วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเอง

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย gatsby_ut, 18 มกราคม 2011.

  1. gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291

    <O:p

    ขณิกสมาธิ <O:p

    มีท่านพุทธศาสนิกชนมากท่าน ได้มีจดหมายมาขอวิธีปฏิบัติกรรมฐานแบบง่ายๆ เพื่อฝึกด้วยตนเอง อาตมาจึงเขียนวิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองขึ้น เป็นแบบฝึกใน หมวดสุกขวิปัสสโก คือฝึกแบบง่ายๆ ขอให้ท่านผู้สนใจปฏิบัติตามนี้<O:p

    สมาธิ<O:p

    อันดับแรก ขอให้ท่านผู้สนใจจงเข้าใจคำว่า สมาธิ ก่อน สมาธิ แปลว่า ตั้งใจมั่น หมายถึงการตั้งใจแบบเอาจริงเอาจังนั้นเอง ตามภาษาพูดเรียกว่า เอาจริงเอาจัง คือ ตั้งใจว่าจะทำอย่างไร ก็ทำอย่างนั้นอย่างเคร่งครัด ไม่เลิกล้มความตั้งใจ

    <O:p

    ความประสงค์ที่เจริญสมาธิ<O:p

    ความประสงค์ที่เจริญสมาธิ ก็คือ ต้องการให้อารมณ์สงัดและเยือกเย็น ไม่มีความวุ่นวายต่ออารมณ์ที่ไม่ต้องการ และความประสงค์ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ อยากให้พ้นอบายภูมิ คือไม่เกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉาน อย่างต่ำถ้าเกิดใหม่ขอเกิดเป็นมนุษย์และต้องการเป็นมนุษย์ชั้นดี คือ
    <O:p
    ๑. เป็นมนุษย์ที่มีรูปสวย ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน ไม่มีอายุสั้นพลันตาย
    ๒. เป็นมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์ด้วยทรัพย์ ทรัพย์สินไม่เสียหายด้วยไฟไหม้, โจรเบียดเบียน, น้ำท่วม หรือลมพัดทำลายให้เสียหาย
    ๓. เป็นมนุษย์ที่มีคนในปกครองอยู่ในโอวาท ไม่ดื้อด้านดันทุรังให้มีทุกข์ เสียทรัพย์สินเงินทองและเสียชื่อเสียง
    ๔. เป็นมนุษย์ที่มีวาจาไพเราะ เมื่อพูดออกไปเป็นที่พอใจของผู้รับฟัง
    ๕. เป็นมนุษย์ที่ไม่มีอาการปวดประสาท คือปวดศีรษะมากเกินไป ไม่เป็นโรคประสาท ไม่เป็นบ้าคลั่งเสียสติ<O:p
    รวมความโดยย่อก็คือ ต้องการเป็นมนุษย์ที่มีความสงบสุขทุกประการ เป็นมนุษย์ที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินทุกประการ ทรัพย์ไม่มีอะไร เสียหายจากภัย ๔ ประการ คือ ไฟไหม้ ลมพัด โจรรบกวน น้ำท่วม และเป็นมนุษย์ที่มีความสงบสุข ไม่เดือดร้อนด้วยเหตุทุกประการ<O:p

    ประสงค์ให้เกิดเป็นเทวดาหรือนางฟ้าบนสวรรค์<O:p

    บางท่านก็ต้องการไปเกิดบนสวรรค์ เป็นเทวดาหรือนางฟ้าที่มีร่างกายเป็นทิพย์ มีที่อยู่และสมบัติเป็นทิพย์ไม่มีคำว่าแก่ ป่วย และยากจน (ความปรารถนาไม่สมหวัง) เพราะเทวดาหรือนางฟ้าไม่มีความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย มีความปรารถนาสมหวังเสมอ
    บางท่านก็อยากไปเกิดเป็นพรหม ซึ่งมีความสุขและอานุภาพมากกว่าเทวดาและนางฟ้า บางท่านก็อยากไปนิพพาน
    เป็นอันว่าความหวังทุกประการตามที่กล่าวมาแล้วนั้นจะมีผลแก่ทุกท่านแน่นอน ถ้าท่านตั้งใจทำจริงและปฏิบัติตามขั้นตอน
    แบบที่บอกว่าปฏิบัติแบบง่ายๆ นี้ ถ้าปฏิบัติได้ครบถ้วนท่านจะได้ทุกอย่างตามที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดโดยใช้เวลาไม่นานนัก จะช้าหรือเร็วอยู่ที่ท่านทำจริงตามคำแนะนำหรือไม่เท่านั้นเอง<O:p

    อารมณ์ที่ต้องการในขณะปฏิบัติ<O:p

    สำหรับอารมณ์ที่ต้องการในขณะปฏิบัติ ท่านต้องเข้าใจเสียก่อนว่า เวลานั้นต้องการอารมณ์สบาย ไม่ใช่อารมณ์เครียด เมื่อมีอารมณ์เป็นสุขถือว่าใช้ได้ อารมณ์เป็นสุขไม่ใช่อารมณ์ดับสนิทจนไม่รู้อะไร เป็นอารมณ์ธรรมดาแต่มีความสบายเท่านั้นเอง ยังมีความรู้สึกตามปกติทุกอย่าง

    <O:p

    เริ่มทำสมาธิ<O:p

    เริมทำสมาธิใช้วิธีง่ายๆ ไม่ต้องมีพิธีรีตองมาก ใช้ธูปเทียนเท่าที่มีบูชาพระ ใช้เครื่องแต่งกายตามที่ท่านแต่งอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องแต่งตัวสีขาว ฯลฯ เป็นต้น เพราะไม่สำคัญที่เครื่องแต่งตัว ความสำคัญจริงๆ อยู่ที่ใจ ให้คุมอารมณ์ใจให้อยู่ตามที่เราต้องการก็ใช้ได้ <O:p

    อาการนั่ง<O:p

    อาการนั่ง ถ้าอยู่ที่บ้านของท่านตามลำพัง ท่านจะนั่งอย่างไรก็ได้ตามสบาย จะนั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ นั่งห้อยเท้าบนเก้าอี้หรือนอน ยืน เดิน ตามแต่ท่านจะสบาย ทั้งนี้หมายถึงหลังจากที่ท่านบูชาพระแล้ว เสร็จแล้วก็เริ่มกำหนดรู้ลมหายใจเข้าและหายใจออก คำว่ากำหนดรู้ คือ หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ ถ้าต้องการให้ดีมากก็ให้สังเกตด้วยว่า หายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้น ขณะที่รู้ลมหายใจนี้ และเวลานั้นจิตใจไม่คิดถึงเรื่องอื่นๆ เข้ามาแทรกแซง ก็ถือว่าท่านมีสมาธิมากแล้ว การทรงอารมณ์รู้เฉพาะลมหายใจเข้าออก โดยที่อารมณ์อื่นไม่แทรกแซง คือไม่คิดเรื่องอื่นใน
    เวลานั้น จะมีเวลามากหรือน้อยก็ตาม ชื่อว่าท่านมีสมาธิแล้ว คือตั้งใจรู้ลมหายใจโดยเฉพาะ<O:p


    การเจริญกรรมฐานโดยทั่วไปนิยมใช้คำภาวนาด้วย เรื่องคำภาวนานี้อาตมาไม่จำกัดว่าต้องภาวนาอย่างไร เพราะแต่ละคนมีอารมณ์ไม่เหมือนกัน บางท่านนิยมภาวนาด้วยคำสั้นๆ บางท่านนิยมใช้คำภาวนายาวๆ ทั้งนี้ก็สุดแล้วแต่ท่านจะพอใจ อาตมาจะแนะนำคำภาวนาอย่างง่ายคือ "พุทโธ" คำภาวนาบทนี้ ง่าย สั้น เหมาะแก่ผู้ฝึกใหม่ มีอานุภาพและมีอานิสงส์มาก เพราะเป็นนามของพระพุทธเจ้า การนึกถึงพระพุทธเจ้าเฉยๆ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในเรื่อง มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ว่า คนที่นึกถึงชื่อท่านอย่างเดียว ตายไปเกิดเป็นเทวดาหรือนางฟ้าบนสวรรค์ ไม่ใช่นับร้อยนับพัน

    พระองค์ตรัสว่านับเป็นโกฏิๆ เรื่องนี้จะนำมาเล่าสู่กันฟังข้างหน้าเมื่อถึงวาระนั้น<O:p
    เมื่อคำภาวนาควบคู่กับรู้ลมหายใจ จงทำดังนี้ เวลาหายใจเข้านึกว่า "พุท" เวลาหายใจออกนึกว่า "โธ" ภาวนาควบคู่กับรู้ลมหายใจตามนี้เรื่อยๆ ไปตามสบาย ถ้าอารมณ์ใจสบายก็ภาวนาเรื่อยๆ ไป แต่ถ้าเกิดอารมณ์ใจหงุดหงิดหรือฟุ้งซ่านจนตั้งอารมณ์ไม่อยู่ก็จงเลิกเสีย จะเลิกเฉยๆ หรือดูโทรทัศน์ หรือฟังวิทยุ หรือหาเพื่อนคุยให้อารมณ์สบายก็ได้ (เพื่อเป็นการผ่อนคลายอารมณ์) อย่ากำหนดเวลาตายตัวว่าต้องนั่งให้ครบเวลาเท่านั้นเท่านี้แล้วจึงจะเลิก ถ้ากำหนดอย่างนั้นเกิดอารมณ์ฟุ้งซ่านขึ้นมา จะเลิกก็เกรงว่าจะเสียสัจจะที่กำหนดไว้ ใจก็เพิ่มความฟุ้งซ่านมากขึ้น ถ้าเป็นเช่นนี้บ่อยๆ ก็จะเกิดเป็นโรคประสาทหรือเป็นโรคบ้า ขอทุกท่านจงอย่าทนทำอย่างนั้น<O:p

    ขณิกสมาธิ<O:p

    อารมณ์ที่ทรงสมาธิระยะแรกนี้จะทรงไม่ได้นาน เพราะเพิ่งเริ่มใหม่ ท่านเรียกสมาธิระยะนี้ว่า ขณิกสมาธิ คือสมาธิเล็กน้อย ความจริงสมาธิถึงแม้ว่าจะทรงอารมณ์ไม่ได้นานก็มีอานิสงส์มาก เช่น ท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร<O:p

    ฝึกทรงอารมณ์<O:p

    อารมณ์ทรงสมาธิถึงแม้ว่าจะทรงได้ไม่นาน แต่ท่านทำด้วยความเคารพก็มีผลมหาศาล ตามที่ทราบมาแล้วในเรื่องมัฏฐกัณฑลีเทพบุตร แต่ถ้ารักษาอารมณ์ได้นานกว่ามีสมาธิดีกว่า จะมีผลมากกว่านั้นมาก การฝึกทรงอารมณ์ให้อยู่นาน หรือที่เรียกว่ามีสมาธินานนั้น ในขั้นแรกให้ทำดังนี้

    ให้ท่านภาวนาควบคู่กับรู้ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้านึกว่า "พุท" หายใจออกนึกว่า "โธ" ดังนี้นับเป็นหนึ่ง นับอย่างนี้สิบครั้งโดยตั้งใจว่าในขณะที่ภาวนาและรู้ลมเข้าลมออกอย่างนี้ ในระยะสิบครั้งนี้เราจะไม่ยอมให้อารมณ์อื่นเข้ามาแทรกคือไม่ยอมคิดอย่างอื่น จะประคองใจให้อยู่ในคำภาวนา และรู้ลมเข้าลมออก ทำครั้งละสิบเพียงเท่านี้ ไม่ช้าสมาธิของท่านจะทรงตัวอยู่อย่างน้อยสิบนาทีหรือครึ่งชั่วโมง จะเป็นอารมณ์ที่เงียบสงัดมาก อารมณ์จะสบาย จงพยายามทำอย่างนี้เสมอๆ ทางที่ดีทำแบบนี้เมื่อเวลานอนก่อนหลับและตื่นใหม่ๆ จะดีมาก บังคับอารมณ์เพียงสิบเท่านั้นพอ ใช้เวลาประมาณ หนึ่งเดือนจะสามารถทรงอารมณ์เป็นฌานได้เป็นอย่างดี

    <O:p

    อย่าฝืนอารมณ์ให้มากนัก<O:p

    เรื่องของอารมณ์เป็นเรื่องไม่แน่นอนนัก ในกาลบางคราวเราสามารถควบคุมได้ตามที่เราต้องการ แต่ในกาลบางคราวเราก็ไม่สามารถควบคุมได้ เพราะกระสับกระส่ายเสียจนคุมไม่อยู่ ในตอนนั้นเราควรจะยอมแพ้มัน เพราะถ้าขืนต่อสู้จะเกิดอารมณ์หงุดหงิดหรือเครียดเกินไป ในที่สุดถ้าฝืนเสมอๆ แบบนั้น อารมณ์จะกลุ้ม สมาธิจะไม่เกิด สิ่งที่จะเกิดแทนคือ อารมณ์กลุ้ม เมื่อปล่อยให้กลุ้มบ่อยๆ ก็อาจจะเป็นโรคประสาทได้
    <O:p
    ข้อที่ควรระวังก็คือ ทำแบบการนับดังกล่าวแล้วนั้นสามารถทำได้ถึงสิบครั้ง หรือบางคราวทำได้เกินสิบครั้งก็ทำเรื่อยๆ ไป ถ้าภาวนาไปไม่ถึงสิบ อารมณ์เกิดรวนเร กระสับกระส่าย ให้หยุดสักประเดี๋ยวหนึ่งแล้วทำใหม่ สังเกตดูอารมณ์ว่าจะสามารถควบคุมภาวนาไปได้ไหม ถ้าสามารถควบคุมให้อยู่ภายในขอบเขตของภาวนาได้ และรู้ลมหายใจเข้าออกควบคู่กันไปได้ดีก็ทำเรื่อยๆ ไป แต่ถ้าควบคุมไม่ไหวจริงๆ ให้พักเสียก่อน จนกว่าใจจะสบายแล้วจึงทำใหม่ หรือเลิกไปเลย วันนั้นพัก ไม่ต้องทำเลย ปล่อยอารมณ์ให้รื่นเริงไปกับการคุย หรือชมโทรทัศน์หรือฟังวิทยุ หรือหลับไปเลย เพื่อให้ใจสบาย ให้ถือว่าทำได้เท่าไหร่พอใจเท่านั้น ถ้าทำอย่างนี้ไม่ช้าจะเข้าถึงจุดดี คือ อารมณ์ฌาน
    <O:p
    คำว่า ฌาน คือ อารมณ์ชิน ได้แก่ เมื่อต้องการจะรู้ลมหายใจเข้าออกเมื่อไร อารมณ์ทรงตัวทันที ไม่ต้องเสียเวลาตั้งท่าตั้งทางเลย ภาวนาเมื่อไรใจสบายเมื่อนั้น แต่ทว่าอารมณ์ฌานโลกีย์ที่ทำได้นั้นเอาแน่นอนไม่ได้ เมื่อร่างกายปกติ ไม่เหนื่อย ไม่เพลีย ไม่ป่วย มันก็สามารถคุมอาการภาวนาหรือรู้ลมหายใจเข้าออกได้สบาย ไม่มีอารมณ์ขวาง แต่ถ้าร่างกายพร่องนิดเดียวเราก็ไม่สามารถคุมให้อยู่ตามที่เราต้องการได้

    ฉะนั้นถ้าหลงระเริงเล่นแต่อารมณ์สมาธิอย่างเดียว จะคิดว่าเราตายคราวนี้หวังได้สวรรค์ พรหมโลก นิพพานนั้น (เอาแน่นอนไม่ได้) เพราะถ้าก่อนตายมีทุกขเวทนามาก จิตอาจจะทรงอารมณ์ไม่อยู่ ถ้าจิตเศร้าหมองขุ่นมัวเมื่อก่อนตาย อาจจะไปอบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉานได้ ยกตัวอย่าง พระเทวทัต ท่านได้อภิญญาโลกีย์มีฤทธิ์มาก แต่ก่อนจะตายเกิดมีอารมณ์หลงผิดคิดประทุษร้ายพระพุทธเจ้า เมื่อตายแล้วลงอเวจีมหานรกไป พวกเราเองก็เหมือนกันถ้าหลงทำเฉพาะสมาธิ ไม่หาทางเอาธรรมะอย่างอื่นเข้าประคับประคอง สมาธิก็ไม่สามารถช่วยได้ จึงต้องใช้ธรรมะอย่างอื่นเข้าประคองใจด้วย ธรรมะที่ช่วยประคองใจให้เกิดความมั่นคงไม่ต้องลงอบายภูมิ มีนรกเป็นต้นนี้ ก็ได้แก่ กรรมบถ ๑๐ ประการ คือ <O:p


    กรรมบถ ๑๐<O:p

    ๑. ไม่ฆ่าสัตว์หรือไม่ทรมานสัตว์ให้ได้รับความลำบาก
    ๒. ไม่ลักทรัพย์ คือไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เขาไม่ให้ด้วยความเต็มใจ
    ๓. ไม่ทำชู้ในบุตรภรรยาและสามีของผู้อื่น
    (ขอแถมนิดหนึ่ง ไม่ดื่มสุราและเมรัยที่ทำให้มึนเมาไร้สติ)
    ๔. ไม่พูดวาจาที่ไม่ตรงความเป็นจริง
    ๕. ไม่พูดวาจาหยาบคายให้สะเทือนใจผู้ฟัง
    ๖. ไม่พูดส่อเสียดยุให้รำตำให้รั่ว ทำให้ผู้อื่นแตกร้าวกัน
    ๗. ไม่พูดเพ้อเจ้อ เหลวไหล
    ๘. ไม่คิดอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่นที่เจ้าของเขาไม่ยกให้
    ๙. ไม่คิดประทุษร้ายใคร คือไม่จองล้างจองผลาญเพื่อทำร้ายใคร
    ๑๐. เชื่อพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของท่านด้วยดี

    <O:p

    อานิสงส์กรรมบถ ๑๐<O:p

    ท่านที่ปฏิบัติในกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ ท่านเรียกชื่อเป็นกรรมฐานกองหนึ่งเหมือนกัน คือ ท่านเรียกว่า สีลานุสสติกรรมฐาน หมายความว่าเป็น ผู้ทรงสมาธิในศีล

    ท่านที่ปฏิบัติในกรรมบถ ๑๐ ประการได้นั้น มีอานิสงส์ดังนี้<O:p
    ๑. อานิสงส์ข้อที่หนึ่ง จะเกิดเป็นคนมีรูปสวย ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บรบกวน มีอายุยืนยาว ไม่อายุสั้นพลันตาย
    ๒. อานิสงส์ข้อที่สอง เกิดเป็นคนมีทรัพย์มาก ทรัพย์ไม่ถูกทำลายเพราะโจร ไฟไหม้ น้ำท่วม ลมพัด จะมีทรัพย์สมบัติบริบูรณ์ขั้นมหาเศรษฐี
    ๓. อานิสงส์ข้อที่สาม เมื่อเกิดเป็นคนจะมีคนที่อยู่ในบังคับบัญชาเป็นคนดี ไม่ดื้อด้าน อยู่ภายในคำสั่งอย่างเคร่งครัด มีความสุขเพราะบริวาร และการไม่ดื่มสุราเมรัย เมื่อเกิดเป็นคนจะไม่มีโรคปวดศีรษะที่ร้ายแรง ไม่เป็นโรคเส้นประสาท ไม่เป็นคนบ้าคลั่ง จะเป็นคนมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด<O:p
    เรื่องของวาจา<O:p
    ๔. อานิสงส์ข้อที่สี่, ข้อห้า, ข้อหก, และข้อเจ็ด เมื่อเกิดเป็นคนจะเป็นคนปากหอม หรือมีเสียงทิพย์ คนที่ได้ยินเสียงท่านพูดเขาจะไม่อิ่มไม่เบื่อในเสียงของท่าน ถ้าเรียกตามสมัยปัจจุบันจะเรียกว่าคนมีเสียงเป็นเสน่ห์ก็คงไม่ผิด จะมีความเป็นอยู่ที่เป็นสุขและทรัพย์สินมหาศาลเพราะเสียง<O:p
    เรื่องของใจ<O:p
    ๕. อานิสงส์ข้อที่แปด, ข้อเก้า, และข้อสิบ เป็นเรื่องของใจ คืออารมณ์คิด ถ้าเว้นจากการคิดลักขโมยเป็นต้น ไม่คิดจองล้างจองผลาญใคร เชื่อพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตามคำสอนของท่านด้วยความเคารพ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์จะเป็นคนมีอารมณ์สงบและมีความสุขสบายทางใจ ความเดือดเนื้อร้อนใจในกรณีใดๆ ทุกประการจะไม่มีเลย มีแต่ความสุขใจอย่างเดียว
    <O:p
    อานิสงส์รวม<O:p
    เมื่อกล่าวถึงอานิสงส์รวมแล้ว ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานในขั้นนี้ ถึงแม้ว่าจะทรงสมาธิไม่ได้นานตามที่เรียกว่า ขณิกสมาธิ นั้น ถ้าสามารถทรงกรรมบถ ๑๐ ประการได้ครบถ้วน ท่านกล่าวว่า เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิอีกต่อไป บาปที่ทำไว้ตั้งแต่สมัยใดก็ตาม ไม่มีโอกาสนำไปลงโทษในอบายภูมิมีนรกเป็นต้น อีกต่อไป
    <O:p
    ถ้าบุญบารมีไม่มากกว่านี้ ตายจากคนไปเป็นเทวดาหรือพรหม เมื่อหมดบุญแล้วลงมาเกิดเป็นมนุษย์ จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ในชาตินั้น แต่ถ้าเร่งรัดการบำเพ็ญเพียรดี รู้จักใช้ปัญญาอย่างมีเหตุผล ก็สามารถบรรลุมรรคผลเข้าถึงพระนิพพานได้ในชาตินี้


    <O:p

    แนะวิธีรักษากรรมบถ ๑๐

    การที่จะทรงความดีเต็มระดับตามที่กล่าวมาให้ครบถ้วนให้ปฏิบัติตามนี้ <O:p
    ๑. คิดถึงความตายไว้ในขณะที่สมควร คือไม่ใช่ทุกลมหายใจเข้าออก เมื่อตื่นขึ้นใหม่ๆ อารมณ์ใจยังเป็นสุข ก่อนที่จะเจริญภาวนาอย่างอื่น ให้คิดถึงความตายก่อน คิดว่าความตายอาจจะเข้ามาถึงเราในวันนี้ก็ได้ จะตายเมื่อไรก็ตามเราไม่ขอลงอบายภูมิ ที่เราจะไปคือ อย่างต่ำไปสวรรค์ อย่างกลางไปพรหม ถ้าไม่เกินวิสัยแล้ว ขอไปนิพพานแห่งเดียว คิดว่าไปนิพพานเป็นที่พอใจที่สุดของเรา

    <O:p
    ๒. คิดต่อไปว่าเมื่อความตายจะเข้ามาถึงเราจะเป็นในเวลาใดก็ตาม เราขอยึดพระพุทธเจ้า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต คือไม่สงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า ยอมเคารพด้วยศรัทธา คือความเชื่อถือในพระองค์ ขอให้ปฏิบัติตามคำสอน คือกรรมบถ ๑๐ ประการโดยเคร่งครัด ถ้าความตายเข้ามาถึงเมื่อไรขอไปนิพพานแห่งเดียว

    <O:p
    เมื่อนึกถึงความตายแล้วตั้งใจเคารพ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์สาวก แล้วตั้งใจนึกถึงกรรมบถ ๑๐ ประการว่ามีอะไรบ้าง ตั้งใจจำและพยายามปฏิบัติตามอย่าให้พลั้งพลาด คิดติดตามข้อปฏิบัติเสมอว่ามีอะไรบ้าง ตั้งใจไว้เลยว่าวันนี้เราจะไม่ยอมละเมิดสิกขาบทใดสิกขาบทหนึ่งเป็นอันขาด เป็นธรรมดาอยู่เองการที่ระมัดระวังใหม่ๆ อาจจะมีการพลั้งพลาดพลั้งเผลอในระยะต้นๆ บ้างเป็นของธรรมดา แต่ถ้าตั้งใจระมัดระวังทุกๆ วัน ไม่นานนัก อย่างช้าไม่เกิน ๓ เดือน ก็สามารถรักษาได้ครบ มีอาการชินต่อการรักษาทุกสิกขาบท จะไม่มีการผิดพลาดโดยที่เจตนาเลย เมื่อใดท่านทรง

    อารมณ์กรรมบถ ๑๐ ประการได้ โดยที่ไม่ต้องระวัง ก็ชื่อว่าท่านทรงสมาธิขั้น ขณิกสมาธิ ได้ครบถ้วน เมื่อตายท่านไปสวรรค์หรือพรหมโลกได้แน่นอน

    <O:p
    ถ้าบารมีอ่อน เกิดเป็นมนุษย์อีกชาติเดียว ไปนิพพานแน่ ถ้าขยันหมั่นเพียรใช้ปัญญาแบบเบาๆ ไม่เร่งรัดเกินไป รักษาอารมณ์ใจให้เป็นสุข ไม่เมาในร่างกายเราและร่างกายเขา ไม่ช้าก็บรรลุพระนิพพานได้แน่นอน เป็นอันว่าการปฏิบัติขั้นขณิกสมาธิจบเพียงเท่านี้

    อ้างอิง คำสอนพระราชพรหมยาน

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1024095/[/MUSIC]​
     
  2. ผักขม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +235
  3. ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260


    *


    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา </O:p>
    *
     
  4. ผู้หลงผิด Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +65
    กราบอนุโมทนา..กับทุกดวงจิตลูกหลาน พระเดชพระคุณหลวงพ่อครับ
     
  5. bcbig_beam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +3,246
    อานิสงส์รวม<O:p
    เมื่อกล่าวถึงอานิสงส์รวมแล้ว ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานในขั้นนี้ ถึงแม้ว่าจะทรงสมาธิไม่ได้นานตามที่เรียกว่า ขณิกสมาธิ นั้น ถ้าสามารถทรงกรรมบถ ๑๐ ประการได้ครบถ้วน ท่านกล่าวว่า เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิอีกต่อไป บาปที่ทำไว้ตั้งแต่สมัยใดก็ตาม ไม่มีโอกาสนำไปลงโทษในอบายภูมิมีนรกเป็นต้น อีกต่อไป
    <O:p
    ถ้าบุญบารมีไม่มากกว่านี้ ตายจากคนไปเป็นเทวดาหรือพรหม เมื่อหมดบุญแล้วลงมาเกิดเป็นมนุษย์ จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ในชาตินั้น


    แต่ถ้าเร่งรัดการบำเพ็ญเพียรดี รู้จักใช้ปัญญาอย่างมีเหตุผล ก็สามารถบรรลุมรรคผลเข้าถึงพระนิพพานได้ในชาตินี้

    ขอกราบโมทนาในธรรมทานด้วยครับ
    สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

     
  6. Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004
  7. อรชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +11,465
  8. ทิพย์ปทุโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    555
    ค่าพลัง:
    +2,471
    ถ้าไม่ได้พบหลวงพ่อฤๅษีฯ ไม่ได้ใคร่ครวญคำสั่งสอนของหลวงพ่อ ไม่น้อมคำสั่งสอนนั้นมาปฏิบัติ ไม่พยายามสู้กับอำนาจใฝ่ต่ำ ที่อยู่ล้อมรอบตัว ชีวิตคงไม่ดีขึ้น และมีความสุขอย่างทุกวันนี้
    แม้งานสังสรรค์ปีใหม่ที่ผ่านมา เราจะกลายเป็นคนแปลกแยก เราก็ยินดีน้อมรับคำตำหนิ มีความสุขมากที่หลุดออกจากสิ่งแปดเปื้อนเหล่านั้นมาได้

    บางคนเห็นเหล้าเป็นแฟน เพราะซื่อสัตย์ กินกี่ทีก็เมาทุกที ไม่เคยไม่เมา เนื้อตัวแปดเปื้อน เลอะเทอะ เขามีสระน้ำให้ไปล้างออก เมื่อไม่ทำ ปล่อยให้สกปรกอยู่อย่างนั้น ไม่ใช่ความผิดสระน้ำ ทางนิพพานมีให้เดิน ไม่เดิน ไม่ใช่ความผิดของทาง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. เพชรฉลูกัน ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    18,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    24
    ค่าพลัง:
    +23,180
    หลวงพ่อท่านคือพ่อในทางธรรม...คำสอนของพระอรหันต์ที่ในกึ่งพุทธกาลหลังหาไม่ได้อีกแล้ว ย่อมทันสมัยและใช้ได้อยู่เสมอ(อกาลิโก):cool:
     
  10. pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    มาอนุโมทนาบุญด้วยคนจ้าคุณลุง..สาธุ :VO:VO:VO
     
  11. ปรมัตถบารมี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    667
    ค่าพลัง:
    +3,449
    คำสอนของหลวงพ่อฤาษีเข้าใจง่ายมากครับ
     
  12. Nutthawut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    162
    ค่าพลัง:
    +479
    คำสอนพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่าน ฟังง่ายปฏิบัติได้จริงขอเพียงมีความเพียรให้ถึงพร้อม โดยใช้หลักอิทธิบาท ๔ คือ
    ๑. ฉันทะ มีความพอใจชอบใจที่จะปฏิบัติให้เกิดผล
    ๒. วิริยะ มีความเพียรพยายามตั้งใจจริงในการปฎิบัติตามคำสอนที่องค์หลวงพ่อฯท่านได้เมตตาสอน
    ๓. จิตตะ ทำจิตให้ว่างจากอารมณ์ต่างๆ หมั่นพิจรณาในข้อธรรมะและวิธีปฏิบัติดังกล่าว
    ๔. วิมังสา พิจารณาข้อปฏิบัติด้วยปัญญาหาเหตุและผลจนเข้าใจคำสอนอย่างละเอียดแจ่มแจ้ง

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกท่านครับ

    กราบอนุโมทนากับพี่อริยบุตรเป็นอย่างสูงครับ


     
  13. ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731

    อนุโมทนาค่ะ สาธุ
     
  14. jakarat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +148
    สาธุอนุโมทนาด้วยคับ ขอให้ผมจงมีจิตใจที่ใสสะอาดและบรรลุพระนิพพานด้วยเทอญ
     

แชร์หน้านี้