เรื่องเด่น พ่อแม่รังแกฉัน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 16 มิถุนายน 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เด็กเล็กคนหนึ่งของครอบครัว ซึ่งมีฐานะดี นั่งรถยนต์ไปกับคุณพ่อคุณแม่ ผ่านไปที่แห่งหนึ่ง เห็นเด็กเล็กยากจนหลายคน นุ่งห่มเสื้อผ้าเก่าขาดรุ่งริ่งอยู่ตามข้างทาง เด็กเล็กในรถยนต์สนใจ เพราะเห็นความแตกต่างระหว่างตน กับ เด็กข้างถนนเหล่านั้น คุณพ่อคุณแม่สังเกตรู้ จึงพูดว่า นั่นเจ้าพวกเด็กสกปรก ลูกอย่าไปดูมัน

    ในกรณีนี้ คุณพ่อคุณแม่ทำหน้าที่เหมือนดังปาปมิตร ชี้แนะให้เด็กตั้งความคิดที่เป็นอโยนิโสมนสิการ เร้าให้เกิดอกุศลธรรม เช่น ความรู้สึกรังเกียจดูถูกเหยียดหยาม เป็นต้น และความรู้สึกนี้ อาจกลายเป็นทัศนคติของเด็กนั้นต่อคนที่ยากจน ตลอดจนความโน้มเอียงที่จะมีท่าทีเช่นนั้นต่อเพื่อนมนุษย์ทั้งหลายโดยทั่วไป

    buddha.jpg


    แต่ในกรณีอย่างเดียวกันนั้น คุณพ่อคุณแม่อีกรายหนึ่ง บอกเด็กว่า “เด็กๆนั้นน่าสงสาร พ่อแม่เขายากจน จึงไม่มีเสื้อผ้าดีๆใส่ เราควรเผื่อแผ่ช่วยเหลือเขา

    ในกรณีนี้ คุณพ่อคุณแม่ทำหน้าที่อย่างกัลยาณมิตร ชี้แนะให้เด็กตั้งความคิดที่เป็นโยนิโสมนสิการ เร้าให้เกิดกุศลธรรม เช่น ความรู้สึกเมตตา กรุณา และความเสียสละ เป็นต้น และความรู้สึกเช่นนั้น อาจกลายเป็นทัศนคติของเด็กนั้น ต่อคนยากจนและเพื่อมนุษย์โดยทั่วไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2017
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ที่ลงแล้ว

    ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างคือปรโตโฆสะ (ที่ถูกต้อง = กัลยาณมิตร) องค์ประกอบภายนอก ได้แก่ ปัจจัยทางสังคม (วิธีแห่งศรัทธา) กับ โยนิโสมนสิการ องค์ประกอบภายใน ได้แก่ ปัจจัยในตัวบุคคล (วิธีแห่งปัญญา)

    ความสำคัญของกัลยาณมิตร

    http://palungjit.org/threads/ความสำคัญของการมีกัลยาณมิตร-คุณสมบัติของกัลยาณมิตร.612745/

    หลักศรัทธาแนวพุทธธรรม

    http://palungjit.org/threads/หลักศรัทธา.613100/


    บทนำ : ฐานะความคิด ในระบบการดำเนินชีวิตที่ดี

    http://palungjit.org/threads/คำนำ-โยนิโสมนิสิการ-ฐานะความคิดในระบบการดำเนินชีวิตที่ดี.613075/

    ความสำคัญของโยนิโสมนสิการ

    http://palungjit.org/threads/ความสำคัญ-ความหมาย-ของโยนิโสมนสิการ.613061/
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    วิธีโยนิโสมนสิการเท่าที่พบในบาลี พอประมวลเป็นแบบใหญ่ๆ ได้ ดังนี้

    ๑. วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย
    ๒. วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ
    ๓. วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์
    ๔. วิธีคิดแบบอริสัจ/คิดแบบแก้ปัญหา
    ๕. วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์
    ๖. วิธีคิดแบบเห็นคุณโทษและทางออก
    ๗. วิธีคิดแบบรู้คุณค่าแท้ - คุณค่าเทียม
    ๘. วิธีคิดแบบเร้ากุศลอง
    ๙. วิธีคิดแบบอยู่กับปัจจุบัน
    ๑๐. วิธีคิดแบบวิภัชชวาท

    ลงได้ ๓ วิธีเอง ไม่แน่ว่าจะลงครบไหม

    http://palungjit.org/threads/วิธีคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม.613170/

    http://palungjit.org/threads/วิธีคิด-โยนิโสมนสิการ-แบบสามัญลักษณะ.613131/

    http://palungjit.org/threads/วิธีคิด-โยนิโสมนสิการ-แบบวิภัชชวาท.613057/

    กระทู้นี้ จะลงบทสรุปเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มิถุนายน 2017
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เข้าเรื่อง กท.นี้


    สรุปความ เพื่อนำสู่การปฏิบัติ


    เมื่อได้กล่าวถึงวิธีคิดที่เป็นโยนิโสมนสิการมา ครบจำนวนที่ตั้งไว้แล้ว ขอย้ำความเบ็ดเตล็ดบางอย่างไว้ เพื่อเสริมความเข้าใจอีกหน่อย

    เท่าที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ถ้าตรวจดูขั้นตอนการทำงานของโยนิโสมนสิการ จะเห็นว่า โยนิโสมนสิการทำงานทั้ง ๒ ช่วง คือ ทั้งตอนรับรู้อารมณ์ หรือประสบการณ์จากภายนอก และตอนคิดค้นพิจารณาอารมณ์ หรือเรื่องราวที่เก็บเข้ามาแล้วในภายใน

    ลักษณะที่พึงสังเกตอย่างหนึ่งของการรับรู้ด้วยโยนิโสมนสิการ คือ การรับรู้เพียงเพื่อเป็นความรู้ (ที่ถูกต้องตามเป็นจริง) และเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับสติจะเอาไปใช้ประโยชน์ ในการดำเนินชีวิต และทำกิจต่างๆต่อไป

    พูดอีกอย่างหนึ่งว่า รับรู้ไว้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางสติปัญญา ไม่รับรู้ชนิดที่กลับผันแปรจากความรู้ไปเป็นสิ่งกระทบกระทั่งติดค้างเปรอะเปื้อน ที่ก่อปัญหาแก่ชีวิตจิตใจ รับรู้ โดยจิตใจได้ความรู้จากอารมณ์ หรือประสบการณ์ ไม่ใช่รับรู้แล้ว จิตใจถูกอารมณ์หรือประสบการณ์ครอบงำ หรือล่อพาหลงหายไปเสีย ซึ่งแทนที่จะได้ความรู้มาแก้ปัญหา หรือได้ปัญญามาดับทุกข์ กลับได้กิเลส และความทุกข์มาเพิ่มพูนทับถมตน แม้การคิดก็มีลักษณะทำนองเดียวกันนี้ ลักษณะอย่างนี้ คือความหมายส่วนหนึ่งของการเป็นอยู่ด้วยปัญญา

    อาจมีผู้เสียดายว่า ชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา ดูจะปราศจากอารมณ์ (อารมณ์ ตามความหมายอย่างสมัยใหม่) มีแต่ความแห้งแล้ง ไร้รสชาติ

    พึงชี้แจงว่า สำหรับปุถุชน การเป็นอยู่ด้วยอารมณ์ คอยจะครอบงำคนอยู่แล้วตลอดเวลา โยนิโสมนสิการ มีแต่จะมาช่วยแบ่งเบาแก้ทุกข์ให้ปัญหาบรรเทาลง จึงไม่ต้องห่วงว่า จะขาดอารมณ์


    ส่วนสำหรับผู้ใช้โยนิโสมนสิการสำเร็จผล จนพ้นความเป็นปุถุชนได้แล้ว ก็จะมีคุณภาพทางอารมณ์ใหม่ อย่างบริสุทธิ์ เด่นชัดขึ้นมา กล่าวคือ เกิดคุณธรรมข้อกรุณา มาช่วยสืบต่อคุณค่าทางด้านความงดงาม่อนโยนของชีวิตอยู่ต่อไป พร้อมทั้งแทนที่ความขุ่นมัว หมองเศร้า เหงา กังวล เป็นต้น ก็จะมีแต่ความรู้สึกที่ประณีต เช่น ความสดชื่น ผ่องใส โปร่งโล่ง เบิกบานใจ ความสุข ความสงบ และความเป็นอิสรเสรี สืบต่อไป

    มีข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมที่เป็นบุพภาคแห่งมัชฌิมาปฏิปทา ๒ อย่าง คือ ปรโตโฆสะที่ดี หรือกัลยาณมิตร และ โยนิโสมนสิการ นี้ เป็นจุดเชื่อมต่อ ระหว่างบุคคล กับ โลก หรือสภาพแวดล้อมภายนอก ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ตัวมรรค ที่เป็นธรรมภายในเฉพาะตน


    กล่าวคือ กัลยาณมิตร (ปรโตโฆสะที่ดี) เป็นที่เชื่อมให้บุคคลติดต่อกับโลกอย่างถูกต้อง โดยทางสังคม และโยนิโสมนสิการ เป็นที่เชื่อมให้บุคคลติดต่อกับโลกอย่างถูกต้อง โดยทางจิตใจของตนเอง อันได้แก่ ท่าทีแห่งการรับรู้ ความคิด ซึ่งเป็นท่าทีแห่งปัญญา หรือการมองตามเป็นจริง

    วิธีโยนิโสมนสิการ เท่าที่แสดงมา ได้นำเสนอโดยพยายามรักษารูปร่างตามที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พุทธศาสนา ผู้ศึกษาไม่พึงติดอยู่เพียงรูปแบบ หรือถ้อยคำ แต่พึงมุ่งจับเอาสาระเป็นสำคัญ


    อนึ่ง พึงย้ำไว้ด้วยว่า โยนิโสมนสิการนี้ เป็นหลักธรรมภาคปฏิบัติ ที่ใช้ประโยชน์ได้ทุกเวลา มิใช่จะต้องรอไว้ใช้ต่อเมื่อมีเรื่องที่จะเก็บเอาไปนั่งขบคิด หรือปฏิบัติได้ต่อเมื่อปลีกตัวออกไปนั่งพิจารณา แต่พึงใช้แทรกอยู่ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่เป็นไปอยู่ทุกที่ทุกเวลานั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มิถุนายน 2017
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ

    ทั้งนี้ เริ่มแต่การวางใจ วางท่าที ต่อบุคคลและสิ่งทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง การตั้งแนวความคิด หรือการเดินกระแสความคิด การทำใจ การคิด การพิจารณา เมื่อรับรู้ประสบการณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในทางที่จะไม่เกิดทุกข์ ไม่ก่อปัญหา ไม่ให้มีโทษ แต่ให้เป็นไปเพื่อประโยชน์สุข ทั้งแก่ตนและบุคคลอื่น เพื่อความเจริญงอกงามแห่งปัญญาและกุศลธรรม เพื่อเสริมสร้างนิสัย และคุณลักษณะที่ดี เพื่อความรู้ตามเป็นจริง เพื่อฝึกอบรมตนในแนวทางที่นำไปสู่ความหลุดพ้นเป็นอิสระ
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ


    เด็กเล็กคนหนึ่งของครอบครัวซึ่งมีฐานะดี นั่งรถยนต์ไปกับคุณพ่อคุณแม่ ผ่านไปที่แห่งหนึ่ง เห็นเด็กเล็กยากจนหลายคน นุ่งห่มเสื้อผ้าเก่าขาดรุ่งริ่งอยู่ตามข้างทาง เด็กเล็กในรถยนต์สนใจ เพราะเห็นความแตกต่างระหว่างตน กับ เด็กข้างถนนเหล่านั้น คุณพ่อคุณแม่สังเกตรู้ จึงพูดว่า “นั่นเจ้าพวกเด็กสกปรก ลูกอย่าไปดูมัน

    ในกรณีนี้ คุณพ่อคุณแม่ทำหน้าที่เหมือนดังปาปมิตร ชี้แนะให้เด็กตั้งความคิดที่เป็นอโยนิโสมนสิการ เร้าให้เกิดอกุศลธรรม เช่น ความรู้สึกรังเกียจดูถูกเหยียดหยาม เป็นต้น และความรู้สึกนี้ อาจกลายเป็นทัศนคติของเด็กนั้นต่อคนที่ยากจน ตลอดจนความโน้มเอียงที่จะมีท่าทีเช่นนั้นต่อเพื่อนมนุษย์ทั้งหลายโดยทั่วไป

    แต่ในกรณีอย่างเดียวกันนั้น คุณพ่อคุณแม่อีกรายหนึ่ง บอกเด็กว่า “เด็กๆ นั้นน่าสงสาร พ่อแม่เขายากจน จึงไม่มีเสื้อผ้าดีๆใส่ เราควรเผื่อแผ่ช่วยเหลือเขา

    ในกรณีนี้ คุณพ่อคุณแม่ทำหน้าที่อย่างกัลยาณมิตร ชี้แนะให้เด็กตั้งความคิดที่เป็นโยนิโสมนสิการ เร้าให้เกิดกุศลธรรม เช่น ความรู้สึกเมตตา กรุณา และความเสียสละ เป็นต้น และความรู้สึกเช่นนั้น อาจกลายเป็นทัศนคติของเด็กนั้น ต่อคนยากจนและเพื่อมนุษย์โดยทั่วไป


    แม้ในเรื่องอื่นๆ เช่นการรับฟังข่าวสารทางสื่อมวลชน เมื่อมีข่าวดี ข่าวร้าย เหตุการณ์สร้างสรรค์ หรือทำลาย หรือกิจกรรมใดๆ ก็ตาม ท่าทีและถ้อยคำที่ผู้ใหญ่แสดงออกต่อสิ่งเหล่านั้น มักมีผลต่อการตั้งแนวความคิดของเด็ก

    ถ้าผู้ใหญ่ รู้เข้าใจแล้ว ชี้แนะแนวความคิดถูกต้อง ให้มองตามเป็นจริง หรือมองในแง่ที่จะเกิดกุศลธรรมแล้ว ก็จะเป็นผลดีต่อความเจริญงอกงามของเด็ก


    แม้แต่อาหารที่รับประทาน เสื้อผ้า หนังสือเรียน ถนนหนทาง ผู้คนหรือเรื่องราวที่พบเห็นระหว่างทาง และที่โรงเรียน เป็นต้น ล้วนเป็นที่สำหรับวางใจ และตั้งแนวความคิด ที่เป็นกุศล หรืออกุศล ได้ทั้งสิ้น การหล่อหลอมทัศนคติ และค่านิยมต่างๆ ของเด็ก เกิดขึ้นได้มากจากโยนิโสมนสิการ และอโยนิโสมนสิการ ที่ชี้แนะโดยกัลยาณมิตร หรือปาปมิตรอย่างนี้ จึงควรถือเป็นเรื่องสำคัญ


    ส่วนผู้ใหญ่ เมื่อเข้าใจหลักการนี้แล้ว อาจใช้โยนิโสมนสิการแก้ได้ แม้แต่ทัศนคติ และจิตนิสัยไม่ดี ที่เคยใช้อโยนิโสมนสิการ สร้างจนชินมาเป็นเวลานาน
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ

    พึงสังเกตด้วยว่า แม้ในเรื่องราวกรณีเดียวกัน และใช้โยนิโสมนสิการด้วยกัน แต่โยนิโสมนสิการก็อาจต่างกันได้ เป็นคนละอย่างคนละระดับ

    ยกตัวอย่าง ในระดับที่เรียกว่าสมถะ และวิปัสสนา เช่น นาย ก. เห็นหน้าหญิงสาวสวยคนหนึ่ง แต่แทนที่จะเห็นเป็นใบหน้าที่สวยงาม เขากลับมองเห็นเป็นแผ่นผิวหนัง พร้อมทั้งผม ขน เป็นต้น ที่ปฏิกูลด้วยเหงื่อมัน และฝุ่นละออง เป็นต้น มีกระดูก และเลือดเนื้ออยู่เบื้องหลัง ไม่ทำให้ติดใจใฝ่รัก โยนิโสมนสิการในกรณีนี้ เรียกว่าเป็นสมถะ (แง่ปฏิกูลมนสิการ) เพราะได้ความรู้สึกเป็นปฏิกูลมาระงับราคะ ทำให้ใจสงบอยู่ได้


    นาย ข. เห็นหน้าหญิงสาวสวยคนเดียวกันนั้น แต่มองเห็นเป็นเยาวชนคนหนึ่ง ที่ควรเอาใจใส่ดูแลให้เจริญงอกงาม เกิดความรู้สึกเมตตา นึกเหมือนเป็นน้อง หรือลูกหลาน กรณีนี้ ก็เป็นโยนิโสมนสิการตามแนวสมถะ (แง่เมตตาพรหมวิหาร) เพราะทำให้จิตใจสงบเยือกเย็น เป็นกุศล


    นางสาว ง. เห็นหน้าหญิงสาวสวยคนเดียวกันนั้น แต่มองด้วยความรู้สึกที่นึกไปว่า หญิงนั้น สวยเกินหน้าตน เกิดความรู้สึกริษยา และชักจะชังหน้า กรณีนี้ เป็นอโยนิโสมนสิการ เพราะคิดปลุกเร้าอกุศลธรรมขึ้นมาบีบคั้นใจ ก่อทุกข์ทรมานตนเอง


    ส่วนนาย จ. เห็นหน้าหญิงสาวสวยคนเดียวกันนั้น แต่มองเห็นเป็นที่ประชุมแห่งองค์อวัยวะ อันเกิดจากธาตุต่างๆ มาประกอบกันเข้า รวมสมมติเรียกกันว่าหน้าคนชื่อนั้น เป็นเพียงรูปธรรม ซึ่งไม่เที่ยง ไม่คงที่ จะต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่ดี ไม่ชั่ว ไม่ใช่สวย ไม่ใช่น่าเกลียดอะไรทั้งนั้น กรณีนี้ เป็นโยนิโสมนสิการ แนววิปัสสนา เพราะมองตามสภาวะ หรือมองตามที่เป็นจริง * (เทียบ วิสุทฺธิ. 2/20)

    กรณีอื่นๆ ก็พึงเข้าใจตามแนวนี้
    .......

    * พึงทราบกันสับสนว่า กรรมฐานบางอย่าง ที่ให้มองเห็นคน หรืออะไรๆ เป็นอสุภะ เป็นปฏิกูล ไม่สวยไม่งาม เรียกว่าอยู่ขั้นสมถะ ยังมองไปตามสมมติบัญญัติ เพียงแต่ถือเอาสมมติแง่ที่จะมาใช้แก้กิเลสของตน
    ส่วนวิปัสสนา มองเห็นตามสภาวะแท้ๆ ตรงตามที่สิ่งทั้งหลายมันเป็นของมัน ตามเหตุปัจจัย เรียกว่า ตามเป็นจริง ที่สิ่งทั้งหลายไม่มีงามหรือไม่งาม ไม่มีสวย ไม่มีน่าเกลียด



     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ


    โยนิโสมนสิการเป็นตัวนำ ที่ทำให้การศึกษาเริ่มต้น หรือเป็นแกนนำของการพัฒนาปัญญา ในการศึกษา โดยเฉพาะที่จัดกันเป็นระบบ หรือเป็นงานเป็นการ จึงควรใส่ใจให้ความสำคัญแก่โยนิโสมนสิการให้มาก เพื่อจะได้เป็นการช่วย “ให้คนศึกษา “ มิใช่ “ให้การศึกษา” แก่คน อย่างที่มักพูดกัน ซึ่งไม่น่าจะเป็นความถูกต้อง และน่าจะทำไม่ได้จริง

    เริ่มแรก อาจจะพัฒนาคนวิธีเรียนวิธีสอน และกิจกรรมการเรียนการสอน ที่จะส่งเสริมกระตุ้นเร้าให้ผู้เรียน ได้ฝึกฝนใช้โยนิโสมนสิการแบบพื้นฐาน คือ วิธีคิดแบบสาวเหตุปัจจัย และวิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ

    เมื่อมีเรื่องราวเหตุการณ์ที่ต้องพิจารณา ก็โยงวิธีคิดแบบนั้นเข้าไปเชื่อมต่อกับวิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ และวิธีคิดแบบแก้ปัญหา จากนั้น วิธีคิดแบบอื่นๆ ก็จะเข้ามาสนองรับใช้บุคคลที่มีโยนิโสมนสิการนั้นตามช่วงจังหวะ ที่เหมาะสม แล้วความเป็นคนมีโยนิโสมนสิการ หรือรู้จักใช้โยนิโสมนสิการ ก็จะเกิดตามมาเอง นำให้การศึกษาดำเนินไปอย่างถูกต้อง ตามความหมายที่แท้จริงของมัน


    เมื่อรู้จักนำวิธีโยนิโสมนสิการไปใช้ในการเรียนการสอน แม้แต่เด็กเล็กๆ ก็จะมีความคิด และมีทรรศนะที่ลึกซึ้งกว้างไกล เช่น จากกระดาษสมุด และในโต๊ะเขียนหนังสือ เด็กจะมองเห็นความสัมพันธ์อิงอาศัยกันของทุกสิ่งในสากลจักรวาล มองเห็นความเกิดมี และความดำรงอยู่ของสิ่งหนึ่งๆ ไม่โดดเดี่ยวขาดลอย และไม่ขาดตอนจากการเกิดขึ้น และการดำรงอยู่ ของสิ่งทั้งหลายอื่น


    จากคำถามว่า โต๊ะตัวนี้เกิดมีขึ้นได้อย่างไร จะต้องมีอะไรบ้าง โต๊ะตัวนี้จึงเกิดขึ้นได้ เด็กก็จะสืบสาวโยงโต๊ะนั้นไปหาปัจจัย หรือตัวประกอบทั้งหลาย ที่ทำให้โต๊ะเกิดขึ้น ทีละอย่างจนครบ มีทั้งไม้ เลื่อย ตะปู ค้อน ตลอดมาถึงคน และจากปัจจัยเหล่านั้น ก็สืบสาวต่อไปอีก เช่น จากไม้ ไปถึงต้นไม้ จากต้นไม้ ไปยังดิน น้ำ ฝน ป่า ฟ้า อากาศ ฯลฯ


    เมื่อฝึกคิดอย่างนี้ นอกจากจะเกิดความรู้ความเข้าใจชัดเจนต่อสิ่งที่พิจารณา ตลอดถึงสิ่งทั้งหลายที่เป็นปัจจัยเกี่ยวโยงกันไปทั่วทั้งหมดแล้ว ยังทำให้เกิดความหยั่งรู้ ตระหนักความจริง ถึงขั้นที่ส่งผลเปลี่ยนแปลงต่อทัศนคติและบุคลิกภาพได้ด้วย เช่น เกิดความหยั่งรู้ตระหนักความจริงว่า ชีวิตของเราจะเป็นอยู่ด้วยดี และมีความสุขแท้จริงได้ จะต้องเกื้อกูลกันกับธรรมชาติ และเพื่อนมนุษย์ ตลอดจนต้องรู้จักใช้ รู้จักสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยความไม่ประมาท เป็นต้น
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    คนที่มีโยนิโสมนสิการ รู้จักคิด รู้จักมอง ย่อมมองเห็น และหาแง่ที่เป็นประโยชน์ มาใช้ในการพัฒนาส่งเสริมความเจริญงอกงามของชีวิตได้ตลอดเวลา ในทุกสถานการณ์

    แม้แต่จะประสบความยากจน ความเจ็บไข้ได้ป่วย หรือสิ่งที่เรียกกันว่าเป็นเคราะห์หามยามร้ายอย่างหนึ่งอย่างใด ก็ไม่ทำให้เขามืดบอด หรืออับจน สภาพเลวร้ายที่ได้ประสบ มักเป็นจุดกระทบให้เขาเกิดปัญญาหรือคุณธรรม และการพัฒนาคุณสมบัติต่างๆได้มากยิ่งขึ้น เข้าทำนองที่บางครั้ง เราได้ยินบางคนพูดว่า ข้าพเจ้าโชคดีที่เกิดมายากจน เป็นโชคดีของข้าพเจ้าที่ได้ป่วยหนักครั้งนั้น แม้ตลอดกระทั่งอย่างที่มีเรื่องเล่าในคัมภีร์ว่า บางท่านได้ยินคำพูดของคนบ้าแล้ว เกิดความเห็นแจ้งสัจธรรม ดับกิเลสหมดไปได้ ก็มี


    ในทางตรงข้าม บางคน ทั้งที่เกิดมาสวย ร่ำรวย หรือมีศักดิ์สูง แต่ขาดโยนิโสมนสิการ มีแต่อโยนิโสมนสิการ แทนที่สภาพชีวิตที่เป็นเหมือนโชคลาภนั้น จะเป็นทุน หรือเป็นเครื่องเสริมโอกาสให้เขาสามารถพัฒนาชีวิตได้สะดวกรวดเร็วผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น แต่กลับเป็นตัวเร้า เร่งตัณหา มานะ ทิฏฐิ ให้หนาแน่น รุนแรง พร้อมด้วยความเกียจคร้าน ลุ่มหลงมัวเมาติดตามมา แย่งชิงพรากเอาความโชคดีไปจากเขา โชคดีมีค่าเป็นโชคร้าย และชีวิตก็ไม่เจริญงอกงาม


    คนทั่วไป ซึ่งได้สั่งสมความเคยชิน ให้จิตมีนิสัยแห่งการคิดในแนวทางของการสนองตัณหา หรือคิดโยมีความชอบใจ ไม่ชอบใจ ยินดี ยินร้าย ชอบ ชัง เป็นพื้นฐาน มาเป็นเวลายาวนาน วิธีโยนิโสมนสิการแบบต่างๆ นี้ จะเริ่มเป็นเครื่องฝึกในการสร้างนิสัยใหม่ให้แก่จิต


    การสร้างนิสัยใหม่นี้ อาจต้องใช้เวลานานบ้าง เพราะนิสัยเดิมเป็นสิ่งที่สั่งสมมานานคนละเป็นสิบๆปี แต่เมื่อได้ฝึกขึ้นบ้างแล้ว ก็ได้ผลคุ้มค่า เพราะเป็นการคิดที่ทำให้เกิดปัญญา ทำให้แก้ปัญหา ดับความมืดและความทุกข์ สร้างเสริมความสว่างและความสุขได้

    แม้จะยังทำไม่สมบูรณ์ ก็ยังพอเป็นเครื่องช่วยให้เกิดสมดุล และได้มีทางออก ในยามที่ถูกความคิดตามแนวนิสัยเดิมชักนำไปสู่ความอับจน สู่ความทุกข์ และปัญหาบีบคั้นต่างๆ ก็พลิกผันหันไปสู่ความรอดพ้นปลอดภัย
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ตามนัยที่กล่าวมา เมื่อพูดเชิงวิชาการ ในแง่การทำหน้าที่ วิธีโยนิโสมนสิการทั้งหมด สามารถสรุปลงได้ เป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ

    ๑. โยนิโสมนสิการ ประเภทพัฒนาปัญญาบริสุทธิ์ มุ่งให้เกิดความรู้แจ้งตามสภาวะ คือ รู้เข้าใจ มองเห็นตามเป็นจริง หรือตามที่มันเป็น เน้นที่การขจัดอวิชชา เป็นฝ่ายวิปัสสนา มีลักษณะเป็นการส่องสว่างทำลายความมืด หรือชำระล้างสิ่งสกปรก ให้ผลไม่จำกัดกาล หรือเด็ดขาด นำไปสู่โลกุตรสัมมาทิฏฐิ


    ๒. โยนิโสมนสิการ ประเภทสร้างเสริมคุณภาพจิต มุ่งปลุกเร้าให้เกิดคุณธรรม หรือกุศลธรรมอื่นๆ เน้นที่การสกัดหรือข่มตัณหา เป็นฝ่ายสมถะ มีลักษณะเป็นการเสริมสร้างพลังหรือปริมาณฝ่ายดีขึ้นมากดข่มทับ หรือบังฝ่ายชั่วไว้ ให้ผลขึ้นกับกาล ชั่วคราว หรือเป็นเครื่องตระเตรียมหนุนเสริมความพร้อม และสร้างนิสัย นำไปสู่โลกิยสัมมาทิฏฐิ
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เตรียมเข้าสู่มัชฌิมาปฏิปทา


    กล่าวโดยสรุป สำหรับคนทั่วไป ผู้มีปัญญายังไม่แก่กล้า ยังต้องอาศัยการแนะนำชักจูงจากผู้อื่น การเจริญปัญญา นับว่าเริ่มต้นจากองค์ประกอบภายนอก คือ ความมีกัลยาณมิตร สำหรับให้เกิดศรัทธา (ความมั่นใจด้วยเหตุผลที่ได้พิจารณาเห็นจริงแล้ว) ก่อน

    จากนั้น จึงก้าวมาถึงขั้นองค์ประกอบภายใน เริ่มแต่นำความเข้าใจตามแนวศรัทธาไปเป็นพื้นฐาน ในการใช้ความคิดอย่างอิสระ ด้วยโยนิโสมนสิการ เป็นต้นไป ทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ และทำให้ปัญญาเจริญยิ่งขึ้น จนกลายเป็นญาณทัสสนะ คือการรู้การเห็นประจักษ์ในที่สุด *

    เนื่องด้วยศรัทธา เป็นองค์ธรรมสำคัญมาก ซึ่งเมื่อเป็นศรัทธาที่ถูกต้อง และใช้ถูกทาง ก็จะเชื่อมต่อเข้ากับโยนิโสมนสิการ นำให้เกิดปัญญาที่เป็นสัมมาทิฏฐิ

    จึงขอสรุปเรื่องศรัทธา ในแง่ที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ไว้อีกครั้งหนึ่ง

    ๑. ในขั้นศีล ศรัทธาเป็นหลักยึด ช่วยคุ้มศีลไว้ โดยเหนี่ยวรั้งจากความชั่ว และทำให้มั่นคงในสุจริต ศรัทธาเพื่อการนี้ แม้ไม่มีความคิดเหตุผล คือไม่ประกอบด้วยปัญญา ก็ใช้ได้ และปรากฏบ่อยๆว่า ศรัทธาแบบเชื่อดิ่งโดยไม่คิดเหตุผลนั้น ใช้ประโยชน์ในขั้นศีล แน่กว่าศรัทธาที่มีการใช้ปัญญาด้วยซ้ำ


    ๒. ในขั้นสมาธิ ศรัทธาช่วยให้เกิดสมาธิได้ ทั้งในแง่ที่ทำให้เกิดปีติสุขแล้ว ทำให้จิตสงบนิ่งแบบสนิทหายฟุ้งซ่าน ไม่กระสับกระส่ายกระวนกระวาย และในแง่ที่ทำให้เกิดความเพียรพยายาม แกล้วกล้า ไม่หวั่นกลัว จิตใจพุ่งแล่นไปในทางเดียว เกิดความเข้มแข็งมั่นคง แน่วแน่ ศรัทธาเพื่อการนี้ แม้เป็นแบบเชื่อดิ่งโดยไม่ใช้ความคิดเหตุผล ก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน

    ๓. ในขั้นปัญญา ศรัทธาช่วยให้ปัญญา เริ่มแต่โลกิยสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องแรก เหนือกว่านั้นไป ศรัทธาเชื่อมต่อกับโยนิโสมนสิการ ใน ๒ ลักษณะ คือ

    - อย่างแรก เป็นช่องทางให้กัลยาณมิตรสามารถชี้แนะความรู้จักคิด คือกระตุ้นให้คนผู้นั้นเริ่มใช้โยนิโสมนสิการ (มิฉะนั้น อาจไม่ยอมเปิดรับการชี้แนะหรือการกระตุ้นเลย)

    -อย่างที่สอง ศรัทธาช่วยเตรียมพื้นหรือแนวของเรื่องที่จะพิจารณาบางอย่างไว้ สำหรับให้โยนิโสมนสิการนำไปคิดอย่างอิสระต่อไป ศรัทธาเพื่อการนี้ เห็นชัดอยู่ในตัวแล้วว่า ต้องเป็นศรัทธาที่มีการใช้ปัญญา และเป็นศรัทธาที่ต้องการในการนี้
    ........

    ที่อ้างอิง *

    ผู้ที่จะช่วยแนะความรู้คิดแก่ผู้อื่น อาจถือโยนิโสมนสิการ ๓ อย่าง ต่อไปนี้ เป็นหลักพื้นฐานสำหรับตรวจสอบพื้นเพทางด้านภูมิปัญญาหรือความรู้คิดของบุคคล คือ

    ๑. การคิดแบบปัจจยาการ คือ ดูว่า เขามีความคิดเป็นเหตุเป็นผล รู้จักคิดเหตุผล หรือเป็นคนมีเหตุผล รู้จักสืบค้นเหตุปัจจัย หรือไม่

    ๒. การคิดแบบวิภัชชวาท คือ ดูว่า เขารู้จักมองสิ่งทั้งหลาย หรือเรื่องราวต่างๆ ได้หลายแง่หลายมุม รู้จักแยกแยะแง่ด้านต่างๆ ที่อาจเป็นไปได้ ไม่มองแง่เดียว ไม่คิดคลุมเครือ ดังนี้หรือไม่

    ๓. การคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ คือ ดูว่า เขา พูด ฟัง หรืออ่านอะไร สามารถจับหลักจับประเด็นหรือแก่นของเรื่อง (ธรรม) และ เข้าใจความหมาย ความมุ่งหมาย หรือคุณค่า ประโยชน์ หรือแนวที่จะกระจายขยายความของเรื่องนั้นๆ (อรรถ) หรือไม่
     
  13. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ก้กราบเรียนให้ มจด ปล่อยแมว หลายรอบแล้ว

    โยนิโสนมสิการ จะต้องมาจาก สัททา ตถคต เท่านั้น

    มจด ไปสรุปเอาเองเปน ลอกการบ้านตำสอนดี
    แล้ว พ้นสัททา อกตัญญู

    เนี่ยะ

    พอ อกตัญญ ก้ เลยโทษ พ่อแม่

    มจด ฮับ

    กระแสของการโน้มไปดี มันมีเปน ปรมัตถ อยู่

    สมมติบัญญัตทางโลดจะเปนยังไง กระแสอนัตตา
    ภายในมันจะแปรไปได้ หรอ

    มจดเขียนเอง งง เอง

    นี่ แอบด่าพ่อแม่ตัวเองออกสื่อ

    พ่อแม่คนไหนมาอ่าน เขาหาว่า มจด สอน

    มจด ติดคุกหน่าฮับ
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ข้อหา

    สอนเด็กให้ อมซีเรียวเกลียว
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ



    เพื่อความมั่นใจ ที่จะให้ศรัทธาเกื้อหนุนแก่ปัญญา โดยทางโยนิโสมนสิการ เห็นควรสรุปวิธีปฏิบัติต่อศรัทธา ดังนี้

    ๑. มีศรัทธาที่มีเหตุผล หรือมีความเชื่อที่ประกอบด้วยการคิดเหตุผล คือ ไม่ใช่ศรัทธาประเภทบังคับให้เอ หรือเป็นข้อที่ต้องยอมรับตามที่กำหนดไว้ตายตัว หรือต้องถือตามไปโดยไม่เปิดโอกาสให้คิดหาเหตุผล ไม่ใช่ความเชื่อชนิดที่กีดกันห้ามความคิด บีบกดความคิด หรือที่ทำให้ไม่ยอมรับฟังใคร * แต่เป็นความเชื่อที่สนับสนุนการคิดเหตุผล เกื้อหนุนแก่การเจริญปัญญาต่อๆไป


    ๒. มีท่าทีแบบสัจจานุรักษ์ คือ อนุรักษ์สัจจะ หรือรักสัจจะ คือ ซื่อตรงต่อสัจจะ และแสดงศรัทธาตรงตามสภาพที่เป็นจริง กล่าวคือ เมื่อตนเชื่ออย่างไร ก็มีสิทธิกล่าวว่า ข้าพเจ้ามีความเชื่อว่าอย่างนั้นๆ หรือเชื่อว่าเป็นอย่างนั้นๆ แต่ไม่เอาศรัทธาของตนเป็นเครื่องตัดสินสัจจะ คือ ไม่ก้าวข้ามเขตต่อไปว่า ความจริงต้องเป็นอย่างที่ข้าพเจ้าเชื่อ หรือเอาสิ่งที่เป็นเพียงความเชื่อไปกล่าวว่าเป็นความจริง เช่น แทนที่จะพูดว่า ข้าพเจ้าเชื่อว่าสิ่งนั้น เรื่องนั้นเป็นอย่างนั้นๆ กลับพูดว่า สิ่งนั้นเรื่องนั้นเป็นอย่างนั้นๆ


    ๓. ใช้ศรัทธา หรือสิ่งเชื่อนั้น เป็นพื้นสำหรับโยนิโสมนสิการคิดพิจารณา ให้เกิดปัญญาต่อไป พูดอีกนัยหนึ่งว่า ศรัทธาไม่ใช่สิ่งจบสิ้นในตัว มิใช่ศรัทธาเพื่อศรัทธา แต่ศรัทธาเป็นเครื่องมือ หรือเป็นบันไดก้าวสู่จุดหมายที่สูงขึ้นไปกว่า กล่าวคือ ศรัทธาเพื่อปัญญา


    เท่าที่กล่าวมานี้ ก็เป็นอันเข้ากับลำดับขั้นของการเจริญปัญญา ที่เคยแสดงไว้แล้ว คือ

    เสวนาสัตบุรุษ => สดับสัทธรรม => ศรัทธา => โยนิโสมนสิการ ฯลฯ

    ต่อจากโยนิโสมนสิการ ก็คือการเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฐิ เมื่อถึงสัมมาทิฐิ ก็เป็นอันก้าวเข้าสู่องค์ประกอบของมัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งหมายถึงว่า วีถีชีวิตที่ถูกต้องดีงามได้เริ่มต้นแล้ว
    .....

    ที่อ้างอิง *

    พึงแยกระหว่าง ศรัทธาชนิดที่คิดเหตุผลสมจริงแล้ว จึงเชื่อ กับ ศรัทธาชนิดเชื่อก่อนแล้ว จึงคิดทำให้มีเหตุผล

    (จบปรโตโฆสะ + โยนิโสมนสิการคร่าวๆ -พุทธธรรมแต่หน้า 562 - 681)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มิถุนายน 2017
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    พยายามจะอ่านๆให้รู้เรื่อง แต่ก็จับใจความไม่ได้เลยว่า พูดอะไร มันยุ่งเหมือนฝอยขัดหม้อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มิถุนายน 2017
  17. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    นะ

    ในฐานะ ที่ มจด เดินมาถึงจุดๆนี้

    ก้แน่ชัดแล้วว่า มีมิจฉาทิฏฐิชนิดแก้ไม่ได้

    ลำพังลองทำข้อเขียนประเดน พ่อแม่รังแกฉัน ได้

    ก้ถือว่า ไม่มีทางเข้าใจ พระพุทธองค์สอน อะไรกันแน่

    ที่ว่า สว่างมา มืดไป

    แบบนี้ก้เปน มืดมามืดไป กราบเท้า มจด ลาโลด
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ผู้มีโยนิโสมนสิการ ถึงเขามืดมา แต่ก็จะสว่างไป (มืดมา แต่สว่างไป)

    แต่คนที่สว่างมามาแล้วแต่ขาดโยนิโสมนสิการ ก็อาจมืดไป (สว่างมา มืดไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2017

แชร์หน้านี้

Loading...