกำหนดรู้ที่ใจว่าอารมณ์เป็นอย่างไร ก็กำหนดรู้ไป แล้วกลับมาที่พุทโธ กรณีนี้ก็เป็นการฝึกเจริญสติ และฝึกให้ชินและแนบแน่นกับพุทโธ ช่วยให้เวลาฝึกสมถะ หรือตั้งฌาน จะทำได้ง่ายขึ้นและเร็ว เมื่อทำในรูปแบบ

    ..การบริกรรมพุทโธ หากอยู่ในรูปแบบ ผู้บริกรรมฝึกจนชำนาญ ด้วยการบริกรรมตลอดจะเป็นการฝึกสมถะ ทำให้จิตสงบได้เร็วและแนบแน่นเป็นฌานที่ละเอียดขึ้น..อันนี้เป็นสมถะ
    ...อันนี้เป็น สมถะหรือไม่..

    ....กรณีที่ฝึกในรูปแบบ หากบริกรรมพุทโธแล้วพุทโธหายไป อย่าเสียโอกาส ให้กำหนดรู้ สิ่งที่ผุดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความคิด อารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเมื่อพุทโธหายไป หรือบางครั้ง คำว่าพุทโธ มันกลับมาอีก ก็กำหนดรู้พุทโธ โดยรู้ไปอย่างนั้นรู้ แค่รู้เฉยๆ ตามสิ่งที่ผุดขึ้น ..แต่หากบริกรรมไปจนพุทโธหาย แล้วมีความพยายามกลับมาบริกรรมใหม่ จะเป็นเพียงการทำสมถะ หากในทุกครั้ง ที่คำบริกรรมหายไปในการทำสมาธิในรูปแบบ ให้กำหนดรู้อารมณ์ ความนึก คิด ที่ผุดขึ้น ไม่ว่าจะคิดดีคิดไม่ดีอะไรก็ช่าง แค่กำหนดรู้ รู้เฉยๆ มีอะไรผุดมาก็กำหนดรู้ไว้ รู้เรื่อยๆตามสิ่งที่ผุดขึ้น กรณีนี้เป็นการเริ่มที่จะฝึกเพื่อให้เกิดสัมมาสติ และเป็นการฝึกเดินวิปัสนา หากอบรมทำจนชำนิชำนาญ เมื่อมีความคิดที่ผุดขึ้นมันจะกำหนดรู้ของมันเองแต่กว่าจะกำหนดรู้เองได้ก็ต้องฝึกจนชำนาญ ก็จะกลายเป็นการเจริญสมถะควบวิปัสนา

    ..กรณีฝึกบริกรรมพุทโธ ไปทั้งวันไม่ว่าจะนั่ง เดิน หรืออริยาบทต่างๆ หากฝึกบริกรรมไว้ในใจ จะมีประโยชน์มาก ในการฝึกทำความสงบ(สมถะ)หรือเพื่อฝึกทำฌานในรูปแบบ จะตั้งฌานได้เร็ว และสามารถฝึกตั้งฌาน จนชำนาญ ก่อนจะยกเป็นวิปัสนาอีกทีก็ได้ คือให้ได้ฌานจนชำนาญก่อน

    ..อีกกรณี การฝึกฌานไล่ฌาน จนชำนาญ ก็เป็นการฝึกสติไปในตัวด้วย โดยปริยาย กรณีนี้ ต้องได้ที่วิเวกเหมาะแก่สมถะจริงๆจึงจะเดินวิปัสนาได้ง่ายและตั่งฌานได้ง่าย และต้องอบรมจนชำนาญด้วย
    เช่นว่า เราฝึกบริกรรมพุทโธเพื่อหมายในสมถะก่อนเพื่อให้ได้ฌาน 1-2-3-4 การไล่ฌานจนชำนาญนี้ หากฝึกแบบไม่จมแช่ในฌาน ฝึกแบบไล่ไปทีละฌาน 1 แล้วไป 2 .. 2แล้วไป 3..3แล้วไป4 แล้วไล่กลับ สลับไปสลับมาขึ้นลง จนสามารถชำนาญในการเข้าฌาน ก็จะได้ผุ้รู้เช่นกัน มันจะเกิดการกำหนดรู้เองเช่นกัน โดยช่วงรอยต่อระหว่างฌาน 1กับ2 หากชำนาญ มันจะมีสิ่งผุดก่อน ที่จะเคลื่อนฌาน จาก 1ไปสอง กรณีที่เราเพ่งอยู่ที่ฌาน 1 อยู่ตลอด แล้วไล่ขึ้นไปสอง จิตที่เพ่งอยู่ พอเคลื่อนไป เพ่งอีกที่คือฌาน2 มันจะรู้รอยต่อของฌานแว๊บนึงซึ่งเป็น อะไรซักอย่างผุดมา ช่วงรอย ระหว่าง 3 และ 4ก็เช่นกัน กรณีนี้จึงต้องฝึกไล่ฌานจนชำนาญมากๆ จะทำให้ไม่จมแช่กับฌาน แถมยังได้ผู้รู้และเมื่อถอยออกฌาน จิตที่เพ่งอยู่นั้นเมื่อออกมาใหม่ๆ มันก็ยังเพ่งอยู่โดยอัยโนมัต พอมีอะไรผุดมา มันก็จะเพ่งสิ่งที่ผุดมานั้นเองหรือเรียกอีกอย่างว่า มันจะรู้สิ่งที่ผุดมาเองหลังจากที่เราออกฌานเองโดยอัตโนมัตทุกครั้ง ..กรณีนี้ต้องชำนาญเกี่ยวกับการทำฌานมากๆ และต้องไสถานที่ที่เหมาะสมที่สุด จะไปได้เร็ว สัมมาสติจะเกิดได้เร็วโดยอาศัย สมถะเป็นฐาน กรณีนี้ หากบวชจะมีเวลาทำได้ดีกว่าฆราวาส...กรณีนี้หากผู้ฝึกไม่เข้าใจวิธีแล้วจะทิ้งผู้รู้ไป โดยไม่เพียรให้ผุ้รู้เจริญขึ้น ก็จะไปติดสมถะในการจมแช่....
    ..หากเราถนัด ที่คำบริกรรมที่พุทโธ ก็ควรดูว่าเหมาะกับอย่างไรกับชีวิตเรา
     
  2. ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    <TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 6 คน ( เป็นสมาชิก 6 คน และ บุคคลทั่วไป 0 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER>[ แนะนำเรื่องเด่น ] </CENTER></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>ธรรมภูต, ทดสอบ1, สมถะ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    สวัสดีครับ ท่านสมถะ
    ไหนๆก็เข้ามาอ่านแล้ว ช่วยกันทำมาหากินหน่อยครับ
    โดยเฉพาะเรื่องสมถะ-วิปัสสนา

    ท่านชื่อสมถะ ท่านคงอธิบายเรื่องสมถะได้ดี
    ว่าไม่ใช่เป็นการหลบลี้หนีหน้ากิเลส (หลบภัย) แบบที่เข้าใจผิดกัน

    เพราะในกลางยังมีกลางอีก จากหยาบจนถึงละเอียด

    ;aa24
     
  3. ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    การดึงกลับมา เพราะจิตมีสติระลึกรู้
    เมื่อจิตระลึกรู้แล้ว ดึงกลับมาได้ แสดงว่าต้องมีปัญญา(วิปัสสนา)

    ถ้าจิตไม่มีปัญญา ดึงยังไงก็ไม่กลับ
    เพราะโดยธรรมชาติจิตชอบออกเที่ยวรู้รับอารมณ์

    พอจิตมีปัญญาดึงกลับมาได้ อยู่ที่องค์ภาวนา
    จิตก็สงบตั้งมั่นกับคำภาวนา เป็นสมถะ...

    ผมถึงย้ำเตือนตลอดว่า สมถะและวิปัสสนา ไม่แยกจากกัน
    ต้องผสมผสานกันตลอดในการปฏิบัติสมาธิภาวนา

    มีแต่พวกดูจิตติดสังขารเท่านั้นที่เดี๋ยวห้ามแทรกแซง เดี๋ยวไว้ใจมัน
    เดี๋ยวให้ฝืนมัน เดี๋ยวก็ให้รู้ทันมัน เดี๋ยวก็มันเกิดเอง เดี๋ยวมันก็ดับเอง
    พูดจนจับประเด็นอะไรไม่ได้สักอย่าง
    อยู่บ้านทำกับข้าวกินดีกว่า ยังได้อิ่มท้อง ดูแล้วมีสาระกว่า

    ท่านอาจานนิฯ ถ้าจะสอนแบบนี้ แบบพูดเข้าพูดออก
    กับคนนึงพูดแบบนึง กับอีกคนพูดอีกแบบนึง เดี๋ยวมี เดี๋ยวไม่มี
    เดี๋ยวใช่ เดี๋ยวไม่ใช่ เดี๋ยวห้ามแทรกแซง เดี๋ยวให้ฝืน(แทรกแซง) ฯลฯ

    อย่าให้คนปฏิบัติเค้าสับสนเลยครับ
    ให้อาจานขันธ์ตอบยังดีกว่า ยังเป็นแนวทางเดียวกัน

    นี่เรื่องศาสนา ไม่ใช่การตลาด จะได้มาแย่งผู้มุ่งหวังกัน

    ;aa24
     
  4. เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    :z17

    ก็แล้วแต่คนฟังสิครับ มันเป็นลีลาการ รู้ ที่เป็นไปเพื่อความไม่ยึดมั่นถือมั่น

    พี่ภูติมาอ่านเข้า ก็ต้องเกิด ปริวิตก เป็นธรรมดา

    คุณ กลับใจ เขาชอบธรรมแนวเซน นี่ถ้าฟังแล้วเขาไม่รู้เรื่อง มันก็ว่าง เข้า
    ทางเซนได้เหมือนกัน

    พอว่างแล้ว ก็ดูใจที่เคลื่อนยิ๊บๆ จะหมายรู้ ระลึกรู้ตรงที่มันอยากจะเคลื่อน
    ยิ๊บๆ เอ๊า รู้ได้เหมือนกันอีกนะ แปลก ...แต่พี่ภูติ ...งง !
     
  5. วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ผมล่ะฮากับพี่ภูตจริงๆ คนที่พูดกลับไปกลับมานี่ดูสับสนกับชีวิตยังไงไม่รู้เนอะ ทำกับข้าวกินยังดูมีสาระกว่าเนอะ เหอๆๆๆๆ

    อาจารย์ขันธ์ยังดูน่าเชื่อถือกว่าคือแสดงธรรมในแนวทางเดิม มีหลักใจ หรือจุดยืนชัดเจน ถ้าจะเรียกให้ดูโก้สักหน่อยก็ต้องใช้คำว่า มีสัมมาทิฏฐิ อะไรๆมันจึงดูแจ่มแจ้งไม่สับสน...หุๆๆๆๆ
     
  6. ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    วันนี้ กำหนดจิตดู ( ขอโทษนะครับที่พูดเหมือนโม้ไปหน่อย) ว่าเหล่าบรรดา ดูจิตนี้รู้อะไร
    ก็สรุปว่า เหล่าบรรดาดูจิต ไปได้การตื่น ตัวหนึ่ง การตื่นที่ว่ามันเป็นแบบนี้
    คือ เวลาโมโห หรือ เวลามีอารมณ์ขุ่นมัว หรือ มีอะไรทุกข์ใจ คนที่มีกำลังจิตหน่อยเขาก็สามารถตื่นขึ้นมาเลย คือ เลิกมีอารมณ์ที่ติดอยู่ตรงนั้นได้ทันที

    ทีนี้ มันตื่นแล้วมันหายจากทุกข์ตรงนั้นได้ทันที แท้จริงแล้วมันก็คือ การละอกุศล การวางลง เปลี่ยนสภาวะที่เป็นอยู่นั่นแหละ

    แต่เอาเข้าจริง เขาละอกุศล ในขณะนั้นอย่างเดียว ซึ่งก็ได้ผลนะ แต่ได้ผลไม่เต็ม
    และ ปัญหาที่ตามมาคือ ไม่รู้รอบ เมื่อไม่รู้รอบแล้วแนะนำผิดๆ นั่นแหละจะเป็นปัญหาให้คน ขาดสมาธิ และอีกประการหนึ่ง คือ การละอกุศลที่มีกำลังน้อยนั้น สามารถทำได้

    แต่เมื่อใดก็ตามที่เจอ ทุกข์อริยสัจของจริง มันละไม่ได้ และจะติดอยู่กับสภาวะสักกายตลอดไป ไม่สามารถละตัวนี้ได้ด้วยเพียงกำลังเท่าที่มองกันมา

    ต้องมีกำลัง ศีล สมาธิ ปัญญา มากกว่านี้ และ ควรเพีียรทำสมาธิให้มากกว่านี้
    เจริญสติให้มากกว่านี้ เพียรพิจารณาให้มากกว่านี้
     
  7. วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    แล้ว ท่านขันธ์คิดว่า เค้าไม่ทำทานไม่รักษาศีล ไม่ทำสมถะ กันหรืออย่างไร
    ดูจิต มันก็ดูได้เรื่อยๆ ไล่จากหยาบไปละเอียดลงเรื่อยๆ
     
  8. nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    ผู้ปฏิบัติธรรม ถึงปฏิบัติเท่าใดก็ไม่ได้มรรคผล จะปฏิบัติเท่าไรก็แล้ว เพราะหมดเขตได้มรรคผลจะเกิดเสียแล้ว ถึงจะว่ามีผู้ใดถึง เราก็ไม่เห็นกับตาเรา ถ้าจะว่าศาสนา มีมรรคมีผล ไม่เลือกกาล ก็ไม่เห็นผู้ใดเป็นผู้ได้ผู้ถึง และตัวเราเอง ก็ไม่เห็นไปไหนมาไหน เหมือนบุรุษที่จักษุบอด ไปขุดเพชรขุดพลอย เมื่อไม่ได้เพชรได้พลอยก็บอกว่าเพชรพลอยไม่มี ก็นั่งบ่นปานคนเสียสติ ผู้ปฏิบัติต้องเห็นใจตัวเองให้ได้เสียก่อน แล้วจะเข้าใจผู้อื่น น้อมรับเดินตามพระศาสดา
     
  9. ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    คิดว่า ทำทาน รักษาศีล และทำสมถะ สำหรับบางคน เป็นเฉพาะปัจเจกบุคคลที่ อาจจะมีวาสนาอยู่บ้าง

    เพราะปัญหามันอยู่ที่คำสอน ที่ไปสวนทางกับ การเจริญสมถะเป็นบาท และ การพิจารณาให้รู้ตามความจริง และให้เพียร

    ดังนั้น การดูจิตให้เห็นละเอียด จะถูกจำกัด ด้วยวิธีการของตนเอง ไม่สามารถทำให้เห็นละเอียดอย่างแท้จริง ไม่เป็นการเพิ่มพูนสติปัญญา อย่างแท้จริง

    เอาเท่านั้น ผมไม่อยากเถียงต่อ
     
  10. วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    โอเช
     
  11. nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    ถ้าเมื่อใดนำพระธรรมเข้ามาปฏิบัติในตัวเราแล้ว ชื่อว่ามีพระธรรมเป็นที่พึ่ง
    แต่ผู้ใดปฏิบัติจริง แต่ไม่นำพระธรรมเข้ามาในตัวเรา ก็ไม่สามารถแยกความหยาบและเอียดได้หนทางของผู้นั้นย่อมไม่มี เสมือนบ้าหอบฟาง
    พึงชนะความไม่จริง ด้วยความจริง
    ราตรีสโมสร
     
  12. เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ลุง ถ้าลุงพอจะยอมรับนะว่า การดูจิตนั้นสามารถปัด(อนุโลมใช้ตาม)กิเลสได้

    ถามว่า หากเรารู้ลงเป็นปัจจุบัน ได้ต่อเนื่อง ทุกๆ อกุศลจิต ได้ ถามว่า ขณะนั้น
    สภาวะจิตเกิดสภาวะเจโตวิมุตติได้หรือไม่ เพราะเป็นสภาวะที่จิตตั้งมั่นอยู่ที่ปัจจุบัน(1)
    และ อกุศลมูลจิต(กิเลศ)ไม่กุมจิตอยู่(2) ซึ่งรวมถึงนิวรณ์ไม่กุมด้วย(เพราะมี 1)
    และสภาวะดังกล่าวมีสติรู้รอบ(ลงเป็นปัจจุบันทุกรอบของห่วงโซ่ของจิต)เป็นปัญญา(3)
    ซึ่งเมื่อปัญญาเกิดแล้วก็ไม่ยึดถือด้วย(เพราะการยึดถือเป็นอกุศลมูลจิตที่ทำให้กำเริบกลับ
    )ถือว่ามีปัญญาวิมุตติ(4)

    เหล่านี้ มีส่วนใดที่ ลุงเห็นว่าไม่น่าเป็นไปได้
     
  13. ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ลุง ถ้าลุงพอจะยอมรับนะว่า การดูจิตนั้นสามารถปัด(อนุโลมใช้ตาม)กิเลสได้
    ธรรมะสวนัง ยอมรับว่า การดูจิตเป็นการปัดกิเลสตัวนึงไปติดกิเลสอีกตัวนึง

    ถามว่า หากเรารู้ลงเป็นปัจจุบัน ได้ต่อเนื่อง ทุกๆ อกุศลจิต ได้
    ก็เป็นการรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ ก็จะละอกุศลมูลได้ระดับหนึ่ง

    ถามว่า ขณะนั้นสภาวะจิตเกิดสภาวะเจโตวิมุตติได้หรือไม่
    ไม่ได้
    เจโตวิมุตติ จิตหลุดพ้นเพราะตั้งมั่นโดยลำพังตนเอง
    เจโตวิมุตติ นี่ ละรูป ละอรูป ละสุข ละทุกข์
    จิตมีสติบริสุทธิ์วางเฉย ไม่มีอารมณ์ใดๆกุมแล้ว


    การละอกุศลมูล เป็นแค่กิเลสอย่างหยาบ ก็ไปติดกุศลมูลอีก(กิเลส)

    เพราะเป็นสภาวะที่จิตตั้งมั่นอยู่ที่ปัจจุบัน(1)
    และ อกุศลมูลจิต(กิเลศ)ไม่กุมจิตอยู่(2) ซึ่งรวมถึงนิวรณ์ไม่กุมด้วย(เพราะมี 1)
    แต่มีกุศลมูลกุมจิตอยู่แทน
    และสภาวะดังกล่าวมีสติรู้รอบ(ลงเป็นปัจจุบันทุกรอบของห่วงโซ่ของจิต)เป็นปัญญา(3)
    รู้รอบ รู้อะไร รู้ว่าอกุศลมูลจิตดวงเก่าดับไปแล้ว มีกุศลมูลจิตดวงใหม่เกิดอยู่
    แล้วอีกเดี๋ยวพออกุศลจิตดวงใหม่เกิด ก็มีสติรู้เมื่อเกิดไปแล้ว
    อันนี้ไม่ใช่ปัญญา เป็นสัญญา จำได้หมายรู้ว่า
    อกุศลมูลไม่ดี ต้องเปลี่ยน ต้องเปลี่ยน.... เป็นการเปลี่ยนอารมณ์จิต


    ซึ่งเมื่อปัญญาเกิดแล้วก็ไม่ยึดถือด้วย(เพราะการยึดถือเป็นอกุศลมูลจิตที่ทำให้กำเริบกลับ
    )ถือว่ามีปัญญาวิมุตติ(4)
    อย่างที่บอก เป็นสัญญา การจำได้หมายรู้
    รู้ว่าอันนี้ไม่ดี ต้องปล่อย ต้องปล่อย...ไปติดอีกอันนึงแทน


    เหล่านี้ มีส่วนใดที่ ลุงเห็นว่าไม่น่าเป็นไปได้
    ธรรมะสวนัง เห็นว่า เป็นไปได้เหมือนสร้างวิมานกลางอากาศ ขออภัย

    (smile)
     
  14. jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    <table id="post2151780" class="tborder" width="100%" align="center" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0"><tbody><tr valign="top"><td class="alt2" style="border-style: none solid; border-color: -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255); border-width: 0px 1px;" width="175">ธรรมภูต<!-- google_ad_section_end --> <script type="text/javascript"> vbmenu_register("postmenu_2151780", true); </script>
    สมาชิก



    วันที่สมัคร: Aug 2008
    ข้อความ: 1,441
    Groans: 1
    Groaned at 32 Times in 29 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 922
    ได้รับอนุโมทนา 767 ครั้ง ใน 399 โพส
    พลังการให้คะแนน: 167


    </td> <td class="alt1" id="td_post_2151780" style="border-right: 1px solid rgb(255, 255, 255);"> <!-- google_ad_section_start --> อ้างอิง:
    <table width="100%" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset ;"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ jinny95
    ตรง นี้ยกลงมาได้พอดีเลย ถ้ายังมีสิ่งร้อยรัดเบื้องต่ำ จะทำสมาธิจนแนบแน่นไร้การปรุงแต่งอย่างไร มันก็ไม่สามารถเข้านิโรธได้ มันเหมือนจะได้ จะได้ เนื่องจากอาการมันจะลงจุดเดียวกันก่อน คือ ทิ้งทุกอย่าง แม้แต่ลมหายใจ แม้แต่ชีวิต แต่จะต่างกันที่นิโรธมันทันการปรุงแต่งแล้ว จึงทิ้ง แต่ตรงสมาธินี้มันดันกด สร้างกำแพงกันความปรุงแต่งไว้ แล้วกำแพงนั้นแหล่ะที่ทำให้ไม่สามารถเข้าสภาวะดับทุกข์อย่างไร้อามิสได้ เหมือนจะได้ จะได้ แต่ก็ไม่สามารถฝ่ากำแพงนั้นไปได้ เหมือนกำแพงบาง ๆ แต่ตัดไม่ขาด

    คงต้องสะสมกำลังกันไป เพื่อไล่รูปนามต่อ ^-^
    </td> </tr> </tbody></table>
    ท่านจินฯครับ ท่านกำลังเข้าใจสับสนครับ
    การที่จะทำสมาธิจนแนบแน่นไร้การปรุงแต่งได้นั้น
    ต้องปล่อยวางอุปกิเลส(อารมณ์)ทั้งหลายได้หมดสิ้นจากจิตครับ
    เป็นสภาวะสูญญตวิหารหรือก็คือนิโรธนั่นเอง

    ส่วนที่ท่านอาจานนิฯพูดนั่น เป็นเพียงแค่เรื่องของรูปฌาน อรูปฌานเท่านั้นครับ
    เป็นการเข้าสมาธิในแบบที่จิตยังยึดติดอารมณ์ที่ละเอียดมากๆอยู่ครับ

    ทรงฌานได้นานชนิดข้ามวันข้ามคืนกันทีเดียว
    ทิ้งแม้แต่ลมหายใจ แม้แต่ชีวิตเช่นกัน
    แต่ยังติดอารมณ์ละเอียดนั้นอยู่ เพราะสลัดไม่เป็น
    แบบที่ว่าเนี่ยพวกพราหมณ์เข้าใจผิดๆว่า คือนิโรธหรือนิพพาน

    ท่านพระอาจารย์หลวงปู่เทสก์ ก็บอกวิธีแก้ให้อยู่(พิจารณาดีๆจะเข้าใจ)
    </td></tr></tbody></table>
    ผมหยุดพูดดีกว่า ^-^
     
  15. nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    เอาชนะ ตำราด้วยสัญญา
    เอาชนะ สัญญา ด้วยปัญญา
    เอาชนะ ปัญญา ด้วยการปล่อยวาง


    นานาจิตตัง
     
  16. เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    กลับไปตรึกเพิ่มหน่อยสักนิด ว่า ตอนที่คุณธรรมสวนังทำสมาธิ ตั้งมั่นรู้
    นั้นทำอะไรอย่างไร

    แต่บอกก่อนนะว่าตรงที่ใช้คำว่า ต้องปล่อย ต้องปล่อย นั้นไม่ใช่อารมณ์
    ของการตั้งมั่นรู้ เพราะหากมีการกระทำว่า ต้องปล่อย แปลว่า จิตออก
    จากฐานของสติไปแล้ว หากอยู่ที่ฐานก็จะรู้ดูอยู่อย่างนั้น รอบแล้วรอบเล่า
    เหมือนการเหวี่ยงงู มันดูจนเห็นว่าทั้งอุกศลมูลจิต และกุศลมูลจิต ต่างก็ถูก
    จับยึดแล้วเหวี่ยงอยู่ มันจึงย้อนดูการจับยึดได้ เมื่อนั้นก็จะปล่อย แล้วไม่ฉวย
    ขึ้นมาอีก
     
  17. Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    สาธุครับ ขออนุญาตเสริมหมู่เฮาว่า


    ก้าวแรกของการเรียนรู้ คือการเปิดใจ

    การเปิดใจ คือ การเปิดโลกทัศน์ของตัวเองออกไป

    อาจารย์ที่ผมเคารพนับถือ ท่านหนึ่งท่านใช้คำว่า "อย่าเอาแต่เป็นกบอยู่แต่ในกะลา หัดออกมาจากกะลาได้แล้ว"

    อีกคำหนึ่งที่น่าสนใจคือ "ฉลาดลึกแต่โง่กว้าง" ความหมายคือ ล้ำลึกอยู่เรื่องเดียว แต่ไม่เปิดใจไม่หัดเรียนรู้คนรอบข้างเลยว่าเขาทำกันมาอย่างไร มีแต่เอาทิฏฐิไปปิดกั้นไว้เสียหมด มัวแต่เอาหัวชนฝาอยู่ได้ ก็แตกนะสิครับ

    ความขัดแย้ง ควรเป็นบ่อเกิดแห่งการเรียนรู้

    การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน อาจทำให้เราเห็นอีกมุมหนึ่งที่เรายังไม่เคยเห็น

    ที่สำคัญคือ ต้องรู้จักฟัง ฟังเสียงภายในใจของตนเอง เสียงที่มันชอบไปตัดสิน พิพากษาคนอื่น เพ่งโทษผู้อื่น เสียงบ่นในใจ เสียง.@!%o**..ฯลฯ ถ้ามันเป็นอกุศลทำให้ใจเราเศร้าหมอง ก็ตัดทิ้งอย่าเก็บไว้ (ในใจ) อย่าสร้างความเคยชินเช่นนั้นต่อไปอีกเลย เมื่อจิตเศร้าหมอง ทุคติก็เป็นอันหวังได้ ฝึกสติหรือจะว่าสร้างความรู้สึกตัวขึ้นมาก็ได้ นี่แหละคือการโอปนยิโก น้อมเข้ามาดูใจตนเอง (เป็นหลัก) ข้างนอกคือแบบทดสอบ ข้างในเป็นผลสอบ สอบได้หรือสอบตก ดูที่ใจตนเองนี้ อ่านตัวเองให้ออกอย่างนี้

    เอาให้ทันให้ได้ยินเสียงภายในใจตนเองบ่อย ๆ นั่นแหละ คือการได้ฟังธรรมอยู่ตลอดเวลา ธรรมเกิดอยู่ตลอดเวลาถ้ามีสติ กุศลก็ให้สร้างแต่ไม่ให้หลงยึดจนกลายเป็นทิฏฐิเป็นอัตตาไปอีก ทุกอย่างมันมีโทษทั้งนั้น ถ้าเสพไม่เป็น..


    โมทนาบุญกับทุกท่านครับ
     
  18. เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241


    ประโยคนี้ ที่กล่าวออกมาก็แปลก เป็นมุมมองที่แปลก เหมือนไม่เคยปฏิบัติธรรม

    กล่าวออกมาเพียงแต่ว่า คิดเอา ไม่ได้กล่าวออกมาจากการเห็นรสธรรม และ
    เหมือนปฏิบัติธรรมไม่เป็น จึงไม่รู้ว่า เมื่อละหยาบ ก็ต้องมาเห็นละเอียดต่อ เมื่อ
    เห็นละเอียดต่อก็ต้องเกิดการเห็นอีกแน่นอน และก็ต้องละอีกจนไปปเจอสิ่ง
    ปราณีต ซึ่งมันเป็นเรื่องธรรมดามากๆ ที่มันจะเป็นไปตามลำดับอย่างนั้น แต่
    คุณธรรมสวนังจงใจกล่าว แล้วหยุดกล่าวอยู่เพียงแต่ที่พอใจจะพูดเท่านั้น ไม่ได้
    พูดออกมาจากประสบการณ์การปฏิบัติเลย...ไม่ได้กล่าวออกมาจากใจ..กล่าว
    ออกมาแต่ที่ตัวเองพอใจจะติดขัด(ติดใจจะขัด ก็เรียก)
     
  19. ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านศรีฯครับ ด้วยความเมตตาจริงๆ ถ้าท่านบอกว่าท่านถ่อมตัวที่สุดแล้ว
    ผมและเพื่อนในบอร์ดนี้ คงต้องนิยามคำว่า "ถ่อมตัว"เสียใหม่แล้วครับ

    ท่านแน่ใจนะครับว่าที่เคยพูดๆมาเป็นการถ่อมตัว
    ท่านลองเอาคคหที่เคยเขียนไว้ให้คนที่ไม่รู้จักอ่านดูสิครับ

    ผมรับรองได้เลยว่า ต้องนิยามคำว่าถ่อมตัวเสียใหม่
    ขนาด สมรักษ์ คำสิงห์ยังอายเลยครับ

    ท่านบอกท่านละแบบละสังโยชน์แล้ว
    ท่านก็ต้องตอบคำถามก่อนสิครับว่า ละกายในกายได้หรือยัง???
    แล้วสังโยชน์ละกันที่ไหน

    ปล.ท่านช่วยบอกลูกศิษย์(ท่านทีฯ)ว่า อย่าเลียนแบบท่าน
    เรื่องที่ไม่ชอบตอบคำถามที่ถูกถามเกี่ยวกับการปฏิบัติ
    แต่ชอบตอบนักว่าตัวเองได้อะไรบ้าง ทั้งที่ไม่เคยถามครับ


    ;aa24
     
  20. เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241


    ประโยคนี้ก็พูดไปอย่างงั้น ต่อให้เห็นว่า เป็นการเปลี่ยนอารมณ์จิต
    แต่ลองกลับไปดูต้นประโยคของตน ก็เห็นว่า เป็นการเปลี่ยนไปทาง
    กุศลมูลจิตใช่หรือไม่ใช่ ตรงนี้หากเปิดใจ ก็เห็นอยู่แล้วว่านี่คือการ
    เพียรก่อกุศลให้ถึงพร้อม ....แต่ดูเหมือนกล่าวออกมาอย่างงั้นๆ โดย
    ที่ไม่สนใจ หรือ เคารพแม้แต่ความคิดความอ่านของตน จึงยกแล้วไม่
    พิจารณา ทำแค่วาทะออกมาเพียงลมแต่ไม่สนใจความหมาย


    ขอบอกเพิ่มอีกนิดว่า แม้แต่การเปลี่ยนไปที่กุศลมูลจิต เราก็ยังตามรู้
    ตามดูในฐานะที่จิตถูกปรุงแต่งฝ่ายดี จิตที่ถูกปรุงแต่งก็คือจิตที่ออกจาก
    ฐานของสติ เราจึงตั้งมั่นรู้กุศลมูลจิตด้วย ก็เรียกว่า ละทั้งจิตที่ปรุงกุศล
    และละจากจิตที่ปรุงอกุศล จึงเกิดสภาวะจิตไร้การปรุงแต่งตั้งมั่นอยู่ แล้ว
    เพียรดูอยู่อย่างนั้นไปเรื่อยๆ เนืองๆ
     

แชร์หน้านี้