ถาม : มีพี่ท่านหนึ่ง ทำงานในโรงงานที่รู้จักกัน ตอนมาสมัครงาน ก็เป็นเพราะพ่อแม่และญาติบังคับให้มาหางานทำ จะได้มีอาชีพเลี้ยงตัว แต่เจ้าตัวเขามีจิตใฝ่ฝันถึงแต่การบวชเป็นพระ ไม่ยินดีที่จะหางานทางโลกทำเพื่อเลี้ยงชีพ แต่สุดท้ายได้เข้าไปทำงานในโรงงานแห่งหนึ่ง มาทำงานได้สักพัก เพื่อนร่วมงานเห็นว่าเขาหายตัวไป เลยออกตามหากัน ปรากฏว่า ไปพบพี่เขานั่งขัดสมาธิอยู่ในห้องน้ำ เอาผ้าสีเหลือง (ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะเปรียบเสมือนสีจีวรพระ) คลุมไหล่ไว้ครึ่งตัว มีมีดโกนวางอยู่ใกล้ ๆ โกนผมตนเองไปได้ประมาณครึ่งหนึ่งของศีรษะ แล้วนั่งเสียชีวิตในท่านั้น การที่ผู้ที่ปรารถนาอยากจะบวช แล้วไม่ได้บวช เกิดจากกรรมประเภทใดเจ้าคะ ?
ตอบ : เรื่องกรรมนี่กองเอาไว้ก่อน รู้สึกว่ารายนี้น่ากลัวมาก อาจจะทำใจบริสุทธิ์ถึงที่สุดแล้วอยู่ไม่ได้ รู้ตัวแล้วจะบวชแต่ไม่ได้บวช เลยโดนตัดให้ตายไปเรียบร้อยแล้ว..!
ถาม : แล้วเรื่องของกรรมนี่ถึอว่าเป็นกรรมหรือเป็นบุญครับ ?
ตอบ : เคยขวางคนอื่นไว้ในลักษณะเดียวกัน เป็นที่น่าเสียดาย ถ้าข้อสันนิษฐานของอาตมาไม่ผิด เมื่อบวชเข้ามาก็ได้พระดีไปเลย
ถาม : การที่พ่อแม่และญาติขัดขวางไม่ให้บวช จะมีผลกรรมใดเกิดขึ้นกับพ่อแม่และญาติบ้างไหมเจ้าคะ ?
ตอบ : เขาเองโดนมาแล้วนี่ คนอื่นทำแบบนั้นบ้างก็โดนต่อไป
ถาม : การที่เขานั่งเสียชีวิตในท่าขัดสมาธิ พยายามทำตนเหมือนตนเองได้บวชในพระพุทธศาสนาแล้ว จะเกิดโทษกับเขาไหมเจ้าคะ ?
ตอบ : ตอบไปแล้ว ไม่ใช่ทำตนเหมือนเป็นพระ น่าจะเป็นพระไปแล้ว
ถาม : หากเขากระทำการตามที่เล่ามาแล้วนั้น ตอนตายจิตใจของคนที่กระทำแบบนี้จะเกาะความดีอยู่ใช่ไหมคะ แล้วเขาจะไปสู่ภพภูมิใดเจ้าคะ ?
ตอบ : ไม่เป็นไร...คืนนี้จุดธูปถามท่านเองแล้วกัน
ที่มา วัดท่าขนุน
บรรลุธรรมสูงสุดตอนเป็นฆราวาส แต่โดนขัดขวางไม่ให้บวช
ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Apinya Smabut, 4 ธันวาคม 2017.
-
Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
-
กราบสาธุครับ
-
เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต
ถ้าบรรลุก็ตามนี้ครับ ไม่พึงสงสัยในวิถีที่ได้ในฌาน เรื่องปัตจัตตังแบบนี้ ใครเล่าจึงจะรู้ได้ เห็นจะมีแต่พระทศพลญาน ปรารถนาให้ท่านผู้นั้นไปดีก็พอ ในอริยาบทธรรมนั้นๆ
ว่าด้วยสมสีสัฏฐญาณ คำว่า สพฺพธมฺมานํ - แห่งธรรมทั้งปวง. ความว่า แห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งปวง.
คำว่า สมฺมาสมุจฺเฉเท - ในการตัดขาดโดยชอบ.
ความว่า ในความดับด้วยดี ด้วยการตัดขาดสันตติด้วย.
คำว่า นิโรเธ จ อนุปฏฺฐานตา - ในความดับด้วยในความไม่ปรากฏด้วย.
ความว่า ดำเนินไปในนิโรธ ในความไม่ปรากฏอีก. อธิบายว่า ไม่เกิดขึ้นอีก.
จ อักษรต้องสัมพันธ์ควบกับ สมฺมาสมุจฺเฉเท จ - ในการตัดขาดด้วยดีด้วย, นิโรเธ จ - ในความดับด้วย, อนุปฏฺฐานตา จ - ในความไม่ปรากฏด้วย.
คำว่า สมสีสฏฺเฐ ญาณํ - ญาณในอรรถแห่งธรรมอันสงบและเป็นประธาน.
ความว่า ธรรม ๓๗ ประการมีเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อสมะ - ธรรมอันสงบ, ธรรม ๑๓ ประการมีตัณหาเป็นต้น ชื่อสีสะ - ธรรมอันเป็นประธาน. ชื่อว่าสมะ เพราะปัจนิกธรรมทั้งหลายสงบ, ชื่อว่าสีสะ เพราะเป็นประธานตามสมควรแก่การประกอบและเพราะเป็นยอด.
ธรรมอันสงบมีเนกขัมมะเป็นต้น และธรรมอันเป็นประธานมีสัทธาเป็นต้น ในอิริยาบถหนึ่งก็ดี ในโรคหนึ่งก็ดี ในชีวิตินทรีย์หนึ่ง ด้วยการสืบต่อกันโดยเสมอภาคก็ดี มีอยู่แก่ผู้นั้น ฉะนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่าสมสีสี ผู้มีธรรมอันสงบและธรรมอันเป็นประธาน.
อรรถะคือเนื้อความแห่งสมสีสี ชื่อว่าสมสีสัฏฐะ ในอรรถะแห่งสมสีสะนั้น, อธิบายว่า ในความเป็นสมสีสี.
ความเป็นแห่งสมสีสีย่อมมีแก่พระอรหันต์เท่านั้นผู้ปรารภวิปัสสนาในอิริยาบถหนึ่ง หรือในโรคหนึ่ง หรือในชีวิต ด้วยการสืบต่อกันโดยเสมอภาค แล้วบรรลุมรรค ๔ ผล ๔ ในอิริยาบถนั้นนั่นเอง หรือในโรค ในชีวิต ด้วยการสืบต่อกันโดยเสมอภาค ปรินิพพานอยู่ในขณะนั้นนั่นเอง ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า ญาณในความเป็นแห่งสมสีสีดังนี้.
สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ในปุคคลบัญญัติปกรณ์และอรรถกถาแห่งปกรณ์ว่า
ก็บุคคลชื่อว่าสมสีสี เป็นไฉน? การสิ้นไป
แห่งอาสวะและการสิ้นไปแห่งชีวิตของบุคคลใด
มีไม่ก่อนไม่หลังกัน บุคคลนี้เรียกว่า สมสีสี.๑-
พึงทราบวินิจฉัยในสมสีสีนิทเทสดังต่อไปนี้
คำว่า อปุพฺพํ อจริมํ - ไม่ก่อน ไม่หลัง.
ความว่า ไม่ใช่ในภายหน้า ไม่ใช่ในภายหลัง คือ ในคราวเดียวกันด้วยสามารถแห่งปัจจุบันสันตติ. อธิบายว่า ในคราวเดียวกันนั่นเอง.
คำว่า ปริยาทานํ - การประหาณ ได้แก่การสิ้นไปรอบ.
คำว่า อยํ - บุคคลนี้ ความว่า บุคคลนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกชื่อว่าสมสีสี.
ก็สมสีสี บุคคลนี้นั้นมีอยู่ ๓ จำพวก คืออิริยาปถสมสีสี ๑, โรคสมสีสี ๑, ชีวิตสมสีสี ๑.
บรรดาสมสีสีบุคคลทั้ง ๓ จำพวกนั้น บุคคลใดกำลังจงกรมอยู่ เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต ยังจงกรมอยู่นั่นเองก็ปรินิพพาน,
บุคคลใดกำลังยืนอยู่เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต ยังยืนอยู่นั่นเองก็ปรินิพพาน, บุคคลใดกำลังนั่งอยู่เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต ยังนั่งอยู่นั่นเองก็ปรินิพพาน บุคคลนี้ชื่อว่าอิริยาปถสมสีสี.
ส่วนบุคคลใดเกิดโรคอย่างหนึ่งแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนาในภายในโรคนั่นเองแล้วบรรลุพระอรหัต แล้วปรินิพพานไปด้วยโรคนั้นนั่นแหละ, บุคคลนี้ชื่อว่าโรคสมสีสี.
บุคคล ชื่อว่า ชีวิตสมสีสี เป็นไฉน?
ศีรษะมี ๑๓.#- บรรดา ศีรษะเหล่านั้น อรหัตมรรคย่อมครอบงำอวิชชาอันเป็นกิเลสสีสะ, จุติจิตย่อมครอบงำชีวิตินทรีย์อันเป็นปวัตตสีสะ, จิตที่ครอบงำอวิชชา ครอบงำชีวิตินทรีย์ไม่ได้. จิตที่ครอบงำชีวิตินทรีย์ก็ครอบงำอวิชชาไม่ได้.
จิตที่ครอบงำอวิชชาเป็นอย่างหนึ่ง และจิตที่ครอบงำชีวิตินทรีย์ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง. ก็ทั้ง ๒ ศีรษะนี้ของบุคคลใดย่อมถึงซึ่งการครอบงำพร้อมกัน บุคคลนั้นชื่อว่าชีวิตสมสีสี.
-
ไม่ใช่ฆาตกรรม หรือ อัตวินิบาตกรรม ใช่ไหมครับ แพทย์วินิฉัยว่าอย่างไร พอจะทราบหรือเปล่าครับ
-
ท่านบรรลุ อนาคามีบุคคล พร้อมรู้เห็นอนาคตว่า
เมื่อท่านจะไปบวช จะมีคนมาขวางทางท่าน ไม่ให้บวช
คนผู้นั้นจะทำสำเร็จด้วย
หากฆ่าท่านตาย เค้าจะลงนรก ชั้นต่ำสุด
หากทำร้ายร่างกาย เค้าจะลงนรก ชั้นอื่นๆ ยังพอช่วยได้
แต่ถ้าหาก ท่านตายเอง ก็ไม่มีใครต้องมาใช้กรรม
จะสามารถตัด กรรมวิบาก ของ ผู้มีอุปการะคุณได้
ส่วนเมื่อท่านตายแล้ว ใครไป ปรามาส ท่านอีก
อันนี้จะถือเป็นกรรมใหม่ ไม่ถือว่า เป็น วิบากกรรมที่ต้องชดใช้