การปรับระดับของสมาธินั้น ทำได้โดย
1. มีสติประคองตลอดเวลาในขณะเข้าสมาธิ
2. ระลึกรู้อาการของจิตตนเองตลอดเวลาที่อยู่ในสมาธิ
3. สังเกตความต่างของจิตตนเอง ในระหว่าง เริ่มบริกรรม จนกระทั่ง เกิดปีติ และจนกระทั่งเข้าความว่าง
4. จดจำอาการลักษณะจิตในระว่างที่อยู่ในสภาวะต่างๆ กันเหล่านั้น
5. นั่งสมาธิครั้งต่อๆ ไป ทดลองกำหนดจิตตนเอง ให้เข้าไปอยู่ในสภาวะเหล่านั้น โดยตั้งใจกำหนดให้เป็นไปเอง และควบคุมเปลี่ยนแปลงสภาวะด้วยตนเอง (ด้วยการระลึกถึงลักษณะที่เราจดจำไว้)
ฝึกทำให้มากๆ จะได้สิ่งที่เรียกว่า "วสี" ครับ
ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
อาการที่ความทรงจำหายไปชั่วขณะ สมาธิเรียกว่าอะไรหรอคะ อยู่ในสมาธิระดับใดคะ
ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย M_Y, 1 ธันวาคม 2013.
หน้า 3 ของ 4
-
ขอบคุณอย่างยิ่งสำหรับคำชี้แนะครับ ขอให้คุณอินทรบุตร และทุกท่านเจริญในธรรมด้วยกันทุกๆ ท่านนะครับ
-
อาการที่ความทรงจำหายไปชั่วขณะ สมาธิเรียกว่าอะไรหรอคะ อยู่ในสมาธิระดับใดคะ
คุณไม่ได้ทำผิดวิธีแต่อย่างใดครับ
แต่คุณไปทำสมาธิ ขั้น อรูปญาน ได้ต่างหาก
ซึ่งเป็นสิ่งที่คนทั่วๆ ไป ทำกันไม่ค่อยได้
จึงเป็นที่รุ้จักน้อยมาก ที่มีในเวปนี้
ก็นับจำนวนได้ มีไม่ถึง สิบคน
โดยขณะที่คุณเอาจิต มารวมอยู่ที่ลิ้นปี่
เวลานั้นคุณไม่ได้เพ่งอะไรที่เป็นรูปร่าง
จึงเป็นการเพ่งสิ่งที่ไม่มีรูปร่างแทน คือ
ความว่าง, ช่องว่าง, อากาศ เข้าโดยบังเอิญ
และคุณได้เกิดความรู้สีก เป็นสุข ที่ได้ทำแค่นั้น
เป็นการเข้าญานสี่ โดยบังเอิญอีก
หากเพ่งอย่างนี้ ได้บ่อยๆ
คุณจะชำนาญอรูป ขั้น อากาส อย่างแน่นอน
ส่วนที่คุณว่า
รู้เข้าไปในความว่าง ไม่ได้บริกรรมอะไรเลยค่ะ
รู้เข้าไปในความว่างอย่างเดียว
อาการที่ คุณรู้ถึงความว่าง หรือ รู้เข้าไปในความว่าง นั้น
ตัวรู้ หรือ ผู้รู้ หรือ รู้ หรือ การรู้
เป็นอาการของอรูปขั้นที่สาม คือ อากิญจัญญา
หากเพ่งที่ อาการรู้ ตัวนี้บ่อยๆ
จะทำให้คุณชำนาญในขั้นนี้ ได้ไม่อยาก อย่างแน่นอน
ส่วนที่คุณว่า
รู้แต่ว่าเห็นแสงสว่างสีขาว เป็นวงกลมเล็กๆ แล้วก็ขยายใหญ่ขึ้น
เป็นวงซ้อนกันและจ้าขึ้นเรื่อยๆ
อันนี้เป็นอาการที่ญานของคุณ
หลุดออกไปหารูปญาน คือ กสินแสงสว่าง
โดยที่ แสงสว่าง นี้ เป็นกสินที่คุณเคยทำได้
ในอดีตชาตินั่นเอง และเมื่อไหร่ที่จิตคุณเป็นสมาธิ
คุณจะเจอกสินแสงสว่างนี้อีก
และตอนสุดท้ายนี้ ที่คุณบอกว่า
รู้สึกเหมือนความจำเสื่อมไปชั่วขณะ ไม่รู้ว่าที่นี่ที่ไหน เราเป็นใคร
มาทำอะไรที่นี่ พอค่อยๆนึก ความจำก็กลับมาเหมือนเดิมค่ะ
อาการที่คุณได้ออกจากสมาธิ
โดยที่ไม่ได้เรียง ขึ้นไป แล้วลงมา ตามลำดับ
ทำให้คุณตกญาน เพราะไม่มีความชำนาญ
ในการทำสมาธิ ข้อนี้จะไม่เกิดขึ้นเลย
กับผู้ที่เข้าออกญาน ตามลำดับ
แต่จะเป็นกับ ผู้ที่ออกญาน อย่างเร็ว รีบร้อนเกินไป
ส่วนอาการที่คุณความจำเสื่อมไปชั่วขณะ
เป็นอาการของ ผู้ที่ออกจากญานยังไม่เต็มที่
ความรู้สึกจะจดจำอารมณ์ ตอนที่ยังเข้าญานไว้
แม้แต่ขณะที่ เราลืมตา เราก็ยังรู้สึก เหมือนเข้าญานอยู่
ซึ่งจะเป็นอาการที่จะเกิดกับ
ผู้ที่เข้าญานได้ โดยที่ไม่ต้องนั่งหลับตา
ไม่ว่าจะอยู่ท่าไหน ก็เข้าญานได้ เหมือนกัน
เมื่อมันเกิดอาการ ไปเหมือน การเข้าญาน
ญานของคุณ ก็ยังเดินสูงต่อไปเรื่อยๆ
จนไปเข้าสู่ อรูปญาน ขั้นที่สี่
ก็คือ เนวะสัญญานาสัญญา นั่นเอง
ถึงขั้น ลืมเลือนสรรพสิ่่งรอบข้าง
ผู้ที่ฝึกถึงขั้นนี้ได้ ขั้นต่ำ จะจดจำสิ่งต่างๆ
ไว้แค่วันเดียว นอกนั้นจะทำลืมๆ หรือ แกล้งลืม ก่อน
พอชำนาญ แค่ 15 นาที ก็ไม่อยากจะจำแล้ว
มันเกิดความรู้สึกน่าเบื่อ ความทรงจำ ขึ้นมาเอง
เมื่อไม่มีความทรงจำ ทุกข์ก็น้อยลงนั่นเอง
แต่คุณยังข้ามขั้น ของ อรูปญานที่สอง คือ
ขั้นวิญญาน นั่นเอง
ถ้าหากว่า ได้ไปฝึกกับคุณ (ตรงนี้ขอแก้เป็น) อ.ธรรมชาติ นะครับ
คุณก็จะเก่ง อรูปญานได้ ไม่ยาก
ขอเพียงมีอาจารย์ คอยแนะนำบ้าง
ต่อไปภายภาคหน้า คุณจะเก่งขึ้น
จนเป็นอาจารย์ ฝ่ายอรูปญาน คนหนึีง อย่างแน่นอน -
(อ้างอิง) เขาก็ให้บริกรรม แล้วพอนิ่งก็นึกถึงความว่าง
พอมีความคิดผุดก็พยายามไม่คิดแล้วก็ว่างต่อ
(ตอบ)ขณะที่คุณบริกรรมอยู่ แต่จิตของคุณ
ไม่ได้ไปจับอยู่ที่ คำบริกรรม นั้น
แต่กลับไปจับอยู่ที่ ความว่าง แทน
ความว่างนั่น จะเกิดขึ้น ในรูปญานที่สี่
คือ สุข หรือ ความว่าง อย่างใดอย่างหนึ่่ง
หรือ สลับกันไป สลับกันมา
หากผู้ใดเข้า ญานที่สี่ แล้วเกิดสุข
เค้าผู้นั้น จะหลงติตสูขอยู่ญาน ไม่อยากออก
แต่ถ้าหาก ผู้ใด เข้าญานสี่แล้ว เกิดความว่าง
เค้าผู้นั่น จะรู้สึกเหมือน ไม่ได้เข้าญาน
เพราะมันเฉยๆ นึกแต่ อยากจะออกจากญานท่าเดียว
แต่ผู้ที่ เกิดความว่าง จะฝึก อรูปญานต่อไปได้
และอาการที่บอกว่า คุณนึกถึงความว่าง
คือเอาจิตไปจับที่ความว่าง จนเกิดเป็นญานขึ้นมา
อาการรู้สึก ถึงความว่าง นี่แหละ คือ
อากิญจัญญ หรือ อรูปญาน ขั้นที่สาม
หากจับอาการที่รู้นี้ ไว้ตลอด
จะชำนาญใน อรูปญานที่สาม ได้
(อ้างอิง) แต่พอออกมาจากสมาธิจะมึนชา งงๆ
(ตอบ) จะเรียก อาการ ช่วงนี้ว่า ตกญาน
คืออาการของผู้ที่ออกญาน โดยฉับพลัน
จากญานที่สี่ หรือ อรูปญาน แล้วก็ลืมตาเลย
โดยไม่ได้ออก เรียงตามลำดับของ ญาน
อาการของญานขั้นนั้นๆ ยังเหลือค้างอยู่ในจิต
ทำให้เหมือนกับว่า เรายังไม่ออกจากญาน
ถึงแม้ว่าจะลืมตา แล้วก็ตาม
ทำให้ญานวิ่งสูง ขึ้นไปอีก ไม่ยอมลงง่ายๆ
จึงทำให้คุณยังต้องทำญานจาก ขั้น อรูปญานที่สาม
ไปสู่ขั้น อรูปญานที่สี่ คือ เนวะสัญญานาสัญญา
มีอาการ อยากจำกลับลืม ความทรงจำวูบหายไป
เหมือนกับคำกล่าวที่ว่า นั่งเสียจนลืมเลือนกาลเวลา
คือเมื่อออกจากเข้าญานแล้ว เหมื่อนคนจำอะไรไม่ได้
ทางโลกถือว่าเลวร้ายมาก สำหรับ คนที่จำอะไรไม่ค่อยได้
แต่ทางธรรม ถือว่า สุดยอดนักเข้าญาน
คือลืมเลือนทุกสิ่งได้รวดเร็ว
ความทุกข์จากการจำ ก็จะอยู่กับเราไม่นาน
ยิ่งจำได้มาก ก็ยิ่งทุกข์มาก
ยิ่ิงจำได้น้อยเท่าไหร่ ก็ยิ่งทุกข์น้อยขึ้นเท่านั้น
-
เพราะฉะนั้น คนที่เจริญวิปัสสนา จนกระทั่วมีปัญญารู้แจ้งว่าร่างกายไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา มีความเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นธรรมดา ถ้าทำได้ถึงขั้นนี้ การเข้าฌานก็คงจะเป็นเรื่องง่ายมาก เพื่อที่จะเป็นกำลังในการเจริญปัญญาขั้นสูงต่อไป
ู -
ว่างแต่ไปเพ่ง
เพ่งพลาดแน่เลย(ฮา)
***ดูแล้วแค่ตกภวังค์(หลับนั่นแหละ(ฮา))***
ถ้าผิดก็ขอโทษด้วย -
ฮาครับ
ผมนั่งฌาน8(เรียกว่า"ฌาน"ไม่ได้เรียก"ญาณ")ก็เห็นนะครับ
เพ่ง2อย่าง(ฮา)ไม่ใช่พระพุทธเจ้านะครับ คนธรรมดาเพ่งได้แค่อย่างเดียวละครับ
2อย่างนี่ต้องเนวสัญญี
งั้นต้องว่างทั้งตัว ถ้าว่างมันจะ"ลอย"(ถ้าลอยนี่หลับนะครับเราบ่ได้กสิณอากาศนะครับ(ฮา))หรือครับ"ไม่มีอะไร"กับ"ว่าง"ต่างกันนะครับ ต้องให้มันเป็นอารมณ์์
ปล.ค่อยๆเขียนเพิ่ม
ปล.2หลับน่ะสิ(เป็นกันบ่อย) เอางี้หายใจเข้าออกแต่ไม่ต้องหลับตาเดี๋ยวหลับ -
เอาอะไรอภิญญาไหนจะได้สอนถูก
ปล.ไม่เคยมีหรอกนะครับ(ฮา)
เพ่งอากาศสิเยอะมากๆ(ฮา)
ไม่ต่อมันก็ลืม กสิณมันลืมได้
***แต่ก่อนจะนั่งต้องเป็นสมาธิ กสิณสร้างอากาศดันร่างกายขึ้น(ต้องมองพื้น)
เพ่งทั้งวันจนกว่าจะเป้น(ฮาไม่ออกใช่ไหมครับ) แต่สนามแม่เหล็กไฟฟ้าในสมองมันก็นะ... ให้เหาะได้จริง ต้องมี
ศีล(ร่างกาย สติ สมอง) สมาธิ(ความถี่) ปัญญา(ความจุของคลื่นสมอง)
(ทำได้จริงก็เถอะ แต่ผ่านๆไปก็ได้)มีอีกวิธีสร้างสนามพลังดันพลังคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าดันร่างกาย ใช้สนามแม่เหล็ก
vvvvvv -
อาการนี้ดีนะ อาการของปิติ และ เริ่มเขาฌาน แต่ที่มึนๆงงๆ
1 นั้นเป็นเพราะเราออกจากสมาธิเร็วเกินไป จริงๆควรจะค่อยๆคลายออก
2 อาจจะตกใจกับแสงสีขาว ทำให้สดุงออกจากสมาธิ คือพึงเจอฌานครั้งแรกเลยงงๆ -
อาการที่สุขหายไป นั่นคือ ฌานที่สี่
ส่วนแสงสว่างนั่นคือนิมิตร ครับ นี้ว่าตามตำรานะ
น่าเสียดายมากที่สมาธิถอนออกมาเสียก่อน
แล้วคุณก็ไม่ได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ไม่สามารถจะกลับไปเข้าสมาธิอย่างเก่าได้อีก
ส่วนอาการความจำเสื่อมชั่วขณะ อาจจะเป็นแค่เบลอ
เพราะจิตถอนออกจากสมาธิโดยกระทันหัน
นับว่าน่าเสียดายจริงๆ -
แชร์ประสบการณ์ค่ะ เมื่อสามปีที่แล้วมีความทุกข์มาก นั่งสมาธิลึกเข้าไปในความว่างของจิตเช่นเดียวกัน จากนั้นระลึกว่าสิ่งใดคือสิ่งที่ทำให้เราเป็นทุกข์ ทีนี้ก็รู้สึกถึงกลุ่มก้อนอะไรบางอย่างสีดำในจิต ตัดสินใจใช้กำลังสมาธิดึงมันออกมา แล้วทำลายมันด้วยกำลังสมาธิ ถูกผิดไม่ทราบ แต่หลังจากนั้นรู้สึกว่าตัวโล่งสบาย
อ่านหนังสือของหลวงพ่อปราโมทย์ ธรรมเทศนากัณฑ์ที่22เข้าใจเรื่องความว่างมากขึ้นค่ะ -
+++ ให้ "ทดลอง" ทำดังนี้
===================================================
1. กำหนดให้มัน "ถูกรู้" สักครู่หนึ่ง มันจะแยกตัวออกมาเอง (ตรงนี้เรียกว่า "กำลังสติ")(การใช้กำลังจาก การกำหนดดึงมันออกมานั้น เป็นเรื่องของผู้ที่ชำนาญกับสภาวะนี้แล้ว เท่านั้น)
2. อย่าเพิ่งให้มันหายไป (เอาไว้ทำ ธรรมะวิจัย) แต่ให้ ค่อย ๆ "ปล่อยให้มัน แทรกตัวกลับมายังที่เดิมอีก"
3. ให้ทำหลาย ๆ ครั้ง แล้วให้ "สำเหนียกรู้" ให้ชัดเจนว่า
"ในขณะใดที่มัน แยกตัวออก ในขณะนั้น ความเป็น "ตน" ย่อมจางคลายหายไป" ใช่หรือไม่ (ตรงนี้ต้อง "ทำ" ให้ชัดเจน)
"ในขณะใดที่มัน เคลื่อนใกล้เข้ามา ในขณะนั้น ความเป็น "ตน" ย่อมปรากฏชัดขึ้น" ใช่หรือไม่ (ตรงนี้ต้อง "ทำ" เท่านั้น)
"เมื่อชัดเจนแล้ว ให้สังเกตุว่า อาการหลัก ๆ ของมัน "เป็นอาการดู" ใช่หรือไม่ ("ทำ" ให้แน่ใจ)
"ในยามที่ "ไม่ทันอาการดู" ในยามนั้นเป็นอาการของ "จิตส่งออก" ใช่หรือไม่ ("ทำ" ให้ชัดเจน)
===================================================
4. เมื่อ "รู้ชัดเจน" ในข้อ 3 แล้ว ให้ทำต่อ ดังนี้
"เมื่อชัดเจนในข้อ 3 แล้ว ให้สังเกตุว่า ไม่ว่าจะ "กำหนดจิตอย่างไรก็ตาม" ทุกอาการก็ยัง "รู้อยู่ดี" สภาวะรู้ นี้ไม่สามารถหายไปได้" ใช่หรือไม่ ("ทำ" ให้แน่ใจ)
"จากนั้น "ให้แยกมันออก" แล้วทำลายมันลง (ตรงนี้คุณ เคยทำมาแล้ว) "อาการเจิดจ้า" จะปรากฏขึ้นมาทันที" เป็นอาการ "สว่างไสวของสติ" ทุกครั้ง
"ให้ทำอาการ "เจิดจ้าของสติ" แล้วอยู่อย่างนั้นให้มั่นคง" ก็จะทราบได้เองว่า อาการนี้ไม่สามารถ "เกิด แก่ เจ็บ ตาย รวมทั้ง ทุกข์ ตั้งอยู่ไม่ได้" ใช่หรือไม่
"รวมทั้ง "สรรพสิ่ง" เป็น เอกภาพ ภราดรภาพ ทุกอย่าง เป็นเนื้อเดียวกันทั้งสิ้น" ไม่มี เรา-เขา-ใด ๆ อีกต่อไป
===================================================
5. ในข้อ 4 นั้น หากคุณ "อยู่ในอาการ จ้า" และคงตัวอยู่อย่างนั้น ไม่น่าจะเกิน 1 นาที จะมี "บุคคลผู้หนึ่ง" ปรากฏตัวขึ้น (จากบุคคลที่ผมฝึกให้ทุกคน ปรากฏการณ์นี้ มีทุกครั้ง) แล้วคุณ จะ "รู้" ชัดเจนว่า ท่านเป็นใคร ผมจะไม่เฉลยในนี้ คุณ ลองทำดูนะครับ
===================================================
+++ หลังจากที่ "ทำได้" ทั้ง 5 ข้อแล้ว หากสนใจ ปฏิจจะสมุปบาท ก็ให้ "ทำต่อ" ดังนี้
1. ทำลาย "ตัวดู" ลงแล้ว "อยู่กับรู้" เฉย ๆ ค่อย ๆ "สำเหนียกสังเกตุ" อาการ "ก่อกำเนิด" ของตัวดู อันประกอบไปด้วย "ละอองธาตุ - การหมุนรวมตัว - กำเนิดตน (ตัวดู)" ให้ map กับภาษาบาลีตรง อวิชชา - สังขารา - วิญญาณัง (ตัวดู ตัวก่อภพ ตัวจุติจิต ต่าง ๆ) ว่า "อาการตรงนี้ ตรงกันกับ อาการใดในภาษาบาลี" ค่อย ๆ สำเหนียกสังเกตุ แล้ว "ความเข้าใจ" จะตามมาเอง
2. ปล่อยให้ "ตัวดู" วิวัฒนาการของมันไปเอง "โดยไม่มีการแทรกแซงใด ๆ" ค่อย ๆ สำเหนียกสังเกตุ อาการกำเนิดขึ้นของสภาวะที่เรียกว่า "รูป-นาม (นามะรูปัง)"
3. จากนั้นให้ ค่อย ๆ สำเหนียกสังเกตุ ช่องทางของ "อาการต่อติด ความรู้สึกที่ โดนกระทบ อันเป็นฝ่าย action" (six of sense - ผัสสะ - เวทนา) จากนั้นจึงสังเกตุ อาการ "ส่งออกไปเชื่อม ปะกบติด แล้ว ย้ายเข้าไปอยู่ เป็น reaction" (ตัณหาของการเชื่อมต่อ - อุปาทานของการปะกบติด - ภพของการย้ายเข้าไปอยู่)
4. จากนั้นให้ ค่อย ๆ สำเหนียกสังเกตุ ตรงที่ "ย้ายเข้าไปอยู่ที่ไหนก็ตาม ความเป็น ย่อมบังเกิดที่นั่น ในนั้น" เสมอไป ตรงนี้ให้สังเกตุคำว่า "ชาติ หรือ จุติจิต" ให้ดี ๆ หลังจากตรงนี้ก็ไม่จำเป็นที่จะต้อง บอกวิธีทำ ก็สามารถทำต่อไปเอง ก็ได้
===================================================
+++ สิ่งที่คุณ ลูซี่ ทำมาทั้งหมดนั้น "ถูกต้องทุกประการ" ผมเพียงแค่ "เสริมรายละเอียด" ให้เท่านั้น จริง ๆ แล้ว "ยังมีอีกมาก" โดยเฉพาะในบริเวณของ 5.1 และ 5.4
+++ ยามใดที่คุณ "เข้าใจขันธ์" ได้แจ่มแจ้งแล้ว ก็จะสามารถ "ใช้ขันธ์" ให้เป็นประโยชน์ได้ เพื่อความรู้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ที่เรียกกันว่า "อภิปัญญา" นั่นเอง
+++ ขอให้เจริญในธรรม ยิ่ง ๆ ขึ้นไป นะครับ -
น่าแปลกที่จำอะไรไม่ได้เลย แล้วลืมตาขึ้น ในสภาวะที่จำอะไรไม่ได้เลยค่ะ ไม่ได้รู้สึกมึน หรือเบลอแต่ประการใด แต่มันรู้สึกโล่งไปหมดค่ะ -
ช่วงนี้ถูกมารเล่นงานอีกแล้ว มาหนักด้วยค่ะ รู้สึกเหมือนจิตโดนไวรัสรบกวน สวดมนต์ทำสมาธิได้ไม่ดีเหมือนเมื่อก่อน ทำไมจิตเราหวั่นไหวไปกับสิ่งแวดล้อมง่ายมากเลยค่ะ มาอยู่ที่นี่.......เหมือนมาชดใช้กรรมยังไงก็ไม่รู้ค่ะ เจอแต่เจ้ากรรมนายเวรทั้งนั้นเลย มายั่วยุให้เราศีลขาด ด่างพร้อย....พยายามจะหาที่ยึดเกาะให้จิตทรงกำลังใจที่เข้มแข็ง มั่นคง ให้ตัวเอง เหมือนกับว่าเรากำลังต่อสู้อยู่กับจิตด้านมืดของตัวเองอยู่ เหนื่อยจริงๆ ค่ะ ทำอย่างไรเราจึงจะหายจากจิตอ่อนดีค่ะ ใครก็ได้ช่วยทีค่ะ????
-
สาธุ ครับ
บางครั้งหากจิตใจเข้าไปอยู่ในโลกแห่งนามธรรมมากเกินควร จิตอาจสั่นคลอนได้เป็นธรรมดา เพราะฐานปัจจุบันของจิตใจคือร่างกายนี้
--ลองหันมามองกายและสิ่งภายนอกที่กำลังปรากฏอยู่นี้ครับ
--ทำกิจกรรมงานอดิเหรกที่ชอบให้ใจผ่อนคลาย ดูหนัง ฟังเพลง อื่นๆ
-- สนทนาพูดคุยเรื่องต่างๆที่สบายใจกับคนรอบข้าง หรือครอบครัว ..
..^__^ ยิ้มรับกับอนาคตเข้าไว้ครับ ขอเป็นแรงใจให้อีกแรงครับ ^__^.. -
-
เดินจงกรมช่วยได้ครับ
อย่าคิดมาก -
-
-
+++ จึงทำให้ ทำสมาธิได้ไม่ดีเหมือนก่อน จิตหวั่นไหวไปกับสิ่งแวดล้อมง่ายมาก
+++ แบบสุดยอดมือกระบี่จีนโบราณ ที่ถือศีลว่า "กระบี่อยู่คนอยู่ กระบี่หายคนตาย" ทำนองนั้นแหละ
+++ หากจะต่อสู้กับมันจริง ให้ถือศีลอีกข้อคือ "ห้ามดูละครหนังไทย เป็นอันขาด" เพราะมันส่งเสริม "จิตด้านมืด" ตลอดเวลา
+++ ทำได้อย่างง่าย ๆ โดย "มีสติ รู้สึกทั้งตัว อยู่อย่างนั้น จนเป็นนิสัย"
+++ ในขณะที่ "รู้สึกทั้งตัว" ปรากฏ อาการที่ประกอบกันอย่างคร่าว ๆ ที่มีคือ
1. จิตไม่ส่งออก สมุทัยไม่ปรากฏ
2. สติวินะโย วินัยแห่งสติ คุ้มครอง
3. ความเป็นเพศไม่ปรากฏ (ลักษณะเด่นที่สุดของ ความเป็น พรหม)
4. อาการครอง ฌาน มีตลอดเวลา (พรหมย่อมมี ฌาน เป็นเครื่องอยู่แห่งจิต)
5. เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ทั้ง 4 ประการ ย่อมมีมาเอง ตามกำลังของ ฌาน ที่ครองอยู่ในปัจจุบัณขณะแห่งจิต
+++ ที่กล่าวมา คือ อาการอันครบถ้วนของ "อะพรัหมะจริยา เวรมณี สิกขาปทัง สมาทิยามิ" คือ "ไม่หลุดออก จากอาการที่เป็น จรรยาบรรณ แห่งพรหม"
+++ เป็นธรรมดาของพรหม ที่มี "ฌาน" เป็นเครื่องรักษา และ เป็นธรรมดาของอริยะพรหม ที่มี "สติครองฌาน" เป็นเครื่องรักษา
+++ การปฏิบัติตรงนี้เป็น "เอกา ยานะ มรรคโค" คือ "หนทางที่ไปได้ด้วย ยานอันเดียวเท่านั้น"
+++ หากทำได้จริง อาการต่าง ๆ ที่กล่าวมา "ย่อมหายไปได้เอง ทั้งหมด"
+++ สำหรับคุณ "ความรู้สึกตัวทั่วถึง" เป็นเพียงแค่ "ต้นทาง" เท่านั้น นะครับ
หน้า 3 ของ 4