พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์เสด็จอนุโมทนา พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จริงแค่ไหน ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ไจโกะ, 7 พฤศจิกายน 2013.

  1. ไจโกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +1,147
    เมื่อตอนที่ผมศึกษาธรรมะใหม่ ได้ไปอ่านเจอเรื่องนี้โดยบังเอิญที่ร้านหนังสือแห่งหนึ่ง
    ด้วยสำนวนที่ใช้เป็นข้อความที่น่าเชื่อถือมาก บวกกับที่พระอาจารย์ ภูริทัตโต ท่านนั้นก็เป็นพระชื่อดัง
    และมีความน่าเชื่อถืออยู่แล้วแต่ก็ยังคลางแคลงใจอยู่ดี จากนั้นผมก็มีโอกาศได้ศึกษาคำพระพุทธเจ้าโดยตรง
    ซึ่งหลายๆอย่างขัดแย้งกับพุทธพจน์มาก เช่น ในเรื่องสังขตลักษณะ
    แต่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่านิพพานเป็นอสังขตธรรม นั้นคือ
    ๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ)
    ๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม (น วโย ปญฺญายติ)
    ๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ).

    .(ภาษาไทย) ติก. อํ. ๒๐/๑๔๔/๔๘๗.

    หากนิพพานมีการเกิดปรากฏ (ปรากฏออกมาเป็น รูปนาม หรือขันธ์ทั้งหลาย)
    นั่นหมายถึงพระพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติคำสอนผิดไป ซึ้งน่าเสียดาย
    ที่ถ้าศึกษาแต่คำสาวกอย่างเดียว ปัญหาเรื่องพุทธพจน์ก็จะไม่เกิดอยู่แล้ว

    [และถึงแม้ในข้อความจะบอกว่าพระองค์ทั้งหลายกับพระสาวกท่าน
    ที่เสด็จไปด้วยอนุปาทิเสสนิพพานไม่มีส่วนสมมติยังเหลืออยู่เลย]

    ด้วยเหตุที่ว่า ถ้าสิ่งใดๆไม่มีปรากฏแม้เพียงเสี้ยว ก็จะไม่สามารถบรรญัติธรรมนั้นๆขึ้นมาได้
    และท่านยังทรงตรัสสอนอีกว่า หากจะนิยามนิพพานนั้น ไม่ทำได้โดยง่ายเลย
    ที่จะสามารถให้ปุถุชนโดยทั่งไปได้รู้โดยทั่วถึง ซึ่งพระองค์ตรัสว่า

    “สิ่ง” สิ่งหนึ่งซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง
    เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ ไม่มีที่สุด
    มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบ, นั้นมีอยู่;
    ใน “สิ่ง” นั้นแหละ
    ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้;
    ใน “สิ่ง” นั้นแหละ
    ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่
    ความงาม ความ ไม่งาม ไม่หยั่งลงได้;
    ใน “สิ่ง” นั้นแหละ
    นามรูป ดับสนิทไม่มีเหลือ;
    นามรูป ดับสนิท ใน “สิ่ง” นี้
    เพราะการดับสนิทของวิญญาณ; ดังนี้แล.
    สี. ที. ๙/๒๘๙/๓๔๘-๓๕๐.

    เท่าที่พิจารณาด้วยเหตุและผลที่อิงพุทธพจน์ถ้าไม่มีส่วนสมมติเป็นจะมาปรากฏได้อย่างไร
    เพราะถ้าคำของสาวกถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์นั้น พระศาสดาซึ่งเป็นถึง
    ผู้รู้มรรค (มคฺคญฺญู) เป็นผู้รู้แจ้งมรรค (มคฺควิทู)
    เป็นผู้ฉลาดในมรรค (มคฺคโกวิโท).
    ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้ เป็น
    ผู้เดินตามมรรค (มคฺคานุคา) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.
    ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๒/๑๒๖.

    คำสอนนี้จะผิดไปทันที เพราะสาวกที่เป็นเพียงผู้เดินตามมรรค (มคฺคานุคา)
    สิ่งชื่อก็บอกว่าเป็นเพียงผู้เดินตามแต่จะมาบัญญัติคำสอนเสียเองนั้น
    จะเป็นไปได้หรือ เพราะพระพุทธเจ้าท่าน ทรงกําชับให้ศึกษาปฏิบัติ
    เฉพาะจากคําของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่นแม้สาวก

    ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้,
    สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน
    มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก**
    เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้
    ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก
    มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา,
    เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง
    ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน
    จึงพา กันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า ข้อนี้เป็นอย่างไร ?
    มีความหมายกี่นัย ? ดังนี้.

    ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้.
    ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้, ความ
    สงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้
    ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒


    ประเด็ดไม่ได้อยากจะลบหลู่ใครเลย เพราะโดยส่วนตัว
    ผมเองก็นับถือพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อยู่แล้ว
    เพียงแต่อยากนำความจริงมาเปิดเผยให้ปรากฏ และอยาก
    ด้วยปราถนาอยากจะให้ผู้อ่านคิดวิเคราะห์ให้ดีๆก่อนที่จะปรงใจเชื่อต่อสิ่งใด
    และสุดท้ายแม้ผู้อ่านได้ใจความกลับไปไม่มากก็น้อยนั่น
    ก็จะเป็นแนวความคิดที่จะสามารถจุดประกายความเห็นที่แท้จริงขึ้นมาได้.



    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
     
  2. จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,842
    ค่าพลัง:
    +16,082
    แนะนำนะครับ..




    เล่าเรื่องหลวงปู่มั่น (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)


    มีเรื่องเล่ากันนานปีมาแล้ว ว่าท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมาหาเถระ

    ท่านเคยเล่า ว่าคืนหนึ่งขณะท่านปฏิบัติอยู่ในป่า ใจร่ำร้องกราบพระพุทธบาทสมเด็จพระบรมศาสดา ขอประทานพระมหาเมตตาให้ท่านพระอาจารย์ท่านรู้วิธีปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสมปรารถนาได้พ้นทุกข์ และสมเด็จพระบรมศาสดาก็ทรงพระเมตตาเสด็จลงให้ท่านพระอาจารย์ได้เฝ้าพระพุทธบาทรับประทานวิธีปฏิบัติธรรมไปสู่ความไกลกิเลสได้สิ้นเชิง

    ท่านพระอาจารย์ท่านเล่าว่าสมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จลงให้ท่านได้เฝ้าพระพุทธบาท ได้เห็นพระพุทธองค์ดั่งได้เฝ้าพระองค์จริงขณะทรงดำรงพระชนมายุสังขารอยู่ฉะนั้น

    ไม่ทราบว่าท่านพระอาจารย์ท่านบอกหรือเปล่า ว่าท่านทีความปีติโสมนัสเพียงไรในบุญวาสนาของท่านที่ไม่น่าเป็นไปได้ในชีวิตผู้ใดแต่ได้เกิดแก่ชีวิตท่านพระอาจารย์ท่านแล้วจริงโปรดประทานพระมหากรุณาให้ท่านพระอาจารย์ท่านรู้วิธีเดินจงกรม วิธีปฏิบัติจิตใจ

    จนในที่สุดท่านพระอาจารย์ท่านก็ได้เป็นดั่งองค์แทนศิษยานุศิษย์ผู้สามารถปฏิบัติธรรมดำเนินถึงความพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง ได้เป็นพระอาจารย์สายปฏิบัติธรรมองค์สำคัญที่สุดอยู่ในยุคนี้ เป็นที่รู้กันอยู่ในบรรดาผู้ใส่ใจในการปฏิบัติธรรมทุกถ้วนหน้า

    เรื่องนี้ ที่ท่านพระอาจารย์ท่านได้เล่าไว้ ไม่เพียงทำให้ท่านได้เป็นอาจารย์ผู้สอนธัมมะสำคัญแก่ศิษยานุศิษย์มากหลาย แต่ทำให้ได้ความเข้าใจที่ไม่เคยเข้าใจมาก่อนเลย

    ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ว่าเมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จอยู่ในเมืองพระนิพพานแน่ ยังทรงได้รู้ได้เห็นได้ยินได้ฟัง ที่ควรแก่การได้รับพระพุทธเมตตา เช่นท่านอาจารย์มั่นท่านนั่นเอง ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่นท่านควรที่สุดแน่นอนแล้วที่จะได้รับพระมหากรุณา ผู้ปฏิบัติธรรมหรือผู้ศึกษาธรรมทั้งหลายย่อมเห็นด้วยกับความจริงนี้แน่นอน.

    แสงส่องใจ วิสาขบูชา ๒๕๕๐
    : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก



    กราบๆๆๆ ในพระเมตตาทรงชี้ทาง...

    อ่านเพิ่มเติมที่นี่...





    ขอฝากอีกอัน..

    กาลามสูตร คือ พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตตสูตร ก็มี[1]) กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่

    มา อนุสฺสวเนน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา
    มา ปรมฺปราย - อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆ กันมา
    มา อิติกิราย - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
    มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา
    มา ตกฺกเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง
    มา นยเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา
    มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ
    มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน
    มา ภพฺพรูปตา - อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้
    มา สมโณ โน ครูติ - อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา

    http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3
     
  3. Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    สงสัย จขกท มีแววโดนแบน ว่าจะอยู่ได้ไม่นานตั้งกระทู้ไปทั่วเลย -.-

    พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์เสด็จอนุโมทนา พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จริงครับ

    ลองศึกษาให้มากๆครับ จขกท.

    .
    โย ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ
    ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา
    (สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ สังฆาฎิสูตร ข้อ 272)
     
  4. Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    ที่เห็นนั้นเห็นจริง แต่สิ่งที่ถูกเห็นนั้นไม่จริง
    ผมเข้าใจว่าเจ้าของกระทู้คงแค่สงสัยเฉยๆ แต่คงไม่ได้มีเจตนาลบหลู่หรอก
    ศาสนาพุทธนั้นเป็นศาสนาแห่งปัญญา ไม่ใช่เน้นศรัทธาเป็นหลักแบบว่าใครพูดอะไรก็ให้เชื่อห้ามเถียงห้ามสงสัย

    พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้เองใน พรหมชาลสูตร ว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้วยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้วเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต เปรียบเหมือนพวงมะม่วง เมื่อขาดจากขั้วแล้ว ผลใดผลหนึ่งติดขั้วอยู่ ย่อมติดขั้วไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพ ขาดแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตได้ก็ชั่วเวลา ที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต.

    หลวงปู่ดูลย์ เคยกล่าวไว้ว่า

    สิ่งที่เห็น (พวกนิมิต ความฝันอะไรต่างๆ) ผู้เห็นนั้นเห็นจริง แต่สิ่งที่ถูกเห็นน่ะ ไม่จริง

    หลวงพ่อพุธเคยตอบปัญหาสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่พึ่งจะมรณภาพไปดังนี้

    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-poot/lp-poot-hist-01-10.htm

    อย่าว่าแต่ จขกท เลยที่สงสัย ขนาดพระสังฆราชยังเคยถามปัญหานี้กับพลวงพ่อพุธเลย
     
  5. อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    อาศัยแค่การศึกษาครึ่ง ๆ กลาง ๆ ลบหลู่ท่าน จะเป็นบาปกรรมไม่ใช่น้อย
    ทำไมไม่ศึกษาให้ท่องแท้ครบถ้วน แล้วค่อยนำความจริงมาเปิดเผย ทำให้ปรากฏครับ
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรื่องการรักษาความจริงไว้คือ
    "อย่าพึ่งคิดว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า"

    หนังสือประวัติหลวงปูมั่นเขียนโดยหลวงตามหาบัว
    ตอนที่เขียนเล่าว่าพระพุทธเจ้ามาพบพระอาจารย์มั่นก็มีเขียนอยู่จริง
    แต่ในภายหลังสมเด็จพระสังฆราชได้ทรงซักถามเรื่องนี้กับหลวงตามหาบัว
    หลวงตามหาบัวได้ให้คำตอบว่าเป็นการพบกันในนิมิต
     
  6. อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    "ทรงกําชับให้ศึกษาปฏิบัติ เฉพาะจากคําของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่นแม้สาวก" พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงตรัสไว้อย่างนี้

    พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า


    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ ๑ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้าน ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำเป็นไฉน ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถอันลึกล้ำ เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ไม่ตั้งใจฟังให้ดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีได้รจนาไว้เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก ซึ่งสาวกได้ภาษิตไว้ ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึงอนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ไม่สอบสวน ไม่เที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นไม่เปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ไม่ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่าง
    เสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่าบริษัทดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้านเป็นไฉน ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีรจนาไว้เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอกเป็นสาวกภาษิต ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ แต่ว่า เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถลึกล้ำ เป็นโลกุตระปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดีเงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมสอบสวนเที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นย่อมเปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และบรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลายบริษัทนี้เรียกว่า บริษัทผู้ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกเหล่านี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน เป็นเลิศ ฯ"

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๖๖/๒๙๐
     
  7. Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    แม้แต่ตอนที่หลวงปู่มั่นท่านยังไม่ถึงที่สุดแห่งธรรมก็ตาม จิตท่านที่เคยสะสมข้อมูลต่างๆไว้มากมายก็สามารถนำข้อมูลต่างๆมาปรุงขึ้นเป็นนิมิตพระพุทธเจ้ามาสอนตัวของท่านเองได้

    บางคนในที่นี้ก็สามารถปฏิบัติสมาธิจนสามารถเห็นนิมิตเป็น
    ครูบาอาจารย์ต่างๆที่มรณภาพไปแล้วมาเทศน์โปรดได้เหมือนกัน

    ถ้าท่านเหล่านนั้นนิพพานไปแล้ว ท่านเหล่านั้นๆไม่ได้มาจริงๆหรอก
    เป็นเพียงนิมิตที่จิตปรุงขึ้นในสมาธิเท่านั้นเอง
     
  8. อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    วัดนาป่าพงนำธรรมจากพุทธเจ้ามาสอน เท่ากับประกาศคำสอนของพระพุทธเจ้า
    คำสอนที่ออกจากปากพระอาจารย์คึกฤทธิ์ก็เป็นคำสอนของสาวกเหมือนกันกับพระสงฆ์ท่านอื่นที่นำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาประกาศ
    สาวกก็คือสาวก คำสาวกย่อมมีข้อผิดพลาดบ้าง พระอาจารย์คึกฤทธิ์สมัยแรก ๆ ก็เคยสอนผิดอยู่หลายครั้ง
    ปัญหาไม่ได้เกิดจากพระพุทธพจน์ แต่เกิดจากผู้นำคำสอนมาเผยแพร่ครับ
     
  9. อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    <iframe width="560" height="315" src="//www.youtube.com/embed/xF81LaCGeDU" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
  10. อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    <iframe width="560" height="315" src="//www.youtube.com/embed/x2ytPdi3Sug" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
  11. อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002


    ถาม ทำไมท่านอาจารย์ต้องห้ามการขายของในวัด?

    ตอบ วัดนี้ของพระพุทธเจ้าจะมีการค้าขายอะไรไม่ได้ ฉะนั้นจึงไม่ให้ค้าขายอะไรในวัด แม้แต่ขายอาหาร ขอให้ไปขายนอกวัด หรือริมวัด หรือที่ที่มันเหมาะสม อย่ามาขายในที่ที่ถือกันว่า เป็นลานวัด ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ในวัดมีการค้าขาย

    ที่ห้ามนี้ยังดีกว่านะ พระเยซูเตะเลย พระเยซูเตะกระจาดเงินของผู้ซื้อขายเงิน ขายของในโบสถ์ มีคนเอาของไปขายในโบสถ์ แลกเงินในโบสถ์ พระเยซูเตะกระจายหมดเลย นั่นรุนแรงเท่าไรล่ะ คิดดูสิ เรายังไม่รุนแรงถึงขนาดนั้น

    จึงได้ห้ามว่า อย่ามาขายของในวัดของพระพุทธเจ้า แม้แต่จะขายหนังสือธรรมะก็ไม่ควร แม้แต่จะขายเทปบันทึกเสียงของอาตมาเองก็ไม่ควร ถ้ามันมีลักษณะเป็นการค้าขายแล้ว อย่ามาค้าขายในวิหาร หรือในลานวัด ให้เป็นการแสดงว่า วัดนี้เป็นที่ค้าขาย

    ถาม ทำไมสวนโมกข์ไม่มีการจำหน่ายหนังสือเสียเอง เพื่อสะดวกแก่ผู้มาไม่ต้องเที่ยว ซื้อหาที่นั่นที่นี่?

    ตอบ คำตอบก็อย่างเดียวกันแหละ เพราะที่นี่มันเป็นวัด มันทำการค้าขายอะไรไม่ได้ และมันไม่ใช่หน้าที่ของวัด ไม่ใช่หน้าที่ของสวนโมกข์ ที่จะต้องขายหนังสือ มันไม่จำเป็น ถ้าขายอะไรได้ ขายหนังสือได้ ไม่เท่าไรก็ขายก๋วยเตี๋ยวได้ วัดจะขายก๋วยเตี๋ยวเสียเอง ขายกาแฟเสียเอง มันจะเป็นอย่างไร ที่อื่นใครจะทำก็ตามใจ ที่นี่ไม่ทำหรอก จะไม่ถึงกับขายก๋วยเตี๋ยว ขายกาแฟ…

    ลูกศิษย์ทั้งหลาย ขอให้คำว่า ลูกศิษย์ทั้งหลาย คือผู้ที่ชอบ และ รักใคร่ เลื่อมใส อย่าได้คิดหากิน กับอนุสาวรีย์ของอาจารย์เลย ลูกศิษย์ทั้งหลาย อย่าได้ใช้อนุสาวรีย์ของอาจารย์เป็นเครื่อง หากินเลย อาตมาจะมีสวนโมกข์ก็ดี มีหนังสือก็ดี มีรูปปั้นก็ดี มีอะไรก็ดี ท่านทั้งหลายอย่าได้ใช้ สิ่งเหล่านั้น เป็นเครื่องมือหากินเลย มันจะตกหนักไปกว่าเดิม…

    (คัดจากบางส่วนของคำบรรยายล้ออายุเมื่อ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๒๖)
    แผนกโสตฯ โรงมหรสพทางวิญญาณ สวนโมกขพลาราม ไชยา สุราษฎร์ธานี
     
  12. จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,842
    ค่าพลัง:
    +16,082


    ทั้งหลวงปู่ดูลย์ และหลวงพ่อพุธ ก็เป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในสายหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นทั้งสององค์ครับ...
    สาธุ....




    หลวงปู่พูดถึงพระอาจารย์ใหญ่



    ลูกศิษย์ลูกหาที่วัดบูรพารามเคยกราบเรียนหลวงปู่ดูลย์ อตุโล เกี่ยวกับเรื่องราวของท่าน พระอาจารย์ใหญ่ คือ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งหลวงปู่ก็ได้เล่าให้ฟังในอีกแง่มุมหนึ่ง ที่อาจแตกต่างจากที่เคยได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่านพบในที่ต่างๆ ไปบ้าง เห็นว่าน่าจะนำมาบันทึกรวมไว้เพื่อประโยชน์แก่ผู้สนใจด้วย

    ครั้งนั้น ผู้เขียน (พระโพธินันทมุนี) ได้กราบเรียนถามหลวงปู่ว่า, "ได้อ่านประวัติ ท่านพระอาจารย์มั่น ที่มีผู้เขียนไว้อย่างพิสดาร มีสิ่งเร้นลับเหนือวิสัยและอภินิหารบางอย่างอยู่ในนั้นมากมาย หลวงปู่เคยอ่านบ้างไหม และมีความเห็นอย่างไร?"

    หลวงปู่ตอบว่า "เคยอ่านเหมือนกัน แต่เมื่อสมัยที่เราอยู่กับท่านนั้น ไม่เคยได้ยินท่านพูดสิ่งเหล่านี้ให้ฟังเลย แต่ถ้าจะพูดในแง่ธุดงค์แล้ว ท่านอาจารย์ใหญ่จะถือธุดงค์อย่างเคร่งครัดที่สุด ยืนยันได้เลยว่า ลูกศิษย์ของท่านทั้งหมด ยังไม่มีผู้ใดถือได้เท่าเทียมกับท่านอาจารย์ใหญ่เลยแม้แต่องค์เดียว"

    แล้วหลวงปู่ก็เล่าต่อว่า ท่านพระปรมาจารย์ หรือท่านอาจารย์ใหญ่ของหลวงปู่นั้น จะไม่ยอมใช้ผ้าสบงจีวรสำเร็จรูป หรือ คหบดีจีวร ที่มีผู้ซื้อจากท้องตลาดมาถวายเลย นอกจากได้ผ้ามาเอง แล้วมาตัดเย็บย้อมเองทั้งหมดจึงใช้ และ ไม่เคยดำริหรือริเริ่มให้ใครคนใดคนหนึ่งสร้างวัดสร้างวาเลย มีแต่สัญจรไปเรื่อยๆ เมื่อเห็นว่าป่าตรงไหนเหมาะสมท่านก็อยู่ เริ่มด้วยการปักกลดแล้วทำที่สำหรับเดินจงกรม

    ส่วนญาติโยมผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เมื่อมาพบและมองเห็นความเหมาะสมสำคัญ ก็จะสร้างกุฏิน้อย สร้างศาลาชั่วคราวถวายท่าน นอกจากนั้น สถานที่นั้นก็กลายเป็นวัดป่าเจริญรุ่งเรืองต่อมา

    ยิ่งกว่านั้น แม้แต่การรับกฐินท่านก็ไม่เคย สมัยต่อมานั้นไม่ทราบและท่านไม่เคยถือเอาประโยชน์ที่ได้รับอานิสงส์พรรษาตามพระพุทธบัญญัติ ที่ให้สิทธิพิเศษแก่ภิกษุสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือน ได้รับการยกเว้นบางอย่างในการปฏิบัติ

    ท่านจะ ถือตามสิกขาบทโดยตลอด ไม่เคยยกเว้น ถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎของธุดงควัตรโดยสม่ำเสมอ

    ด้านอาหารการฉันก็เช่นเดียวกัน ท่านถือการบิณฑบาตโปรดสัตว์เป็นประจำไม่เคยขาด แม้จะเจ็บไข้ได้ป่วย แต่พอเดินได้ท่านก็เดิน จนกระทั่งในที่สุด เมื่อเดินไปบิณฑบาตไม่ได้ ท่านก็ลุกขึ้นยืนแล้วอุ้มบาตร ศิษยานุศิษย์ที่กลับมาจากบิณฑบาต และญาติโยมก็มาใส่บาตรให้ท่าน แล้วท่านก็ จะขบฉันเฉพาะอาหารที่อยู่ในบาตรเท่านั้น

    แม้เมื่อเวลาท่านชราภาพมากแล้ว เวลาท่านเจ็บไข้ หรือป่วยมากจนไม่อาจเดินออกนอกวัดได้ ก็ทราบว่าท่านเป็นอยู่อย่างนี้ และยังฉันอาหารมื้อเดียวตลอด

    แม้แต่หยูกยาคิลานเภสัชต่างๆ ที่ใช้ในยามเจ็บไข้ ท่านอาจารย์ใหญ่ก็ ไม่นิยมใช้ยาสำเร็จรูป หรือแม้แต่ยาตำราหลวง หากแต่พยายามใช้สมุนไพรตัวยาต่างๆ มาทำเอง ผสมเองเป็นประจำ

    แม้แต่การเข้าไปพักตามวัดก็นิยมพักที่วัดป่า จำได้ว่า ไม่เคยเข้าไปอยู่ในวัดบ้านเลย แต่จะอยู่วัดที่เป็นป่าหรือชายป่า เมื่อไม่มีวัดเช่นนี้อยู่ ท่านจะหลีกเร้นอยู่ตามชายป่า แม้ว่าจะมีความจำเป็นเวลาเดินทางก็ยากนักที่จะเข้าไปอาศัยวัดวาในบ้าน

    ครั้งหนึ่ง หลวงปู่ได้เล่าถึงคำสอนของท่านพระอาจารย์ใหญ่เกี่ยวกับการขบฉันภัตตาหารได้ว่า

    "ท่านอาจารย์ใหญ่สั่งสอนไว้ว่า การฉันอาหารต้องฉันอย่างประหยัด มีสติสัมปชัญญะ เพื่อขัดเกลาจิตใจมิให้เกิดความโลภ

    วิธีการฉันนั้น เมื่อรับข้าวสุกมากะว่าพออิ่มสำหรับตนแล้ว ให้แบ่งข้าวสุกที่ตนพออิ่มนั้นออกเป็น ๔ ส่วน เอาออกเสียส่วนหนึ่ง แล้วจึงรับเอากับข้าวมาในปริมาณที่เท่ากับส่วนหนึ่งที่เอาออกไป กล่าวคือ ให้มีข้าว ๓ ส่วน กับข้าว ๑ ส่วน แล้วจึงลงมือฉัน ท่านอาจารย์ใหญ่เอง ก็จะฉันภัตตาหารในลักษณะเช่นนี้โดยตลอด

    เมื่อมีผู้ใดจะตระเตรียมภัตตาหารในบาตรถวายท่าน ท่านอาจารย์ใหญ่ก็จะแนะนำให้จัดแจงมาในลักษณะเช่นนี้ แล้วท่านจึงฉัน"

    นี่คือปฏิปทาส่วนตัวของ ท่านพระอาจารย์ใหญ่ ท่านหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ตามที่หลวงปู่เล่าให้ฟัง ซึ่งหลวงปู่จะพูดถึงแต่ในแง่ที่ท่านถือธุดงค์ ในแง่ที่ท่านเคร่งครัดอย่างไร เพื่อให้ผู้สนใจซักถามนั้นได้ถือเป็นแบบแผนเยี่ยงอย่าง

    ส่วนคุณธรรมด้านอื่นๆ นั้น หลวงปู่เคยกล่าวในแวดวงนักปฏิบัติว่า "ท่านอาจารย์ใหญ่เป็นผู้ที่มีญาณใหญ่ไม่มีใครเทียบเท่าได้" ดังนี้เท่านั้น ส่วนคุณวิเศษหรืออภิญญาใดๆ ที่มีในตัวพระอาจารย์ใหญ่มั่นนั้น หลวงปู่ไม่เคยพูดถึงเลย
     
  13. Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    ผมเคยเตือนสติพวกที่เชื่อว่ามีพระพุทธเจ้าพระองค์จริงๆ มีตัวตนจริงๆ เสด็จมาจากแดนนิพพานว่า

    เป็นความเห็นที่ผิด

    เพราะถ้าพระพุทธเจ้ายังมีตัวตนจริงๆอยู่ในแดนนิพพานนะ
    พระอรหันต์สาวก 500 รูปที่ทำสังคายนาครั้งแรกคงไปถามพระพุทธเจ้าถึงแดนนิพพานแล้วหละว่า สิกขาบทเล็กน้อยที่พระพุทธเจ้าให้เพิกถอนได้ คืออะไรบ้าง ไม่ต้องเป็นปัญหาให้เถียงกันจนทุกวันนี้หรอก

    นอกจากนี้ยังมีลัทธิที่แอบอ้าง ว่าสามารถเอาข้าวทิพย์ไปถวายพระพุทธเจ้าในแดนนิพพานได้ เพราะคนส่วนใหญ่ที่โดนลัทธินั้นหลอก ไม่ได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ลึกซึ้ง จึงไม่รู้ว่าสิ่งที่ลัทธิดังกล่าวพูดมานั้นมันเป็นไปไม่ได้
     
  14. จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,842
    ค่าพลัง:
    +16,082
    ผมมองถึงเจตนาของผู้ตั้งกระทู้ว่าทำไมจึงตั้งในหลายๆ ห้อง??
    ผมเองคงไม่มีสติปัญญาำพอจะไปวินิจฉัยอะไรๆ เพราะทราบดีว่าตนเองเป็นปุุถุชน มากกว่าเรื่องอื่น

    สุดท้าย ผมคงห้ามใครไม่ไ้ด้ที่จะคิดเห็น
    แต่ผมก็แสดงความเห็นอย่างไม่กระทบใคร
    เพียงแต่แสดงให้เห็นว่า ปราชญ์ทางศาสนาพุทธหลายท่าน
    เช่น สมเด็จพระสังฆราช และหลวงปู่ดูลย์ มีความเห็นเป็นเช่นไรในเรื่องของหลวงปู่มั่น

    ฝากเรื่องน่าคิดไว้นะครับ...

    อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มรรควรรคที่ ๒๐

    หน้าต่างที่ ๕ / ๑๐.

    ๕. เรื่องพระโปฐิลเถระ [๒๐๘]
    ข้อความเบื้องต้น
    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระนามว่าโปฐิละ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โยคา เว" เป็นต้น.

    รู้มากแต่เอาตัวไม่รอด
    ดังได้สดับมา พระโปฐิละนั้นเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกในศาสนาของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป. พระศาสดาทรงดำริว่า "ภิกษุนี้ ย่อมไม่มีแม้ความคิดว่า "เราจักทำการสลัดออกจากทุกข์แก่ตน เราจักยังเธอให้สังเวช."
    จำเดิมแต่นั้นมา พระองค์ย่อมตรัสกะพระเถระนั้น ในเวลาที่พระเถระมาสู่ที่บำรุงของพระองค์ว่า "มาเถิด คุณใบลานเปล่า, นั่งเถิด คุณใบลานเปล่า, ไปเถิด คุณใบลานเปล่า แม้ในเวลาที่พระเถระลุกไป ก็ตรัสว่า "คุณใบลานเปล่าไปแล้ว."
    พระโปฐิละนั้นคิดว่า "เราย่อมทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ถึง ๑๘ คณะใหญ่ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดายังตรัสเรียกเราเนืองๆ ว่า "คุณใบลานเปล่า" พระศาสดาตรัสเรียกเราอย่างนี้ เพราะความไม่มีคุณวิเศษ มีฌานเป็นต้นแน่แท้."
    ท่านมีความสังเวชเกิดขึ้นแล้ว จึงคิดว่า "บัดนี้ เราจักเข้าไปสู่ป่าแล้วทำสมณธรรม" จัดแจงบาตรและจีวรเองทีเดียว ได้ออกไปพร้อมด้วยภิกษุผู้เรียนธรรม แล้วออกไปภายหลังภิกษุทั้งหมดในเวลาใกล้รุ่ง. พวกภิกษุนั่งสาธยายอยู่ในบริเวณ ไม่ได้กำหนดท่านว่า "อาจารย์." พระเถระไปสิ้น ๑๒๐ โยชน์แล้ว, เข้าไปหาภิกษุ ๓๐ รูป ผู้อยู่ในอาวาสราวป่าแห่งหนึ่ง ไหว้พระสังฆเถระแล้ว กล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของกระผม."
    พระสังฆเถระ. "ผู้มีอายุ ท่านเป็นพระธรรมกถึก สิ่งอะไรชื่อว่าอันพวกเราพึงทราบได้ ก็เพราะอาศัยท่าน, เหตุไฉน ท่านจึงพูดอย่างนี้?"
    พระโปฐิละ. ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอย่าทำอย่างนี้ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของกระผม.

    วิธีขจัดมานะของพระโปฐิละ
    ก็พระเถระเหล่านั้นทั้งหมด ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งนั้น. ลำดับนั้น พระมหาเถระส่งพระโปฐิละนั้นไปสู่สำนักพระอนุเถระ ด้วยคิดว่า "ภิกษุนี้มีมานะ เพราะอาศัยการเรียนแท้." แม้พระอนุเถระนั้นก็กล่าวกะพระโปฐิละนั้น อย่างนั้นเหมือนกัน. ถึงพระเถระทั้งหมด เมื่อส่งท่านไปโดยทำนองนี้ ก็ส่งไปสู่สำนักของสามเณรผู้มีอายุ ๗ ขวบผู้ใหม่กว่าสามเณรทั้งหมด ซึ่งนั่งทำกรรมคือการเย็บผ้าอยู่ในที่พักกลางวัน. พระเถระทั้งหลายนำมานะของท่านออกได้ด้วยอุบายอย่างนี้.

    พระโปฐิละหมดมานะ
    พระโปฐิละนั้นมีมานะอันพระเถระทั้งหลายนำออกแล้ว จึงประคองอัญชลีในสำนักของสามเณรแล้วกล่าวว่า "ท่านสัตบุรุษ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของผม."
    สามเณร. ตายจริง ท่านอาจารย์ ท่านพูดอะไรนั่น ท่านเป็นคนแก่ เป็นพหูสูต เหตุอะไรๆ พึงเป็นกิจอันผมควรรู้ในสำนักของท่าน
    พระโปฐิละ. ท่านสัตบุรุษ ท่านอย่าทำอย่างนี้ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของผมให้ได้.
    สามเณร. ท่านขอรับ หากท่านจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้ไซร้ ผมจักเป็นที่พึ่งของท่าน.
    พระโปฐิละ. ผมเป็นได้ ท่านสัตบุรุษ, เมื่อท่านกล่าวว่า "จงเข้าไปสู่ไฟ" ผมจักเข้าไปแม้สู่ไฟได้ทีเดียว.

    พระโปฐิละปฏิบัติตามคำสั่งสอนของสามเณร
    ลำดับนั้น สามเณรจึงแสดงสระๆ หนึ่งในที่ไม่ไกล แล้วกล่าวกะท่านว่า "ท่านขอรับ ท่านนุ่งห่มตามเดิมนั่นแหละ จงลงไปสู่สระนี้."
    จริงอยู่ สามเณรนั้น แม้รู้ความที่จีวรสองชั้นซึ่งมีราคามาก อันพระเถระนั้นนุ่งห่มแล้ว เมื่อจะทดลองว่า "พระเถระจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้หรือไม่" จึงกล่าวอย่างนั้น.
    แม้พระเถระก็ลงไปด้วยคำๆ เดียวเท่านั้น.
    ลำดับนั้น ในเวลาที่ชายจีวรเปียก สามเณรจึงกล่าวกะท่านว่า "มาเถิด ท่านขอรับ" แล้วกล่าวกะท่านผู้มายืนอยู่ด้วยคำๆ เดียวเท่านั้นว่า "ท่านผู้เจริญ ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง มีช่องอยู่ ๖ ช่อง, ในช่องเหล่านั้น เหี้ยเข้าไปภายในโดยช่องๆ หนึ่ง บุคคลประสงค์จะจับมัน จึงอุดช่องทั้ง ๕ นอกนี้ ทำลายช่องที่ ๖ แล้ว จึงจับเอาโดยช่องที่มันเข้าไปนั่นเอง, บรรดาทวารทั้งหก แม้ท่านจงปิดทวารทั้ง ๕ อย่างนั้นแล้ว จงเริ่มตั้งกรรม๑- นี้ไว้ในมโนทวาร."
    ด้วยนัยมีประมาณเท่านี้ ความแจ่มแจ้งได้มีแก่ภิกษุผู้เป็นพหูสูต ดุจการลุกโพลงขึ้นแห่งดวงประทีปฉะนั้น.
    พระโปฐิละนั้นกล่าวว่า "ท่านสัตบุรุษ คำมีประมาณเท่านี้แหละพอละ" แล้วจึงหยั่งลงในกรชกาย๒- ปรารภสมณธรรม.
    ____________________________
    ๑-๑. คำว่า กรรม ในที่นี้ ได้แก่ บริกรรม หรือกัมมัฏฐาน.
    ๒-๒. แปลว่า ในกายบังเกิดด้วยธุลี มีในสรีระ.

    ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งปัญญา
    พระศาสดาประทับนั่งในที่สุดประมาณ ๑๒๐ โยชน์เทียว ทอดพระเนตรดูภิกษุนั้นแล้วดำริว่า "ภิกษุนั้นเป็นผู้มีปัญญา (กว้างขวาง) ดุจแผ่นดินด้วยประการใดแล, การที่เธอตั้งตนไว้ด้วยประการนั้นนั่นแล ย่อมสมควร." แล้วทรงเปล่งพระรัศมีไป ประหนึ่งตรัสอยู่กับภิกษุนั้น
    ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
    ๕. โยคา เว ชายตี ภูริ อโยคา ภูริสงฺขโย
    เอตํ เทฺวธา ปถํ ญตฺวา ภวาย วิภวาย จ
    ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ.
    ปัญญาย่อมเกิดเพราะการประกอบแล, ความสิ้นไปแห่ง
    ปัญญาเพราะการไม่ประกอบ, บัณฑิตรู้ทาง ๒ แพร่งแห่งความ
    เจริญและความเสื่อมนั่นแล้ว พึงตั้งตนไว้โดยประการที่ปัญญา
    จะเจริญขึ้นได้.

    แก้อรรถ
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โยคา ความว่า เพราะการกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคายในอารมณ์ ๓๘.
    คำว่า "ภูริ" นั่น เป็นชื่อแห่งปัญญาอันกว้างขวาง เสมอด้วยแผ่นดิน. ความพินาศ ชื่อว่า ความสิ้นไป.
    สองบทว่า เอตํ เทวฺธา ปถํ คือ ซึ่งการประกอบและการไม่ประกอบนั่น.
    บาทพระคาถาว่า ภวาย วิภวาย จ คือ แห่งความเจริญและความไม่เจริญ.
    บทว่า ตถตฺตานํ ความว่า บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ โดยประการที่ปัญญา กล่าวคือภูรินี้จะเจริญขึ้นได้.
    ในกาลจบพระคาถา พระโปฐิลเถระตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ดังนี้.

    เรื่องพระโปฐิลเถระ จบ.
    --------------------------------------------

    แม้ว่า เป็นอรรถกถา ผมก็เห็นว่า เป็นเรื่องที่ควรรับฟังครับ..สาธุ

    ขออนุญาตแสดงความเห็นแค่นี้นะครับ สาธุทุกท่าน...
     
  15. Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ถ้าใช้ปัญญา หน่อยนะ

    ก็เพราะ รวมรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ยังไม่ปรินิพพาน ยังมีชีพอยู่ไงครับ
     
  16. อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    นิพพานแล้วไม่มีดินแดนที่บอกว่านิพพานเป็นดินแดนนั้น ถ้าพูดในความหมายเปรียบเทียบพอจะเข้าใจได้เหมือนสมมุติกับวิมุตติ มีแดนสมมุติมีแดนนิพพาน ปฏิบัติธรรมบรรลุธรรมคือหมดสมมุติไม่มาเกิดในแดนสมมติอีกแล้ว ส่วนจะไปอยู่แดนนิพพานหรือจะเรียกว่าอะไรก็ได้ เหมือนคำว่านิพพานก็เป็นคำสมมุติคำหนึ่ง คำว่าแดนนิพพานก็เป็นคำสมมุติเช่นกัน อาจจะเปรียบเทียบได้แบบนี้ การเอาข้าวทิพย์ถวายพระพุทธเจ้าในแดนนิพพานก็เป็นการเปรียบเทียบเช่นกัน คงไม่มีใครเอาข้าวไปถวายพระพุทธเจ้าได้จริง ๆ ผีหรือเทวดากินข้าวหยาบ ๆ เหมือนมนุษย์ไม่ได้ ทดลองดูได้ เอาข้าวไปให้ผีกินก่อนก็ได้ เดี๋ยวนี้คนก็ถวายข้าวพระพุทธเจ้ายังกับพวกเซ่นผี
     
  17. อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    "พระพุทธเจ้าที่ยังไม่นิพพานยังมีชีพอยู่" ความคิดแบบนี้เป็นความเห็นผิดแบบหนึ่ง คำขัดแยังกันเอง นิพพานหมายถึงดับเย็นเป็นอมตะ นิพพานหมายถึงความสิ้นไปของอาสวะหมดกิเลส ส่วนชีพหรือชีวิตจะดำรงอยู่ก็เฉพาะกายนี้ยังยังดำรงอยู่ หากกายนี้แตกดับตายไปถูกทำลายชีพดับตามไปด้วย ถ้ายังไม่บรรลุธรรมตายแล้วเกิด ใครไม่อยากก็ต้องเกิดเพราะยังมีตัณหาเป็นเหตุทำให้เกิด ส่วนพระอรหันต์ตายแล้วสิ้นชีพหมดชีวิตไม่ได้สูญ ส่วนที่บอกว่าพระพุทธเจ้ายังอยู่หมายถึง "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั่นเป็นพระพุทธเจ้า" มีความหมายอย่างนี้ ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้ายังดำรงชีพอยู่ในแดนนิพพาน
     
  18. Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    เรื่องแดนนิพพานที่เป็นสมมุติบัญญัตินั้นมีการพูดโดยทั่วไป แม้แต่ในพระไตรปิฎก แต่ความจริงแล้ว นิพพานมีอยู่แต่ก็ไม่ใช่ตัวตน อัตตา หรือเป็นดินแดนที่มีพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์เป็นตัวตนอาศัยอยู่ แต่อย่างใด

    ส่วนเรื่องลัทธิที่อ้างว่าพาคนไปถวายข้าวทิพย์ให้พระพุทธเจ้าในแดนนิพพานนั้นไม่ได้เป็นการพูดเชิงเปรียบเทียบแบบโวหารอุปมา

    แต่เป็นเจตนามุ่งหวังผลให้คนเอาทรัพย์มาแลกบุญ โดยอุปโลกว่าบุญเหมือนสินค้าอย่างหนึ่ง และบิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อเอาไปใช้หากินกับคนที่ไม่รู้

    Bloggang.com : Mr.Chanpanakrit -
     
  19. Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    บอกตัวเองเถอะ saber ว่า ใช้ปัญญา ค้นคว้าพระไตรปิฎกหน่อย

    หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ไปแล้ว 7 วัน พระสุภัททะ กล่าวจาบจ้วงพระพุทธเจ้าจนทำให้พระมหากัสสปะมีดำริที่จะทำสังคายนาพระธรรมวินัย ไม่ใช่พึ่งจะประชุม ทำสังคายนาครั้งแรก ตอนที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพนะ

     
  20. tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    สิ่งที่เห็น (พวกนิมิต ความฝันอะไรต่างๆ) ผู้เห็นนั้นเห็นจริง แต่สิ่งที่ถูกเห็นน่ะ ไม่จริง
    ============================

    พระที่สำเร็จอรหันต์แล้ว เมื่ออภิญญาปรากฏ นิมิตปรากฏ นิมิตที่ปรากฏนั้น ปรากฏจริง
    แต่สิ่งที่ปรากฏ นั้น มีทั้งจริงและไม่จริง หาใช่ว่าจะไม่จริงทั้งหมดหรือจริงทั้งหมด
    เพราะมีเหตุปัจจัยในความปรากฏ ว่าจริงหรือไม่จริง

    ========================
    เรื่องการมาปรากฏของพระพุทธเจ้าหลังจากที่พระองค์ปรินิพพาน ย่อมเป็นไปตามที่พระองค์ตรัส

    แต่การที่พระองค์ไม่ปรากฏให้เห็นย่อมมีเหตุผลของพระองค์
    กระผมเชื่อว่า จิตไม่สูญหายไปไหน

    หรือกล่าวได้ว่า หากเราเห็นผีเทพพรหมเทวดามีจริง [พระพุทธองค์ก็ตรัสว่ามีจริง] นั้นคือจิตที่ยังมีกิเลสมีจริง ยังคงเวียนว่ายอยู่จริง จิตที่ปราศจากกิเลส ดับอวิชาตัณหาอุปทาน ก็ย่อมต้องยังคงอยู่คือมีอยู่จริง แต่ไม่มีเหตุให้เวียนว่ายในวัฏฏะอีกแล้ว ไม่มีเหตุให้ปรากฏเห็นอีกก็เท่านั้นครับ

    ส่วนกรณีที่จิตหลวงปู่มั่น ท่านสามารถพบเห็นพระพุทธเจ้าได้นั้น ตรงนี้สามารถกระทำได้ และเป็นจริงได้เพราะจิตที่มีสภาพเดียวกัน ย่อมสามารถรู้เห็นในสภาพเช่นเดียวกันได้ครับ

    ใครที่คิดว่าจิตของพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ไม่มี ข้อนี้เป็นความเข้าใจที่ผิดครับ สาธุ
    และจากการปฏิบัติทางสมาธิของกระผมก็เชื่อมั่นอย่างนี้ เพราะได้พิสูจน์ด้วยตนเองมามากมายหลายประการจนเชื่อใจและมั่นใจ จึงขอกล่าวอีกครั้งว่า

    นิมิต เกิดปรากฏจริง แต่สิ่งที่ปรากฏมีทั้งจริงและไม่จริง หาใช่ว่าจะจริงแค่ส่วนเดียว หรือไม่จริงแค่ส่วนเดียว แต่นิมิตที่ปรากฏ ย่อมมีทั้งจริงและไม่จริง และการจะจริงหรือไม่จริงก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยอันเป็นรากฐานหรือมูลเหตุครับ สาธุ
     

แชร์หน้านี้